วัฒนธรรมอินเดีย : ทางชีวิต 7


ฤดูฝนลูกเห็บในเมืองพาราณสี

        เดือน กรกฎาคม  ของทุกปีที่อินเดีย  เริ่มเข้าสู่ฤดูฝน 

วันหนึ่งขณะผมเดินอยู่ต้องรีบหลบเข้าใต้ต้นไม้ใหญ่  แขกโพกศรีษะเหลียวมองผมแล้วหัวเราะฟันขาว ๆขณะพวกเขาถีบ 3 ล้อต่อไปในเมืองพาราณสี

        คือฝนลูกเห็บโตเท่าผลลิ้นจี่หรือผลลองกองครับ 

 ผมยืนเอามือคลำศรีษะเพราะโดนเข้าอย่างจัง  กว่าฝนจะจางหายไปก็ร่วมชั่วโมงครับ 

ฤดูฝนที่อินเดียนี้  มันตกเอาจริงเอาจังมาก  ตกตลอดวันตลอดคืนประมาณ 2 สัปดาห์ได้  เราไม่เห็นเดือนเห็นตะวันเลยครับ

        เมื่อมองฤดูฝนในประเทศไทยแล้วเหมือนอยู่ผิดฤดู  แต่พระสงฆ์ในพุทธศาสนาก็เข้าอยู่จำพรรษาในฤดูฝนนี้  แว่วเสียงพระเทศน์เรื่องประวัติวันเข้าพรรษาแล้ว  ผมอดที่จะสงสัยมิได้

        คือว่า  สาเหตุที่พระสงฆ์เข้าอยู่จำพรรษาเพราะท่านไปเหยียบข้าวกล้าในนาของชาวบ้าน  อ้างเหตุผลนี้จนกลายเป็นตำนานไปแล้ว

เมื่อไหร่จะมีการสังคายนากันสักทีครับ 

        เรื่องนี้ผมขอมองต่างมุมคือมองในมุมของผมเองครับว่า  ฤดูฝนในอินเดียแดนเกิดพุทธศาสนานั้น  ฝนมันตกอย่างจริงจัง  ผู้คน  นักบวช  ไม่สะดวกในการเดินทางไปไหนมาไหนแน่นอน 

        ด้วยเหตุนี้  จึงมีการกำหนดให้พระสงฆ์เข้าอยู่จำพรรษา  3  เดือนดังกล่าว

        ที่อ้างว่าเป็นเพราะพระสงฆ์ไปเหยียบข้าวกล้าในนานั้น  ผมฟังไม่ขี้น 

        คือว่า  ท่านจะไม่รู้เชียวหรือว่า...สิ่งไหนเป็นหญ้าและสิ่งไหนเป็นข้าว  พระสงฆ์ในยุดโน้นยิ่งเป็นพระอรหันต์ด้วยแล้ว

        ท่านรู้แจ้งแทงตลอดเลยละ  และที่ผมเห็นมา  ขณะนี้ชาวอินเดียปลูกข้าวสาลีกันมากและปลูกมานานแล้ว  ในเรื่องนี้คุณเห็นเป็นอย่างไรครับ ฮา ๆ เอิก ๆ.

         โปรดติดตามตอนต่อไป  ด้วยความปรารถนาดี

                                                 จาก...umi                          

หมายเลขบันทึก: 41335เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2006 14:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • รออ่านอีกครับ
  • ขอบคุณมากครับผม
คุณขจิต..ไม่อยากจะบอกเลยว่า...ดิฉันแอบย่องมาอ่าน..ก่อนแล้วนะคะ..หากแต่ไม่ได้ทิ้งรอย แต่กลัวน้อยหน้าคุณขจิต...จึงต้องกลับมาอีกครั้ง...วันหน้าเราจัดทัวร์ย้อนรอยคุณ umi กันไหมคะ

ขอบคุณ คุณ  ขจิต  ฝอยทอง มากครับที่รออ่าน

         ด้วยมิตรไมตรีที่ดีงาม

                                           จาก...umi

         อยากให้  Dr.Ka-Poom  จัดทัวร์ล่องใต้มาจริง ๆ  ฮา ๆ เอิก ๆ บรรยากาศดีนะถาม

         คุณ ขจิตที่เคยอยู่ ม .ทักษิณดูก็ได้ครับ  ที่นี้เราทุกคนยินดีต้อนรับทุกท่าน

         ดัวยมิตรไมตรีที่ดีงาม

                                                  จาก...umi

ความจริงเรื่องฝนตกน่ะถูกครับ

แต่เท่าที่รู้มาพระที่เป็นมูลเหตุหรือเป็นต้นบัญญัติไม่ใช่พระอรหันต์นะครับ  เป็นพระฉัพพัคคีย์ (6 รูป)  ที่ไม่ได้สำเร็จพระอรหันต์  และท่านเหล่านี้ก็เเป็นตันบัญญัติหลายข้อ (อาบัติ)

เดิมทีพอถึงหน้าฝน พระท่านก็จะหยุดพัก  แต่พอมีภิกษุจำนวนมากขึ้นและที่สำคัญไม่เป็นพระอรหันต์  ท่านมีความต้องการที่จะเดินทางไปประกาศศาสนาแม้ช่วงฤดูฝน อย่างเช่นพระฉัพพัคคีย์  อาจจะพลาดไปเหยียบข้าวกล้า  พืชผัก และสัตว์เล็กสัตว์น้อย  โดยไม่ได้ตั้งใจ  เป็นสาเหตุที่ทำให้ชาวบ้านตำหนิ  กล่าวโทษ

พระพุทธเจ้าอาศัยมูลเหตุนี้จึงบัญญัติธรรมเนียมปฏิบัติในการเข้าจำพรรษา ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่งตลอดฤดูฝน

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท