มาตรฐานการศึกษาของชาติ


มาตรฐานการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ

  

                    พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติได้กำหนดสาระที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานการศึกษาไว้ดังนี้

 

  • หมวด 1 มาตรา 9 (3) การจัดระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษาให้มีการกำหนด มาตรฐานการศึกษา และจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับ และประเภทการศึกษา
  • หมวด 5 มาตรา 31 กระทรวงมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและกำกับดูแลการศึกษาทุกระดับและทุกประเภท กำหนดนโยบาย แผน และมาตรฐานการศึกษา
  • มาตรา 33 (2) สภาการศึกษามีหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย แผน และมาตรฐานการศึกษา เพื่อ ดำเนินการให้เป็นไปตามแผนการศึกษาแห่งชาติที่บูรณาการศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และกีฬากับการศึกษาทุกระดับ
  • มาตรา 33 (5) วรรคสอง การเสนอนโยบาย แผนการศึกษาแห่งชาติ และมาตรฐานการศึกษา ให้เสนอต่อคณะรัฐมนตรี
  • มาตรา 34 คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการอาชีวศึกษา คณะกรรมการ อุดมศึกษา มีหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย แผนพัฒนา และมาตรฐานการศึกษาของแต่ละระดับที่สอดคล้องกับความต้องการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ และแผนการศึกษาแห่งชาติ
  • มาตรา 38 กำหนดให้คณะกรรมการและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีอำนาจหน้าที่ใน การประสาน ส่งเสริม และสนับสนุนสถานศึกษาเอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้สามารถ จัดการศึกษาสอดคล้องกับนโยบายและมาตรฐานการศึกษา
  • มาตรา 42 ให้กระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินความพร้อมในการจัดการศึกษา ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและมีอำนาจหน้าที่ในการประสานและส่งเสริมองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นให้สามารถจัดการศึกษาสอดคล้องกับนโยบายและได้มาตรฐาน
  • มาตรา 43 การบริหารและการจัดการศึกษาของเอกชนให้มีความเป็นอิสระโดยมีการกำกับ ติดตาม และการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาจากรัฐ และต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ การประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา เช่นเดียวกับสถานศึกษาของรัฐ
  • มาตรา 47 ให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ
  • มาตรา 48 ให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพ ภายในสถานศึกษา ที่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษา ที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อนำไปสู่การ พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา และเพื่อรองรับการประกันคุณภาพภายนอก

       ความหมายของมาตรฐานการศึกษาพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติได้ให้นิยามมาตรฐานการศึกษาว่า เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ คุณภาพที่พึงประสงค์ และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง และเพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียง สำหรับการส่งเสริมและกำกับดูแล การตรวจสอบ การประเมินผล และการประกันคุณภาพทางการศึกษา   วัตถุประสงค์ของการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของชาติ
  • เพื่อเป็นเป้าหมาย และแนวทางพัฒนาการจัดการศึกษาของชาติในทุกระบบและ ทุกประเภทในระดับมหภาค
  • เพื่อเป็นหลักและแนวทางในการกำหนดนโยบาย แผนพัฒนาและ จัดการศึกษารวมทั้ง มาตรฐานการศึกษา ทั้งการศึกษาขั้นพื้นฐาน การอาชีวศึกษา และการอุดมศึกษา
  • เพื่อเป็นเครื่องมือกำกับการตรวจราชการ การนิเทศ การติดตามและประเมินผล รวมทั้งการประกันคุณภาพ
  • เพื่อให้ทราบสถานภาพและความก้าวหน้าของ การจัดการศึกษาของชาติระดับมหภาค
  • เพื่อเป็นมาตรฐานสำหรับการประกันคุณภาพภายนอกในระดับเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา
  • เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับการพัฒนามาตรฐานการศึกษาของชาติในระยะต่อไป
สาระสำคัญโดยย่อของมาตรฐานการศึกษาของชาติ
  • อุดมการณ์สำคัญของการจัดการศึกษาคือ การจัดให้มีการศึกษาตลอดชีวิตและการสร้างสังคมไทยให้ เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้
  • การศึกษาที่สร้างคุณภาพชีวิตและสังคมบูรณาการอย่างสมดุลระหว่างปัญญาธรรม คุณธรรม และ วัฒนธรรม เป็นการศึกษาตลอดชีวิตเพื่อคนไทยทั้งปวง มุ่งสร้างพื้นฐานที่ดีในวัยเด็ก ปลูกฝังความเป็นสมาชิก ที่ดีของสังคมตั้งแต่วัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน และพัฒนาความรู้ความสามารถ เพื่อการทำงานที่มีคุณภาพ โดยให้สังคมทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาได้ตรงตามความต้องการของผู้เรียน และสามารถตรวจสอบได้อย่างมั่นใจว่า การศึกษาเป็นกระบวนการของการพัฒนาชีวิตและสังคม เป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
  • มาตรฐานการศึกษาของชาติ มี 3 มาตรฐานและ 11 ตัวบ่งชี้ ได้แก่

- มาตรฐานที่ 1 คุณลักษณะของคนไทยที่พึงประสงค์ ทั้งในฐานะพลเมืองและพลโลก (5 ตัวบ่งชี้)
- มาตรฐานที่ 2 แนวการจัดการศึกษา (3 ตัวบ่งชี้)
- มาตรฐานที่ 3 แนวการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้/สังคมแห่งความรู้ ( 3 ตัวบ่งชี้)

                      มาตรฐานที่ 1 คุณลักษณะของคนไทยที่พึงประสงค์ ทั้งในฐานะพลเมืองและพลโลกการศึกษาต้องพัฒนาคนไทยทุกคนให้เป็น คนเก่ง คนดี และมีความสุขตามตัวบ่งชี้ดังต่อไปนี้ 

ตัวบ่งชี้

1. กำลังกาย กำลังใจที่สมบูรณ์

1.1 คนไทยมีสุขภาพกายและจิตที่ดี มีพัฒนาการด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา เจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ตามเกณฑ์การพัฒนาในแต่ละช่วงวัย

2. ความรู้และทักษะที่จำเป็นและเพียงพอในการดำรงชีวิตและการพัฒนาสังคม

2.1  คนไทยได้เรียนรู้ เต็มตามศักยภาพของตนเอง

2.2 คนไทยมีงานทำ และนำความรู้ไปใช้ในการสร้างงานและสร้างประโยชน์ให้สังคม

3. มีทักษะการเรียนรู้และการปรับตัว

3.1  คนไทยสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้ รู้ทันโลกรวมทั้งมีความสามารถในการใช้แหล่งความรู้และสื่อต่าง ๆ เพื่อพัฒนาตนเองและสังคม3.2  คนไทยสามารถปรับตัวได้ มีมนุษย์สัมพันธ์ดี และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี

4. มีทักษะทางสังคม

4.1  คนไทยเข้าใจและเคารพในธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและสังคม มีทักษะและความสามารถ ที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข

4.2 คนไทยมีความรับผิดชอบ เข้าใจ ยอมรับและตระหนักในคุณค่า ของวัฒนธรรมที่แตกต่างกันสามารถแก้ปัญหาในฐานะสมาชิกของสังคมไทยและสังคมโลกโดยสันติวิธี

5. มีคุณธรรม จิตสาธารณะ และจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก

5.1     คนไทยดำเนินชีวิตโดยกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต

5.2  คนไทยมีความรับผิดชอบทางศีลธรรมและสังคม มีจิตสำนึก ในเกียรติภูมิของความเป็นคนไทย มีความภูมิใจในชนชาติไทย รักแผ่นดินไทย และปฏิบัติตนตามระบอบประชาธิปไตย เป็นสมาชิกที่ดี เป็นอาสาสมัคร เพื่อชุมชนและสังคมในฐานะพลเมืองไทยและพลโลก

                       มาตรฐานที่ 2    แนวการจัดการศึกษา จัดการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนเป็นสำคัญและการบริหาร โดยใช้สถานศึกษาเป็นฐาน

ตัวบ่งชี้

1. การจัดหลักสูตรการเรียนรู้และสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ

1.1  มีการจัดหลักสูตรที่หลากหลายตามความเหมาะสม ความต้องการและศักยภาพของกลุ่มผู้เรียนทุกระบบ

1.2  ผู้เรียนมีโอกาส/สามารถเข้าถึงหลักสูตรต่างๆ ที่จัดไว้อย่างทั่วถึง

1.3  องค์กรที่ให้บริการทางการศึกษามีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีอาคารสถานที่ มีการส่งเสริมสุขภาพอนามัย และความปลอดภัย

1.4  มีการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ สื่อเพื่อการเรียนรู้ และการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศทุกรูปแบบที่เอื้อต่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม

2. มีการพัฒนาผู้บริหาร ครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาอย่างเป็นระบบและมีคุณภาพ

2.1  ผู้บริหาร ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการและวิชาชีพ

2.2  ผู้บริหาร ครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษามีคุณธรรม มีความพึงพอใจในการทำงาน และผูกพันกับงาน มีอัตราการออกจากงานและอัตราความผิดทางวินัยลดลง

2.3  มีแนวโน้มในการรวมตัวจัดตั้งองค์กรอิสระเพื่อสร้างเกณฑ์มาตรฐานเฉพาะกลุ่ม และติดตามการดำเนินงานของบุคลากรและสถานศึกษา ตลอดจนการสั่งสมองค์ความรู้ที่หลากหลาย

3. มีการบริหารจัดการที่ใช้สถานศึกษาเป็นฐาน

3.1  องค์กร ชุมชน มีส่วนร่วมในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามสภาพท้องถิ่น บุคลากรทั้งในและนอกสถานศึกษา สภาพปัญหาและความต้องการที่แท้จริงของผู้เรียน  

3.2 ผู้รับบริการ/ผู้เกี่ยวข้องทุกกลุ่มมีความพึงพอใจต่อการจัดบริการทางการศึกษาของสถานศึกษา

3.3 มีการกำหนดระบบประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษา เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพ และสามารถรองรับการประเมินคุณภาพภายนอกได้ 

                      มาตรฐานที่ 3  แนวการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้/สังคมแห่งความรู้ การสร้างวิถีการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้ให้เข้มแข็ง

ตัวบ่งชี้

1. การบริการวิชาการและสร้างความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับชุมชนให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้/สังคมแห่งความรู้

1.1  สถานศึกษาควรร่วมมือกับบุคลากรและองค์กรในชุมชนที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทุกระดับ ร่วมจัดปัจจัยและกระบวนการเรียนรู้ภายในชุมชน และให้บริการทางวิชาการที่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาคนในชุมชน เพื่อให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งภูมิปัญญา และคนไทยมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต

1.2   ชุมชนซึ่งเป็นที่ตั้งขององค์กรที่ให้บริการทางการศึกษามีสถานภาพเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้/สังคมแห่งความรู้ มีความปลอดภัย ลดความขัดแย้ง มีสันติสุข และมีการพัฒนาก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง

2. การศึกษาวิจัย สร้างเสริม สนับสนุนแหล่งการเรียนรู้ และกลไกการเรียนรู้ 

2.1   มีการศึกษาวิจัย สำรวจ จัดหา และจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบ

2.2   ระดมทรัพยากร (บุคลากร งบประมาณ อาคารสถานที่ สิ่งอำนวยความสะดวก ภูมิปัญญาและอื่นๆ) และความร่วมมือจากภายในและภายนอกสถานศึกษา ในการสร้างกลไกการเรียนรู้ทุกประเภท เพื่อให้คนไทยสามารถเข้าถึงแหล่งการเรียนรู้ และสามารถเรียนรู้ตลอดชีวิตได้จริง

2.3  ส่งเสริมการศึกษาวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่เพื่อการพัฒนาประเทศ 

3. การสร้างและการจัดการความรู้ในทุกระดับทุกมิติของสังคม

3.1  ครอบครัว ชุมชน องค์กรทุกระดับ และองค์กรที่จัดการศึกษามีการสร้างและใช้ความรู้ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จนกลายเป็นวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้    

หมายเลขบันทึก: 41334เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2006 14:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เนื้อหาดี

สวยดี

มาตรฐานการศึกษาของชาติ

เป็นแนวทางการจัดการศึกษาที่ยึดมั่นคนไทยทุกคนมีโอกาสได้เรียนรู้ตลอดชีวิต โดยพัฒนาตนเองเต็มตามศักยภาพ โรงเรียนได้บริหารจัดการได้คล่อง ทั้งทางด้านการเงิน บุคคลากร การบริหารทั่วไป การจัดการเรียนรู้ สอดล้องกับ พ.ร.บ การศึกษาแห่งชาติ

พ.ศ ๒๕๔๒ (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ ๒๕๔๕) มาตรา ๓๙

สุภาภรณ์ สียางนอก

ในมาตรฐานการศึกษามีเพิ่มเติมเกี่ยวกับเทคโนโลยีมั้ย ไฟล์นี้ป้าขอแชร์ได้มั้ย ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท