จะสร้าง “สมานฉันท์” จากความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบันได้อย่างไร


                คำว่า สมานฉันท์ มีน้ำเสียงไพเราะ มีความหมายงดงาม คือหมายความว่า ความพอใจร่วมกันหรือความเห็นพ้องกัน

                สมานฉันท์เป็นได้ทั้งผลลัพธ์และวิธีการ

                ถ้าเป็น ผลลัพธ์ เราจะพูดว่า ขอให้เกิดความสมานฉันท์ขึ้นในสังคมไทยเป็นต้น

                แต่ถ้าพูดว่า ขอให้เรามาสมานฉันท์กันเถิดเรากำหลังหมายถึงว่า ขอให้เรามา ดำเนินการ ในอันที่จะทำให้เกิดความสมานฉันท์ขึ้น

                ตรงนี้แหละที่ยาก แต่ก็เป็นไปได้และควรพยายามทำให้ได้

                สำคัญที่ต้องเข้าใจให้ถูก และทำให้ดี 

อย่างนี้ยังไม่ใช่ สมานฉันท์ 

               ถ้าคนฝ่ายหนึ่งบอกว่า เรามาสมานฉันท์กันนะโดยมีความหมายว่าที่พวกคุณคัดค้านต่อต้านหรือวิพากษ์วิจารณ์กันอยู่น่ะ ขอให้หยุดเสียเถอะ บ้านเมืองจะได้สงบสุข

                อย่างนี้ยากจะเกิดความ สมานฉันท์หรือความพอใจร่วมกันหรือความเห็นพ้องกันเพราะอีกฝ่ายก็คงจะบอกว่าถ้าคนที่เราคัดค้านต่อต้านลาออกไปตามที่มีคนจำนวนมากเรียกร้อง พวกเราก็ยินดียุติความเคลื่อนไหวต่อต้านคัดค้าน

                ซึ่งฝ่ายที่ถูกเรียกร้องให้ลาออกก็จะยังคงไม่ยอมลาออก เรื่องจึงจะยังคงเป็นความขัดแย้ง หรือยังไม่เป็นความสมานฉันท์อยู่นั่นเอง

                หรือฝ่ายแรกอาจบอกว่า ในเมื่อเราจะมีกระบวนการการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแล้ว การเคลื่อนไหวอย่างอื่นควรยุติอีกฝ่ายก็คงตอบว่าไม่ได้ขัดข้องเรื่องการเลือกตั้งแต่ยังไม่มั่นใจในความบริสุทธิ์ยุติธรรมของการเลือกตั้ง และขณะเดียวกันขอให้มีกระบวนการสอบสวนความผิดของผู้อยู่ในตำแหน่งสำคัญบางคน โดยไม่มีการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมด้วย

                ซึ่งขณะนี้ยังมองไม่ค่อยเห็นโอกาสที่จะมีการดำเนินการตามที่ฝ่ายที่สองเสนอ ดังนั้น ความขัดแย้งหรือความไม่สมานฉันท์จึงยังคงดำรงอยู่

                นอกจากนั้น ยังมีประชาชนจำนวนไม่น้อยที่สงสัยข้องใจเกี่ยวกับจริยธรรม ความสุจริต ความน่าเชื่อถือ การมีพฤติกรรมเหมาะสม และความชอบธรรม ของผู้นำทางการเมืองที่อยู่ในอำนาจ ถ้าความสงสัยข้องใจนี้ยังมีอยู่มาก การเลือกตั้งจะไม่ช่วยคลี่คลายและความยังไม่สมานฉันท์ คือความยังไม่ พอใจร่วมกันจะยังคงอยู่  

แล้ว สมานฉันท์ที่จริงแท้ควรเป็นอย่างไร 

               จะเกิดความ สมานฉันท์จริงแท้ได้ต้องมีทั้ง กระบวนการ ที่เห็นพ้องต้องกัน และการบรรลุ ผลลัพธ์ ที่เห็นพ้องต้องกัน โดยเป็นความเห็นพ้องต้องกันของ ฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องทั้งหมด

                ความขัดแย้งทางการเมืองของประเทศไทยในปัจจุบัน เป็นความขัดแย้งที่เข้มข้น ลงลึก ซับซ้อน และกว้างขวาง อย่างไม่เคยมีมาก่อน

                มีอยู่เกี่ยวข้องหลายฝ่ายมาก นับโดยสังเขปได้ดังนี้

                1. พตท.ทักษิณ ชินวัตร และคณะใกล้ชิด

                2. ผู้นำทางการเมืองฝ่ายคัดค้านพตท.ทักษิณ

                3. ผู้นำทางการเมืองฝ่ายสนับสนุนพตท.ทักษิณ

                4. กลุ่มที่เรียกตัวเองว่า พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

                5. กลุ่มที่เรียกตัวเองว่า คาราวานคนจน

                6. กลุ่มประชาชนอื่นๆที่คัดค้านพตท.ทักษิณ

                7. กลุ่มประชาชนอื่นๆที่สนับสนุนพตท.ทักษิณ

                8. กลุ่มประชาชนที่ไม่แสดงจุดยืนในทางสนับสนุนหรือคัดค้านพตท.ทักษิณ

                9. กรรมการการเลือกตั้งที่ยังดำรงตำแหน่งอยู่ หรือที่จะได้รับการแต่งตั้งใหม่

                10. ฝ่ายรักษาการสมาชิกวุฒิสภาบางส่วนที่แสดงจุดยืนบ่อยครั้ง

                11. ฝ่ายตุลาการบางส่วนที่แสดง จุดยืนบ่อยครั้ง

                12. ฝ่ายอื่นๆนอกจากที่กล่าวข้างต้น

                ผู้เกี่ยวข้องอาจมีมากกว่านี้หรือต่างไปจากนี้ก็ได้ ในกระบวนการสมานฉันท์จะเปิดกว้างและยืดหยุ่นไว้ ให้มีการจัดการตนเองและจัดการร่วมกันจนลงตัวได้ในที่สุด

                ผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่ายเหล่านี้ ต้องเห็นชอบร่วมกันก่อนเกี่ยวกับ กระบวนการ ที่จะใช้ในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง หากยังไม่เห็นพ้องต้องกันในขั้นนี้ กระบวนการจะสะดุดตั้งแต่ต้น 

บทบาทของ คนกลางในการแก้ความขัดแย้ง 

               โดยนัยนี้ การขอให้คุณบรรหาร ศิลปอาชา เป็น คนกลางในการคลี่คลายความขัดแย้ง อาจเกิดปัญหาหากผู้เกี่ยวข้องที่สำคัญยังไม่เห็นพ้องกัน หรืออาจเกิดความสับสนเนื่องจากคุณบรรหาร ศิลปอาชา เป็นคู่กรณีในความขัดแย้งอยู่ด้วย ทำให้ทำหน้าที่ได้ยากหรือไม่ราบรื่นเท่าที่ควร

                ที่อาจเป็นไปได้ คือ คุณบรรหาร ช่วยเป็นผู้เริ่มต้นกระบวนการให้มีการ พูดจากันในวงเล็กๆก่อน แล้วพยายามหาผู้ที่จะได้รับความเห็นชอบหรือยอมรับร่วมกันให้มาทำหน้าที่คนกลางอย่างแท้จริงในขั้นถัดไป ซึ่งอาจเป็นคนกลางคนเดียว หรือเป็นคณะคนกลางก็ได้

                คนกลางจะทำงานได้ผลก็ยังต้องเสนอแนะหรือจัดให้มีกระบวนการซึ่งเห็นชอบร่วมกันในขั้นตอนต่างๆทุกขั้นตอน เพื่อให้สามารถนำไปสู่ความสมานฉันท์คือความพอใจร่วมกันในที่สุด

                กระบวนการดังกล่าวนี้ รวมถึงการตอบประเด็นว่า จะใช้การเจรจาหารือกันหรือไม่ ใครบ้างจะเข้าสู่โต๊ะเจรจาหารือ จะแยกการเจรจาหารือเป็นหลายขั้นตอนไหม และแบ่งอย่างไร วิธีเจรจาหารือจะทำอย่างไร จะเปิดเผยมากน้อยแค่ไหน ในจังหวะใด และประเด็นอื่นๆอีกมากทีเดียว ซึ่งคนกลางจะต้องเอื้ออำนวยให้ผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดพยายามหาความเห็นพ้องเกี่ยวกับกระบวนการในแต่ละขั้นตอน ก่อนที่จะดำเนินการตามกระบวนการเหล่านั้นเพื่อพิจารณาสาระต่างๆในลำดับถัดไป

                การจัด กระบวนการทั้งหลายก็เพื่อให้สามารถเจรจาหารือกันอย่างราบรื่นและสร้างสรรค์ นำสู่การเห็นพ้องต้องกันในสาระที่สำคัญตามลำดับจนในที่สุดเป็นความเห็นพ้องกันในเรื่องทั้งหมด ทำให้สลายความขัดแย้งที่เป็นปัญหา  กลายเป็นความพอใจร่วมกันหรือ ความสมานฉันท์นั่นเอง

                ตรงนี้ถือว่ายากที่สุด หรือท้าทายที่สุด แต่ก็สำคัญที่สุดและถ้าทำได้จะเกิดประโยชน์ร่วมกัน มากที่สุด

                ดังได้กล่าวแล้วว่า ความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบัน มีความเข้มข้น ลงลึก ซับซ้อน และกว้างขวาง มากทีเดียว

                ฉะนั้น การบรรลุ ความเห็นพ้องกันหรือความพอใจร่วมกันโดยฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องทั้งหมดจึงยากมากๆและจะต้องเป็นความเห็นพ้องกันในหลายๆประเด็นที่สำคัญพร้อมกันไป มิใช่เห็นพ้องกันเพียงหนึ่งหรือสองประเด็น 

ประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณา

                ประเด็นที่สำคัญเหล่านี้อาจจะรวมถึง

                1. การ เว้นวรรคหรือไม่เว้นวรรคของพตท.ทักษิณ ชินวัตร พร้อมเงื่อนไขต่างๆที่ผูกพันกับการเว้นวรรคหรือไม่เว้นวรรคดังกล่าว

                2. สถานภาพและบทบาทของกรรมการเลือกตั้งที่ยังดำรงตำแหน่งอยู่หรือที่จะได้รับการแต่งตั้งใหม่ พร้อมเงื่อนไขที่เกี่ยวข้อง

                3. วิธีทำให้ฝ่ายต่างๆมั่นใจพอสมควรว่าการเลือกตั้ง วันที่ 15 ตุลาคม 2549 จะมีความ เรียบร้อย บริสุทธิ์ ยุติธรรม

                4. วิธีดำเนินการกับความสงสัยข้องใจในความสุจริตถูกต้องของผู้นำทางการเมืองให้พอเป็นที่ยอมรับร่วมกันได้

                5. บทบาทและพฤติกรรมที่เหมาะสมของฝ่ายตุลาการ โดยเฉพาะ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกา และศาลปกครอง

                6. บทบาทและพฤติกรรมที่เหมาะสมของกลุ่ม พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและกลุ่มอื่นๆที่คัดค้านพตท.ทักษิณ

                7. บทบาทและพฤติกรรมที่เหมาะสมของกลุ่ม คาราวานคนจนและกลุ่มอื่นๆที่สนับสนุนพตท.ทักษิณ

                8. บทบาทและพฤติกรรมที่เหมาะสมของฝ่ายอื่นๆ เช่น นักการเมืองของแต่ละพรรคการเมือง สื่อมวลชน นักวิชาการ นักปฏิบัติการสังคม ฯลฯ

                9. มาตรการระยะสั้นในการแก้ไขปรับปรุงรัฐธรรมนูญ

                10. แผนดำเนินการระยะยาวในการปฏิรูปและพัฒนาทางสังคมและการเมือง

 ถึงยากแค่ไหนก็ควรพยายาม

                ในการดำเนินการจริงๆ ผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดจะเป็นผู้พิจารณาและหาความเห็นพ้องในการเลือกประเด็นที่จะนำมาเจรจาหารือเป็นช่วงๆ โดยอาจแปรเปลี่ยนขัดเกลาเพิ่มเติมเมื่อเวลาผ่านไป

                การจะบรรลุความห็นพ้องกันในเรื่องทั้งหมดข้างต้น ต้องการความพยายามร่วมกันโดยทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องอย่างจริงใจ จริงจัง ด้วยความพากเพียร อดทน ใช้สติ ใช้ปัญญา โดยมีคนกลางที่เหมาะสม ช่วยจัดกระบวนการที่ดี และให้เวลาที่มากพอเพื่อเรื่องทั้งหมดนี้

                ส่วนบรรดา ผู้เฝ้ามองโดยเฉพาะสื่อมวลชน และกองเชียร์ทั้งหลาย ก็ควรพยายามให้ความเป็นธรรมอย่างสร้างสรรค์ และให้กำลังใจอย่างเหมาะสม ต่อผู้เข้าสู่กระบวนการเจรจาหารือทั้งหมด และต่อทุกๆฝ่าย รวมถึง

       คนกลางหรือคณะคนกลางด้วย

                เพราะเขาเหล่านั้น คือผู้ที่จะช่วยกันพาสังคมไทยออกจากความขัดแย้งแตกแยกที่สร้างความเสียหายมากมาย ไปสู่ความ สมานฉันท์หรือความพอใจร่วมกันซึ่งน่าจะหมายถึงสภาพอันพึงปรารถนาที่จะเป็นพื้นฐานสำคัญไปสู่ความเจริญงอกงามของประเทศไทย ของสังคมไทย และของประชาชนชาวไทยโดยรวม  ในที่สุด

(หมายเหตุ      บทความนี้เขียนขึ้นเมื่อ 24 ก.ค. 49 คือ 1 วัน ก่อนศาลอาญาพิพากษาจำคุก 3 กกต.นำลงใน Webblog : paiboon.gotoknow.org วันที่ 28 ก.ค. 49 และลงเป็นบทความใน นสพ.มติชนรายวัน ฉบับ 7 ส.ค. 49 หน้า 7)

ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม

28 ก.ค. 49

คำสำคัญ (Tags): #การพัฒนาสังคม
หมายเลขบันทึก: 41313เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2006 13:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 20:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)
สุขนิรันดร์ ดาวเรือง
ผมโชคดีมีโอกาสได้พบท่านอมรา พวงชมภู  กรรมการผู้จัดการบริษัทสยามแฮนด์ จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเสื้อแบรนด์ดังยี่ห้อแตงโมท่านเป็นคนสร้างปาฏิหาริย์  ทำสงคราม 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ด้วยอาศัยกลยุทธ เปลี่ยนอาวุธเป็นอาชีพ เปลี่ยนสนามรบเป็นโรงงาน โดยไม่ต้องการคำชมเชย นอกจากใจท่านที่จะทำความดีถวายในหลวง
..เดี๋ยวกูฉันท์เอง

กลุ่มโจรภาคใต้นี่มันเลวจริงๆ ฆ่าแม้กระทั่งเด็ก สตรี สันดานมันเถื่อนมันจัญไรเกินกว่าจะรับได้ อีกทั้งกลุ่มทหารที่เดินคุ้มครองครูและพระสงฆ์ บางครั้งมันก็เข้าไปฆ่า รูกำลังสอนอยู่ แล้วมีเหตุการณ์ครั้งหนึ่งที่มันปลุกระดมชาวบ้านมารุมทำร้ายนาวิกโยธิน จนตาย แต่มันยังไม่จบ ชาวบ้านที่โดนปลุกระดมก็มารุมทำร้ายครู 2 คน ครูได้เสียชีวิตไปหนึ่งคน มันเลวหน้าตัวเมีย จนเอาผู้หญิงไปประท้วงหาว่าทหารจับตัวผิด แบบนี้รัฐบาลจะสมานฉันท์อีกเหรอ รัฐบาลรอประเทศชาติฉิบหายวายวอดเหรอถึงจะบอกว่า"เราไม่ควรยอมให้ผู้ก่อการร้ายอยู่ในไทยอีกต่อไป พอกันทีสมานฉันท์"

robber South this its bad group really , kill even if , child , woman , inborn its wild its horrid exceed trait will more accept , moreover , soldier group that walk to protect a teacher and the Buddhist priest , sometimes it , enter kill , a hole is teaching , already have the events once at it excites villagers comes to lynch marine law , meet one's death , but , it still don't end , villagers who bump against to excite , come to lynch 2 teachers person law , one teacher gains and lose the life go to a person , it bad is a sissy , until take a woman goes to protest accuse of a soldier captures wrong , like this Really? is the government the will unanimity again ? , Really? is the government waits for the nation ruined ? will arrive at to tell " , we should not let the rioter is in Thai again , That will do. the unanimity " ,

ขอบคุณมากนะค่ะ สำหรับความคิดเห็นของคุณที่สามาทำให้หนู เขียนเรียงความของโรงเรียนไปได้อย่างราบรื่น

ขอบคุณจริงๆนะคะ

ขอบคุณค่ะพอดีว่าครูกำลังให้เขียนเรียงความเรื่อง สมานฉันท์ทั่วถิ่นไทย เทิดไท้องค์ราขันย์ ได้ให้ข้อมูลดีมากค่ะ

รักกันไว้เถิด  เราเกิดร่วมเเดนไทย

 

ชื่นชมในความคิดของท่านค่ะ ถ้าหากทุกคนมีจิตสำนึกที่ดีกว่านี้ ประเทศก็คงจะสงบสุขมากกวานี้ อยากให้ทุกฝ่ายร่วมมือกันแก้ปัญหาเพื่อประเทศไทยจะได้เป็นไทยเช่นเดิม

คำว่า "สมานฉันท์" คิดว่าน่าจะเป็นคำจากภาษาโบราณ

เกิดจากการรวมคำว่า "สมานัตตา + ฉันทะ" อาจจะให้ความหมายว่า ความพอใจจากการทำตนให้เสมอกัน ซึ่งจะต้องมีองค์ประกอบบนพื้นฐานของหลักการ ความเห็น ร่วมกัน

คงจะมีความจำเป็นที่จะต้องสรรหาองค์ความรู้ร่วมกันในหมู่ของนักการศึกษาและผู้ปฎิบัติการ

* ผลที่ต้องการ

** วิธีการที่จะบรรลุถึงผล

มุมมองจากอีกมิติหนึ่ง

มนุษย์เรามีส่วนประกอบ 2 ส่วนคือ ร่างกายกับจิตใจ

จิตใจมีอำนาจปรุงให้แสดงผลทางวาจาและร่างกาย

การเกิดทางกายนั้นมีครั้งเดียว

การเกิดจากจิตใจนั้นนับครั้งไม่ถ้วน การเกิดใหม่ในร่างเก่า ขึ้นอยู่กับอำนาจจิตที่ปรุงแต่งไป เช่น พบกระเป๋าเงินตกอยู่ ภายในจิตใจจะต่อสู้กันอยู่ว่าจะเลือกเกิดแบบไหนดี จะเอาไปประกาศหาเจ้าของดี หรือจะแอบเอามาใช้ประโยชน์เสียเอง

อะไรเป็นเหตุปัจจัยทีควบคุมหรือผลักดันอยู่ข้างหลังพฤติกรรมของบุคคล ตอนนี้ขอตอบว่า จิตใจ ความรู้สึก นึกคิด ของบุคคล

อะไรเป็นเหตุปัจจัยที่ผลักดันให้บุคคลต้องทำเช่นนั้น

ถ้าเป็นมุมมองจากส่วนตัว คิดว่า สังคมมีความพร้อมทุกอย่างแล้วเพียงแต่ขาดวิธีที่จะบริหารจัดการให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายที่ต้องการได้ ต้นทุนทางวัตถุคือระบบสื่อสารมวลชน

ทรัพยากรบุคคลก็มีมาก

คิดว่าน่าจะมองเข้าไปหาสภาวะด้านนามธรรม

โอกาสนี้ขอแสดงความคิดเห็นเพียงเท่านี้ก่อน

ด้วยความขอบคุณ

kunobha

จากมุมมองอีกมิติหนึ่ง-2

คำว่า "สมานฉันท์" คิดว่าน่าจะเป็นคำจากภาษาโบราณ

เกิดจากการรวมคำว่า "สมะ+อัตตา + ฉันทะ"

สมะ + อัตตา = สมานัตตา

สมานัตตา + ฉันทะ = สมานฉันท์

 สภาวะที่บุคคลปรับตนเองให้เสมอกันภายใต้หลักแห่งการปฏิบัติอันเดียวกัน เป็นกฎระเบียบเพื่อการควบคุมการกระทำหรือเว้นจากการกระทำทางกาย วาจา และจิตใจ

 เมื่ออยู่ภายใต้สภาวะปฏิบัติตนที่เหมือนกัน ก็จะเกิดความรู้สึก ความเห็นที่ใกล้เคียงกัน จะทำให้เข้าใจซึ่งกันและกันระหว่างบุคคล เกิดความรู้สึกที่เห็นใจกัน ความเป็นตัวตนต่างๆจะลดลง ความถือดีและความเห็นที่รุนแรงแบบยอมกันไม่ได้ก็จะเปลี่ยนไป นำไปสู่ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันที่มองเห็นคุณค่าของชีวิตแห่งความเป็นมนุษย์นั้นประเสริฐเพียงใด เมื่อเห็นตนเองเปลี่ยนไปจากเดิม ความรู้สึกยินดี พอใจ ก็จะเกิดตามมา

ในการสร้างสังคมที่สมานฉันท์นั้นต้องอาศัยเครื่องมือที่นำไปสู่ความสำเร็จ

* มีความเชื่อมั่นว่าเป็นสิ่งที่มนุษย์เราสามารถทำได้ อัตภาพแห่งความเป็นมนุษย์มี คุณลักษณะที่จะฝึกหัดตนเองเพื่อนำไปสู่ผลที่ต้องการ

** หลักความรู้ที่ ที่นำสู่การปฏิบัติจริง

*** วิธีการปฏิบัติที่จะนำหลักความรู้ถึงบุคคล

ถ้าเรามองดูความจริงจากบุคคลที่มีความเหมือนและแตกต่างกัน ถ้าเราฉลาดพอๆกันก็ไม่ค่อยจะมีปัญหา หรือไม่ฉลาดพอๆกันก็ยังไปกันได้ แต่เมื่อมีความฉลาดเริ่มแยกห่างกันมากขึ้นความเห็นไม่ตรงกันก็เกิดขึ้น และเมื่อต่างก็ยึดถือความเห็นของตนเป็นประมาณแล้ว เกิดความรู้สึกอึดอัดขึ้นและสะสมจากเล็กน้อยจนกระทั่งมาก มีมากเกินการบังคับควบคุมได้

องค์ประกอบมากมายที่ทำให้บุคคลมีความแตกต่างกันออกไปเอามากล่าวถึงกันได้มากแง่หลายมุม เมื่อมีภัยจากภายนอก(ภัยธรรมชาติ)เกิดขึ้นทำให้คนเราสามัคคีกัน แต่เมื่อมีภัยจากภายใน(สติปัญญา)ทำให้คนเราแตกสามัคคี

คิดว่ากระบวนการสร้างองค์ความรู้ที่ถูกต้องของชีวิตเป็นความจำเป็นเบื้องต้น

องค์ความรู้ที่ถูกต้อง ต้องเริ่มต้นจากการรู้จักตัวเอง

กระบวนการที่จะไปสู่ความสมานฉันท์ได้จะต้องเริ่มต้นจากตัวบุคคลที่เป็นตัวประกอบที่เล็กสุดของสังคม แล้วสังคมจะปรับโครงสร้างของสังคมเอง

ด้วยความขอบคุณ

Kunobha

สมานฉันท์-3

โครงการวาระแห่งชาติ

คิดว่าคงต้องลงทุนสูงยิ่งกว่าโครงการเมกะโปรเจคทั้งหลาย เพราะก่อเกิดคุณประโยชน์ต่อคนทั้งชาติและประชาคมโลกโดยรวมอันเนื่องมาจากยุคสมัยของความไร้พรมแดนทางการสื่อสาร

เท่าที่ได้ค้นหาข้อมูลขององค์ความรู้จากเว็บไซด์หลายๆเว็บไซด์ คิดว่าน่าจะนำมาปรับใช้ได้ทันทีและสื่อสารมวลชนแต่ละแขนงมีความสามารถที่จะนำเสนอต่อสาธารณะชนได้ในหลากหลายรูปแบบ หลากหลายแง่มุม คิดว่าอำนาจของการสื่อสารมีกำลังพอที่กำหนดชะตาของสังคมได้

สิ่งที่สื่อสารมวลชนจะนำเสนอในสิ่งที่เป็นลักษณะคุณูปการต่อสังคมมวลมนุษย์ ที่สามารถปฏิบัติได้เป็นรูปธรรมคือการที่จะให้บุคคลได้รู้จักตัวเอง ตัวตนของตน ความรู้สึกนึกคิด ผ่านการสื่อสารของคำว่า สติ ที่ค่อนข้างจะได้ยินเสียงได้เห็นภาพจากสื่อที่นำเสนอออกมาบ่อยๆ

ขอเพียงสื่อนำเสนอให้มีเนื้อหาละเอียดขึ้น ชัดเจนขึ้น สามารถที่จะจับต้องความรู้สึกของตัวตนบุคคลได้จริง ว่า สติ มีลักษณะอาการเป็นอย่างไร ที่เราทำได้ จับต้องได้ เข้าถึงได้

สติ จะเชื่อมต่ออยู่กับปัญญา เหมือนกับเป็นช่องทางของการนำเอาปัญญามาใช้ให้ได้ทันท่วงที ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ สภาพของ ปัญญา เหมือนกับเป็นสิ่งที่สะสมได้ แต่เมื่อ สติไม่มีกำลังมากพอก็ไม่สามารถที่จะนำเอาปัญญาไปใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกต้อง

ธรรมชาติอย่างหนึ่งของคนเราคือสามารถฝึกตนเองได้ เมื่อได้เห็น ได้ยินบ่อยๆ กระบวนการเรียนรู้จะเกิดขึ้นเอง แต่ระยะแรกจะต้องให้มีการนำเสนอให้บุคคลได้สัมผัสกับภาพหรือเสียงบ่อยๆเป็นประจำระยะหนึ่ง (ขนาดที่เพียงพอแต่ละบุคคลอาจจะแตกต่างกัน)

เมื่อเรามีสติมากขึ้น ความรู้สึกที่เราสัมผัสได้จากส่วนลึกในจิตใจของเราคือ ความสงบ ที่พ้นจากความปรุงแต่งอารมณ์ ความรู้สึกจากภายนอก แม้จะเป็นเพียงชั่วขณะสั้นๆ ถ้าเราฝึกทำอยู่กับวิถีชีวิตประจำวันปกติ แม้จะเป็นแค่เพียงระยะสั้นๆขณะเดียว เราจะเกิดความรู้สึกพอใจที่จะฝึกให้ตนเองมีสติอย่างต่อเนื่องมากขึ้น ต่อไปกระบวนการของการเกิดสติก็จะเป็นไปโดยธรรมชาติเอง

จากอณูธาตุของ H2O นำไปสู่การก่อเกิดเป็นห้วงน้ำมหาสมุทรกว้างไกลเกินสายตาที่คนจะทอดมองไปให้ถึงที่สุดได้ อำนาจของสติของบุคคลจะเปลี่ยนตนเองให้สงบได้ในพริบตาเดียวเมื่อถึงพร้อมด้วยเหตุปัจจัยเป็นที่เหมาะสม

ความสงบสุขและสมานฉันท์ในสังคมก็จะเป็นผลตามมาเองแบบไม่ต้องร้องขอ

ตอนนี้ขอเพียงให้ระบบสื่อสารมวลชนแขนงต่างๆ หรือรัฐบาลรับกันเป็นเจ้าภาพ เพื่อคุณูปการต่อโลกทั้งใบทีเดียว

ด้วยความขอบคุณ

kunobha

จะไห้เกิดความสมานฉันท์

1.ต้องยกเลิก รัฐธรรมนูญฉบับ คมช.

2.เอารัฐธรรมนูญฉบับปี 40 มาใช้

3.ให้ความยุติธรรมต่ออดีตนายกทักษิณ

4.กฎหมายต้องมีความยุติธรรมต่อทุกคนที่เป็นคนไทย(เพราะที่ผ่านมาประชาชนมองว่า ผู้ใช้กฏหมายจะไม่บังคับใช้กับผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับบุคคลที่ถูกยกย่องว่าเป็นรัฐบุรุษ)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท