เทคนิคการบริหารงานของคุณอำนวย (ตอน 4)


เครือข่ายกองทุนหมู่บ้าน ตำบลในคลองบางปลากด อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ

ทักษะของคุณอำนวย

เครือข่ายกองทุนหมู่บ้านตำบลในคลองบางปลากด

ทักษะ (น) ความชำนาญ

คำวามชำนาญ หมายถึง เชี่ยวชาญ ชัดเจน ความสามารถ เป็นคำช่วยกริยาบอกว่ามีคุณสมบัติที่จะทำได้

สำหรับทักษะสำคัญของคุณอำนวยในเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านตำบลในคลองบางปลากด ได้ถอดบทเรียนมาจากบุคคลต้นแบบของผู้ที่เป็นคุณอำนวยมืออาชีพ และสามารถวิเคราะห์เป็นภาพรวมได้ดังนี้คือ

1. การประสานความร่วมมือ

ด้วยการทำงานของคนในสังคมเมืองจะมีความเป็นปัจเจกสูงยึดความคิดเห็นของตนเองเป็นใหญ่ ดังนั้นในการขอความร่วมมือต่าง ๆ จำเป็นต้องใช้วิธีการที่หลากหลายรูปแบบ ทั้งการขอร้องให้ร่วมดำเนินการ การอธิบายให้บุคคลหรือกลุ่มองค์กรที่จะเข้าร่วมเห็นประโยชน์ การตั้งข้อแลกเปลี่ยน และการใช้อำนาจของบุคคลที่เหนือกว่ามาใช้บังคับ ตัวอย่างเช่น การเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการเครือข่ายได้ให้ทางอำเภอเป็นผู้ออกหนังสือเชิญเข้าร่วมประชุมเพราะหากเชิญกันเองจะไม่ค่อยมีคนมา

2. การสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจ

การสื่อสารเรื่องราวต่าง ๆ ไม่ว่าจะเพื่อแจ้งให้ทราบ หามติในที่ประชุม เพื่อการแก้ปัญหา หรือแม้กระทั่งการพัฒนาจำเป็นต้องขายความ อธิบาย ยกตัวอย่าง เพื่อให้เกิดคามเข้าใจรับรู้ได้ง่าย แต่สิ่งสำคัญคือผู้ที่จะมาสื่อนั้นต้องรับสารมาอย่างถูกต้องและต้องสื่อให้เกิดพลังในการเคลื่อนไหวกิจกรรมต่อไป เช่น หมู่ที่ 5 รับสารเรื่องการออมสัจจะวันละหนึ่งบาท จากการไปศึกษาดูงานที่จังหวัดตรา แล้วได้นำกลับมาดำเนินการที่หมู่ที่ 5 และได้ขยายผลให้หมู่อื่น ๆ ได้มีส่วนร่วมต่อไป

3. การวางแผนการทำงาน

ทุกครั้งก่อนที่จะมีการดำเนินงานจะมีการตั้งวัตถุประสงค์และเป้าหมายไว้ทุกครั้ง เพื่อหากิจกรรมที่จะดำเนินการไปให้ถึงเป้าหมาย ตัวอย่างเช่น ก่อนที่จะประชุม หรือจัดไปทัศนะศึกษาแต่ละครั้ง ทีมงานวิจัยในชุมชนก็จะประชุมเสนอแนวทางการจัดกิจกรรจากนั้นก็จะติดต่อประสานงานเพื่อให้กิจกรรมดำนินการไปตามแผนอาจจะมีบางครั้งที่กิจกรรมเป็ไปเหนือความคาดหมาย บางกิจกรรมน้อยกว่าความคาดหมาย นั้นเป็นสิ่งบอกผลลัพธ์ของการวางแผน แต่บางครั้งก็มีปัจจัยที่จำกัดไม่ได้ทำให้ไม่เป็นไปตามแผนในงานชุมชน

4. การจัดการและดำเนินการประชุมเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตามเป้าหมายที่วางไว้

การประชุมส่วนใหญ่ทั้งระดับเครือข่าย และกองทุนที่ดำเนินการไม่มีปัญหาจะมีการนัดประชุมทุกเดือน ในการประชุมก็จะมีการจัดเตรียมเอกสารประกอบการประชุมเพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกัน

5. การตั้งคำถามอย่างต่อเนื่อง

ในการดำเนินเวทีแต่ละครั้งจะมีผู้ที่ตั้งคำถามและตอบคำถามให้เกิดความกระจ่าย มีการให้เหตุผล พร้อมทั้งมีการรับฟังความคิดเห็น

6. สรุปประเด็นหรือสาระสำคัญ

เมื่อเวทีแต่ละครั้งจะจบลงก็จะมีผู้คอยทำการสรุปว่าสิ่งที่พบนั้นเป็นอย่างไร จะนำไปประยุกต์ในการทำงานปัจจุบันที่ดำเนินการอยู่แล้วอย่างไร

คำสำคัญ (Tags): #ทรงพระเจริญ
หมายเลขบันทึก: 41244เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2006 08:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท