ถ้าอยากเข้าใจ KM ควรคิดถึง KR กันก่อนไหมคะ


ขอเสนอความคิดนี้เอาไว้ เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชาว GotoKnow ทั้งหลาย

เมื่อมีโอกาสต้องอธิบายว่า KM หรือการจัดการความรู้ คืออะไร ก็จะมีอันต้องพูดถึงความรู้อะไรที่เราจะจัดการทุกที สงสัยว่าเอ๊ะ ทำไมถึงไปเริ่มอธิบายที่คำนี้นะ

เพราะจริงๆเวลาเราจะทำการจัดการความรู้ สิ่งที่ตัวเองมักจะเน้นย้ำก็คือ เราคนทำงานทุกคนทุกชนิดงานต้องเชื่อมั่นว่าตัวเองมีความรู้ที่ไม่เหมือนใคร เป็นสิ่งที่เราได้รับและสะสมอยู่ในตัวจากการทำงานเดิมซ้ำๆกันเป็นเวลานานๆจนเราอาจจะคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดา ให้เราทุกคนคิดถึงว่าตัวเรารู้อะไร โดยเฉพาะความรู้ที่เป็นความรู้ฝังลึก ตรงจุดนี้ตัวเองคิดถึงคำว่า Knowledge Recognition เป็น KR ตัวแรก ก็คือการตระหนักรู้ว่ามีความรู้อะไร จากนั้นเราต้องทบทวนแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่น เป็น KR ตัวที่ 2 และ 3 คือ Knowledge Release* และ  Knowledge Revision เมื่อมีการแลกเปลี่ยน ต่อยอดกันแล้ว เราก็จะสามารถถ่ายทอดออกมาให้ความรู้นั้นได้รับการนำไปใช้ประโยชน์ เป็น KR ตัวที่ 4 คือ Knowledge Re-use หรือ Re-utilization
*เป็น R ที่เพิ่มเติมโดยอ.หมอปารมี-คุณเอื้อผู้แสนขยันของภาคพยา-ธินี่เองค่ะ

ทั้ง 3 KR นี้ก็คือกระบวนการ KM นั่นเอง ตัวเองคิดว่าการอธิบายแบบนี้ ดูเหมือนจะเห็นภาพของการจัดการความรู้ได้ดีขึ้น ยังไม่ได้มีโอกาสนำไปพูดที่ไหน อยากจะเอามาเล่าเพื่อถามความเห็นจากเพื่อนๆชาว GotoKnow ว่า เป็นวิธีการอธิบาย KM ที่เข้าใจได้ง่ายหรือไม่คะ ใครจะนำไปขยายต่อก็ไม่สงวนลิขสิทธิ์นะคะ อยากฟังความคิดเห็นต่อยอดจากทุกๆท่านค่ะ 

ส่วนที่ต่อยอดโดยคุณ Handy รู้สึกจะช่วยเติมเต็มได้ดีมากเลยค่ะ ขอเอามาเสริมไว้ในส่วนนี้เลยด้วยนะคะ คือ

  1. Knowledge Recognition   รู้ว่า รู้อะไร
  2. Knowledge Realization   เห็นคุณค่าสิ่งที่รู้
  3. Knowledge Release ปลดปล่อย - แลกเปลี่ยน ความรู้
  4. Knowledge Revision  ทบทวนความรู้
  5. Knowledge Re-use  ใช้ความรู้ (รอบใหม่)

รวมกันเป็น 5 KR ที่เป็นกระบวนการนำไปสู่ KM (การจัดการความรู้)

ท่านใดจะนำไปใช้ในการอธิบายเรื่อง KM ก็เชิญได้ตามสะดวกเลยนะคะ คิดว่าความรู้ความเข้าใจเรื่องนี้ จะทำให้ขุมทรัพย์ทางปัญญาของเราตื่นรู้ตัวเองได้มากยิ่งๆขึ้นค่ะ

หมายเลขบันทึก: 41226เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2006 00:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
เห็นด้วยครับ

ดีค่ะ ทำให้เข้าใจ และ จำง่ายขึ้น

ขอเสนอ KR เพิ่มอีกหนึ่ง คือ Knowledge release คือ เมื่อ recognize ว่ามีความรู้แล้ว ก็ปลดปล่อยความรู้ออกมาในการ ลปรร. แล้วจึงเกิด knowledge revision 

      ดีครับ เห็นด้วย และขอแถมหน่อยนึง .. แค่ลองดูเท่านั้น ..

  1. Knowledge Recognition   รู้ว่า รู้อะไร
  2. Knowledge Realization   เห็นคุณค่าสิ่งที่รู้
  3. Knowledge Release ปลดปล่อย - แลกเปลี่ยน ความรู้
  4. Knowledge Revision  ทบทวนความรู้
  5. Knowledge Re-use  ใช้ความรู้ (รอบใหม่)
เข้าใจง่ายขึ้นค่ะคุณโอ๋ จากการตั้งต้นแบบเดิม "เมื่อมีโอกาสต้องอธิบายว่า KM หรือการจัดการความรู้ คืออะไร ก็จะมีอันต้องพูดถึงความรู้อะไรที่เราจะจัดการ" ทำให้คนงง หรือไม่ก็เห็นภาพไม่ชัดค่ะ เพราะนั่งทบทวนตัวเองอยู่ว่าแล้วเรามีความรู้อะไร จะติดอยู่ตรงนั้นค่ะ หากเริ่มต้นแบบที่พี่โอ๋ คิด น่าจะดีขึ้น คุณเมตตาขอนำไปในชั้นเรียนนะคะ โอกาสดีๆ จะเชิญต้นตำรับไปร่วมเป็นวิทยากรด้วยกัน ขอบคุณโอ๋ค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท