ทำไมจะต้องคุ้มครองเทคโนโลยี ???


ประเด็นเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาเป็นประเด็นที่มีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากจะเป็นจุดสำคัญที่จะมีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ถ้าหากประเทศต่างๆไม่ได้ให้ความสนใจในเรื่องนี้แล้ว ก็จะทำให้ผู้ที่จะทำการวิจัยค้นคว้าเกิดไม่มีแรงจูงใจที่จะพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆออกมา ก็จะเป็นปัญหาในการพัฒนาประเทศต่างๆต่อไป

                ในปัจจุบันเราจะพบได้ว่าเทคโนโลยีนั้นมีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ ฉะนั้นเทคโนโลยีจึงได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมากๆ ซึ่งจะพบได้ว่าช่วงอายุของเทคโนโลยี (Life Cycle) ของแต่ละตัว นั้นมีช่วงอายุที่สั้นลงทุกที เหตุผลประการสำคัญที่เทคโนโลยีมีช่วงอายุที่สั่นก็สืบเนื่องมาจากเจ้าของเทคโนโลยีจำเป็นจะต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆขึ้นมา เพื่อที่จะป้องกันไม่ให้คู่แข่งหรือผู้ไม่หวังดีทำการเลียนแบบเทคโนโลยีได้โดยง่ายเพราะหากเป็นเช่นนั้นจะทำให้เจ้าของเทคโนโลยีมีคู่แข่งทางการค้ามากขึ้น ซึ่งก็จะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจทั้งต่อผู้ผลิตเทคโนโลยี และประเทศเจ้าของผู้ผลิต ซึ่งในปัจจุบันปัญหาดังกล่าวนั้นทำให้หลายประเทศเริ่มหันมาสนใจในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา เนื่องจากต้องการป้องกันไม่ให้มีการลอกเลียนแบบเทคโนโลยี โดยให้ความสนใจประเด็นเรื่อง ความคุ้มครองทางทรัพย์สินทางปัญญา

                 สำหรับประเทศไทยแล้วก็ไม่ได้นิ่งเฉยที่จะตราบทบัญญัติที่เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา โดยสามารถเห็นได้จากที่ประเทศไทยได้เข้าไปมีส่วนร่วม หรือเป็นภาคีกับอนุสัญญาเบอร์น   เพื่อการคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรมระหว่างประเทศ รวมตลอดถึงอนุสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมต่าง    อีกหลายฉบับ จนทำให้ประเทศไทยมีพันธกิจที่จะต้องตราบทบัญญัติภายในประเทศให้สอดคล้องกับอนุสัญญาที่ได้ตกลงไว้ เนื่องจากอนุสัญญาหรือสนธิสัญญาต่างๆที่ไทยทำนั้นจะมีผลผูกพันกฎหมายภายในก็ต่อเมื่อมีกฎหมายภายในมารองรับ จึงได้มีการตราพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์   .. 2521    ซึ่งวางหลักว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศไว้ในมาตรา  42 และก็มีการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนไขในการคุ้มครองลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศแล้ว 

                     แต่การทำอนุสัญญากรุงเบอร์นนั้นก็มีข้อจำกัดที่จะไม่ครอบคลุมถึงประเทศอื่นๆที่ไม่ได้เป็นภาคีกับอนุสัญญาดังกล่าว ซึ่งประเด็นตรงนี้เองเป็นเรื่องสำคัญว่าจะทำอย่างไรกับประเทศที่มิได้เป็นภาคีอนุสัญญากรุงเบอร์นดังกล่าว สำหรับประเทศไทยนั้นตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุ้มครองลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ   นิยามคำว่า    อนุสัญญา    ในพระราชกฤษฎีกาว่า   หมายเฉพาะอนุสัญญากรุงเบอร์น   ทำให้เห็นว่า งานอันมีลิขสิทธิ์ตามกฎหมายของประเทศที่มิได้เป็นภาคีสมาชิกอนุสัญญานี้ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกาย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชกฤษฎีกานี้     ปัญหาน่าคิดก็คือ งานสร้างสรรค์ที่มีลิขสิทธิ์ในประเทศสหรัฐอเมริกาจะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายไทยหรือไม่                

                   เป็นที่ทราบกันดีว่าประเทศอเมริกาซึ่งถือว่าเป็นประเทศที่มีการทำวิจัยและค้นคว้าสูงเป็นอันดับต้นๆ อาจกล่าวได้ว่าเป็นประเทศผู้ผลิตเทคโนโลยีของโลกซึ่งตรงนี้เองเป็นจุดเริ่มต้นของประเทศมหาอำนาจอย่างอเมริกาที่ต้องการทำข้อตกลง โดยในปัจจุบันอเมริกาเริ่มที่จะทำข้อตกลงการค้าเสรีกับประเทศต่างๆ ในด้านการค้า การลงทุน และ ทางด้านทรัพย์สินทางปัญญากับประเทศอื่น และแน่นอนว่าการทำข้อตกลงต่างๆนั้นมีโอกาสเป็นไปได้ว่าจะต้องเอื้อประโยชน์ให้กับประเทศของตนซึ่งอยู่ในฐานะเจ้าของเทคโนโลยีมากกว่าประเทศคู่สัญญา               

                   เมื่อพิจารณาการเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับอเมริกา ซึ่งจะพบว่ามีลักษณะกว้างครอบคลุมทุกเรื่อง (comprehensive)  ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การเปิดเสรีการค้าสินค้า ภาคบริการ และการลงทุน รวมทั้งประเด็นเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา สิ่งแวดล้อม และแรงงาน ที่อเมริกา ต้องการให้มีลักษณะการผูกพันการบังคับใช้กฎหมายที่เข้มงวด ซึ่งจะพบว่าประเด็นที่อเมริกาจะขาดไม่ได้เลยก็เรื่องทรัพย์สินทางปัญญา เหตุผลที่อเมริกาต้องการผลักดันให้มีประเด็นนี้ก็เนื่องจากอเมริกาเป็นประเทศที่มีการวิจัยและค้นคว้าที่สูงมาก ทำให้มีผู้ที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์และเจ้าของสิทธิบัตรเป็นจำนวนมาก ฉะนั้นการที่อเมริกาต้องการทำข้อตกลงการค้าเสรีกับประเทศต่างๆ ซึ่งรวมประเทศไทยด้วยนั้น ก็เนื่องจากต้องการขยายระยะเวลาที่คุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาให้นานมากขึ้น เพื่อที่จะคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของตนเอง               

                    จากข้อตกลงเขตการค้าเสรีนั้นจะพบว่ามีผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างมาก เพราะการเจรจากับอเมริกานั้นจะทำให้ประเทศไทยต้องยอมรับข้อผูกพันดังกล่าวซึ่งประเด็นสำคัญในการทำข้อตกลงคือการแก้ไขกฎหมายภายในประเทศ โดยจะต้องมีการแก้ไขกฎหมายให้มีการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่เข้มงวดขึ้น ซึ่งจะกระทบต่อประชาชนในวงกว้างทั้งผู้ประกอบการและประชาชนซึ่งเป็นผู้บริโภคทั่วไป และยังรวมถึงการเปลี่ยนแปลงข้อกฎหมายเรื่องการอนุญาตให้ชาวอเมริกาเข้ามาประกอบอาชีพที่ประเทศไทยยังไม่มีความสามารถพอที่จะแข่งขันได้ หรือกรณีการเพิ่มจำนวนสัดส่วนให้กับคนอเมริกาในการถือหุ้นในธุรกิจบางประเทศ               

                    ประเด็นเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาเป็นประเด็นที่มีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากจะเป็นจุดสำคัญที่จะมีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ถ้าหากประเทศต่างๆไม่ได้ให้ความสนใจในเรื่องนี้แล้ว ก็จะทำให้ผู้ที่จะทำการวิจัยค้นคว้าเกิดไม่มีแรงจูงใจที่จะพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆออกมา ก็จะเป็นปัญหาในการพัฒนาประเทศต่างๆต่อไป

อ้างอิง : ttp://www.nectec.or.th/pld/seminar/FTA_eCommerce20060816.pdf , http://www.nsru.ac.th/e-learning/commlaw/chapter3.htm , http://www.scb.co.th/LIB/th/article/kra/2547/k1595.html


ความเห็น (1)
ใช่ค่ะ ทรัพย์สินทางปัญญา เป็นสิ่งที่สำคัญมากในปัจจุบัน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท