กลุ่มเสี่ยง..เบาหวานและความดันโลหิตสูง


       หลังจากที่iร.พ พุทธชินราช มีระบบการดูแลคนเป็นโรคเรียบร้อยแล้ว    กลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง เป็นสมาชิกอีกกลุ่มที่เราวางแผนการดำเนินการที่จะดูแล   ปี 2549 พี่ๆของเราที่PCU ดำเนินงานคัดกรองโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง จนถึงวันนี้ (เดือน ก.ค 2549 ) เขต อ.เมือง คัดกรองได้ 69 %บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ แต่เราก็ยังดำเนินการต่อไปเรื่อยๆ   จากการคัดกรอง เรามีกลุ่มเสี่ยงหลายพันคน เราจึงเริ่มวางแผนในระดับชุมชน โดยเริ่มที่PCU ท่าทอง ร่วมคิดร่วมวางแผน ให้พื้นที่รู้ถึงปัญหาสถานการณ์ของโรค...ทีมงานพยายามสอดแทรกการจัดการความรู้ในลงเนื้องาน โดยการเกริ่นรูปแบบที่แปลกแตกต่างจากกิจกรรมเดิมๆ ที่คาดว่าจะสร้างความตระหนัก และสร้างทักษะการเรียนรู้ให้เกิดในแต่ละบุคคลเพื่อให้แต่ละคนหาทางจัดการกับความเสี่ยงของตนเอง  ป้องกันไม่ไห้เป็นเบาหวาน......

จากกิจกรรม  เรามี สมาชิกที่มาร่วมเป็นผู้ที่มี ระดับน้ำตาล 100 -126 mg% มีความเสี่ยงทางพฤติกรรมมากกว่า 1 ข้อ จำนวน 150 คน เป็นสมาชิกกลุ่มใหญ่และสร้างความหนักใจให้เราพอสมควร แต่ด้วยข้อจำกัดของการทำงานและภาระงานในอีกหลายๆพื้นที่ จึงได้ข้อสรุป จัดกลุ่มใหญ่ๆแบบนี้แหละ 

สรุปขั้นตอนการทำงาน

1. คัดกรองตามมาตรฐาน

2. จัดทำทะเบียนกลุ่มดี-กลุ่มเสี่ยง-กลุ่มป่วย

3. คัดเลือกกลุ่มเสี่ยงมาวางแผนการปรับเปลี่บนพฤติกรรมเสี่ยง

4. ประชุมในพื้นที่ เพื่อให้ทราบปัญหา-วางแผน-ดำเนินกิจกรรม 

5. pre-post test

6. ติดตามผลการดำเนินงาน

7. ประเมินผลกิจกรรม

                   

                

ตารางแสดงความรู้ของสมาชิกที่เข้าร่วมกิจกรรม

ระดับความรู้

ก่อนเข้าร่วม กิจกรรม (%) หลังเข้าร่วมกิจกรรม(%)
ระดับมาก ( 80%)       89        94
ระดับปานกลาง(60-80%)       11         6
ระดับน้อย (< 60%)        0         0

ข้อมูลความเสี่ยงของสมาชิกที่เข้าร่วมกิจกรรม 

ข้อมูล

      ร้อยละ
ระดับ FBS 100-126 mg%          56
ญาติสายตรงเป็นเบาหวาน          45
อ้วน          23
เป็นความดันโลหิตสูง          42
ภาวะไขมันในเลือดสูง          39
         


 

 

  

จากข้อมูลที่เราได้ จึงเป็นที่มาของรูปแบบการดำเนินงาน ความรู้ของกลุ่มเป้าหมายของเราอยู่ในระดับมาก เป็นส่วนใหญ่ ประเด็นความรู้คงไม่ใช้ปัญหา  แต่เมื่อใช้กระบวนคิดร่วมกัน สมาชิกของเราต่างแสดงความเห็นต่างๆนาๆดังนี้ Ø      รู้แต่ไม่ทำ   Ø      ไม่รู้จะทำวิธีไหนØ      โรคจะเกิดกับเราจริงๆหรือØ      เราคงไม่โชคร้ายจะเป็นหรอก ??  กลุ่มแกนนำจึงพยายามหาความรู้ ผู้รู้ทั้งในและนอกชุมชน จากหนังสือและสื่อต่างๆ จนเป็นที่มาในการพยายามหา ผู้ป่วยที่มีประสบการณ์การเป็นเบาหวานจากประวัติย้อนหลัง มีระดับ FBS 100-110 mg% เป็นระยะเวลานานถึง 7 ปี  มีประสบการณ์ทั้งสำเร็จและล้มเหลว ในการดูแลตนเองเก็บสะสมเป็นความรู้ในตัว จนปีที่ 7 เป็นเบาหวาน เมื่อมีเวทีชุมชน จึงเป็นโอกาสที่เหมาะสมในการนำตัวอย่างมาถ่ายทอดเรี่องราวให้สมาชิกในชุมชนฟังและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ตรงอย่างน่าสนใจและตรงใจมากกว่ารูปแบบการบรรยายโดยนักวิชาการ   ผู้นำชุมชนและแกนนำชุมชนที่มีศักยภาพสูงของชุมชนท่าทอง สามารถชักชวนให้สมาชิกชุมชนเห็นความสำคัญ ก่อเกิดเป็น เวทีชาวบ้าน  และแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนความสำเร็จและความล้มเหลวในระหว่างสมาชิกที่จะดูแลตนเองให้เกิดโรคเบาหวานช้าที่สุด โดยมีรูปแบบการปรับพฤติกรรมที่แตกต่างกันไป

กิจกรรมดังกล่าวไม่ได้มีแต่ชาวบ้านเท่านั้น แต่มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเข้ามาร่วมด้วย  ทำให้แนวทางการแก้ปัญหาที่ขาดความรู้ทางวิชาการ  ได้มาบรรจบพบกับความรู้ที่เป็นส่วนขาดของชุมชน

ก่อเกิดเป็น การจัดการความเสี่ยงโดยการประสานความร่วมมือระหว่างชุมชนและนักวิชาการ ที่ ผสมผสานกลมกลืน  

ผลลัพธ์ที่ได้ในกิจกรรมนี้คงไม่ใช้ผล POST -TEST ที่แสดงว่ากลุ่มเสี่ยงในชุมชนมีความรู้เพิ่มขึ้น      แต่เราจะติดตามและดูความเข็มแข็ง

ของชุมชนทีเริ่มจากฐานการเรียนรู้วงนี้ ขยายไปสู่กิจกรรมอื่นๆ เพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรค ตามที่สมาชิกบอกว่า ปี 2550 เราจะไม่เป็นเบาหวาน และตั้งเป้าหมายว่าระดับน้ำตาลในปีหน้าของแต่ละคนจะไม่เพิ่มไปกว่านี้ ซึ่งเราได้แต่หวังว่าสมาชิกทั้ง 150 คน คงจะมีแนวทางในการจัดการดูแลตนเองที่เหมาะสม โดยนำประสบการณ์+ความรู้ที่ได้ไปปรับประยุกติ์ใช้ได้อย่างเหมาะสม  ซึ่งเป็นเรื่องที่เราชาวสาธารณสุขคงจะเข้าไปกำหนดเป็นรูปแบบที่ตายตัวไม่ได้

 

     ปี 2550 เราจะมารายงานผลว่าสมาชิกท่าทองของเราจะมีระดับน้ำตาลเป็นอย่างไร

                                               ผู้เล่า รัชดา พิพัฒน์ศาสตร์

                                                        ปิลันธนา จันทร  

 

หมายเลขบันทึก: 41178เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2006 17:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
อ้อ อุ๋ย  ทำได้ดีมาก ถ้า 150 คนนี้ สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมแล้วไม่เป็นเบาหวานในอนาคตได้ ถือว่าอ้อ อุ๋ย ได้ทำประโยชน์ให้กับสังคมอย่างมากเลยนะ นี่คือการป้องกันที่แท้จริง อย่าว่าแต่ 150 คนเลย แม้แต่คนเดียวก็คุ้มค่า ไม่เสียแรงที่ได้ทำงานร่วมกัน ชื่นชมด้วยความจริงใจ
ขอบคุณคะ ..แต่หัวหน้าคะ..สงสัยสมาชิกคนที่ 151.... (อ้อเองคะ)จะเป็นเบาหวาน เพราะขนมของแต่ละชุมชน อร่อยจริงๆคะ ...(แฮะ..แฮะ..แซวเล่นคะ...)

ถามว่า

ทานกาแฟสดมากๆ  สามารถเป็นเบาหวานได้หรือเปล่าค่ะ

ไม่เป็นก็ทนไหวแล้วอ้อ เห็นกินก๋วยเตี๋ยว ตักน้ำตาลใส่ที 2 ช้อนโต๊ะ ลดหน่อยนะจ๊ะน้อง
  • อนุโมทนาด้วยครับช่วยเหลือผู้ป่วยด้วยจิตและใจที่เอื้ออาทร
  • ครับเบาหวานทำให้สุขภาพเสียสมดุลย์ไปหมด
  • ทึ่งในการทำงานเป็นทีมของ ร.พ.
  • ขอบคุณ คุณครู บัว ทองกะไลย  ค่ะที่มาแลกเปลี่ยนฯ ทักทาย
  • เบาหวานแม้จะทำให้สุขภาพเสียสมดุล แต่เราสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเอง และเรียนรู้ที่จะอยู่กับเบาหวานได้ค่ะ ทำนองว่าถ้อยทีถ้อยอาศัยกันระหว่างเบาหวานกับผู้ที่เป็นเบาหวาน เราต้องรู้ทันเบาหวานค่ะ รับรองว่าแม้เป็นเบาหวานชีวิตก็มีความสุขได้ค่ะ
  • ทีมเรามีกำลังใจอย่างน้อยก็จากคุณครูบัวหนึ่งคนล่ะค่ะ นอกจากกำลังใจยังต้องอาศัยแรงบันดาลใจด้วยค่ะ ทีมถึงจะเวิล์ค

 

ขอเป็นกำลังใจให้ทั้งทีมงานและผู้ร่วมโครงการทุกท่านนะคะ ชื่นชมในการทำงานเชิงรุกสู่ชุมชน และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชน ขอให้ทุกคนมีสุขภาพแข็งแรงนะคะ

อยากได้ตัวอย่างทะเบียนกลุ่มเสี่ยงจัง ขอตัวอย่างได้ไหมค่ะ

สวัสดีค่ะ ตอนนี้ทำโครงการผู้ป่วยเสี่ยงเบาหวานความดันในเขตมหาสารคามเหมือนกันค่ะ ได้ข้อมูลแล้วค่ะ อยากทราบข้อมูลของทางพิษณุโลกบ้างค่ะ เพื่อเอามาใช้อ้างอิง และไม่ทราบมีการติดตามผลในกลุ่มเสี่ยงต่อหรือไม่คะ

ขออนุญาตขอข้อมูลไ้ด้หรือไม่ค่ะ หรือว่าตีพิมพ์ในวารสารใด เพื่อจะนำมาอ้างอิงผลค่ะ และยินดีให้ผลของมหาสารคามเช่นกันค่ะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ

ได้รับมอบหมายให้ดูแลงานสร้างเสริมสุขภาพของจนท.ร.พ.ศรีมหาโพธิและจะต้องจัดกิจกรรมกลุ่มเสี่ยงกลุ่มป่วยให้กับจนท.ซึ่งในเรื่องของของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและกิจกรรมในวันประชุม ซึ่งยังไม่มีความรู้ในเรื่องนี้ดีจึงอยากจะขออนุญาตขอข้อมูลในการจัดกิจกรรมบ้างได้มั๊ยค่ะ(ขอความกรุณาช่วยชี้แนะ)ซึ่งทางทีมงานจะจัดกิจกรรมในวันที่23 มิ.ย.52นี้ค่ะขอขอบพระคุณล่วงหน้า....รุ่งทิพย์ ทวียศ ร.พ.ศรีมหาโพธิ อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี 25140

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท