เสวนาจานส้มตำ : ทำไมเด็กไทยไม่ชอบอ่านหนังสือ


ตัวเลือกที่มีมากขึ้น ทำให้หนังสือถูกเลือกน้อยลง
หลายท่านคงจะเคยสัมผัส เคยได้ยินแต่การเสวนาโต๊ะกลมในห้องประชุมทั่วๆไป

แล้วอะไรกันล่ะเนี่ย เสวนาจานส้มตำ

ความจริง ก็คล้ายๆการเสวนาโต๊ะกลมนั่นแหละครับ เพียงแต่ว่า ไม่ได้จัดในห้องประชุมใหญ่โต แต่นั่งเสวนากันที่ตลาดโต้รุ่ง กลางแจ้งหลังโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ นั่งล้อมวงกินส้มตำอย่างเอร็ดอร่อย แต่ก็ได้สาระในแบบลูกทุ่งเช่นกันนะครับ

คู่สนทนา 1 - "อ่านข่าวเค้าว่า คนไทยอ่านหนังสือโดยเฉลี่ย 8 บรรทัดต่อปี เวอร์ไปรึเปล่า ไปสำรวจที่โลกไหนกันล่ะ ขนาดผมยังอ่านตั้งหลายบรรทัดทุกวัน ก็ป้ายโฆษณานั่นไงล่ะ"

คู่สนทนา 2 - " นั่นมันตัวหนังสือ ไม่ใช่อ่านจากหนังสือ ต้องบอกว่า อ่านป้ายมากกว่า"

คู่สนทนา 3 - " เวลาไปถามความเห็นเรื่องต่างๆ เด็กๆจะพูดจาให้เหตุผลในแบบบ้านๆมากๆเลย เพราะไม่ค่อยอ่านหนังสือ ไม่เปิดรับข้อมูลเชิงลึก เลยเป็นคนที่ไม่คิดรอบด้าน ไม่ค่อยจะลุ่มลึกมากนัก"

คู่สนทนา 1 - "ระหว่างหนังสือกับคอมพิวเตอร์ ใครก็เลือกคอมฯ กันทั้งนั้น สะดวกกว่าตั้งเยอะ ทำอะไรได้หลายอย่าง เข้าถึงข้อมูลได้ง่าย ไม่กี่คลิกก็รู้หมดทั้งโลก ทั้งข่าวสาร ความรู้ เพื่อน ภาพ เพลง ฯลฯ แต่หนังสือจะต้องไปหาที่อ่านเงียบๆ มีสมาธิดีๆ และต้องอ่านอย่างเดียว ไปทำอย่างอื่นไม่ได้เลย ไม่งั้นจะไม่รู้เรื่อง "

คู่สนทนา 3 - "ตัวเลือกที่มีมากขึ้น ทำให้หนังสือถูกเลือกน้อยลง อย่างในห้องเรียน มีเด็กนักเรียน 50 คน จะมีคนอ่านหนังสือที่มีสาระ ความรู้ อยู่ซัก 10 คนได้มั้ง นอกนั้นเกินครึ่งห้อง จะดูทีวี เล่มคอมพิวเตอร์เป็นส่วนใหญ่ "

คู่สนทนา 2 - "ใช่เลย ...เวลาไปคุยเรื่องหนังสือจะมีกี่คนที่จะคุยด้วยเชียว แต่ถ้าคุยเรื่องคอมพิวเตอร์ เรื่องละครทีวี แหม  มีคนคุยด้วยเพียบเลย  แล้วแบบนี้ใครจะอยากไปอ่านหนังสือล่ะ"

นายบอน - "แสดงว่า ถ้ากลับกัน ในห้องนั้นมีคนอ่านหนังสือเกินครึ่งห้อง คนก็จะอ่านหนังสือมากขึ้นหรือเปล่า"

คู่สนทนา 3 - "แน่นอนครับ ถ้าอยากเข้ากลุ่ม ก็ต้องปรับตัว ต้องทำกิจกรรมคล้ายๆกัน ถึงจะคุยกันรู้เรื่อง  ถ้าคนในห้องอ่านหนังสือเยอะ คนที่ยังไม่อ่านก็จะต้องไปอ่านหนังสือ เพื่อจะได้เข้ากลุ่มได้ แต่ปัจจุบันไม่ใช่แบบนั้น จึงทำให้เด็กๆหลายคน ปรับตัวออกจากหนังสือมากขึ้น "


นี่คือ เสวนาจานส้มตำ ความคิดเห็นท่ามกลางรสเผ็ดๆของตำลาวจากตลาดโต้รุ่งเมืองกาฬสินธุ์นะครับ



หมายเลขบันทึก: 41133เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2006 14:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 17:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ประเด็นนี้ผมเคยได้ยินมาครั้งหนึ่งเมื่อตอนดูหนังเรื่อง "ทวิภพ"

แต่ก็อดฉุกคิดต่อแบบแปลก ๆ ตามสไตล์ของนายรักษ์สุขไม่ได้ครับว่า

เอ๊! 8 บรรทัดที่ว่า เขาคิดมาจากอัตราการขายหนังสือของประเทศไทยในรอบปีแล้วหารเฉลี่ยต่อจำนวนคนในประเทศหรือเปล่า

ถ้าคิดอย่างนั้น ผมว่าน่าจะเอาจำนวนที่เครื่องถ่ายเอกสารที่ขายได้ในประเทศไทยทั้งหมดมารวมด้วยนะครับ

เพราะว่าคนไทยส่วนใหญ่นอกจากไม่ชอบอ่านหนังสือแล้ว ยังไม่ชอบซื้อหนังสืออีกต่างหากครับ....

ขอแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวแปลก ๆ ตามแนวนายรักษ์สุขครับ

อืมมม จริง ๆ เห็นด้วยกับอ.ปภังกร..สงสารก็แต่คนเขียนหนังสือดี ๆ ที่หมดกำลังใจในการเขียน เหอ ๆ

เหตุที่คนไทยและเด็กไทยไม่ชอบอ่านหนังสือ นั้นมีความเป็นมายาวนานมาก นับแต่สังคมดั้งเดิมของไทยเป็นสังคมไม่รู้หนังสือ(เปรียบเหมือนพวกโรมัน ในขณะที่เพื่อนบ้านเป็นเสมือนพวกกรีก)ต่อมาผู้นำประเทศมีความคิดเปลี่ยนสังคมไทยจากสังคมเล่าสู่กันฟัง(มุขปาฐะ)ให้เป็นสังคมของการรู้หนังสือ แต่การกระทำนั้น ทำขึ้นอย่างไม่ถูกวิธี ผมเขียนบล๊อกไว้เกี่ยวกับการค้นพบซึ่งใช้เวลาค้นคว้านานนับสิบปี และมีเดิมพันชีวิตสูงมาก กรุณาใช้นามแฝง vanchana และหรือ piyayantiคลิกดูใน google , Live searchและหรือ yahoo หรือใช้คำ "ภาษาไทยในโรงเรียนเด็กเล็ก" ค้น ลีฟ เสริซ์ หลังจากผมเผยแพร่สิ่งค้นพบเมื่อปี ๒๕๒๙ ผมตั้งข้อสังเกตไว้ว่า"ต่อไปคนไทยไม่สามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งกันในหมู่คนไทยอย่างสันติวิธีอีก"เพราะเป็นคำสาปแช่งของบรรพชนไทยนั่นเอง ผมกราบขอโทษคนไทยทุกคนที่การเปิดเผยความลับของผมทำให้คนไทยต้องรับสิ่งเลวร้ายมากระทบ ตามกฎของยัญวิธีซึ่งต้องเซ่นสังเวยเป็นการชดเชย....

สวัสดีปีใหม่ค่ะ คุณบอน และคุณ กมล วิชิตสรสาตร์

  • ครูอ้อย ก็ยังคิดอยู่ว่า...ทำไม  คนไทยไม่ชอบอ่านหนังสือ  และ  ทำไม ระยะนี้  มีอะไรที่เลวร้ายเกิดขึ้นในบ้านเมืองของเราเสมอ เหมือนเป็นกรรมเวรค่ะ
  • คุณบอนคะ..สวัสดีปีใหม่  ขอให้มีความสุขมากๆนะคะ มีข่าวดี แจ้ง ให้ครูอ้อยทราบด้วยนะคะ  จะไปให้ได้ค่ะ

สวัสดีครับ

ปัญหาอย่างหนึ่งที่ผมพบ คือ หนังสือที่ดีๆ น่าสนใจ การ์ตูนรูปสวย น่าอ่าน บางเล่มราคาแพงมาก ผู้ปกครองต้องคิดหนัก หากซื้อให้เด็กอ่าน

อยากให้มีหนังสือดี ราคาถูก

การไปห้องสมุดไม่ได้สะดวก หนังสือห้องสมุดเก่ามากๆ ไม่น่าอ่าน ครับ

เรื่องที่เด็กไทยไม่ชอบอ่านหนังสือ

ไม่เฉพาะแต่เด็กเท่านั้น ผู้ใหญ่หลายคนก็เช่นกัน

การไม่ชอบอ่านเป็นปัญหาใหญ่ อย่างที่ทั้ง 3 ท่านกล่าวมาครับ

กมล วิชิตสรสาตร์

"ต่อไปคนไทยไม่สามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งกันในหมู่คนไทยอย่างสันติวิธีอีก"

ถ้าเป็นในเรื่องการเมือง ก็คงจะแก้ไขด้วยสันติวิธียาก เพราะเกี่ยวข้องกับผลลประโยชน์มากมายจริงๆ ยอมกันไม่ได้

แต่ถ้าเป็นเรื่องเล็กๆ เรื่องทั่วๆไป ก็คงจะพอประนีประนอมกันได้นะครับ

สวัสดีครับครูน้อย

ที่คนไทยเกิดปัญหามากมาย

เป็นเพราะอุปนิสัยของคนไทยเอง

สังเกตไหมครับ เมื่อปลายก่อนเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 การเมืองไทยก็ยุ่งเหยิงเช่นกัน

ยุ่งเหยิงจนเสียกรุง

คนไทยเป็นเช่นนี้มาแต่ไหนแต่ไรแล้วนี่ครับ

ห้องสมุดเป็นปัญหาสำคัญอีกอย่างครับท่าน ผศ. เพชรากร หาญพานิชย์

เมื่อคนไทยยังไม่รักการอ่าน

รัฐบาลก็เลยไม่เห็นความสำคัญของห้องสมุดมากนัก

ไม่ใช่วาระแห่งชาติ

เดี๋ยวนี้มีสื่อ Internet ที่สะดวกกว่า เข้าถึงง่ายกว่า

คงต้องเติมข้อมูลที่มีคุณภาพ เพื่อให้ผู้อ่านได้ค้นพบมากขึ้น

เช่นการเติมข้อมูลที่ดีๆใน gotoknow นี่แหละครับ

สวัสดีปีใหม่ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท