บทเรียนจากแกงส้ม


งานทุกงานมีรายได้ แม้จะน้อยนิดก็คือเงิน

        เมื่อวานนี้ช่วงบ่าย เป็นเวทีแก้จนที่ หมู่ที่ 6 ตำบลท่าไร่  บ้านของกำนันเล็ก (จรัสศรี  ฮั่นตระกูล) คณะคุณอำนวยนำโดย  ครูนงเมืองคอน (อ.จำนง  หนูนิล)  ครูแต้ว (อ.มนัสชนก  จันทิภักดิ์)  พี่จุรี บันเทิงจิตร (พช.) และที่ขาดไม่ได้คือ พี่นี (อ.สุธาสินี  เลขจิตร) คุณอำนวยผู้ทำหน้าที่ประสาน  
        เวทีครั้งนี้ไว้วิทยากรกระบวนการผู้ช่วยโดยไม่ได้ตั้งใจ  เพราะไปถึงบ้านกำนันก็นั่งพักเอาแรง  ก็มีพี่สุริยัน  (สุริยัน  สุดถือ) มารู้ตอนทำเวทีว่าเป็นแกนนำหมู่บ้าน  พี่สุริยันมาถึงจอดรถแล้ว ตรงมาที่ผมนั่งอยู่ถามว่าวันนี้เขามาทำอย่างไร  ผมบอกว่า มาทำแก้จนของผู้ว่าฯ  ลดรายจ่าย  เพิ่มรายได้  การออม  พี่สุริยัน  บอกว่าทำง่ายพี่ทำแล้ว พอดีก็มีเพื่อนของพี่สุริยันเข้ามาขอบุหรี่ จังหวะนั้นทำให้ผมเห็นว่าพี่สุริยัน ได้ทำแล้วจริงๆ พี่สุริยันล้วงเอา  ยาเส้นกับใบจากส่งให้เพื่อน   แกบอกว่ายุคประหยัดเก็บเงินไว้บ้าง เพื่อนบอกว่าเห็นมีบุหรี่ในกระเป๋าสองมวน  พี่สุริยันบอกว่าซื้อวันละ  5  มวน  หมดแล้วก็สูบใบจาก  อีกหลายอย่างตามแนวทางประหยัด  ของพี่สุริยันที่เล่าให้ผมฟัง อีกอย่างหนึ่งคือเรื่องของงานพี่สุริยันบอกว่า “ทำทุกงานแม้จะเป็นงานเล็ก น้อยก็เป็นเงินได้ อย่าเลือกงาน” พอเข้าสู่เวทีผมเลยถือโอกาสให้พี่สุริยันเป็นผู้ช่วยวิทยากรมาเล่า วิธีการแก้จนของพี่เค้าซะเลย

        อีกเรื่องหนึ่งในการทำเวทีวันนี้ที่ผมติดใจคือเรียนรู้การ แก้จนจากหม้อแกงส้ม ของท่านกำนันเล็ก (จรัสศรี  ฮั่นตระกูล)  ท่านได้เริ่มต้นเวทีด้วยคำถามที่ว่า ในแกงส้มหนึ่งหม้อตอนนี้  มีสิ่งใดบ้างที่เราไม่ต้องซื้อจากตลาด  หลายคนบอกว่าไม่มี แม้แต่น้ำยังต้องซื้อ  กำนันเล่าว่าในสมัยก่อนเท่าที่จำได้  คนในตำบลท่าไร่แกงส้มหนึ่งหม้อโดยที่แทบจะไม่ต้องซื้อของ  จากตลาดยกเว้นเกลือ  แต่ตอนนี้ไม่มีแล้ว  กำนันเล็กบอกว่าเมื่อก่อน ชาวบ้านปลูกพืชผักไว้ทานเอง ขมิ้น ดีปลี(พริก) ตะไคร้ สาระพัดอย่าง มีบ่อเลี้ยงปลาข้างบ้าน  แหล่งอาหารจากธรรมชาติคือทะเล  ทุกอย่างไม่ต้องซื้อหามาได้ทั้งนั้น  แต่ตอนนี้ด้วยอะไรหลายอย่างทำให้ วิถีชีวิตแบบนั้นค่อย ๆ หมดไป  ผมคิดในใจว่าการแก้จนในเรื่อง ของการลดรายจ่ายของหมู่ที่ 6 ท่าไร่ น่าจะเริ่มที่การทำแกงส้มแก้จน
        สุดท้ายเรื่องเล่าในเวทีย่อยก็ออกมาอย่างนั้นจริงๆ  ทุกกลุ่มผลออกมาคล้ายกันแต่ลีลาการนำเสนอของแต่ละกลุ่มนั้น  สุดยอด (เสียดายไม่ได้ถ่ายวีดีโอไว้) สรุปเป้าหมายคือ การอยู่แบบพอเพียง ปลูกทุกอย่างที่กิน  กินทุกอย่างที่ปลูก ใช้ทุกอย่างที่ทำเองได้  ทำอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ ลดละเลิก อบายมุข  และทุกกลุ่มที่ออกมานำเสนอบอกว่าที่เขียน และเล่าไปแล้ววันนี้กลับไปแล้วจะ ททท  ให้หมดเลย  คณะบอกว่าทีละอย่างก็ได้ถ้าหากว่าทำไม่ทัน
เล่าวันนี้คงไม่สายนะครับ…. เมื่อวานทำ  2  เวที และมีภาระกิจต่อในช่วงบ่าย เลยไม่ได้ เขียนเล่าแบบ  ททท  

หมายเลขบันทึก: 41106เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2006 13:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 20:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
ค้นหาคนเก่ง คนดี ที่ทำงานได้ผลมาแล้วมาเล่าสู่กันฟัง มาแลกเปลียนเรียนรู้ร่วมกัน นับว่าเป็นการพึ่งตนเองในเรื่องความรู้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงอย่างหนึ่งเหมือนกันนะครับ ไม่ต้องพึ่งพาความรู้ภายนอกมากนักหากไม่จำเป็น หลายคนในวงเรียนรู้ยังไม่ทราบด้วยซ้ำไปว่ามีของดีๆ มีกรณีศึกษาอยู่ข้างๆตัว สุดยอดคุณอำนวยจริงๆครับที่เข้าใจค้นหาคนเก่งคนดี มานำการแลกเปลี่ยนได้ หนุนความคิด อ.ภีม ที่เคยเสนอไว้ว่าน่าจะประกวดสุดยอดทีมคุณอำนวยตำบล นะครับ....อยากให้ความคิดนี้เป็นจริงไวๆ
ขอเสื้อครูนงแทนเสื้อสามารถก็ได้ แต่กลัวว่าจะได้เฉพาะทีมครูนงซีครับ(พูดเล่น)

ผมคิดว่าทีมกศน.หรือหน่วยงานอื่นๆน่าจะมีคนเก่งอยู่มาก(คุณชาญวิทย์ก็คนหนึ่งละ)แต่เราอาจจะไม่มีโอกาสสื่อสารกัน การเขียนBlogเป็นช่องทางหนึ่ง   ซึ่งเราทำได้ต่ำกว่าเป้า(เท่าที่ผมรู้)
การจัดF2Fในเวทีอำเภอก็เป็นอีกช่องทางหนึ่ง

อาจารย์น่าจะจัดเวทีเรียนรู้ให้ทีมคุณอำนวยตำบลในอำเภอเมืองนะครับ
ผมชอบบทเรียนในหม้อนี้  องค์ความรู้และแนวการถ่ายทอดคับหม้อแกงจริง ๆ
ชอบบทสรุปคะ น่าสนใจมั๊กมาก และที่สำคัญน่าจะมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้ามจังหวัด คงสนุกไม่น้อยเลยที่เดียว ได้ทั้งเพื่อน เทคนิค เคล็ดลับต่างๆ  และยังนำมาใช้ในงานเราด้วย
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท