ปาริฉัตร
นางสาว ปาริฉัตร รัตนากาญจน์

กลไกทางกฎหมายลงทุนในระดับภายในประเทศ( นอกเหนือจากมาตรการด้านภาษี)(ครั้งที่6)


ข้อพิจารณาการให้สิทธิประโยชน์ที่ไม่เกี่ยวกับภาษี ได้แก่ สิทธิประโยชน์ที่เกี่ยวกับที่ดิน สิทธิประโยชน์ที่เกี่ยวกับการทำงาน และการเข้าเมืองของคนต่างด้าว และสิทธิประโยชน์ในด้านการอำนวยความสะดวกอื่นๆ

                              การส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนตามกฎหมายภายในนอกเหนือจากมาตรการทางภาษี

                            นอกจากการให้สิทธิประโยชน์ในการลงทุนของคนต่างชาติในทางภาษีแล้ว   การส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนตามกฎหมายภายใน  ยังมีข้อพิจารณาในด้านสิทธิประโยชน์ที่ไม่เกี่ยวกับภาษี  ดังนี้             

                           สิทธิประโยชน์ที่ไม่เกี่ยวกับภาษี

                           ได้แก่  วิธีการที่รัฐใช้กฎหมายภายในที่เกี่ยวกับการลงทุนเป็นเครื่องมือในการอำนวยความสะดวก  หรือผ่อนคลายความเข้มงวด ตามกฎหมายภายในอื่นๆ

                              1. สิทธิประโยชน์ที่เกี่ยวกับที่ดิน

                              ที่ดินเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการลงทุนไม่ว่าจะเป็นการลงทุนทางอุตสาหกรรม  หรือเกษตรกรรม  ตามกฎหมายบางประเทศกำหนดให้สิทธิความเป็นเจ้าของ  และการทำประโยชน์จากที่ดินมีได้เฉพาะพลเมืองของประเทศเท่านั้น  คนต่างชาติมักจะถูกจำกัดสิทธิในการเป็นเจ้าของที่ดิน  ซึ่งถือเป็นอุปสรรคในการเข้าไปลงทุนยังต่างประเทศของนักลงทุนต่างชาติ  รัฐผู้รับการลงทุนทั้งหลายจึงเริ่มอาศัยกฎหมายการลงทุนเป็นเครื่องมือในการยกเว้น  หรือผ่อนคลายการจำกัดสิทธิของคนต่างชาติในการเป็นเจ้าของที่ดินดังกล่าว

                              ในส่วนของกฎหมายในประเทศไทยก็มีการจำกัดสิทธิในการถือครองทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ในประเทศแก่ผู้มีสัญชาติไทยเท่านั้น  แต่การจำกัดสิทธิดังกล่าวได้รับการผ่อนคลายโดยที่ผู้ลงทุนต่างชาติสามารถเข้าร่วมลงทุนร่วมกับผู้ลงทุนที่มีสัญชาติไทย  หรืออาจเลือกเช่าที่ดินในระยะยาวก็ได้  (  มาตรา  85 , 86 ประมวลกฎหมายที่ดิน  ,  มาตรา  20     พ.ร.บ.  ส่งเสริมการลงทุน  พ.ศ.  2520  และ  มาตรา  44  พ.ร.บ. นิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย  2522  )

                              2.  สิทธิประโยชน์ที่เกี่ยวกับการทำงาน  และการเข้าเมืองของคนต่างชาติ

                              ทุกประเทศมีกฎหมายที่เกี่ยวกับการเข้าเมืองของคนต่างชาติ  และในบางประเทศอาจมีกฎหมายเกี่ยวกับการประกอบอาชีพของคนต่างชาติอีกด้วย ซึ่งมีความเข้มงวดกวดขันมากน้อยต่างกัน โดยในสายตาของผู้ลงทุนต่างประเทศเห็นว่าเป็นอุปสรรค  และความไม่สะดวกในการดำเนินกิจการที่เกี่ยวกับการลงทุน  ดังนั้นบางประเทศจึงบัญญัติเป็นพิเศษในกฎหมายที่เกี่ยวกับการลงทุนโดยจะยอมให้คนต่างชาติเข้ามาในประเทศ  และทำงานในสาขาต่างๆได้เป็นพิเศษ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวกับการเข้ามาลงทุนในประเทศเจ้าของเงินทุน  ผู้ชำนาญทางเทคนิค  และเจ้าหน้าที่บริหารชั้นสูง  เป็นต้น

                              ในกรณีของประเทศไทย  คนต่างชาติที่จะเข้ามาในราชอาณาจักรไทยได้ต้องเป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง   พ.ศ.  2522  และคนต่างชาติที่จะเข้ามาในราชอาณาจักรไทยได้ก็ไม่มีสิทธิเสรีภาพที่จะประกอบธุรกิจได้กว้างขวางเท่ากับคนไทยด้วย                              กฎหมายส่งเสริมการลงทุนของไทยได้กำหนดสิทธิประโยชน์เกี่ยวกับการเข้าเมือง  และการทำงานของคนต่างชาติไว้  3  กรณีคือ

                              (ก)  กรณีเข้ามาศึกษาลู่ทางการลงทุน  พ.ร.บ. ส่งเสริมการลงทุนให้อำนาจแก่คณะกรรมการส่งเสริมลงทุน  ในการพิจารณาเรื่องระยะเวลาในการขอเข้ามาศึกษาลู่ทางการลงทุน  ซึ่งในแต่ละประเภทของกิจการก็จะมีความแตกต่างกันออกไป

                              (ข)  กรณีการนำผู้ชำนาญการเข้ามา  พ.ร.บ. ส่งเสริมการลงทุนได้กำหนดไว้ว่าคนต่างชาติผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนอาจจะขอนำช่างผู้ชำนาญเข้ามาด้วยก็ได้

                               (ค)  กรณีเกี่ยวกับการทำงานของคนต่างชาติ  มีกฎหมายที่เกี่ยวกับการเข้ามาทำงานของคนต่างชาติ  คือ พ.ร.บ. คนเข้าเมืองซึ่งได้กำหนดห้ามไม่ให้คนต่างชาติซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในประเทศเป็นการชั่วคราวประกอบอาชีพ  หรือรับจ้าง  เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นกรณีพิเศษ  

                             3.  สิทธิประโยชน์ด้านการอำนวยความสะดวกอื่นๆจากรัฐ

                              ที่มีความสำคัญและเป็นปัจจัยในการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ  เช่น  การอำนวยความสะดวกในด้านการคมนาคม  การขนส่ง การพลังงาน  เพื่อส่งเสริมและสร้างบรรยากาศในการลงทุนให้น่าสนใจมากขึ้น  โดยจะมีความแตกต่างกันไปตามความเหมาะสมของแต่ละประเทศ  โดยส่วนใหญ่จะประกอบด้วยความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกทางการเงิน และการบริการ  การซื้อผลิตภัณฑ์โดยรัฐ  การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม  และเขตปลอดภาษี  เป็นต้น

                               อาจกล่าวได้ว่า  การลงทุนระหว่างประเทศมีบทบาทอย่างมากต่อเศรษฐกิจระหว่างประเทศ  ซึ่งก็ได้มีการพยายามทุกวิถีทางในการชักชวนผู้ลงทุนต่างประเทศเข้ามาลงทุนในกิจการค้า และอุตสาหกรรมแขนงต่างๆ  เพื่อช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของชาติ  และในความพยายามที่จะหาลู่ทางขยายตัวทางการลงทุนระหว่างประเทศมีปัจจัยหลายประการที่จะเอื้ออำนวยต่อความพยายามดังกล่าวอย่างเช่น  มีมาตรการชักชวนโดยการออกกฎหมายพิเศษ  เช่น พ.ร.บ. ส่งเสริมการลงทุนที่ให้สิทธิพิเศษบางประการแก่ผู้ลงทุนต่างชาติแล้ว  ปัจจัยทางด้านภาษีอากรก็เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สามารถนำมาใช้ส่งเสริม  และสนับสนุนการลงทุนระหว่างประเทศ  หากรัฐบาลไม่มีนโยบายที่ชัดเจนในเรื่องภาษีอากรก็อาจกลายเป็นอุปสรรคของการลงทุนระหว่างประเทศได้เช่นกัน

                              สิทธิประโยชน์ทั้งที่เกี่ยวกับภาษี  และที่ไม่เกี่ยวกับภาษีจึงเป็นมาตรการจูงใจที่สำคัญให้กับคนต่างชาติที่จะเข้ามาลงทุนในอาณาเขตประเทศของตน  อีกทั้งยังเป็นหลักประกันที่มั่นคงเนื่องจากมีการกำหนดไว้ในกฎหมายของประเทศผู้รับการลงทุนอีกด้วย 

                             ข้อพิจารณาในลักษณะเดียวกันกับการให้สิทธิประโยชน์แก่นักลงทุนต่างชาติได้แก่  การให้หลักประกันในการคุ้มครองการลงทุนของผู้ลงทุนต่างชาติ            อันได้แก่

                              1.  หลักประกันต่อกิจการและทรัพย์สิ

                                 รัฐธรรมนูญ  แผนนโยบายของรัฐ  แต่มักจะเกิดปัญหาในการที่คนต่างชาติไม่อาจได้รับควาสริมคุ้มครองที่เป็นหลักประกันที่ให้ไว้แก่คนชาติ  จึงมักจะมีการกำหนดไว้ในกฎหมายสำหรับการลงทุนของคนต่างชาติเฉพาะ  แยกต่างหากจากกฎหมายลงทุนทั่วไป  โดยมักจะวางหลักการที่เกี่ยวกับการโอน  หรือเวนคืนกิจการไปเป็นของรัฐต่อเมื่อเป็นไปเพื่อสาธารณประโยชน์  ตามที่กฎหมายกำหนด  และมีการจ่ายค่าชดเชยความเสียหายเกิดขึ้นอย่างเป็นธรรม    หลักประกันที่รัฐจะไม่เข้ไปผูกขาดการจำหน่ายสินค้า  หรือ  ไม่ทำการแข่งขันกับผู้ส่งเสริม

                           2.  หลักประกันการโอนเงินออกนอกประเทศ

                           เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ลงทุนต่างชาติที่จะส่งรายได้ของตนกลัยไปยังทางบ้านตามเงื่อนไขที่กำหนดในกฎหมายภายในแต่ละประเทศ

                           3. หลักประกันในการคุ้มครองการผลิต

                              ผู้ลงทุนต่างชาติต้องคำนึงถึงมาตรการคุ้มครองอุตสาหกรรมในประเทศที่ตนจะเข้าไปลงทุน  โดยอาจได้รับประโยชน์จากการคุ้มครองนั้นตามไปด้วย                   

(โกศล  ฉันธิกุล  ,  กระบวนวิชากฎหมายที่เกี่ยวกับการลงทุน  ,  กรุงเทพ  :  แสงจันทร์การพิมพ์  2531  )

(สมจิตร จินดาวงศ์  ,  ความตกลงเพื่อการส่งเสริมและการคุ้มครองการลงทุนระหว่างประเทศระหว่างไทยกับลาว   ค.ศ. 1990   วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต  คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  2543  )                                                          

หมายเลขบันทึก: 41104เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2006 13:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มิถุนายน 2012 18:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท