การใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551


การใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

การใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
 ตามคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการที่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ 293/2551          เรื่อง ให้ใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ลงวันที่ 11 กรกฎาคม 2551 กำหนดให้สถานศึกษา ในสังกัด จัดการเรียนการสอนโดยใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ดังนี้(กระทรวงศึกษาธิการ, 2551)
1. โรงเรียนต้นแบบการใช้หลักสูตรและโรงเรียนที่มีความพร้อมตามรายชื่อที่กระทรวง
ศึกษาธิการประกาศ  ใช้หลักสูตรฯ ดังนี้
1.1 ปีการศึกษา 2552 ให้ใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4
1.2 ปีการศึกษา 2553 ให้ใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 2 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 5
1.3 ตั้งแต่ปีการศึกษา 2554 เป็นต้นไป ให้ใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551 ทุกชั้นเรียน
2. โรงเรียนทั่วไป ให้ใช้หลักสูตรฯ ดังนี้
2.1 ปีการศึกษา 2553 ให้ใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4
2.2 ปีการศึกษา 2554 ให้ใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 2 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 5
2.3 ตั้งแต่ปีการศึกษา 2555 เป็นต้นไป ให้ใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551 ทุกชั้นเรียน
 สถานศึกษา ที่ต้องใช้ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ตามกำหนดเวลาดังกล่าว ควรศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรแกนกลางฯ และเตรียมการจัดทำสิ่งต่าง ๆ ให้พร้อมก่อนที่จะถึงกำหนดเวลาตามคำสั่งของกระทรวงศึกษาธิการดังกล่าวแล้ว เอกสารเกี่ยวกับหลักสูตรแกนกลางฯ สถานศึกษา สามารถดาวน์โหลดได้ที่ www.curriculum51.net และกระทรวงศึกษาธิการจะทะยอยส่งเอกสารเป็นรูปเล่มให้สถานศึกษาที่ต้องใช้หลักสูตรแกนกลางฯ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 ตั้งแต่เดือนมกราคม เอกสารหลักสูตรแกนกลางฯ มีดังนี้
1. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
2. ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้.............ตามหลักสูตร
แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช 2551 จำนวน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ๆ ละ 1 เล่ม


เอกสารประกอบหลักสูตรฯ แกนกลาง มี 3 เล่ม ดังนี้
1. แนวทางการบริหารหลักสูตร
2. แนวทางการจัดการเรียนรู้
3. แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
นอกจากนี้ สถานศึกษา ที่สนใจสามารถขอยืมได้จากผู้ที่ได้รับการอบรมเป็นวิทยากร
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ทุกเขตพื้นที่การศึกษา ผู้ผ่านการอบรมอย่างน้อยเป็นศึกษานิเทศก์ จำนวน 7 คน และครูโรงเรียนต้นแบบการใช้หลักสูตรฯ จำนวน 3 คน
 เมื่อได้เอกสารแล้ว ฝ่ายวิชาการและคณะครูของสถานศึกษาควรศึกษารายละเอียดในเอกสารให้เข้าใจ โดยเฉพาะ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้กำหนด “วิสัยทัศน์” “หลักการ” “จุดหมาย” “สมรรถนะสำคัญ” “คุณลักษณะอันพึงประสงค์” “มาตรฐานการเรียนรู้(รวมทั้งตัวชี้วัด)” “กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน” “โครงสร้างเวลาเรียน” และศึกษาเอกสาร  แนวทางการบริหารหลักสูตร อย่างละเอียดจะทำให้ทราบว่าสถานศึกษาจะต้องดำเนินการใช้หลักสูตรฯ อย่างไร เอกสารแนวทางการจัดการเรียนรู้ จะให้แนวการจัดการเรียนรู้ที่มีมาตรฐานเป็นเป้าหมาย สื่อการจัดการเรียนรู้ การจัดทำคำอธิบายรายวิชา การจัดทำหน่วยการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ ส่วนเอกสารแนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ แนะนำการบริหารจัดการงานวัดผลของสถานศึกษา การจัดทำระเบียบว่าด้วยการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ แนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ระดับชั้นเรียน ตลอดจนเอกสารหลักฐานการศึกษาที่ต้องใช้
 การจัดการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้แบ่งการศึกษาเป็น 3 ระดับ ได้แก่
1. ระดับประถมศึกษา(ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6) เป็นระดับการศึกษาที่มุ่งเน้นทักษะ
พื้นฐานด้านการอ่านการเขียน การคิดคำนวณ การคิดพื้นฐาน การติดต่อสื่อสาร กระบวนการเรียนรู้ทางสังคม และพื้นฐานความเป็นมนุษย์ การพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างสมบูรณ์และสมดุลทั้ง                   ด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และวัฒนธรรม โดยเน้นจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
2. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น(ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3) เป็นระดับการศึกษาที่มุ่งเน้นให้
ผู้เรียนได้สำรวจความถนัด และความสนใจของตนเอง ส่งเสริมการพัฒนาบุคลิกภาพส่วนตน           มีทักษะในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ คิดสร้างสรรค์ และคิดแก้ปัญหา มีทักษะในการดำรงชีวิต           มีทักษะการใช้เทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ มีความรับผิดชอบต่อสังคม มีความสมดุลทั้งด้านความรู้ ความคิด ความดีงาม และมีความภูมิใจในความเป็นไทย ตลอดจนใช้เป็นพื้นฐาน         ในการประกอบอาชีพ หรือการศึกษาต่อ


3. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย(ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6) เป็นระดับการศึกษาที่มุ่งเน้น       
การเพิ่มพูนความรู้และทักษะเฉพาะด้าน สนองตอบความสามารถ ความถนัด และความสนใจของผู้เรียนแต่ละคน ทั้งด้านวิชาการ และวิชาชีพ มีทักษะ มีทักษะในการใช้วิทยาการและเทคโนโลยี ทักษะกระบวนการคิดขั้นสูง สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการศึกษาต่อ และการประกอบอาชีพ มุ่งพัฒนาตนและประเทศตามบทบาทของตน สามารถเป็นผู้นำ และผู้ให้บริการชุมชนในด้านต่าง ๆ
กรอบภาพรวมของการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มีดังนี้

 

 

 

 

 

 

 

 
 
แต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานฯ ได้กำหนด
องค์ความรู้ ทักษะสำคัญและคุณลักษณะที่สำคัญ ที่เป็นจุดเน้นในการพัฒนาผู้เรียน ดังนี้

 

 

 

 

 

 

 


 
การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา
 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เป็นหลักสูตรอิงมาตรฐาน หลักสูตรสถานศึกษาก็เช่นเดียวกัน เป็นหลักสูตรอิงมาตรฐาน กระบวนการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาจึงเริ่มจากการศึกษามาตรฐานการเรียนรู้ของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้หลักสูตรแกนกลางฯ ศึกษาเป้าหมายในการพัฒนาคนในระดับท้องถิ่น ที่กำหนดโดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา แล้วจึงนำข้อมูลดังกล่าว มาจัดทำเป็นหลักสูตรสถานศึกษา

 

 

 

 

 

 


การดำเนินงานของสถานศึกษาในการใช้ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มีดังนี้
 การเตรียมการ
1. จัดทำโครงสร้างหลักสูตรของสถานศึกษา
2. ครูผู้สอนจัดทำคำอธิบายรายวิชา
3. ครูผู้สอนจัดทำโครงสร้างรายวิชา
4. ครูผู้สอนจัดทำหน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ และสร้างเครื่องมือวัดผล
การเรียนรู้ของผู้เรียน
5. จัดทำระเบียบการวัดและประเมินผล
การดำเนินการพัฒนาผู้เรียน
6. ครูสอนตามหน่วยฯ และแผนการจัดการเรียนรู้
7. ครูประเมินผลการเรียนรู้ตามตัวชี้วัดชั้นปี/ช่วงชั้น
8. สถานศึกษา ตรวจสอบจำนวนหน่วยกิตที่ผู้เรียนเรียนกับเกณฑ์การจบหลักสูตรฯ
9. สถานศึกษาออกหลักฐานการศึกษาให้กับผู้เรียน
ต่อไปนี้จะขยายรายละเอียดในส่วนที่จำเป็น สำหรับการใช้หลักสูตรแกนกลางฯ
ที่สถานศึกษา และครูผู้สอนควรทราบ ดังนั้น รายการที่ 5 และรายการที่ 6-9 จึงจะไม่แสดงรายละเอียด เนื่องจากผู้รับผิดชอบมีความรู้ ความเข้าใจเป็นอย่างดีแล้ว และศึกษาได้จากเอกสารดังกล่าวข้างต้น
การจัดทำโครงสร้างหลักสูตรของสถานศึกษา
ในการจัดทำโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา ต้องพิจารณาข้อมูลจากหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เป้าหมาย/จุดมุ่งหมายในการพัฒนาผู้เรียน ระดับท้องถิ่น(หลักสูตรระดับท้องถิ่น) แล้วจึงดำเนินการจัดทำโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา ดังนี้(สำหรับความเป็นท้องถิ่น สถานศึกษา สามารถสอดแทรกในวิชาพื้นฐาน สอดแทรกหรือจัดทำเป็นรายวิชาในวิชาเพิ่มเติม และสามารถสอดแทรกในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน)
1. รายวิชาพื้นฐาน ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ต้องให้จำนวนหน่วยกิต/ชั่วโมงตามตามที่
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กำหนด การให้ชื่อวิชาในโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา ระดับประถมศึกษาให้ชื่อวิชาตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย ให้ชื่อวิชาตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ หรือให้ชื่อตามเนื้อหาสาระของรายวิชานั้น(โครงสร้างเวลาเรียนกำหนดในเอกสารหลักสูตรแกนกลางฯ หน้า 20) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และตอนปลาย แต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ สามารถจัดแยกได้มากกว่า 1 รายวิชา(1 รายวิชาต้องมีหน่วยกิตไม่น้อยกว่า 0.5 หน่วยกิต) แต่รวมจำนวนชั่วโมงของกลุ่มสาระฯ แล้วต้องไม่เกินจำนวนชั่วโมงที่กำหนดในโครงสร้างเวลาเรียนของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ ที่กำหนดโดยหลักสูตรแกนกลางฯ
การจัดรายวิชา จัดโดย นำตัวชี้วัดที่กำหนดใน หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551 มาจัดวางในแต่ละปี(ระดับประถมศึกษา) หรือภาคเรียน(ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และตอนปลาย) ให้เป็นลำดับที่เหมาะสมกับการรับรู้ของผู้เรียน สำหรับระดับชั้นมัธยมศึกษาต้อนต้น และชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ในโครงสร้างเวลาเรียนของหลักสูตรสถานศึกษา สามารถแยกมากกว่า 1 รายวิชาได้ เช่น กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา อาจจะแยกเป็น 2 รายวิชา เป็นวิชาสุขศึกษา และวิชาพลศึกษา วิชการงานอาชีพและเทคโนโลยี อาจจะแยกเป็น 2 รายวิชา คือ วิชาคอมพิวเตอร์ และวิชาการงานและอาชีพ เป็นต้น แต่จำนวน          หน่วยกิต หรือจำนวนชั่วโมง/ปีของ 2 รายวิชารวมกันแล้ว ต้องไม่เกินจำนวนชั่วโมงในโครงสร้างเวลาเรียนของกลุ่มสาระการเรียนรู้นั้น ที่กำหนดในหลักสูตรแกนกลางฯ

2. รายวิชาเพิ่มเติม
2.1 ระดับประถมศึกษา จัดรายวิชาปีละไม่เกิน 80 ชั่วโมง และมัธยมศึกษาต้อนต้น จัด
รายวิชาปีละไม่เกิน 240 ชั่วโมง ให้ชื่อวิชาที่สอดคล้องกับเนื้อหาสาระของรายวิชา
2.2 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จัดรายวิชาปีละไม่น้อยกว่า 1,680 ชั่วโมง ให้ชื่อวิชาที่
สอดคล้องกับเนื้อหาสาระของรายวิชา
รายวิชาเพิ่มเติม ผู้สอนต้องกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ที่เรียกว่า “ผลการเรียนรู้” เองให้
ชัดเจน เนื่องจากไม่มีตัวชี้วัดรายปี/รายช่วงชั้น และให้ใช้คำว่า “ผลการเรียนรู้” เท่านั้น ไม่ใช้ คำว่า ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
 การกำหนดรหัสวิชา มีหลักเกณฑ์ ดังนี้
หลักที่ 1  หลักที่ 2  หลักที่ 3        หลักที่ 4                  หลักที่ 5        หลักที่ 6
กลุ่มสาระฯ ระดับ      ปีในระดับการศึกษา   ประเภทของรายวิชา        ลำดับของรายวิชา
     ท     1       0              1     01-99
     ค     2                       1              2
     ว     3       2
     ส         3
     พ         4
     ศ         5
     ง         6
 ใช้รหัสตัวอักษรตามรายการรหัสตัวอักษรกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาอังกฤษ ใช้ อ ภาษาญี่ปุ่น ใช้ ญ ภาษาจีน ใช้ จ เป็นต้น
หลักที่ 1 เป็นรหัสตัวอักษรแสดงกลุ่มสาระการเรียนรู้ คือ
ท หมายถึง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ค หมายถึง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ว หมายถึง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ส หมายถึง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
พ หมายถึง กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
ศ หมายถึง กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
ง หมายถึง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
 หมายถึง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ให้ใช้รหัสของแต่ละภาษาตามรายการที่กำหนด คือ ข หมายถึงภาษาเขมร จ หมายถึงภาษาจีน ซ หมายถึงภาษารัสเซีย ญ หมายถึงภาษาญี่ปุ่น  ต หมายถึงภาษาเวียตนาม น หมายถึงภาษาลาติน บ หมายถึงภาษาบาลี ป หมายถึงภาษาสเปน ฝ หมายถึงภาษาฝรั่งเศส ม หมายถึงภาษามลายู ย หมายถึงภาษาเยอรมัน ร หมายถึงภาษาอาหรับ ล หมายถึงภาษาลาว อ หมายถึงภาษาอังกฤษ และ ฮ หมายถึงภาษาฮินดู
 กรณีที่สถานศึกษาได้จัดรายวิชาภาษาต่างประเทศอื่น ๆ นอกเหนือจากที่กระทรวงกำหนดไว้ ให้สถานศึกษาทำเรื่องเสนอ สพฐ. เพื่อกำหนดรหัสตัวอักษรกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างประเทศเพิ่มเติม และประกาศให้สถานศึกษาทั่วประเทศได้รับทราบและใช้ให้ตรงกัน
หลักที่ 2 เป็นรหัสตัวเลขแสดงระดับการศึกษา ได้แก่
 1 หมายถึง รายวิชาระดับประถมศึกษา
 2 หมายถึง รายวิชาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
 3 หมายถึง รายวิชาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
หลักที่ 3 เป็นรหัสตัวเลขแสดงปีที่เรียนของรายวิชา ได้แก่
 0 หมายถึง รายวิชาไม่กำหนดปีที่เรียน จะเรียนปีใดก็ได้ในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย
 1 หมายถึง รายวิชาที่เรียนในปีที่ 1 ของระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย(ป.1 ม.1 และ ม.4)
 2 หมายถึง รายวิชาที่เรียนในปีที่ 2 ของระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย(ป.2 ม.2 และ ม.5)
 3 หมายถึง รายวิชาที่เรียนในปีที่ 3 ของระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย(ป.3 ม.3 และ ม.6)
4 หมายถึง รายวิชาที่เรียนในปีที่ 4 ของระดับประถมศึกษา(ป.4)
5 หมายถึง รายวิชาที่เรียนในปีที่ 5 ของระดับประถมศึกษา(ป.5)
6 หมายถึง รายวิชาที่เรียนในปีที่ 6 ของระดับประถมศึกษา(ป.6)
หลักที่ 4 เป็นรหัสตัวเลขแสดงประเภทของรายวิชา ได้แก่
 1 หมายถึง รายวิชาพื้นฐาน
 2 หมายถึง รายวิชาเพิ่มเติม
หลักที่ 5 และหลักที่ 6 เป็นรหัสตัวเลขแสดงลำดับของรายวิชาแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ในปี/ระดับการศึกษาเดียวกันมีจำนวนตั้งแต่ 01-99 สำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระ             การเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ควรกำหนดรหัสวิชาเป็นช่วงลำดับ ดังนี้
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
01-19  รายวิชาในกลุ่มฟิสิกส์
21-39  รายวิชาในกลุ่มเคมี                                             
41-59  รายวิชาในกลุ่มชีววิทยา
61-79  รายวิชาในกลุ่มโลกและอวกาศ                                           
81-99  รายวิชาในกลุ่มวิทยาศาสตร์อื่น ๆ
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
 01-19  รายวิชาในกลุ่มศาสนา
             21-39  รายวิชาในกลุ่มหน้าที่พลเมือง                                            
41-59  รายวิชาในกลุ่มเศรษฐศาสตร์                                         
61-79  รายวิชาในกลุ่มประวัติศาสตร์                                           
81-99  รายวิชาในกลุ่มภูมิศาสตร์
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
01-19  รายวิชาในกลุ่มการดำรงชีวิตและครอบครัว                                               
21-39  รายวิชาในกลุ่มการออกแบบและเทคโนโลยี                                             
41-59  รายวิชาในกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร                                         
61-99  รายวิชาในกลุ่มการอาชีพ
3. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษาตอนต้นจัดให้ผู้เรียนปีละ
120 ชั่วโมง ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จัดให้ผู้เรียนปีละ 360 ชั่วโมง
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนแบ่งเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่ กิจกรรมแนะแนว กิจกรรมนักเรียน
(ลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ผู้บำเพ็ญประโยชน์ นักศึกษาวิชาทหาร กิจกรรมชุมนุม ชมรม) และกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ ซึ่งกิจกรรมเพื่อสังคมฯ เป็นกิจกรรมตามความสนใจของผู้เรียนที่จะทำเพื่อบุคคลอื่น สังคม ชุมชน เพื่อพัฒนาจิตสาธารณ
ระดับประถมศึกษา รวม 6 ปี ให้ได้จำนวน 60 ชั่วโมง
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น(3 ปี) จำนวน 45 ชั่วโมง
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย(3 ปี) จำนวน 60 ชั่วโมง
 จำนวนชั่วโมงของกิจกรรมเพื่อพัฒนาสังคมฯ ที่กำหนดในหลักสูตรแกนกลางฯ สถานศึกษาอาจจะจัดเป็นกิจกรรมสอดแทรกในรายวิชาต่าง ๆ(วิชาพื้นฐาน และวิชาเพิ่มเติม) หรือในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน หรือจัดนอกเวลาก็ได้ โดยต้องมีหลักฐานการปฏิบัติกิจกรรมเพื่อสังคมของผู้เรียน ครบจำนวนชั่วโมงตามที่หลักสูตรแกนกลางฯ กำหนด ซึ่งสถานศึกษาจะจัดให้มีทุกปี หรือทุกภาคเรียน หรือเป็นบางปี บางภาคเรียน ก็ได้ แต่ต้องมีจำนวนชั่วโมงครบตามที่หลักสูตรแกนกลางฯ กำหนด
 การกำหนดโครงสร้างหลักสูตรของสถานศึกษา สถานศึกษาสามารถกำหนดจำนวนชั่วโมงรวมทั้งหมด(วิชาพื้นฐาน วิชาเพิ่มเติม และกิจกรรม)มากกว่าที่หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กำหนดไว้ได้ตามความเหมาะสม และบริบทของสถานศึกษา  โดยต้องหมายเหตุ แสดงรายวิชาที่จัดเกินจากที่หลักสูตรแกนกลางฯ กำหนดพร้อมให้เหตุผลไว้นอกกรอบหลักสูตรแกนกลางฯ ด้วย
 เมื่อสถานศึกษากำหนดจำนวนชั่วโมงสำหรับแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ตามโครงสร้างหลักสูตรแกนกลางฯ เรียบร้อยแล้ว จึงประกาศให้คณะครูทุกคนได้ทราบ และเตรียมวางแผน       การพัฒนาผู้เรียนต่อไป
การจัดทำคำอธิบายรายวิชา มีแนวการดำเนินการ ดังนี้
 ในการจัดทำคำอธิบายรายวิชาทุกวิชา ทุกระดับชั้น ต้องนำเป้าหมายการพัฒนาผู้เรียนของหลักสูตรระดับท้องถิ่นที่กำหนดโดย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามาจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนด้วย เนื่องจาก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีหน้าที่จะต้องประเมินคุณภาพของผู้เรียนตามเป้าหมายของหลักสูตรระดับท้องถิ่นด้วย ในการจัดทำคำอธิบายรายวิชา มีแนวทางในการดำเนินการ ดังนี้
1. ระดับประถมศึกษา
1.1 ครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้เดียวกัน สอนระดับชั้นเดียวกัน ร่วมกันศึกษาและ
วิเคราะห์ตัวชี้วัดชั้นปี และสาระการเรียนรู้แกนกลางตามที่หลักสูตรแกนกลางฯ กำหนด แต่ละตัวชี้วัดว่า มีคำ หรือข้อความสำคัญ(Key words)ใดที่เป็น “ความรู้(K)” “ทักษะ/กระบวนการ(P)” และ “คุณลักษณะ(A)” (เป็นคุณลักษณะของรายวิชาที่ปรากฏตามตัวชี้วัด  อาจจะไม่ตรงกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่หลักสูตรแกนกลางฯ กำหนดก็ได้) จัดแยกไว้เป็นส่วน ๆ วิเคราะห์ให้ครบทุกตัวชี้วัดที่กำหนดในรายวิชาโดยอาจจะใช้แบบฟอร์มข้างล่าง
1.2 นำข้อความที่วิเคราะห์ไว้(ด้านความรู้ ทักษะ/กระบวนการ และคุณลักษณะ)
มาสังเคราะห์ หรือร้อยเรียงเขียนเป็นคำอธิบายรายวิชา โดยอาจจะให้ข้อความทั้ง 3 ส่วนที่วิเคราะห์ไว้ผสมกลมกลืน หรือเขียนแยกส่วนของความรู้ ทักษะ/กระบวนการ และคุณลักษณะไว้คนละ       ย่อหน้าก็ได้ และย่อหน้าสุดท้ายของคำอธิบายรายวิชา ต้องระบุด้วยว่า วิชานี้มีตัวชี้วัดอะไรบ้าง โดยเขียนเป็นรหัสกำกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดไว้ด้วย ดังนี้
ว 1.1 ป. 1/2
ป.1/2        หมายถึง ตัวชี้วัดชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  ข้อที่ 2
1.1            หมายถึง สาระที่ 1  มาตรฐานข้อที่ 1    
ว                หมายถึง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
2. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
2.1 ครูที่สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้เดียวกัน ระดับชั้นเดียวกัน ศึกษาและวิเคราะห์
ตัวชี้วัดชั้นปีตามที่หลักสูตรแกนกลางฯ กำหนด แล้วช่วยกันจัดวางตัวชี้วัดไว้ในภาคเรียนที่ 1 และภาคเรียนที่ 2 ตัวชี้วัดที่จัดวางในภาคเรียนที่ 1 และภาคเรียนที่ 2 อาจจะซ้ำกัน หรือไม่ซ้ำกันก็ได้ แล้วแต่ดุลพินิจของผู้สอน ซึ่งต้องคำนึงถึงเวลาที่ใช้สอนในแต่ละภาคเรียนด้วยว่ามีเพียงพอหรือไม่ และถ้านำตัวชี้วัดใดไว้ในภาคเรียนใด ในภาคเรียนนั้นต้องประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนตามตัวชี้วัดนั้นด้วยทุกตัวชี้วัด
2.2 ครูผู้สอนวิเคราะห์ตัวชี้วัดชั้นปี และสาระการเรียนรู้แกนกลางตามที่หลักสูตร
แกนกลางฯ กำหนดสำหรับภาคเรียนที่ 1 แต่ละตัวชี้วัดว่า มีคำ หรือข้อความสำคัญ(Key words)ใดที่เป็น “ความรู้(K)” “ทักษะ/กระบวนการ(P)” และ “คุณลักษณะ(A)” (เป็นคุณลักษณะของรายวิชาที่ปรากฏตามตัวชี้วัด  อาจจะไม่ตรงกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่หลักสูตรแกนกลางฯ กำหนด         ก็ได้) จัดแยกไว้เป็นส่วน ๆ ให้ครบทุกตัวชี้วัดของภาคเรียนนั้น โดยอาจจะใช้แบบฟอร์มข้างล่าง
2.3 นำข้อความที่วิเคราะห์ไว้(ด้านความรู้ ทักษะ/กระบวนการ และคุณลักษณะ)
มาสังเคราะห์ หรือร้อยเรียงเขียนเป็นคำอธิบายรายวิชา โดยอาจจะให้ข้อความทั้ง 3 ส่วนที่วิเคราะห์ไว้ผสมกลมกลืน หรือเขียนแยกส่วนของความรู้ ทักษะ/กระบวนการ และคุณลักษณะไว้คนละ       ย่อหน้าก็ได้ และย่อหน้าสุดท้ายของคำอธิบายรายวิชา ต้องระบุด้วยว่า วิชานี้มีตัวชี้วัดอะไรบ้าง โดยเขียนเป็นรหัสกำกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดไว้ด้วย ดังนี้
ว 1.1 ม. 1/2
ม.1/2        หมายถึง ตัวชี้วัดชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  ข้อที่ 2
1.1            หมายถึง สาระที่ 1  มาตรฐานข้อที่ 1    
ว               หมายถึง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
3.  ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เนื่องจากหลักสูตรแกนกลางฯ กำหนดตัวชี้วัดเป็นช่วงชั้น(ม.4-6) ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ดังนั้น ครูผู้สอนควรดำเนินการ ดังนี้
 3.1  ครูที่สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้เดียวกัน ระดับชั้นเดียวกัน ศึกษาและวิเคราะห์
ตัวชี้วัดช่วงชั้นตามที่หลักสูตรแกนกลางฯ กำหนด แล้วช่วยกันจัดวางตัวชี้วัดไว้ในแต่ละระดับชั้น(ม.4, ม.5, และ ม.6) ในแต่ละภาคเรียน(ภาคเรียนที่ 1-6) ตัวชี้วัดที่จัดวางในแต่ละภาคเรียน อาจจะซ้ำกัน หรือไม่ซ้ำกันก็ได้ แล้วแต่ดุลพินิจของผู้สอน ซึ่งต้องคำนึงถึงเวลาที่ใช้สอนในแต่ละภาคเรียนด้วยว่ามีเพียงพอหรือไม่ และถ้านำตัวชี้วัดใดไว้ในภาคเรียนใด ในภาคเรียนนั้นต้องประเมินผล         การเรียนรู้ของผู้เรียนตามตัวชี้วัดนั้นด้วยทุกตัวชี้วัด
3.2 ครูผู้สอนวิเคราะห์ตัวชี้วัดช่วงชั้น และสาระการเรียนรู้แกนกลางตามที่หลักสูตร
แกนกลางฯ กำหนดสำหรับแต่ละภาคเรียน พิจารณาว่า แต่ละตัวชี้วัด มีคำ หรือข้อความสำคัญ(Key words)ใดที่เป็น “ความรู้(K)” “ทักษะ/กระบวนการ(P)” และ “คุณลักษณะ(A)” (เป็นคุณลักษณะของรายวิชาที่ปรากฏตามตัวชี้วัด  อาจจะไม่ตรงกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่หลักสูตรแกนกลางฯ กำหนดก็ได้) จัดแยกไว้เป็นส่วน ๆ ให้ครบทุกตัวชี้วัดของภาคเรียนนั้น โดยอาจจะใช้แบบฟอร์มข้างล่าง
3.3 นำข้อความที่วิเคราะห์ไว้(ด้านความรู้ ทักษะ/กระบวนการ คุณลักษณะ) มา
สังเคราะห์ หรือร้อยเรียงเขียนเป็นคำอธิบายรายวิชา โดยอาจจะให้ข้อความทั้ง 3 ส่วนที่วิเคราะห์ไว้ผสมกลมกลืน หรือเขียนแยกส่วนของความรู้ ทักษะ/กระบวนการ และคุณลักษณะไว้คนละย่อหน้าก็ได้ และย่อหน้าสุดท้ายของคำอธิบายรายวิชา ต้องระบุด้วยว่า วิชานี้มีตัวชี้วัดอะไรบ้าง โดยเขียนเป็นรหัสกำกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดไว้ด้วย ดังนี้
ว 1.1 ม. 4-6/1
ม.4-6/1     หมายถึง ตัวชี้วัดชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย  ข้อที่ 1
1.1            หมายถึง สาระที่ 1  มาตรฐานข้อที่ 1    
ว                หมายถึง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
แบบฟอร์มการเขียนคำอธิบายรายวิชาอาจจะเป็น ดังนี้
การวิเคราะห์เพื่อจัดทำคำอธิบายรายวิชา
กลุ่มสาระการเรียนรู้............................วิชา.......................... ระดับชั้น.............ภาคเรียนที่...............
ตัวชี้วัด  สาระการเรียนรู้แกนกลาง/ท้องถิ่น
 ความรู้  ทักษะ / กระบวนการ คุณลักษณะฯ
ว1.1ป.1/1เปรียบเทียบสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต 1.สิ่งมีชีวิต
2.สิ่งใม่มีชีวิต
 1.การสังเกตและเปรียบเทียบสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต 1.มีความสนใจสังเกตสิ่งต่าง ๆ
ว1.1ป.1/2สังเกตและอธิบายลักษณะและหน้าที่ของโครงสร้างภายนอกของพืชและสัตว์ 1.ลักษณะและหน้าที่ของโครงสร้างภายนอกของพืช
2.ลักษณะและหน้าที่ของโครงสร้างภายนอกของสัตว์ 1.การสังเกตลักษณะและหน้าที่ของโครงสร้างภายนอกของพืชและสัตว์ 1.มีความสนใจสังเกตสิ่งต่าง ๆ
.................................... ............................ ....................................... .................................

 

 


แบบฟอร์มการเขียนคำอธิบายรายวิชา
กลุ่มสาระการเรียนรู้................................................
วิชา..............................................ชั้น.........เวลาเรียน..........ชั่วโมง  จำนวน.......หน่วยกิต 
คำอธิบายรายวิชา
 ........................................................................................................................................................................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................  รหัสตัวชี้วัด
 ........................................................................................................................................................................................................................................................................................................
การจัดทำหน่วยการเรียนรู้
 ในการจัดทำหน่วยการเรียนรู้ มีแนวการดำเนินการ ดังนี้
1. จัดทำโครงสร้างรายวิชา
2. กำหนดเป้าหมายการจัดการเรียนรู้
3. กำหนดหลักฐานที่เป็นผลการเรียนรู้ตามเป้าหมายที่กำหนด(ออกแบบการประเมินผล
การเรียนรู้ และกำหนดผลงาน/ชิ้นงาน/ภาระงาน)
4. ออกแบบการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถตามเป้าหมายที่กำหนด(โดย
ตรวจสอบผลการจัดการเรียนรู้จาก “หลักฐานที่เป็นผลการเรียนรู้”
การจัดทำโครงสร้างรายวิชา
เมื่อได้รายวิชาลงโครงสร้างของหลักสูตรสถานศึกษาเรียบร้อยแล้ว ครูผู้สอนจัดทำ
โครงสร้างรายวิชาโดยดำเนินการ ดังนี้
1. กำหนดชื่อหน่วยการเรียนรู้ โดยพิจารณาคำ/ข้อความสำคัญ(Key words) หรือเนื้อหา
ในตัวชี้วัดของรายวิชามาจัดกลุ่ม โดยนำตัวชี้วัดที่มีเนื้อหาอยู่ในกลุ่มเดียวกัน หรือเป็นเรื่องเดียวกัน มารวมกันจัดเป็น 1 หน่วยการเรียนรู้ ซึ่งใน 1 รายวิชาจะมีหลายหน่วยฯ และแต่ละหน่วยฯ จะมีตัวชี้วัดซ้ำหรือไม่ซ้ำกันก็ได้ อยู่ในดุลพินิจของผู้สอน แต่เวลาที่ใช้จัดการเรียนรู้รวมทั้งหมด ต้อง ไม่เกินจำนวนชั่วโมงที่กำหนดในโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา แล้วตั้งชื่อหน่วยให้น่าสนใจสำหรับผู้เรียน
2. ระบุมาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัดที่นำมาจัดทำเป็นหน่วยการเรียนรู้แต่ละหน่วย
การเรียนรู้ โดยเขียนรหัสมาตรฐาน ระดับชั้นและตัวชี้วัดที่นำมาจัดทำหน่วยฯ ทั้งหมด

3. กำหนดสาระสำคัญสำหรับแต่ละหน่วยการเรียนรู้ เป็นข้อความที่ระบุว่าผู้เรียนรู้อะไร
มีทักษะอะไร (อาจจะมีคุณลักษณะอย่างไรด้วย) และหน่วยนี้มีคุณค่าต่อผู้เรียนอย่างไรในระยะสั้นและระยะยาวโดยร้อยเรียงข้อมูลของทุกตัวชี้วัด และเขียนเป็น Concept ภาพรวมของหน่วยฯ ที่ต้องการให้เป็นองค์ความรู้ เป็นความเข้าใจที่ฝังติดตัวผู้เรียนไปเป็นเวลานาน และสามารถนำมาใช้ได้เมื่อต้องการ ซึ่งมีวิธีเขียน 4 แนวทาง ได้แก่
3.1 เขียนลักษณะหลักเกณฑ์ หรือหลักการ เช่น “พืชตอบสนองต่อแสง เสียง และ
การสัมผัส ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมภายนอก”  “การบวก คือการนำจำนวนตั้งแต่สองจำนวนขึ้นไปมารวมกัน จำนวนที่ได้จากการรวมจ

คำสำคัญ (Tags): #ครูปฐมวัย
หมายเลขบันทึก: 410739เขียนเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2010 16:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤษภาคม 2012 11:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท