โรงเรียนมาตรฐานสากล


World-Class Standard school

1 

โรงเรียนมาตรฐานสากล

เป็นโรงเรียนในโครงการที่จัดหลักสูตรการเรียนการสอนเทียบเคียงมาตรฐานสากล โดยมีความมุ่งหวังไว้ว่า นักเรียนมีศักยภาพเป็นพลเมืองโลก โดยมีโรงเรียนในโครงการทั่วประเทศรวม 500 โรงเรียน ด้วยการคัดเลือกโรงเรียนที่มีศักยภาพในการต่อยอดให้บรรลุวัตถุประสงค์โครงการ ใช้ระยะเวลาดำเนินการโครงการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553-2555 

แนวคิดของการพัฒนาโรงเรียนไปสู่มาตรฐานสากล ที่กำลังขับเคลื่อนอยู่ในขณะนี้นับได้ว่าเป็นการต่อยอดของการพัฒนาการศึกษาไทย ให้มีคุณภาพทัดเทียมกับประเทศชั้นนำของโลกยุคปัจจุบัน บนวิถีของความเป็นไทยก้าวไกลไปสู่สากล

            มีเรื่องราวอยู่หลายประเด็นที่คนในวงการศึกษาต้องเร่งเดินหน้าทำงานกันเพื่อให้บรรลุไปสู่เป้าหมายหนึ่งในหลายเรื่องราวเหล่านั้นก็คือ การเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ภาษาต่างประเทศที่  2   อีกภาษาหนึ่ง
 คุณภาพผู้เรียนมีลักษณะ ดังนี้

1. เป็นเลิศวิชาการ

1.1   นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์การเรียนผ่านการประเมินระดับชาติอยู่ในระดับดี เป็นที่ยอมรับจากสถาบันนานาชาติ

1.2   นักเรียนมีความสามารถ ความถนัดเฉพาะทางเป็นที่ประจักษ์ สามารถแข่งขันในระดับชาติและนานาชาติ

1.3   นักเรียนสามารถเข้าศึกษาต่อในระสูงขึ้นจนถึงระดับอุดมศึกษา ทั้งในประเทศและต่างประเทศได้ในอัตราสูง

1.4   นักเรียนมีผลการเรียนที่สามารถถ่ายโอนกับสถาบันศึกษาระดับต่างๆ ในนานาชาติได้

2. สื่อสารอย่างน้อยได้ 2 ภาษา

2.1  นักเรียนใช้ภาษาไทย/ภาษาอังกฤษ และภาษาต่างประเทศอื่นๆ ในการสื่อสารได้ดี

2.2  นักเรียนสามารถสอบผ่านการวัดระดับความสามารถทางภาษาจากสถาบันภาษานานาชาติ

3. ล้ำหน้าทางความคิด

3.1 นักเรียนสร้างกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และจัดทำโครงงานที่เสนอแนวคิดเพื่อสาธารณประโยชน์ร่วมกับนักเรียนนานาชาติ

3.2 นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ กล้าเผชิญความเสี่ยง สามารถใช้ความคิดระดับสูง มีเหตุผล และวางแผนจัดการสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ได้

3.3 นักเรียนสามารถสร้างสรรค์ความคิดใหม่ๆ เพื่อประโยชน์ต่อตนเอง สังคม และประเทศชาติ ค่านิยม และความเชื่อของตนเองและของผู้อื่น

4. ผลิตงานอย่างสร้างสรรค์

4.1 นักเรียนมีความสามารถประเมิน แสวงหา สังเคราะห์ และใช้ข้อมูลข่าวสารอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการดำเนินการให้สำเร็จ

4.2 นักเรียนมีความรอบรู้ด้านทัศนภาพ (ภาษาภาพ สัญลักษณ์ สัญรูป) รู้จักตีความ สร้างสื่อในการพัฒนาความคิด การตัดสินใจ และการเรียนรู้ให้ก้าวหน้าขึ้น

4.3 นักเรียนมีผลงานการประดิษฐ์ สร้างสรรค์ และออกแบบผลงานเข้าแข่งขันในเวทีระดับชาติและนานาชาติ

4.4 นักเรียนสามารถใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้ ออกแบบ สร้างสรรค์งาน สื่อสาร นำเสนอเผยแพร่ และแลกเปลี่ยนผลงานในระดับนานาชาติ

5. ร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมโลก

5.1 นักเรียนมีความตระหนักรู้ในภาวการณ์ของโลก สามารถเรียนรู้และจัดการกับความซับซ้อน

5.2 นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักในความหลากหลายทางวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีของนานาชาติ

5.3 นักเรียนมีความสามารถระบุประเด็นทางเศรษฐศาสตร์ วิเคราะห์ผลกระทบของการ เปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและนโยบายสาธารณะ เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายและผลตอบแทนได้

5.4 นักเรียนมีความรับผิดชอบต่อสังคมและเป็นพลเมืองดี สามารถจัดการและควบคุมการใช้เทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมให้เกิดประโยชน์ต่อสาธารณะและปกป้องคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอุดมการณ์ประชาธิปไตยสังคมไทยและสังคมโลก

“ โรงเรียนมาตรฐานสากล  สร้างคนไทยรุ่นใหม่ให้เป็นคนดีของสังคมโลก”

1.พัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพเป็นพลโลก
2. ยกระดับการจัดการเรียนการสอนเทียบเคียงมาตรฐานสากล
3. ยกระดับการบริหารจัดการระบบคุณภาพ

ปรับวิธีเรียนเปลี่ยนวิธีสอน

ในปัจจุบัน ระบบเศรษฐกิจฐานความรู้ ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการสื่อสาร ทำให้สังคมโลกมีการลื่นไหลระหว่างวัฒนธรรมมากขึ้น การเมืองแบบเสรีประชาธิปไตยเป็นที่นิยมยอมรับกันทั่วโลก ประเทศไทยจะมีความสัมพันธ์กับชุมชนโลกบนพื้นฐานของศักดิ์ศรีและความเท่าเทียมกันจะมีความสามารถในการแข่งขันและร่วมมือกับประชาคมโลกได้ ต่อเมื่อเรามีการปรับเปลี่ยนแนวทางการจัดการศึกษาให้สามารถพัฒนาคนและสังคมไทยให้มีสมรรถนะในการแข่งขันมีคุณภาพสูงขึ้น รู้จักเลือกที่

3

จะรับกระแสของวัฒนธรรมต่างชาติ ปลูกจิตสำนึกและความภาคภูมิใจในความเป็นคนไทย รวมถึงการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้ทันต่อสภาวการณ์โลกเรามี

เจตนารมณ์มุ่งมั่นที่จะบรรลุความคาดหวังสำคัญดังนี้

        1. ผู้เรียนได้รับการพัฒนาให้เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพอันหมายถึงเป็นคนดี เป็นคนเก่งเป็นคนที่สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณค่าและมีความสุข บนพื้นฐานของความเป็นไทยภายใต้บริบทสังคมโลกรวมทั้งเพิ่มศักยภาพในระดับสูงด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการสื่อสาร เพื่อการพึ่งตนเองและเพื่อสมรรถนะในการแข่งขัน

        2. โรงเรียนยกระดับคุณภาพสูงขึ้นสู่มาตรฐานสากล ผ่านการรับรองมาตรฐานคุณภาพแห่งชาติ(TQA) เป็นโรงเรียนยุคใหม่ที่จัดการศึกษาแบบองค์รวมและบูรณการเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมศาสนา และการเมืองเพื่อพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

        3. โรงเรียนพัฒนาหลักสูตร รูปแบบและวิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นความแตกต่างตามศักยภาพของผู้เรียนโดยคำนึงผู้เรียนเป็นสำคัญ ทั้งนี้จำเป็นต้องมีสื่อ อุปกรณ์ เครื่องมือ สื่อ นวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เหมาะสม และปรับประยุกต์ใช้ได้สมประโยชน์ ทันต่อการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลก

        4. ผู้บริหาร ครู ศึกษานิเทศก์ และบุคลากรทางการศึกษา ได้รับการพัฒนาด้วยวิธีการที่เหมาะสมหลากหลายอย่างทั่วถึง ต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการเรียนรู้และเพิ่มพูนประสิทธิภาพการปฏิบัติงานสู่ความเป็นเลิศในระดับสากล ตลอดจนเพื่อจรรโลงความพึงพอใจและความผูกพันต่อวิชาชีพ

        5. โรงเรียนมีภาคีเครือข่ายการจัดการเรียนรู้และร่วมพัฒนากับสถานศึกษาระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาค ระดับประเทศ และระหว่างประเทศ ตลอดจนเครือข่ายสนับสนุนจากสถาบันอุดมศึกษาและองค์กรอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเป็นศูนย์และร่วมเป็นเครือข่ายพัฒนาความรู้ให้กับประชาชนในชุมชนและบุคคลทั่วไป 

4

คุณลักษณะโรงเรียนมาตรฐานสากล

 

ลักษณะการเป็นมาตรฐานสากล ประกอบด้วย
1. การจัดการเรียนการสอน
2. บริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพ
คุณลักษณะโรงเรียนมาตรฐานสากล มีดังนี้
1. ผู้เรียนมีศักยภาพเป็นพลโลก เป็นเลิศวิชาการ, สื่อสารสองภาษา, ล้ำหน้าทางความคิด, ผลิตงานอย่างสร้างสรรค์
2. การจัดการเรียนการสอนเทียบเคียงมาตรฐานสากล 
3. บริหารจัดการด้วยระบบ คุณภาพ 
วัตถุประสงค์ โรงเรียนมาตรฐานสากล  
1. พัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพ   เป็นพลโลก  
2. ยกระดับการจัดการเรียนการสอนเทียบเคียงมาตรฐานสากล 
3. ยกระดับการบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพ
เรา คือ ประชาคมโลก  ความใฝ่รู้ไม่มีพรมแดนในชุมชนโลก  
สัมพันธภาพ และความเป็นเครือญาติพี่น้อง
นั่นคือความรับผิดชอบร่วมกันของมวลมนุษยชาติต่อประชาคมโลก                                                                                                       
  • ครูมุ่งมั่น พัฒนาตนเอง
  • วางแผนพัฒนาตนเอง จัดทำ  ID-PLAN
  • ออกแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด  Backward  Design
  • นำ ICT มาใช้ในห้องเรียน
  • สร้างวินัยเชิงบวกในห้องเรียน
Education for all
สถานการณ์โลกปัจจุบันที่เกี่ยวกับการเป็นพลเมืองโลก สิทธิมนุษยชนการพัฒนาอย่างยั่งยืน ความหลากหลายทางด้านเผ่าพันธุ์ของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมการพึ่งพาอาศัยซึ่งกัน ตลอดจนแนวทางการแก้ไขปัญหาทางสังคม ค่านิยมและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาคมโลกและประเทศไทย
            หน่วยที่ 1 ว่าด้วยเรื่องคุณภาพชีวิตของเด็ก..คุณภาพชีวิตของโลกเรา เนื้อหาปูทางด้วยคุณภาพของเด็กและเยาวชนที่กำลังเผชิญกับปัญหาคุณภาพชีวิต ซึ่งได้แก่ AIDS,เรื่องแรงงานเด็ก ทหารเด็ก ยาเสพติด เรื่องของสิทธิเด็กและเสียงจากสภาเด็ก เสียงเรียกจากเยาวชนที่ผู้ใหญ่ต้องรับรู้
            หน่วยที่ 2 ว่าด้วยเรื่องของ Education for all เรื่องการเรียนรู้ของประชาคมโลกที่เชื่อว่าการศึกษาจะเป็นกุญแจสำคัญของการเศรษฐกิจสังคมโลกยุคปัจจุบัน รูปแบบการเรียนรู้ของกลุ่มชนต่างๆ จากอดีตสู่ปัจจุบัน โรงเรียนในฝันของเด็กไทย (เสียงและฝันของเด็กที่ไม่ใช่ฝันของผู้ใหญ่อย่างเรา บังคับให้เด็กฝันตาม)
           หน่วยที่ 3 ว่าด้วยเทคโนโลยีและเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ เป็นเรื่องของการค้นคิดนวัตกรรมบนรากฐานของความร่วมมือและความสุขของมวลมนุษย์  หน่วยการเรียนนี้จึงมีทั้งเรื่องราวที่เด็กต้องสืบค้นข้อมูลที่ทันสมัยจากแหล่งต่างๆ รวมไปถึงภาคสนามในชุมชน
          หน่วยที่ 4 ว่าด้วยเมืองน่าอยู่ ชุมชนน่าอยู่ แม้ว่าจะเป็นเรื่องเก่ามาหลายปีแต่ก็ยังอยู่ในกระแส เพราะความน่าอยู่ย่อมผันแปรไปตามบริบทของเวลาและสังคม

 

 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธร
อ้างอิง
hhttps://mail.google.com/mail/?hl=th&shva=1#inbox/12c88ac5f5e33a77ttp://www.moc.moe.go.th/
http://www.silapasart.com
http://www.worldclassschoolthai.net/
หมายเลขบันทึก: 410556เขียนเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2010 22:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 17:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท