นับดาวเรียนรู้ KM ปฏิบัติ ดวงที่ 6


เรียนรู้การเป็นวิทยากรกระบวนการ KM

          วันที่ 24-25 กรกฎาคม  2549  ที่ผ่านมา  ผู้เขียนได้มีโอกาส  ไปฝึกหัด เป็นวิทยากรกระบวนการ โดยมี คุณวรรณา  เลิศวิจิตรจรัส จาก สคส. เป็นพี่เลี้ยง และมีผู้ร่วมเดินทาง อีกหนึ่งท่าน จาก สคส. คือ คุณอุไรวรรณ  เทิดบารมี    ในการจัด Workshop เรื่อง การจัดการความรู้สู่การพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สำหรับหน่วยงานนำร่อง ของกรมทางหลวง  ซึ่งจัดขึ้นที่ โรงแรมเดอะกรีนเนอรี่ รีสอร์ท เขาใหญ่  อ.ปากช่อง  จ.นครราชสีมา

  • ต้องขอชมผู้จัด  ที่เลือกทำเล ชัยภูมิการรบได้ดี  เมื่อเราเข้าไปพักที่นี่ จะรู้สึกเหมือนอยู่บ้าน  ผู้เขียน ลปรร. กับน้องอุ ที่พักห้องเดียวกันว่า " ทำไมพวกเราจึงรู้สึกเช่นนี้? " เธอตอบว่า "เพดานห้องพัก ไม่เป็นฝ้าเรียบ เหมือน โรงแรมทั่วไป แต่มีความโค้ง มีคาน มีช่อง เหมือนบ้าน"   สำหรับผู้เขียนเอง นึกถึง  การต้อนรับที่อบอุ่น ตั้งแต่เราก้าวลงจากรถ  มีน้ำสีเขียวสวย เย็นชื่นใจ มาเสริฟ  การตกแต่งสถานที่ด้วยศิลปะไทยแบบแตกต่าง   ความร่มรื่นของต้นไม้  ดอกไม้  การจัดดอกไม้แบบแปลกๆ  เช่น ในหลอดทดลอง  จัดผสมขนนก เป็นต้น  เสียงนกร้องโดยธรรมชาติ   นกจริงๆที่บินให้เราเห็นได้  บริกรจะมีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใสเสมอ พร้อมต้อนรับให้บริการ ด้วยน้ำเสียงที่ไพเราะ และ กลิ่น สะอาดสดชื่น เหล่านี้  อาจเป็น ตัวสร้างบรรยากาศนั่นเอง
  • ผู้เขียนใช้จุดเด่นข้างต้น ต่อยอดบรรยากาศ worksop ด้วยการให้เขาจัดสวนเล้กๆ ในห้องประชุม เพื่อดึงความสดชื่น เข้าไปในห้องสี่เหลี่ยม  พนักงานเขาน่ารักมาก ที่เอาหินมาโรยรอบๆสวนต้นไม้ดอกไม้เล็กๆ กลางห้อง  เพราะ สื่อสัมพันธ์ กับกรมทางหลวงได้ดี
  • หลังจากคุณอ้อ บรรยาย KM ภาคเช้าแล้ว ภาคบ่าย เป็นหน้าที่ผู้เขียนลงสนาม จึงเริ่มด้วย เพลงของกรมทางหลวงเอง เพลงของเขาเพราะ เขาร้องกันไม่ได้ จึงเปิดกล่อมไปทุกช่วงที่รอ การเข้ากระบวนการ เป็นการบ้าน ที่เขาจะไปคิดกันต่อเอง แต่ผู้เขียน จับ 3 คำ ในเพลง สถาบันได้ "เรียนรู้ สร้างสรรค์ พัฒนา"
  • อีกสื่อหนึ่งที่ผู้เขียนใช้ คือ ภาพถนนลูกรัง ภายใต้ป่าทึบ เป็นตัวเปิด กระบวนการ ภายใต้ ปรัชญา "ทางเบี่ยง คือ ทางตรงเบื้องหน้า   แสงแห่งปัญญา อยู่ในตัวเราเอง"   ผู้เขียนลองถามความคิดเขาดูว่า " เห็นภาพแล้วคิดอย่างไร ? "  ก็ได้ความคิดที่หลากหลาย บ่งบอกถึงความลึกตื้นได้ไม่เลวทีเดียว 
  • ผู้เขียนไม่ได้คิดอะไรมากมายนัก ต่อวิธีการ ดึงดูด ความสนใจ  และคลายความเครียดเชิงตรรกะ   สิ่งหนึ่งที่ขุดออกมา คือ ต้องทำให้เขารู้จัก ความเป็นตัวตน ของวิทยากร คิดอย่างไร? เป็นคนอย่างไร?     ทำไมผู้เขียนเรียนรู้ KM ? น่าจะเป็นคำตอบให้ผู้เข้าร่วมจากกรมทางหลวงได้ ว่าเขาควรทำ KM ไปเพื่ออะไร?
  •  เมื่อดำเนินกระบวนการเล่าเรื่องเร้าพลัง โดยมี น้องอุ เล่าเรื่อง ความสำเร็จที่ภูมิใจ ในการทำหน้าที่คุณประสาน ในงานมหกรรม KM ราชการไทย ก้าวไกลสู่ LO  ซึ่งเราว่ากันสดๆ ไม่มีการเตี๊ยมใดๆ เป็นการทดสอบ KM น้องอุไปในตัว 
  • การดำเนินกระบวนการเป็นช่วงๆ เพื่อสกัดประเด็นขุมความรู้ แล้วหาแก่นความรู้ ผู้เขียน ใช้วิธีบอกเขาสั้นๆ แล้วลงมือเลย เราไปอธิบายเขาตอนลงมือ ถ้าเขาไม่ถูก ดูเขากระตือรือร้น ที่จะมาจดขั้นตอน คำเทคนิคใหม่ๆ อาจเป็นก่อนทำ หรือ หลังนำเสนอ เพราะเราจะเชื่อมโยงขั้นตอน ทบทวนให้เขา  คุณอ้อ เป็นพี่เลี้ยงที่ดี คงห่วงว่าผู้เขียนไม่เคยจัด หรือ ดูเต็มกระบวนการ ก็จะคอยช่วยควบคุมเวลา แล้วพาให้ผู้เขียนเรียนรู้การดำเนินกระบวนการต่อ
  • ผู้เขียนมีวิธีดึงดูด (ที่เพิ่งเข้าใจตนเองเช่นกัน) ด้วยการเสนอภาพ ทางหลวงอันสวยงาม ให้เขาดูผลงานกันเล่นๆ ระหว่างรอ คล้ายเป็นรางวัล
  • วันแรกผ่านไปด้วยดี คุณอ้อ ถามว่า "เหนื่อยไหม?" ก่อนแยกกันไปพัก เธอให้กำลังใจว่า "วันแรกผ่าน ก็แปลว่าผ่าน"
  • วันที่ 2 เราให้เขาแบ่งกันทำเกณฑ์ เพื่อสร้างตารางอิสรภาพ ใช้วิธีการคล้ายวันแรก แล้วกลับมาแบ่งกลุ่มตามหน่วยงาน เพื่อประเมินตนเอง ส่งผลให้ ทีม สคส. ประมวล แล้วเขาไปพักได้ เมื่อเราได้ภาพของกราฟ ในเครื่องมือ ธารปัญญา เสนอให้เขาดู ผู้เขียนก็รอทำ AAR แล้ว 
  • ผู้เขียนให้ทุกคนพูด AAR เป็นผลให้ คุณอ้อ ตัดสินใจร่วมกับทีมจัดจากกองฝึกอบรม  (AAR ต่อยอดทันที) พลิกตารางเพื่อให้เกิดช่องทางการทำงาน และประโยชน์สูงสุด คือ ผู้อำนวยการกองฝึก ชี้แจงที่มาของแผน และโครงการนำร่องนี้อย่างชัดเจน ก่อน แล้ว สคส.ให้โจทย์ คณะกรรมการฯรุ่นนี้ ไปคิด หัวปลาที่เหมาะสม พร้อมทำกลยุทธ์ แผนงาน ส่งคุณอ้อ เป็นการบ้าน
  • แล้วเราก็ขอปิดฉากอำลากลับ ตามสไตล์ สคส. ทำเอา ทีมคนเก่งจากกรมทางหลวงคะนึงหา  ยังขอแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวงใหญ่ต่อ ด้วยการซักถาม ด้วยคำถามที่มีประโยชน์อีกมากมาย และ เป็นช่วงที่ได้มีโอกาส สร้างกำลังใจกันในหน่วยงาน  เชื่อมประสานทีมซึ่งกันและกัน เปิดใจคุยกัน  เป็นบรรยากาศ ที่อบอุ่น น่าประทับใจทีเดียว
  • มีการถ่ายรูปร่วมกัน  หลายกล้องเหลือเกิน ทีมจัดงานส่งพวกเรากลับด้วยรอยยิ้ม มีความสุข เพราะเขายังต้องอยู่ทำงานกันต่อไป  รุ่งขึ้นก็ต้องทำแผน และไปดูงานต่อ 
  • นี่แหละวัฒนธรรมไทย ถ้าเปิดใจกันได้จริง ช่างสุขเหลือเกิน ผู้เข้าร่วม เป็นทีมวิศวกร นายช่างใหญ่ นายช่างเล็ก อายุประมาณ 50-30 ปี นัยว่า เฮี๊ยวไม่เบา (เพราะเขามีฝีมือ)  กลุ่มนี้เป็น 3 ใน 5 ส่วน  ที่เหลือ คือกลุ่มงานสนับสนุน มีทั้งผู้หญิง ผู้ชาย อายุประมาณ 50-30 ปี เช่นกัน (จำนวนคนทั้งสิ้น ประมาณ 40 ท่าน)   สำหรับทีมงาน สคส. 3 คน อายุเฉลี่ย 30 ปี อาจเพราะ เราเป็นเด็ก และเล่นบทบาท ของการเคารพ นับถือ ผุ้อาวุโส ในความรู้ ความสามารถของท่าน และพร้อมจะช่วย แบ่งปัน แนวคิด ทั้งเชิงตะวันตก (เครื่องมือ ระบบงาน)  และปรัชญาตะวันออกเพื่อไขข้อข้องใจ  จึงกลายเป็นหนังอีกเรื่องหนึ่งที่ผู้เขียนเก็บไปเล่าได้อีกหลายจอ
  • อีกปัจจัยหนึ่งที่นับว่า กรมทางหลวงรุ่นนี้ โชคดี คือ มีผู้นำรุ่น ที่มี KM ปฏิบัติ ในตัวอยู่แล้ว ท่านจึงเป็นจุดศูนย์รวมของกลุ่ม ผู้เขียนก็นับว่า โชคดี  ที่มีโอกาสได้สนทนา ลปรร. กับท่านในมื้อเช้าวันที่สอง
  • ผู้เขียนได้เรียนรู้ยกระดับอย่างธรรมชาติ เรื่องการสื่อสาร และการถ่ายทอด นั่นเอง
หมายเลขบันทึก: 41033เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2006 19:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 16:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • บรรยากาศดีมากเลยครับ
  • เห็นแล้วชักอิจฉา ส่วนใหญ่จัดอบรมให้ครูที่โรงเรียนเนื่องจากไม่ต้องการให้คุณครูเสียเวลาและเสียเงินมาก
  • ขอบคุณมากครับที่นำมาเล่าให้ฟัง
  • บรรยากาศ สร้างโดยคน และเลือกโดยคนนะคะ 
  • โรงเรียน คงมีมุม ที่เป็นธรรมชาติ สบายๆ และคนชอบไปนั่งกัน  หรือไม่ ก็มีครู/นักเรียน ที่ชอบ / ทำศิลปะ ตกแต่งได้ดี สวยงาม  เราใช้เขาสิคะ  เป็นการฝึกสร้างสรรค์ แล้วเกิดผลงาน สานต่อ ภายในโรงเรียนอย่างแท้จริง ช่วยกันคนละไม้ละมือ เพื่อสร้างบรรยากาศที่ดี ในที่ที่เราต้องมาทำกิจกรรมร่วมกัน เป็น KM ปฏิบัติจริงค่ะ
  • วันจัด Workshop คือ การจำลอง สมมุติเท่านั้น ทุกคนที่เข้าร่วมคงมีคำถามว่า แล้วชีวิตจริงล่ะ? ถ้าวิทยากรกระบวนการ สามารถช่วยเขาเชื่อมโยง ตัวอย่างความสุขได้ ก็นับว่า สำเร็จไปครึ่งหนึ่งแล้ว เราจะเหนื่อยในการพูด บรรยาย น้อยลงค่ะ
  • การเริ่มต้นกิจกรรม เราจะพูดว่า ต้องตั้งใจเรียนรู้ร่วมกัน อาจเหนื่อยในการจัดเตรียมบ้าง แต่ไม่แพง หาได้แน่ๆ ในเมืองไทยนี้  KM ต้องลงแรง  เมื่อจบด้วยความสุขนับว่าเกินคุ้มค่ะ
  • ตอบยาวเลยครับ
  • ขอบคุณมากครับ ที่แต่งเติมความรู้

ไม่เป็นไรนะคะ  นี่คือการถ่ายทอด ลปรร. เป็นการทำ KM ยกระดับ ในชุมชนเสมือนไงคะ  เพื่อความสำเร็จของงานชุมชน

KM Intern

เห็นบรรยากาศการเรียนรู้แล้วรู้สึกว่าทีมสคส. ก็มีการพัฒนาให้เป็นแบบสบาย ๆ มากกว่าเดิมหลายขุมนะคะ

ขอบคุณค่ะ คุณศุภลักษณ์ ชัวร์อยู่แล้วนะคะ การพัฒนายกระดับอยู่คู่กับ KM ปฏิบัติเสมอ ยังมีแบบแปลกตา ไม่ซ้ำรอย แต่ต่อยอด ในอนาคตแน่นอนค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท