น.เมืองสรวง
เรียนรู้ชุมชน เยี่ยมเยียนชุมชน มุมมองของชุมชน ภูมิรู้ชุมชนและท้องถิ่น นายอำนาจ แสงสุข

การสร้างสื่อเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับชุมชน


ในมุมมองที่แตกต่าง

" การมอง " คน " มิใช่เป็นเรื่องของผลประโยชน์ แต่หากเขาจะสามารถช่วยเหลืองานที่เรา ตั้งใจทำได้มากน้อยเพียงไร กรณีที่เขาเป็นลูกน้องเรา หรือลูกจ้างเรา การแยกแยะดีชั่ว มันยากนะ แต่หาก " ผู้นำ" มีความยุติธรรม มีความละเอียดอ่อนมีจิตวิยญาณ มีจิตสำนึกที่ดี ทุกสิ่งที่เป็นและเห็นได้จับต้องได้ สามารถนำมาปรับใช้กับการทำงานและเรื่องส่วนตัวได้

..........การสร้างสื่อเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับชุมชน " เมื่อสักครู่ นี้ได้เกริ่นนำ " การมองคน" ก็สามารถสื่อให้เห็นว่า ต้องมีความละเอียดอ่อนในการมอง " คน " ที่อยู่ในชุมชนว่า " คนนอกชุมชน " ได้อะไรจากสิ่งที่ได้ลงไปสัมผัส ลงไปช่วยเหลือ ลงไปเสนอแนะ ในรูปของ " ผู้จุดประกาย  " ลงไปแสดงถึงความเป็นพี่เป็นน้อง ในแบบ แนบแน่น นี้คือ ความหมาย ของคำว่า " การปฏิสัมพันธ์ทางกายภาพ " ดังโครงสร้าง ดังนี้

 

1.km......ผู้เข้าไปเรียนรู้

2.ชุมชน

3. การมีส่วนร่วม (กิจกรรม/ ปฏิสัมพันธ์เชืงซ้อนฯลฯ

4.กำหนดโครงการร่วมกัน

5.ร่วมด้วยช่วยกัน

6.แสวงหาเครือข่ายฯ

7.ร่วมรับผลที่เกิดขึ้นร่วมกัน

8.มีเป้าหมายที่วางโครงการร่วมกัน

9. มีจุดยืนร่วมกัน

10.จุดหมายแห่งการพัฒนาร่วมกัน

....มีจุดหมายแห่งการพัฒนา..ในที่ ๆ ชุมชนนั้น ๆ แล้ว km จงถอยออกมาเพื่อคอยดูการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น แล้ว " ขับเคลื่อนในพื้นที่ที่อื่น ๆ ต่อไป  นี้เป็นบทบาท " km " หรือศัพท์ชาวบ้านเรียก"km" ว่านักเคลื่อนไหว ศัพท์ทางวิชาการเรียกว่า " พลังขับเคลื่อน"

คำสำคัญ (Tags): #ของดีจากชุมชน
หมายเลขบันทึก: 41028เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2006 18:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท