นิวซีแลนด์ "ดินแดนในฝัน"


ดินแดนแห่งความงามตามธรรมชาติที่ยังหลงเหลืออยู่

นิวซีแลนด์ดินแดนในฝัน...ที่เป็นจริง                

ผู้เขียนได้มีโอกาสเดินทางร่วมกับคณะกรรมการคุรุสภาและผู้แทน  ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของกระทรวงศึกษาธิการจำนวน 22 คน           ไปศึกษา-ดูงานด้านการศึกษา    ณ ประเทศนิวซีแลนด์  รู้สึก     ประทับใจในประเทศนิวซีแลนด์ที่ยังคงรักษาความบริสุทธิ์ของธรรมชาติและศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิมของเผ่าเมารีไว้ได้อย่างมั่นคง      จึงตั้งใจนำมาบอกเล่าสู่กันฟังครับ           
นิวซีแลนด์ ได้ชื่อว่าดินแดนเปี่ยมมนต์เสน่ห์แห่งขั้วโลกใต้ ที่เลื่องชื่อเรื่องความงดงามทางทัศนียภาพอันหลากหลาย ไม่ว่าเกาะเหนือหรือเกาะใต้ท่านที่เคยเรียนภูมิศาสตร์พอจะทราบว่านิวซีแลนด์ประกอบด้วยเกาะใหญ่ๆ 3 เกาะ และเกาะเล็กเกาะน้อยอีกจำนวนมาก ตั้งอยู่ในเขตมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ที่เส้นละติจูด 34-47 องศาใต้ มีความยาวตั้งแต่เหนือจรดใต้ 1,600 กิโลเมตร มีพื้นที่ 268,680 ตารางกิโลเมตร เกาะใหญ่ที่อยู่บนสุดเรียกว่าเกาะเหนือ (
North Island)  เกาะถัดมาเรียกว่าเกาะใต้ (South Island) และเกาะปลายล่างสุดชื่อเกาะสจ๊วร์ต (Stewart Island) เกาะใหญ่ทั้งสองเกาะมีรูปร่างยาวจึงทำให้ไม่มีพื้นที่ส่วนใดเลยที่อยู่ห่างชายฝั่งทะเลเกิน 110 กิโลเมตร ดินแดนที่อยู่ใกล้นิวซีแลนด์มากที่สุดคือทวีปออสเตรเลีย นิวซีแลนด์คือประตูสู่ขั้วโลกใต้และทวีปแอนตาร์กติก พื้นที่ทางตอนเหนือส่วนใหญ่เป็นที่ราบและภูเขา นอกจากนั้นยังมีลักษณะพิเศษแบบฟยอร์ด (Fjord) ตามชายฝั่งทะเลตอนใต้อีกด้วย            ลักษณะอากาศของนิวซีแลนด์จะเหมือนกับยุโรปตอนใต้ แต่ทว่าฤดูกาล           จะกลับกัน เกาะเหนือจะมีอากาศอบอุ่นกว่าเกาะใต้ และยิ่งใต้เท่าไหร่จะยิ่งหนาวลงเป็นลำดับ  เดือนที่หนาวที่สุดของนิวซีแลนด์คือ เดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม (อุณหภูมิเฉลี่ย 10-14 องศาเซลเซียส)  เดือนที่ร้อนที่สุดคือเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์   ลักษณะภูมิอากาศของเกาะเหนือเป็นแบบกึ่งร้อนชื้น อากาศจัดอยู่ในระดับเย็นสบายเฉลี่ยราว 15-20 องศาเซลเซียส ส่วนเกาะใต้จะหนาวถึงกับมีหิมะปกคลุม โดยเฉพาะตอนใต้สุด และบริเวณเทือกเขา            สำหรับประชากรของประเทศนิวซีแลนด์มีจำนวนไม่มากนัก คือราว 4.09 ล้านคนเท่านั้น 81% เป็นชาวผิวขาว 13.8% เป็นชาวเมารี และที่เหลือเป็นผู้อพยพชาวเอเซีย 4.5% และชาวแปซิฟิกอื่นๆ 5.3%  เมืองใหญ่ที่สุด คือ โอ๊กแลนด์ มีประชากรไม่ถึง 1 ล้านคน เมืองสำคัญทางเกาะเหนือ ได้แก่ โอ๊กแลนด์ (Auckland) เวลลิงตัน (Wellington) เป็นเมืองหลวง และแฮมิลตัน (Hamilton) ส่วนเกาะใต้ ได้แก่ ไครส์เชิร์ช (Christchurch) และ ดูนิดิน (Dunedin)            ชาวนิวซีแลนด์ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาประจำชาติ แต่ขณะเดียวกันภาษาพื้นเมืองเมารียังคงมีบทบาทเช่นกัน โดยเฉพาะการใช้เป็นชื่อสถานที่  ภาษาเมารีดั้งเดิมไม่มีตัวเขียนจึงใช้ตัวอักษรของภาษาอังกฤษเขียนแทน คำภาษาเมารีเป็นสระผสมพยัญชนะ ไม่มีตัวสะกด  คำภาษาเมารีที่ควรรู้ อาทิ    Aotearoa (เอา เทอะ รัว) แปลว่า ดินแดนแห่งเมฆขาว เป็นชื่อที่ชาวเมารีใช้เรียกนิวซีแลนด์            Haka (ฮากา) คือ การเต้นรำก่อนทำศึกของนักรบเมารี ปัจจุบันหาดูได้ในงานแสดงศิลปวัฒนธรรม และนักรักบี้ทีมชาตินิวซีแลนด์จะเต้นฮากาก่อนแข่งขันกับทีมต่างชาติทุกครั้ง            Hangi (ฮังกิ)  คือ การเตรียมอาหารแบบเมารีด้วยการนึ่งอาหารเหนือน้ำพุร้อนในเตาที่ทำจากดิน            Heitigi (เฮอิติกิ) หรือเรียกย่อๆว่าติกิคือรูปสลักเล็กๆ ทำด้วยหินสีเขียวหรือไม้ นิยมห้อยไว้รอบคอ เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งความโชคดี            Pakeha (ปาเกฮา) แปลว่า คนขาว ชาวเมารีใช้เรียกฝรั่งผิวขาว            Haere-mai (ฮาเอเร-มาอิ) แปลว่า สวัสดี ยินดีต้อนรับ            Haere-ra (ฮาเอเร-รา) แปลว่า ลาก่อน            Kia-ora (เคีย-โอรา) แปลว่า โชคดี หรือใช้อวยพรก่อนลาจากกัน            นิวซีแลนด์ มีสกุลเงินเป็นดอลลาร์ (NZ$) 1 ดอลลาร์นิวซีแลนด์มีมูลค่าราว 23.28-23.87 บาท (25 กรกฎาคม 2549) หน่วยย่อยของดอลลาร์ คือ เซ็นต์ ธนบัตรนิวซีแลนด์มีมูลค่า 100, 20, 10, 5, 2 และ 1 ดอลลาร์นิวซีแลนด์ เหรียญของนิวซีแลนด์มีมูลค่า 50, 20, 10, 5 เซ็นต์              การติดต่อสื่อสาร ที่ทำการไปรษณีย์นิวซีแลนด์เปิดทำการเวลา 09.00-17.00 น. สามารถหาซื้อแสตมป์ บัตรโทรศัพท์ ซองจดหมาย และอุปกรณ์ในการส่งพัสดุภัณฑ์ต่างๆได้ที่ไปรษณีย์  หากจะส่งโปสการ์ดกลับเมืองไทยต้องติดแสตมป์ 1.10 ดอลลาร์นิวซีแลนด์ ราคาโปสการ์ดใบละ 80 เซ็นต์ถึง 1 ดอลลาร์นิวซีแลนด์  ในส่วนของโทรศัพท์สาธารณะในนิวซีแลนด์เป็นโทรศัพท์ที่ใช้บัตรเป็นส่วนใหญ่ บัตรโทรศัพท์มีมูลค่า 5ล 10, 20 หรือ 50 ดอลลาร์นิวซีแลนด์ สามารถหาซื้อได้ที่ที่ทำการไปรษณีย์ หรือร้านขายของที่มีป้ายติดว่า จำหน่ายบัตรโทรศัพท์หรือ “Phone Cards Available” อาทิ ร้านขายของที่ระลึก แผงหนังสือ และปั๊มน้ำมัน เป็นต้น  การโทรศัพท์ภายในเขตเดียวกัน จะเสียค่าโทรศัพท์นาทีละ 20 เซ็นต์   หากต้องการโทรศัพท์มาเมืองไทย โทรศัพท์สาธารณะต้องหมุน 00 + 66 + รหัสเมือง + หมายเลขที่ต้องการ หรือ โทรผ่านโอเปอเรเตอร์ไทยเพื่อเก็บค่าโทรศัพท์ปลายทาง (Thailand Direct) คือ 000 966  หากจะโทรจากเมืองไทยไปนิวซีแลนด์ให้กด 001 + 64 + รหัสเมือง + หมายเลขที่ต้องการ หรือ กด 100 เพื่อให้โอเปอเรเตอร์ต่อสายให้            เวลาของนิวซีแลนด์ต่างจากเมืองไทย คือ เร็วกว่า 5 ชั่วโมง ในช่วงฤดูร้อน คือ ตั้งแต่วันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนตุลาคมไปจนถึงวันอาทิตย์แรกของเดือนมีนาคมจะบวกเวลาไปอีก 1 ชั่วโมง (Daylight Saving Time) 

กว่าจะมาเป็นนิวซีแลนด์           

เชื่อกันว่าชาวเมารี (Maori) ชนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในนิวซีแลนด์ตั้งแต่ 2000 ปีมาแล้ว เป็นชนพื้นเมืองเชื้อสายโพลีนีเซี่ยนที่อพยพมาจากเอเซีย   ในปี ค.ศ.1642 (พ.ศ. 2185) นักสำรวจชาวดัตช์ชื่อ อาเบล ทาสมาน (Abel  Van Tasman) แล่นเรือสำราญรอบทวีปออสเตรเลียและได้แวะนิวซีแลนด์ แต่ต้องพบกับชาวเมารีที่ดุร้ายและไม่เป็นมิตรซึ่งได้สังหารลูกเรือของทาสมานไปหลายคน ทำให้ดินแดนส่วนนี้ได้รับการจารึกว่าถูกค้นพบแต่ไม่ได้รับความสนใจจากนักสำรวจอื่นๆ  จนกระทั่งในปี ค.ศ.1769 (พ.ศ.2312) กัปตันเจมส์ คุก (Jame Cook) ชาวอังกฤษ ได้มาจอดเรือที่นิวซีแลนด์ พร้อมด้วยหัวหน้าเรือชาติฮิติที่พอจะส่งภาษากับชาวเมารีรู้เรื่องทำให้คณะของกัปดันคุกได้รับการต้อนรับอย่างดียิ่ง กัปตันคุกพบว่าชาวเมารีเป็นชนพื้นเมืองที่มีจิตใจเป็นนักรบและกล้าหาญ จึงทำให้การรุกรานเข้าถือครองดินแดนของชนผิวขาวที่เคยทำกับชาวพื้นเมืองในที่อื่นๆนั้นมิอาจทำได้โดยง่าย ดินแดนริมฝั่งทะเลที่ชาวเมารีเคยครองจึงถูกซื้อโดยแลกเปลี่ยนกับอาวุธ สิ่งของ เครื่องใช้จากยุโรป            หลังจากปักธงแห่งจักรภพอังกฤษ ณ ดินแดนแห่งนี้ ในปี ค.ศ.1840 (พ.ศ.2383) อังกฤษได้ส่งกัปตันวิลเลี่ยม ฮอบสัน (William Hobson) เข้ามาดูแลนิวซีแลนด์  กัปตัน ฮอบสันได้เจรจาเกลี้ยกล่อมให้หัวหน้าเผ่าเมารี 45 คนมาทำสัญญาสงบศึกกันที่ไวตังกิ (Witangi) ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ซึ่งถือเป็นวันชาติของนิวซีแลนด์ในปัจจุบัน นิวซีแลนด์ยุคใหม่
            ชาวยุโรปที่อพยพเข้ามาสู่นิวซีแลนด์ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ล้วนเป็นผู้ที่รักสงบและด้วยสภาพธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ทำให้อาชีพหลักของชาวผิวขาวที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานในนิวซีแลนด์ คือ เกษตรกรรม แม้จะมียุคตื่นทองเกิดขึ้นในช่วงสั้นๆในปี ค.ศ.1860 (พ.ศ.2403) แต่จำนวนทองที่มีไม่มากพอ ทำให้ผู้คนไม่หลั่งไหลเข้าไปในนิวซีแลนด์มากเกินไป จนกระทั่งการประดิษฐ์ตู้แช่เย็น ในปี ค.ศ.1882 (พ.ศ.2425) ทำให้สามารถส่งเนื้อสัตว์ไปสู่ยุโรปได้ สร้างความมั่งคั่งให้กับเกษตรกรชาวนิวซีแลนด์ในเวลาต่อมาจนถึงทุกวันนี้
            ทุกวันนี้นิวซีแลนด์มีสถานะเป็นประเทศเอกราช แต่ยังคงอยู่ในอดีตจักรภพอังกฤษ มีองค์สมเด็จพระบรมราชินีนาถแห่งอังกฤษเป็นประมุขในการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บริหารประเทศ ปัจจุบัน คือ เฮเลน คลาร์ก (Helen Clark) และผู้สำเร็จราชการแทนจากอังกฤษประจำนิวซีแลนด์คนปัจจุบัน คือ ดาม ซิลเวีย คาร์ตไรท์ (Dame Silvia Cartwright)            การปกครอง แม้จะมีแม่แบบเป็นรัฐสภาแบบอังกฤษ แต่นิวซีแลนด์ใช้ระบบสภาล่าง คือสภาผู้แทนราษฎรเพียงสภาเดียว เข้าบริหารประเทศโดยการเลือกตั้งและบริหารประเทศร่วมกับคณะรัฐมนตรีที่มีจำนวนไม่เกิน 20 คน การศึกษานิวซีแลนด์เป็นแหล่งการศึกษาที่มีคุณภาพ และเป็นที่ยอมรับในระดับแนวหน้าประเทศหนึ่งของโลก มีสภาพที่เหมาะสมต่อการเรียนการสอน กระตุ้นให้นักศึกษารู้จักคิด มีเหตุมีผล รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ชาวนิวซีแลนด์ยินดีต้อนรับนักศึกษาจากต่างชาติ และเปิดรับนักเรียนนักศึกษาในทุกระดับตั้งแต่ ระดับมัธยมศึกษา วิทยาลัยอาชีวศึกษา โพลีเทคนิค วิทยาลัยครู มหาวิทยาลัย และสถาบันสอนภาษาเอกชน มีหลักสูตรสาขาวิชาให้เลือกมากมายมีโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในนิวซีแลนด์ประมาณ 400 แห่ง ทั้งโรงเรียนของรัฐบาล กึ่งรัฐบาลและเอกชน โรงเรียนแต่ละแห่ง สามารถจัดหลักสูตรการเรียนการสอนเอง แต่ต้องได้รับ การรับรองคุณภาพจาก New Zealand Qualification Authority (NZQA) หลักสูตรและมาตรฐานการศึกษาจึงคล้ายคลึงกัน และมีจุดประสงค์เดียวกันคือ เตรียมความพร้อมให้นักเรียน เพื่อสอบให้ได้ประกาศนียบัตร ระดับมัธยมศึกษาที่รัฐบาลกำหนด นักเรียนทุกคนเมื่อจบระดับฟอร์ม 5 (ม. 5) จะต้องสอบไล่ข้อสอบกลางของประเทศเพื่อรับประกาศนียบัตร เรียกว่า School Certificate และเมื่อเรียนจบฟอร์ม 6    (ม. 6) ต้องสอบข้อสอบที่โรงเรียนเป็นผู้จัดสอบเพื่อรับ Sixth Form Certificate ดังนั้นการเลือกโรงเรียนจึงเป็นสิ่งสำคัญโรงเรียนมัธยมส่วนใหญ่จะรับนักเรียนต่างชาติเข้าเรียนในฟอร์ม 3 (ม.3 อายุ 13 ปี) บางโรงเรียนรับตั้งแต่ฟอร์ม 1 (ม.1) นักเรียนระดับฟอร์ม 3-4 ถือเป็นชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น นักเรียนจะเรียนวิชาบังคับพื้นฐาน อาทิ ภาษาอังกฤษ สังคมศาสตร์ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สุขศึกษา พลศึกษา ดนตรี ศิลปะ ส่วนวิชาเลือกอาจจะมี คหกรรมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ภาษาต่างประเทศ นักเรียนระดับฟอร์ม 5-6 ถือเป็นชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จะมีวิชาเลือกตามความถนัดมากขึ้น และมีวิชาบังคับน้อยลง วิชาบังคับคือ ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์เมื่อจบฟอร์ม 5 นักเรียนต้องสอบ School Certificate Examination ซึ่งจัดสอบโดยกระทรวงศึกษาธิการและสอบ Sixth Form Certificate ซึ่งโรงเรียนเป็นผู้จัดสอบเมื่อจบฟอร์ม 6 นักเรียนระดับฟอร์ม 7 เป็นนักเรียนปีสุดท้ายในระดับโรงเรียนมัธยม นักเรียนจะต้องสอบ Bursary and Scholarship Examinations   เพื่อใช้ผลคะแนนสอบ  ในการสมัครเข้ามหาวิทยาลัย นักเรียนต่างชาติก็สามารถเข้าสอบได้            นักเรียนในฟอร์ม 5-6-7 ควรเลือกวิชาที่จะเป็นพื้นฐานของ การเรียนในระดับปริญญาตรีที่ตนสนใจ เช่น สนใจเรียนปริญญาตรีด้านธุรกิจ ก็ควรเลือกเรียนวิชาคณิตศาสตร์ สถิติ การบัญชี เศรษฐศาสตร์ เป็นต้น ส่วนนักเรียนที่จะเรียนทางด้านวิทยาศาสตร์ก็ควรเลือก เรียนวิชา เคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา เป็นต้น

            ในการศึกษาดูงานครั้งนี้คณะของเราค่อนข้างโชคดีที่ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ศึกษาดูงานหน่วยงาน สถานศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน จำนวน 4 แห่ง ได้แก่1.      New Zealand Teachers Council 2.      Auckland University 3.      National Institute of studies4.      Avondale CollegeNew Zealand Teachers Council  หรือ สภาครูนิวซีแลนด์  เป็นองค์การมหาชนภายใต้กำกับของรัฐบาล        อาคารสำนักงานตั้งอยู่ที่ชั้น 7 อาคาร 93 The Terrance กรุงเวลลิงตัน   สภาครูแห่งนี้มีคณะกรรมการ จำนวน 35 คน  มาจากผู้แทนผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา 4 คน  นอกจากนั้นมาจากผู้ทรงคุณวุฒิที่รัฐมนตรีแต่งตั้ง      กรรมการคณะนี้จะมีการประชุมเป็นประจำทุกเดือน  มีหน้าที่กำหนดมาตรฐานและออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพให้กับครูหรือผู้บริหาร (มีเพียงใบเดียวเท่านั้นเรียกว่าใบประกอบวิชาชีพครู) โดยเก็บค่าขึ้นทะเบียนประกอบวิชาชีพคนละ 120 NZ$  และจะมีการประเมินเพื่อต่อใบอนุญาตทุกๆ 3 ปี หากใครไม่ผ่านการประเมินจะเปิดโอกาสให้เข้ารับการอบรมที่วิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยที่เป็นเครือข่ายการพัฒนาและจากนั้นจะมีการประเมินใหม่ โดยมีผู้ประเมินจากสภาครูร่วมกับผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้ประเมิน Auckland University  มหาวิทยาลัยโอ๊คแลนด์ เป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง ตั้งอยู่
บนถนน
Symonds  Street, เมืองโอ๊คแลนด์    การไปศึกษาดูงานครั้งนี้ได้รับการต้อนรับจากDr.John Hope และคณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยโอ๊คแลนด์ในการบรรยายสรุป ซึ่งท่านคณบดีท่านนี้ เคยทำหน้าที่เป็นกรรมการสภาครูแห่งนิวซีแลนด์ก่อนที่จะโอนย้ายมาสอนที่มหาวิทยาลัยโอ๊คแลนด์   บทบาทสำคัญของคณะครุศาสตร์ ได้ให้ความร่วมมือช่วยเหลือในการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาอย่างดียิ่ง ปัจจุบันมีนักศึกษาระดับปริญญาตรี-ปริญญาเอกประมาณ 4,000 คนNational Institute of studies  หรือ NIS เป็นสถาบันการศึกษานานาชาติ  ตั้งอยู่ที่อาคารชั้น 3 และ 5 เลขที่ 26-28 Hobson Street เมืองโอ๊คแลนด์  สถาบันแห่งนี้เป็นสถานศึกษาเอกชน เปิดสอนหลักสูตรระยะสั้น อาทิ     ภาษาอังกฤษ      คอมพิวเตอร์ บริหารธุรกิจ การเงินการธนาคาร  การท่องเที่ยว ฯลฯ  มีผู้อำนวยการสถาบันสุภาพสตรี
ชื่อ
Mrs.Marion Kerepete-Edwards  นอกจากนั้นมีอาจารย์ผู้สอนจำนวน 11 คน และมีนักเรียน นักศึกษานานาชาติ จำนวน 85 คน    สำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาแห่งนี้จะได้รับการรับรองมาตรฐานจากรัฐบาล New Zealand Qualification Authority (NZQA) คล้ายกับ สมศ.ของไทยเรา
Avondale College เป็นโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา  ตั้งอยู่บนถนน Victor Street เมืองโอ๊คแลนด์ เปิดสอนระดับมัธยมศึกษา ฟอร์ม 1-7 โดยมี Mr.Brent Lewis ทำหน้าที่เป็นครูใหญ่ (ผู้อำนวยการโรงเรียน)  จุดเด่นของโรงเรียนนี้ คือ การจัดหลักสูตรการเรียนการสอนเพื่อตอบสนองความต้องการของนักเรียนที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรม และฐานะทางเศรษฐกิจ  ซึ่งโรงเรียนแห่งนี้มีนักเรียนไทยไปศึกษาะดับฟอร์ม 5-7 จำนวน 3 คน แต่ที่น่ายินดียิ่งคือ ทีมงานบริหารที่นี่เป็นคนหนุ่มไฟแรง และมีวิสัยทัศน์กว้างไกล ทำให้การพัฒนาการศึกษาอยู่ในระดับแนวหน้าและได้รับการยอมรับว่าเป็นสถาบันการศึกษามีชื่อเสียงระดับ Top Ten ของประเทศเมืองและสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญนักท่องเที่ยวมักพูดเป็นเสียงเดียวกันว่านิวซีแลนด์เป็นประเทศที่มีความสงบ         น่ารื่นรมย์ด้วยธรรมชาติ เหมาะสำหรับท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจไปเสียทุกที่  ดังเช่นทางเกาะเหนือ มีเมืองและสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ ได้แก่โอ๊กแลนด์ (Auckland)ประวัติความเป็นมา ชาวเมารีอาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่นี้มาตั้งแต่เดิม เมื่อชาวผิวขาวเข้ามาสำรวจนิวซีแลนด์และตั้งเมืองศูนย์กลางของชุมชนที่เมืองรัสเซล ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือ โอ๊กแลนด์เกือบกลายเป็นพื้นที่ว่างเปล่า    เพราะชาวเมารีที่ยังมีชีวิตอยู่หลังจากการสู้รบกันเองได้อพยพลงไปอยู่ทางตอนใต้ จนปี ค.ศ.1840 (พ.ศ.2383) เมื่อมีการเซ็นสัญญาสงบศึกไวตังกิ กัปตันวิลเลียม ฮอบสัน ได้ย้ายมาตั้งเมืองหลวงมีพื้นที่ระหว่างอ่าวไวเตมาตา (Waitemata) และอ่าวมานูเกา (Manukau) แห่งนี้ โดยตั้งชื่อว่าเมืองโอ๊กแลนด์ตามชื่อลอร์ด ผู้เป็นไวซรอยแห่งอินเดีย
             ในปี ค.ศ.1865 (พ.ศ.2408) เมื่อมีคนอพยพมาตั้งถิ่นฐานที่นิวซีแลนด์มากขึ้นทั้งเกาะเหนือและเกาะใต้ เมืองหลวงจึงต้องย้ายจากโอ๊กแลนด์มาที่เวลลิงตันซึ่งอยู่ใกล้เกาะใต้มากขึ้น แต่ความเจริญของเมืองยังคงอยู่ที่โอ๊กแลนด์จนกลายเป็นเมืองที่เจริญเติบโตมากที่สุดของนิวซีแลนด์ในปัจจุบัน

            โอ๊กแลนด์ เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของนิวซีแลนด์ มีประชากรประมาณ 9 แสนคน นอกจากจะมีชาวผิวขาวอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากแล้ว ยังกลายเป็นเมืองศูนย์กลางของชาว  โพลีนีเชียนจากหมู่เกาะทะเลใต้ ปัจจุบันมีคนเอเชียอพยพเข้าไปทำมาหากินและเรียนหนังสือเพิ่มขึ้นทุกขณะ
            โอ๊กแลนด์ ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเกาะเหนือบริเวณคอคอดของแหลมทำให้มีท่าเรือ อ่าวจอดเรือที่ดีสองฟากฝั่งของเมือง ตัวเมืองตั้งอยู่บนกลุ่มภูเขาไฟที่ดับแล้ว จึงเห็นภูมิประเทศเป็นเนินเขาและเป็นหลุมเป็นบ่อของปล่องภูเขาไปอยู่ทั่วไป  แม้จะมีประชากรน้อยเมื่อเทียบกับเมืองใหญ่ๆทั่วโลก แต่โอ๊กแลนด์ก็จัดเป็นเมืองที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในนิวซีแลนด์ เป็นเมืองที่เฉลี่ยจำนวนบ้านและรถยนต์ต่อประชากร 1 คนแล้วมีอัตราที่สูงที่สุดในโลก
            โอ๊กแลนด์ได้สมญานามว่าเมืองแห่งการแล่นเรือใบ  
(The City of Sails) ซึ่งมาจากการที่มีอ่าวจอดเรือที่สมบูรณ์ และชาวเมืองนิยมแล่นเรือในวันหยุดสุดสัปดาห์ ทำให้วิวทิวทัศน์อ่าวเมืองโอ๊กแลนด์มีสีสันสวยงามยิ่งนัก
            สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญในโอ๊กแลนด์ อาทิ
            - ย่านดาวน์ทาวน์ ย่านกลางเมืองคือสองฝั่งถนนควีน
(Queen Street) ซึ่งเริ่มจากจัตุรัสควีนอลิซาเบธที่ 2 ตรงข้าวเฟอรร์รี่ริมอ่าวไปจนถึงจัตุรัสอาโอเทีย (Aotea Square) และอาโอเทียเซ็นเตอร์ (Aotea centre)
            - โอ๊กแลนด์โดเมน
(The Auckland Domain) อยู่ใกล้กับย่านดาวน์ทาวน์ มีพื้นที่ 80 เฮกตาร์ เป็นอาณาเขตของสวนสาธารณะ มีพิพิธภัณฑ์โอ๊กแลนด์ตั้งอยู่บนเนินเขา
           - พิพิธภัณฑ์โอ๊กแลนด์ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า
Auckland War Memorial Museum เพราะตัวอาคารและบริเวณโดยรอบถือเป็นที่รำลึกถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 ครั้งที่นิวซีแลนด์เข้าไปมีบทบาทอยู่ด้วย  ภายในพิพิธภัณฑ์จะได้ชมคอลเล็กชั่นศิลปะ ข้าวของเครื่องใช้ของเมารีที่ใหญ่ที่สุดในนิวซีแลนด์ รวมทั้งบ้านแบบเมารีและเรือรบซึ่งเป็นเรือไม้ ชุดแกะสลักลวดลายละเอียดยิบ
          - พิพิธภัณฑ์สมุทรศาสตร์ (New Zealand National Maritime Museum) ตั้งอยู่ริมอ่าวย่านดาวน์ทาวน์ เป็นพิพิธภัณฑ์เกี่ยวกับเรือและการเดินเรือที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
- สวนสัตว์โอ๊กแลนด์  (Auckland Zoo) ถ้าหากต้องการดูนกกีวีตัวจริงจะหาดูได้ที่นี่ ในอาคารจะทำให้มืดเหมือนเป็นกลางคืน (นกกีวีเป็นนกที่หากินกลางคืน) รวมถึงกิ้งก่าตูอาตาราและสัตว์อื่นๆ
          - เคลลี่ ทาร์ลตัน อันเดอร์วอเตอร์เวิลด์ และแอนตาร์กติก เอนเคาน์เตอร์
(Kelly Tarltons Underwaterworld & Antarctic Encounter)  โลกใต้น้ำของเคลลี่ ทาร์ลตัน ภายในมีสัตว์น้ำและปลานานาชนิดแหวกว่ายอยู่ในแทงค์ขนาดใหญ่ ซึ่งมีทางเลื่อนในท่อแก้วผ่านเข้าไปให้ผู้ชมได้สัมผัสชีวิตขั้วโลกใต้ ผู้เข้าชมจะได้สัมผัสการดำรงชีวิตของนักสำรวจขั้วโลกใต้ ได้ชมฝูงนกเพนกวินซึ่งอาศัยอยู่ในที่ที่มีอุณหภูมิลบ 7 องศาเซลเซียส
         - เมาท์อีเดน
(Mt.Eden) เป็นภูเขาเล็ก ความสูง 196 เมตร เป็นจุดที่ดีที่สุดสำหรับชมวิวเมืองโอ๊กแลนด์ ข้างบนสุดมีแผ่นป้ายแผนที่บอกระยะทางระหว่างนิวซีแลนด์กับเมืองต่างๆทั่วโลก
โรโตรัว (Rotorua)
           เมืองโรโตรัวคือเมืองท่องเที่ยวที่โด่งดังที่สุดในเกาะเหนือ ตัวเมืองอยู่ริมทะเลสาบ  โรโตรัว อยู่ห่างจากโอ๊กแลนด์ไปทางใต้โดยใช้เวลาเดินทางประมาณ 2.45 ชั่วโมง    โดยรถยนต์ เป็นเมืองที่มีชาวเมารีอาศัยอยู่มากที่สุด ชื่อเสียงของโรโตรัวมาจากแหล่งท่องเที่ยวจุดใหญ่ๆที่น่าสนใจ คือ
           - โรงอาบน้ำร้อน (Bath House) สร้างขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 เพื่อใช้เป็นศูนย์บ่อน้ำแร่ ลักษณะโรงอาบน้ำร้อนเป็นสวนสไตล์อังกฤษที่สวยงามมาก โดยเฉพาะสวนกล้วยไม้ ทำให้เพลิดเพลินใจที่ได้มาพักผ่อนที่นี่
         - ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเมารี
(The New Zealand Maori Art&Crafts Institute/ Te Whakarewarewa)  ศูนย์ฯนี้เรียกย่อๆว่า วากา           “Whaka” เป็นที่ตั้งของศูนย์แสดงงานฝีมือของเมารีในบริเวณที่เป็นบ่อน้ำพุร้อนและมีหมู่บ้านเมารีอยู่ด้านหลัง
        - อะโกรโดม
(Agrodome)  อยู่ห่างจากตัวเมืองโรโตรัวราว 10 กิโลเมตร ตัวอาคารที่แสดงโชว์เป็นเหมือนโรงนาใหญ่ๆ มีเวทีสูง ตั้งอัฒจันทร์ ทุกวันจะมีการโชว์ตัดขนแกะ รีดนมวัว การใช้สุนัขต้อนแกะและบรรยายเรื่องแกะให้นักท่องเที่ยวฟัง
        - เรนโบว์ฟาร์มและเทราต์สปริงส์
(Rainbow Farm and Trout Springs) สถานที่แห่งนี้แบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนของเทราต์สปริงส์   คือบ่อปลาเทราต์ตามธรรมชาติที่ปลา
เทราต์ว่ายทวนกระแสน้ำขึ้นมาจากทะเลสาบเพื่อวางไข่และเจริญเติบโต  รอบๆบริเวณบ่อตกปลาเทราต์  เจ้าของกิจการได้ตกแต่งเป็นป่าธรรมชาติมีต้นไม้และสัตว์พื้นเมืองนิวซีแลนด์ให้ชม
เตาโป (Taupo)
            ตัวเมืองเตาโปตั้งอยู่บนทะเลสาบเตาโปทะเลน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในนิวซีแลนด์    อยู่ใกล้กับต้นน้ำไวกาโต ซึ่งเป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดของนิวซีแลนด์ นับเป็นเมืองตากอากาศที่สำคัญเมืองหนึ่ง และเป็นสวรรค์ของนักชิมเพราะมีภัตตาคารดีอยู่หลายแห่ง
          กิจกรรมที่น่าสนใจในเมืองนี้มีหลากหลาย ทั้งการล่องเรือ ตกปลาเทราต์ และการแล่นเรือเร็ว
(Jet Boating)     สถานที่ที่ขึ้นชื่อสำหรับเรือเร็วก็คือน้ำตกฮูกา (
Huga Falls)   ซึ่งเป็นน้ำตกที่ใหญ่มาก มีน้ำตกลงมากว่า 300,000 ลิตรต่อวินาที ทำให้เกิดเสียงดังสนั่น ไปทั่วบริเวณเวลลิงตัน (Wellington)
            กรุงเวลลิงตัน ได้ชื่อตามดยุคแห่งเวลลิงตัน (Duke of Wellington)  ผู้พิชิต
นโปเลียนในสงครามวอเตอร์ลู ดินแดนบริเวณนี้เคยเป็นที่อยู่อาศัยของเมารี   เวลลิงตัน เป็นเมืองหลวงของนิวซีแลนด์ตั้งอยู่บนอ่าวทางตอนใต้สุดของเกาะเหนือ มีความสำคัญในด้านการปกครองและเป็นจุดเชื่อมระหว่างเกาะเหนือกับเกาะใต้ มีสมญานามว่าเป็น
Windy Cityหรือเมืองลมแรง เพราะอยู่ในจุดรับลมที่ผ่านช่องแคบคุกเข้ามา
            สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญในเวลลิงตัน อาทิ
            - ย่านดาวน์ทาวน์ ย่านธุรกิจก

หมายเลขบันทึก: 40988เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2006 16:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 20:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
ดร.อารีวรรณ เอี่ยมสะอาด

 ไปมาแล้วเหมือนกันแต่ได้ข้อมูลเพิ่มเติมหลายเรื่อง ดีมากค่ะสำหรับการแบ่งปันความรู้

                อ.อารีวรรณ

สวัสดีครับ  อ.ปฐมพงศ์

แนะนำตัวก่อนนะครับ  อมรเทพ  เยาวยอด  ครับ  รับราชการอยู่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 นครศรีธรรมราชครับ  และกำลังศึกษา ป.โท  สาธารณสุขศาสตร์  ม.วลัยลักษณ์  ครับ และกำลังศึกษาข้อมูลประเทศนิวซีแลนด์  ของอาจารย์ดีมากครับ  แต่ผมอยากได้ข้อมูลมากกว่านี้  แบบละเอียดครับ  โดยเฉพาะข้อมูลระบบสุขภาพของประเทศนิวซีแลนด์ครับหรือท่านอื่นที่เข้ามาอ่านแล้วมีข้อมูลช่วยส่งให้ผมด้วยก็ได้ครับขอบคุณเป็นอย่างยิ่งครับ  [email protected]  โทร. 08-7282-4904

เรียน  ดร.ปฐมพงศ์

     ดิฉันต้องการทราบเรื่องลักษณะนิสัยของคนนิวซีแลนด์และการใช้ชีวิตในประเทศนิวซีแลนด์ ว่ามีความแตกต่า  และต้องปรับตัวอย่างไรบ้าง   ขอความกรุณาอาจารย์ช่วยให่ข้อมูลด้วยได้ไหมค่ะ

ด้วยความเคารพ

แนน

ขอให้อาจารย์ช่วยบอกถึงเรื่องประวัติความเป็นมาของชาวเมารีหน่อยสิคะ ขอบคุณค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท