ร่วมแรงร่วมใจ


แรงกาย แรงใจ

การทำงานร่วมกันภายในองค์กร ประกอบด้วยบุคคลหลากหลาย ซึ่งแตกต่างกันด้วยองค์ประกอบต่าง ๆ กัน เช่น คุณวุฒิ วัยวุฒิ และประสบการณ์ ฉะนั้นการทำงานจึงต้องร่วมแรง ร่วมใจกันทำงาน ด้วยองค์ประกอบที่แตกต่างกันเมื่อนำมาหลอมรวมกัน และร่วมแรง ร่วมใจกันทำงานอย่างเต็มที่ และเต็มความสามารถจึงจะนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จได้  สิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่มิอาจลืมก็คือ  "การเปิดใจ" ไม่ว่าความแตกต่างด้านต่าง ๆ ที่หลากหลายแล้ว ถ้าบุคลากรภายในองค์กรไม่มีการเปิดใจ เพื่อรับฟังสารสนเทศจากผู้อื่นแล้ว การทำงานก็ย่อมเปรียบเสมือน "ระบบเผด็จการ" เมื่อบุคลากรทุกคนมีส่วนร่วม ในการแสดงความคิดเห็นแล้ว จึงนำประเด็นต่าง ๆ  มาหาข้อยุติ เพื่อให้ได้ประโยชน์ต่อองค์กรมากที่สุด 

ดังเช่น กองบริการการศึกษา บุคลากรแต่ละคนมีกิจกรรมและงานที่ต้องรับผิดชอบ  แต่ในขณะเดียวกันเมื่อมีกิจกรรมที่ต้องร่วมแรง ร่วมใจกันแล้ว จะลงมือร่วมกันอย่างเต็มที่ เช่น กิจกรรมการออกแนะแนวตามโรงเรียนต่าง ๆ  ในเขตภาคอีสาน (19 จังหวัด) ซึ่งจะต้องใช้ระยะเวลาการทำงานที่ยาวนานและหนักหนาสาหัส ทุกคนต้องเดินทางทุกวัน ขนอุปกรณ์ต่างๆ  ระเบียบการรับสมัครฯ จำนวนหลายๆ มัด ฯลฯ ซึ่งถ้าบุคลากรไม่มีการร่วมแรง (วัยวุฒิ น้อยๆ หรือเรียกอีกอย่างว่า "ผู้ใช้แรงงาน") และร่วมใจ (วัยวุฒิมากๆ-ไม่ได้ใช้แรงแต่เป็นฝ่ายวางแผน กลยุทธ์ ยุทธศาสตร์)  แล้วการทำงานคงไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ได้ (วัตถุประสงค์เพื่อประชาสัมพันธ์และรับสมัครนักเรียนชั้น ม.6 เพื่อให้เข้ามาศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม)

คำสำคัญ (Tags): #เปิดใจ
หมายเลขบันทึก: 40982เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2006 15:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2012 08:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท