เรื่องเล่าเบาหวาน


เรื่องเล่าเบาหวานจากผู้ป่วยเบาหวาน
Community of practice  ของการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน เบาหวานเป็นปัญหาสำคัญของทุกโรงพยาบาล และมีจำนวนผู้ป่วยเบาหวานเพิ่มขึ้นทุกปี การดูแลผู้ป่วยเบาหวานจำเป็นต้องมองในหลายมิติ และอาศัยความรู้ ความร่วมมือจากหลากหลายสาขาวิชาชีพ   PCUและภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชนโรงพยาบาลสงขลานครินทร์จึงได้จัดตัง PCT  เพื่อพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยเบาหวานขึ้น   การจัด CoP ของการดูแลผู้ป่วยเบาหวานจึงเป็นกิจกรรมหนึ่งที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกลุ่ม PCT ที่ตั้งขึ้น   การจัดกิจกรรมครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยระหว่างโรงพยาบาลชุมชนซึ่งเป็นกลุ่มที่ดูแลผู้ป่วยเบาหวาน  และผู้ป่วยเบาหวาน  โดยมีนายแพทย์ธีรภาพ  ลิ่วลักษณ์ เป็นผู้ริเริ่มโครงการ   ร่วมกับพยาบาลจากหน่วยบริการปฐมภูมิและคลินิคอายุรกรรมโรงพยาบาลสงขลานครินทร์      พยาบาล  เจ้าหน้าที่  และนักโภชนาการ จากโรงพยาบาล เทพา จะนะ    ระโนด   กระแสสินธุ์   สทิงพระ   ควนเนียง   กรุงเทพหาดใหญ่   และศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลตำบลบ้านพรุ       รวมทั้งสิ้นประมาณ  40  ท่าน  มีคนไข้เบาหวานจากหน่วยบริการปฐมภูมิโรงพยาบาลสงขลานครินทร์    และศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลตำบลบ้านพรุ  รวม  20  คน  มาทำกิจกรรมร่วมกัน   โดยให้เจ้าหน้าที่เล่าประสบการณ์  และวิธีการในการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน  ขณะเดียวกันก็ให้ผู้ป่วยแต่ละคนเล่าประสบการณ์การเป็นโรคเบาหวาน    และระดับน้ำตาลครั้งหลังสุด     ทำให้ทราบว่าใครเป็น Best  practice  ของกลุ่ม   จากนั้นจึงให้ผู้ที่เป็น Best  practice เล่าประสบการณ์การดูแลสุขภาพตนเอง  รวมทั้งให้ผู้ป่วยที่ยังไม่สามารถควบคุมเบาหวานได้เล่าถึงความรู้สึก  ปัญหา  เพื่อให้กลุ่มได้เรียนรู้วิธีการ  ปัญหาและอุปสรรคในการควบคุมเบาหวาน  และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดูแลสุขภาพตนเอง การจัดกิจกรรมครั้งนี้ในส่วนของเจ้าหน้าที่ได้เรียนรู้วิธีการดูแลตนเอง   เข้าใจ ความรู้สึก    และปัญหาในการควบคุมโรคของผู้ป่วย  สามารถนำสิ่งที่เรียนรู้จากผู้ป่วยและทีมสหวิชาชีพจากต่างสถาบันไปใช้ในการสอนผู้ป่วยเบาหวาน  หรือผู้ป่วยโรคเรื้อรังอื่นๆ ในโอกาสต่อไป        PCU โรงพยาบาลสงขลานครินทร์
คำสำคัญ (Tags): #เบาหวาน
หมายเลขบันทึก: 40956เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2006 14:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 07:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
คิดว่าเป็นสิ่งที่ดีในการที่ให้ผู้ป่วยได้เรียนรู้ด้วยกันเอง ซึ่งทางPCUของดิฉันก็ได้ทำรูปแบบคล้ายกันแต่ว่าเราจะทำเป็นกลุ่มการเรียนรู้ในPCU.โดยทำในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานที่มารับยาในแต่ละเดือน สำหรับในโรงพยาบาลแพร่คุณหมอก็ได้จัดทำค่ายเบาหวานเมื่อมีนาคม2549 มีผู้ป่วยเบาหวานร่วมเข้าค่าย34คนซึ่งผู้ป่วยก็มาจากแต่ละPCU. ทำค่ายแบบกินนอนด้วยกัน 1คืน2วันและมีการนัดพบกันทุก3เดือนมีการตรวจHb.A1C เพื่อประเมินผล นัดพบครั้งแรกเมื่อเดือน มิถุนายน 49 ผล Hb.A1C ลดลงทุกคน
  • เห็นความดีของโลกGotoknow ที่เราได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องเกี่ยวกับงาน โดยที่เราอยู่ห่างกันเหนือ กับใต้เลย ดีใจจริงๆค่ะ

 

 

  • สำหรับในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ทาง PCU ก็ได้มีชมรมเบาหวาน,มีแผนจัดทำค่ายเบาหวานเมื่อในเดือน กุมภาพันธ์ 2550 มีผู้ป่วยเบาหวานที่มารักษาที่ รพ. เข้าร่วม จะทำค่ายแบบกินนอนด้วยกัน 1คืน2วันและมีการนัดพบกันทุก3เดือนมีการตรวจHb.A1C เพื่อประเมินผลเช่นเดียวกัน จะขอรายละเอียดการจัดค่ายได้ไหมค่ะ
  •  นุชนารถ PCU พยาบาล 

แหล่งความรู้ด้านเบาหวานมีอยู่เยอะใน GotoKnow ค่ะ ลองค้นหาบันทึกเรื่องค่ายเบาหวานดูนะคะ ส่วนบล็อกด้านเบาหวานดูนี่ค่ะ http://gotoknow.org/blog/tag/เบาหวาน

อาทิตย์ที่แล้ว ตัวเองอยู่ที่จุดตรวจ HbA1C ตอนลงผลคนไข้ ยังคิดอยากจะทำเป็น sticker ให้ผู้ที่สามารถควบคุม HbA1C ได้ดีๆ ดังที่เล่าไว้ในบันทึกนี้ค่ะ จะได้เป็นกำลังใจให้คนที่ควบคุมได้ดี และเป็นแรงกระตุ้นให้คนที่ยังทำได้ไม่ค่อยดีด้วยนะคะ

ดีใจที่ได้ทราบว่าทางคลินิกก็มีการทำงานลักษณะนี้ในจุดนี้ ถ้าสนใจจะร่วมส่งเสริมด้วยจะทำอย่างไรดีคะ

เห็นสิ่งดีของ PCU  ขอเสนอให้น้องขยายผลการดูแลโดยเชิญกลุ่มหอผู้ป่วยเข้าร่วมด้วยซิค่ะ

การจัดการความรู้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเป็นสิ่งที่ดีทำให้เราเห็นการพัฒนาและแง่มุมความคิดที่สามารถนำมาปรับเปลี่ยนเข้ากับสถานการณ์ได้เป็นสิ่งที่ดีค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท