การประชุมประจำเดือนกรกฎาคม (3)


การสนทนากำลังสนุกเลยค่ะ   ในช่วงนี้เป็นการแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการบริหารจัดการของกลุ่มขนาดต่างๆ  มาอ่านกันต่อเลยก็แล้วกันนะคะ

            อ.นวภัทร์  บอกว่า  ถ้าตอนแรกที่ตั้งกลุ่มขึ้นมาแล้วไม่ไปเชื่อมกับเครือข่ายฯ  เราก็อยู่ได้  เราจ่ายเงินค่าศพไปไม่กี่บาท  คุณสุวัฒนา  ชี้ประเด็นต่อว่า  ในกรณีของกลุ่มใหญ่คงอยู่ได้  แล้วกลุ่มเล็กล่ะเป็นอย่างไร  จะอยู่ได้ไหม  เราจะช่วยกลุ่มเล็กๆอย่างไรอ.นวภัทร์  บอกว่า  ถ้าเป็นกลุ่มเล็กๆก็ให้เขาเอาสมาชิกมาสมทบกับเรา  หรือมารวมกลุ่มกันให้ใหญ่ขึ้น  ก็จะอยู่ได้

คุณสุวัฒนา  ยกตัวอย่างกรณีของบริษัทเอกชนว่า  บริษัทในประเทศไทยจะมีกฎหมายบอกว่าเมื่อตั้งบริษัทขึ้นมาแล้ว  บริษัทเหล่านั้นต้องตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญให้กับลูกจ้าง  เรียกว่า  กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ  เมื่อตั้งกองทุนนี้ขึ้นมาแล้วลูกจ้างจะต้องถูกหักเงินเดือน 3% นายจ้างจ่ายสมทบอีก 3%  ทีนี้ถ้าหากเอาเงินนี้กองเอาไว้เฉยๆ จนลูกจ้างอายุถึง 60 ปี  ก็จะมีเงินไม่พอจ่ายบำเหน็จบำนาญให้กับลูกจ้าง  ดังนั้น  เขาต้องเอาเงินนี้ไปลงทุน  แต่ทีนี้เมื่อจะนำไปลงทุน  บริษัทที่ไม่มีความชำนาญในเรื่องบริษัทหลักทรัพย์  ตลาดหุ้น  พันธบัตร  หรือการลงทุนอื่นๆก็ต้องไปจ้างบริษัทหลักทรัพย์จัดการการลงทุน  เช่น  บริษัทกรุงไทย  ธนาคารกรุงเทพ  IMG  เป็นต้น  ซึ่งต้องเสียค่าบริหารจัดการแพง  แต่ทีนี้ถ้าเป็นบริษัทเล็กๆซึ่งมีพนักงาน 2-3 คน  เป็นกิจการเล็กๆในครอบครอบครัว  บริษัทเหล่านั้นจะทำอย่างไร  จะไปจ้างบริษัทใหญ่ๆให้เข้ามาจัดการแทนก็ไม่ได้  เพราะ  ไม่มีเงิน  จะไปลงทุนเองก็ไม่ได้  เนื่องจาก  ไม่มีความรู้   เงินที่หักออกมาจากเงินเดือนพนักงานและเงินในส่วนที่นายจ้างสมทบก็น้อย  เช่น  อาจหักได้เดือนละ 380 บาท  เป็นต้น  ซึ่งจะนำไปลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ก็ไม่ได้  เพราะ  เป็นเงินจำนวนน้อย  การนำเงินไปลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ต้องลงทุนครั้งละ 20-30 ล้านบาท  มันถึงจะได้เงินคืนกลับมาเยอะๆ  อย่างไรก็ตาม  ในเรื่องนี้ก็มีวิธีการเรียกว่า Pool Fund คือ  การจัดตั้งกองทุนร่วมกัน  อย่างเช่น  บริษัทหลักทรัพย์จัดการกรุงไทยตั้ง Pool Fund ใหญ่ขึ้นมา  บริษัทเล็กๆก็เข้ามารวมอยู่ใน Pool Fund นี้  ดังนั้น ในPool Fund  จึงอาจเป็นที่รวมบริษัทเล็กๆอยู่ถึง 5,000 บริษัท  บริษัทหลักทรัพย์จัดการกรุงไทยก็จะทำบัญชีแยกรายบริษัท  แยกรายตัวสมาชิก  เงินใครเงินมัน  ใครได้กำไรเท่าไหร่  เขาจะจัดทำบัญชีอย่างละเอียดว่าเอาเงินไปลงทุนเท่าไหร่  ได้เงินปันผลเท่าไหร่  เขาจะมีบัญชีที่ชัดเจน  เพราะ  กลต. ควบคุมอยู่  

อย่างในกรณีขององค์กรออมทรัพย์ชุมชนนั้น  ถ้าเราเป็นกลุ่มใหญ่  เราก็สามารถจัดการตัวเองได้  เรียกว่า Single Fund แต่ถ้าเราเป็นกองทุนเล็กๆ  เราอาจรวมกันเป็น Pool Fund ก็ได้  ถ้าเราไม่ชอบในลักษณะที่เป็นเครือข่าย  ส่วนเราจะบริหารจัดการอย่างไร  ขึ้นอยู่กับเราเอง 

ขอค้างเอาไว้แค่นี้ก่อนนะคะ  ต้องรีบลงไปพบนักศึกษาค่ะ  เดี๋ยวจะกลับมาเล่าในประเด็นอื่นต่อค่ะ

หมายเลขบันทึก: 40904เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2006 11:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 เมษายน 2012 17:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท