ศิลปะแห่งความเข้าใจ


ศิลปะแห่งความเข้าใจจึงมีความสำคัญต่อศิลปะแห่งการดำเนินชีวิตที่เป็นสุข

"พรุ่งนี้เผา ไปส่งด้วยนะ"

คำพูดสั้นๆ ของอาปา มาในจังหวะที่กำลังคิดเรื่องแก้งานและส่งงานให้ทันเวลา ทำเอาเซลล์สมองวิ่งแล่นปรู๊ดปราด จับต้นชนปลายเรียงข้อมูลเรื่องธุระของอาปา เรื่องสถานที่ เรื่องงานของตัวเอง

เพื่อนของอาปาอายุ 87 ปี เพิ่งเสียชีวิตและจะฌาปนกิจวันพฤหัสคือวันพรุ่งนี้

ในใจคิดว่า "โอ๊ยตายแล้ว เวลายิ่งน้อยๆอยู่ ทำอะไรก็ไม่ค่อยจะทัน ถ้าต้องไปส่งก็ครึ่งวันแน่ๆ ยิ่งธรรมเนียมทางเหนือกว่าจะได้ฌาปนกิจ กว่าจะเรียกแขกผู้มีเกียรติไปวางผ้า แล้วคนตายก็ฐานะระดับดีมากด้วย คงแขกหลายชุด เสียเวลาแน่ๆ"

ปฏิกริยาแรกคือถามว่า "อาปาจะไปหรือ"

อาปา: "ก็ชีวิตหนึ่งเผากันได้ครั้งเดียว"

ผู้เขียน: เงียบ

อาปา: "อายุเยอะจะไปไหนเอง ก็รู้สึกว่ายาก"

ผู้เขียน: เงียบ

อาปา: "ปีนี้มาก็รู้สึกไม่ค่อยจะเหมือนเดิม เริ่มเสื่อมถอย เพื่อนก็ไปก่อนทีละคนสองคน โทรไปหาใครก็แต่ละคนออกบ้านลำบาก"

........

คำพูดของอาปา ทำให้ต้องมาตั้งสติ คิดใหม่

คิดผ่านบริบทของอาปา คนอายุ 84 ปี เพื่อนมีความสำคัญ เพราะเพื่อนวัยเดียวกันเริ่มน้อยลงไป และแต่ละคนก็มีโรคภัยไข้เจ็บ ไม่สามารถไปไหนด้วยกันได้สะดวก ประกอบกับสภาพการจราจรของเชียงใหม่ที่ยังไม่เอื้อต่อการเดินทางของผู้สูงอายุ ไม่ว่าเรื่องรถเมล์ ทางเดินเท้า การข้ามถนน เหล่านี้จึงนำมาสู่พฤติกรรมการพึ่งพาจากคนที่อาปาคิดว่าน่าจะช่วยท่านได้

เมื่อเห็นภาพสะท้อนจากคำพูดของอาปา จึงต้องเรียบเรียงวางแผนใหม่ โดยเรียงลำดับความสำคัญ ยืดหยุ่น ลดกิจกรรมอื่นลงเพื่อทำงานในวันนี้ก่อน จะได้มีเวลาสำหรับวันพรุ่งนี้และไปส่งอาปา โดยใจที่สงบสบาย

ศิลปะแห่งความเข้าใจจึงมีความสำคัญต่อศิลปะแห่งการดำเนินชีวิตที่เป็นสุข

คำสำคัญ (Tags): #well_being
หมายเลขบันทึก: 40893เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2006 10:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 01:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

อาจารย์จันทรัตน์ครับ

ผมอ่านบันทึกอาจารย์เลย นึกถึงบันทึกของ น้องชายของผมที่เขียนเรื่อง คล้ายกัน เป็นมิติหนึ่งที่เห็นระหว่างทำงาน และได้ซึมซับเอาความรู้สึกความผูกพันระหว่างวัยเขียนได้น่าอ่าน

และต่อยอดเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันครับผม 

ลองติดตามอ่านนะครับ  

ที่บันทึก(คลิ็ก) ความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัว 

เยี่ยมมาก ๆ เลยครัอาจารย์จันทรรัตน์

เป็นบันทึกง่าย ๆ และได้แง่มุมและข้อคิดมาก ๆ เลยครับ

ขอบคุณค่ะคุณจตุพร

สังคมกำลังเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สภาพที่เราๆท่านๆเฝ้ามองอย่างวิตก...

ยกคำที่ไปแปะไว้มาลงตรงนี้อีกทีค่ะ

"เห็นด้วยกับคุณจตุพรค่ะ ภาษาที่กีดกันวัยอย่างร้ายกาจมาก  และอาจทำให้คนที่กำลังจะเข้าสู่วัยสูงอายุหวั่นไหวกับสิ่งที่จะต้องเผชิญด้วย

เอาคำของการไปสัมภาษณ์คนใกล้สูงวัยคนหนึ่งมาฝากค่ะ "บ่าฮู้ว่าเฮาเฒ่าแล้วเป๋นจะใด เปิ้น(แม่)ยังมีเฮาดูแล แต่ต๋อนเฮาลอ เฮาจะไปอยู่ไหนดี หลานเฮามันจะต้องบ่าเลี้ยงแน่ๆ กึ๊ดแล้วปวดหัว ...บางทีเห็นคนเฒ่ามากันเอง จูงมือกันมาตะอั้น บางทีก่อมาคนเดียว บางทีเจ้าหน้าที่บอกหื้อรอไปตรวจบ่ายสอง เปิ้นก่อนั่งร้อ รอ ข้าวก่อบ่าไปกิ๋น บ่ากล้าไปไหน เปิ้นมาคนเดียว อะหยังก่อดีห่วงเอี๊ยะ เฮาจะเป๋นจะอั้นก่อ"

ขอบคุณค่ะ อาจารย์ปภังกร

ยินดีที่เข้ามาอ่านค่ะ

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท