"ลูก" กับการเรียนกวดวิชา


เด็กส่วนใหญ่ในวัยนี้มักสนุกสนาน และสนใจกับการเล่น และที่สำคัญการเรียนรู้มักเกิดขึ้นผ่านกิจกรรมการเล่นของเขา

       ตอนที่ไปบรรยายและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในโครงการคาราวานเสริมสร้างเด็ก ที่โรงเรียนอนุบาลยโสธรนั้น คำถามที่พบบ่อยมากและเป็นที่สนใจของผู้ปกครองอย่างยิ่ง คือ "ช่วงวัยไหนที่เหมาะสมกับการส่งเด็กไปเรียนกวดวิชา" โห..เป็นคำถามที่กระทบใจดิฉันอย่างมาก เพราะโดยส่วนตนนั้น ตัวเองค่อนข้างต่อต้านการเรียนกวดวิชา หรือเรียนพิเศษตามสถาบันกวดวิชาอย่างมาก แต่ในตอนนั้นดิฉันก็ไม่ได้ตอบคำถามอย่างทันทีทันใด หากแต่โยนกลับไปที่ผู้เข้าร่วมอบรมคนอื่นให้ช่วยกันอภิปรายในประเด็นดังกล่าว

คุณพ่อท่านหนึ่งบอกว่า "ผมต่อต้านมาก ทำไมครูที่โรงเรียนไม่สอนให้เด็กเข้าใจ เท่าที่ผมเห็นมักจะสอนแบบไม่เต็มที่และมีชักชวนให้นักเรียนไปเรียนกวดวิชากับตนเอง"

คุณแม่อีกท่านเสริมว่า "น่าจะขึ้นอยู่กับความพร้อมของลูก หากลูกเรียนอ่อน ก็อยากให้พ่อแม่นี่แหละช่วยดู และแก้ไขเองมากกว่าที่จะส่งไปโรงเรียนกวดวิชา"

แต่ก็มีผู้ปกครองอีกหลายท่านที่มีความกังวล "กลัวลูกเรียนไม่ทัน กลัวลูกเรียนไม่เก่ง" และอีกๆ หลายเหตุผลที่ล้วนแล้วอธิบายเพื่อที่จะทำให้คุณพ่อคุณแม่สบายใจกับการที่ส่งลูกไปเรียนกวดวิชา

       จากที่ผู้ปกครองหลายๆ ท่านแลกเปลี่ยนกันนั้น ในตอนท้ายดิฉันจึงขอเสริมไปว่า "หากเมื่อเราพิจารณาพัฒนาการทางการศึกษา ไม่ว่ายุคไหน สมัยใด ก็ไม่มีการระบุไว้อย่างชัดเจนเกี่ยวกับว่าเด็กต้องไปเรียนพิเศษ หรือไปเรียนกวดวิชา หากแต่เมื่อเริ่มมีนั้นก็เพราะโรงเรียนกำหนดขึ้นมาเป็นกิจกรรมสอนเสริมสำหรับเด็กที่ตามเพื่อนไม่ทัน...หากแต่ในช่วงวันที่เด็กตัวน้อยๆ..เรียนในโรงเรียน 6-7 ชั่วโมงนั้นก็มากเพียงพอแล้ว หลังเลิกเรียนและวันหยุดเด็กควรจะทำกิจกรรมอื่นเสริม และเล่น เพราะเด็กส่วนใหญ่ในวัยนี้มักสนุกสนาน และสนใจกับการเล่น และที่สำคัญการเรียนรู้มักเกิดขึ้นผ่านกิจกรรมการเล่นของเขา"

       จากนั้นท่านอาจารย์ขวัญใจ ก็ช่วยเสริมเพิ่มเติมอีกว่า "กิจกรรมที่โรงเรียนพยายามนำมาใช้กับเด็กและมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ก็มีความสอดคล้อง และสามารถส่งเสริมการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในเด็กได้อย่างครอบคลุม" และในตอนท้ายอาจารย์ฝากเป็นข้อคิดว่า "อยากรณรงค์ให้พ่อแม่ช่วยกันอย่าบีบบังคับเด็กมากในเรื่องการเรียนกวดวิชา"

หมายเลขบันทึก: 40817เขียนเมื่อ 25 กรกฎาคม 2006 15:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2013 12:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
ลองถามเด็ก ๆ ที่ถูกบังคับให้เรียนกวดวิชาคงมีสภาพเหมือนรูปนะคะ

สงสารคะ...สงสารเด็ก

ความสุขของพวกเขาอยู่ที่การเล่น

หากแต่ความสุขของพ่อแม่...

คือความสำเร็จของลูก...

 ปัจจุบันผมก็เห็นเด็กเรียนพิเศษเยอะมาก บ้างคน เรียน 7 -  8 วิชา   เยอะมาก และพ่อแม่ก็ต้องพาเข้าไปเรียนในตัวจังหวัด และพ่อแม่ก็ต้องไปนั่งเฝ้าอีก

พ่อก็เหนื่อย แม่ก็เหนื่อย...กว่าจะเข้าบ้านก็ดึก...

และคนที่เหนื่อยมากที่สุด คือ ลูก...เพราะต้องแบกความหวังของพ่อแม่...และตนเอง...รวมแบกความหวังทั้งหมด...ของสามคน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท