การสร้างแรงจูงใจผู้ป่วยนอกระยะบำบัดด้วยา


CQI

CQI เรื่องพัฒนาวิธีการสร้างแรงจูงใจผู้ป่วยนอกระยะบำบัดด้วยยาเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพ

หลักการและเหตุผล

                การบำบัดรักษาในรูปแบบผู้ป่วยนอก มีทั้งระยะบำบัดด้วยยา และระยะฟื้นฟูสมรรถภาพ            ที่ผ่านมาพบว่ามีผู้ป่วยเข้ารับการบำบัดรักษาในรูปแบบผู้ป่วยนอกจำนวนมาก ส่วนใหญ่จะอยู่ระยะบำบัดด้วยยานาน และมีจำนวนผู้ป่วยส่งเข้าสู่ระยะฟื้นฟูสมรรถภาพน้อย และพบว่ามียอด drop  out สูงในระยะบำบัดด้วยยา โดยผู้ป่วยยังไม่ได้ผ่านกระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพ ซึ่งการฟื้นฟูสมรรถภาพถือว่าเป็นกระบวนการที่สำคัญขั้นตอนหนึ่งที่จะช่วยเหลือผู้ป่วยให้สามารถดูแลตัวเองโดยการให้ความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการของการเลิกยา มีการปรับเปลี่ยนแนวความคิด และพฤติกรรมในการดูแลตัวเองให้สามารถเลิกยาเสพติดได้ จึงมีความจำเป็นที่ผู้ป่วยและญาติที่มารับการบำบัดควรได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการฟื้นฟูสมรรถภาพและเห็นความสำคัญของการฟื้นฟูหลังจากระยะบำบัดด้วยยา

ระยะเวลาดำเนินการ

                ตุลาคม 48- ธันวาคม 48ขั้นตอนที่ 1 การหาโอกาสพัฒนา1.       เจ้าหน้าที่น้อย2.       ผู้ป่วยรับการบำบัดด้วยยาไม่มาตามนัด3.       การค้นหาประวัติผู้ป่วย4.       การติดตามผลยังไม่มีแนวทางการช่วยเหลือที่ชัดเจน5.       ญาติและผู้ป่วยขาดความรู้ความเข้าใจในการฟื้นฟูสมรรถภาพ6.       ผู้ป่วยเสพซ้ำขณะบำบัดรักษา

กิจกรรมเรื่อง

                ลดขั้นตอนการส่งผู้ป่วยเข้าระยะบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยนอก

วัตถุประสงค์

1.       เพื่อเพิ่มจำนวนผู้ป่วยระยะฟื้นฟูสมรรถภาพแบบผู้ป่วยนอก2.       เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติมีความรู้ความเข้าใจในเรื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพในขณะที่ยังรับการบำบัดด้วยยา3.       เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยขาดการรักษาในระยะบำบัดยา

ตัวชี้วัด

1.       ร้อยละของผู้ป่วยที่ส่งเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพ2.       ร้อยละของผู้ป่วยระยะจูงใจขาดการรักษาลดลง 

ขั้นตอนที่ 3 การประเมินสถานการณ์ก่อนการจัดทำโปรแกรม

การค้นหาปัญหา

                จากสถิติส่งผู้ป่วยระยะบำบัดด้วยยาเข้าฟื้นฟูสมรรถภาพแบบผู้ป่วยนอก และสถิติขาดการรักษาผู้ป่วยระยะบำบัดด้วยยา 3 เดือนย้อนหลังพบว่า มีผู้ป่วยเข้ารับการบำบัดรักษา 368 ราย ( เดือน กรกฎาคมกันยายน 2548 ) จำนวนผู้ป่วยขาดการรักษาร้อยละ 60.44 จำนวนผู้ป่วยส่งเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพแบบผู้ป่วยนอกคิดเป็นร้อยละ 13.21 ดังนั้นทางหน่วยงานจึงประเมินสถานการณ์ดังกล่าวและร่วมกันหาแนวทางในการพัฒนานำหัวข้อมาทำ Criteria  Weighting ดังตาราง               

ปัญหา ความเป็นไปได้ ความยากง่าย การยอมรับ รวม
คะแนน X2 คะแนน X1 คะแนน X1
1. เจ้าหน้าที่น้อย 5 8 4 4 3 3 15
2. ผู้ป่วยไม่มาตามนัด 4 6 2 2 3 3 15
3. การค้นหาบัตรผู้ป่วย 3 8 3 2 3 2 11
4. การติดตามผลยังไม่มีแนวทางการช่วยเหลือที่ชัดเจน  4  8  3  3  2  2  11
5. ญาติและผู้ป่วยขาดความรู้ความเข้ใจในการฟื้นฟูสมรรถภาพ   4   8   3   3   2   2   13
6. ผู้ป่วยเสพซ้ำในขณะบำบัด 2 4 3 3 1 1 8

 

                จากตารางแสดงการคัดเลือกปัญหาจากากรใช้ Criteria  Weighting ซึ่งเดิมได้จัดทำ  CQI เรื่องผู้ป่วยไม่มาตามนัดและการติดตามผลยังไม่มีแนวทางการช่วยเหลือที่ชัดเจนไปแล้ว ทางกลุ่มจึงได้คัดเลือกปัญหาที่มีคะแนนรองลงมาคือ ญาติและผู้ป่วยขาดความรู้ความเข้าใจในการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยการลดขั้นตอนการส่งผู้ป่วยเข้าสู่ระยะฟื้นฟูสมรรถภาพเพื่อให้ผู้ป่วยและญาติได้รับความรู้ความเข้าใจประโยชน์และความสำคัญของการฟื้นฟูสมรรถภาพ

  

ตารางแสดงการเก็บข้อมูล 3 เดือน ก่อนทำและหลังทำ

 

ก่อนทำ

หลังทำ

จำนวนผู้ป่วยส่งฟื้นฟู

ยอดผู้ป่วยขาดการรักษา

จำนวนผู้ป่วยส่งฟื้นฟู

ยอดผู้ป่วยขาดการรักษา

กค.

สค.

กย.

กค

สค

กย.

กค

สค

กย

กค

สค

กย

5.04

7.8

28.95

68.90

56.87

54.38

58.04

56.18

58.41

40.18

33.90

44.25

  ขั้นตอนที่ 4 วิเคราะห์หาสาเหตุ 

-          ขาดความเข้าใจ

-          ไม่อยากมาข้ากลุ่ม

-          ไม่เห็นความสำคัญของการฟื้นฟู

-          ติดภาระการเรียนและงาน ไม่สามารถมาเข้ากลุ่มได้

-          คิดว่าการเลิกต้องได้รับการทานยาต่อเนื่อง

 

-     ไม่เห็นความสำคัญของการฟื้นฟู

-          ขาดความเข้าใจ

-          ไม่ไว้วางใจ

-          ภาระงานมาก มีเวลาน้อย

 

-      ปฏิบัติตามขั้นตอนของการบำบัดฟื้นฟูที่มีขั้นตอนซับซ้อน

-      อยู่ในระยะบำบัดด้วยยานาน

  

ผู้ป่วย

ญาติ

ขั้นตอนการส่งผู้ป่วยเข้าฟื้นฟู

ผู้ป่วยระยะบำบัดยาเกิดกระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพน้อย

                  
ขั้นตอนที่ 5 ทางกลุ่มจึงได้พิจาราณาหาวิธีการเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยมที่มารับการบำบัดให้เข้าสู่กระบวนการของการฟื้นฟูสมรรถภาพโดย

ด้านระบบ

1.       ร่วมประชุมกันทีมเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา โดยการค้นหาจากสาเหตุ2.       ปรับระยะเวลาในการเข้าสู่ระยะฟื้นฟู ( เดิม 3-4 สัปดาห์ เป็น 1 สัปดาห์ ) โดยครั้งแรกที่ผู้ป่วยมาตามนัดหลังพบแพทย์แล้วให้ส่งผู้ป่วยและญาติเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพแบบผู้ป่วยนอก3.       จัดทำสื่อองค์ความรู้โดยแยกชนิดของยาเสพติดแต่ละประเภท4.       แยกประเภทยาเสพติดแต่ละชนิด และจัดทำคู่มือ วิธีการสร้างแรงจูงใจในผู้ป่วยแต่ละประเภท

ด้านตัวผู้ป่วย

1.       นำผู้ป่วยและญาติที่มาตามนัด ทุกราย มาให้คำปรึกษารายบุคคล โดยการให้ความรู้ความเข้าใจในประโยชน์ของการฟื้นฟูสมรรถภาพ และให้ความรู้เกี่ยวกับทักษะการเลิกยาระยะเริ่มต้นแก่ผู้ป่วย2.       ส่งต่อไปยังสถานบำบัดรักษายาเสพติดใกล้บ้านในกรณีที่ผูป่วยไม่สามารถเดินทางมาบำบัดฟื้นฟูได้

ด้านญาติ

1. นำญาตมาให้คำปรึกษารายบุคคลโดยการให้ความรู้ความเข้าใจในความสำคัญของการฟื้นฟูสมรรรถภาพที่มีผลดีต่อผู้ป่วยและญาติ   

ขั้นตอนที่ 6

                การประเมินสถานการณ์หลังจากการใช้วิธีการส่งผู้ป่วยที่มาตามนัดครั้งที่ 2 เข้าสู่กระบวนการการสร้างแรงจูงใจในการฟื้นฟูสมรรถภาพ โดยการเก็บข้อมูล 3 เดือนพบว่า              


คำสำคัญ (Tags): #matrix
หมายเลขบันทึก: 40811เขียนเมื่อ 25 กรกฎาคม 2006 14:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 18:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ลองอ่านเรื่องการบำบัดรักษาของโรงพยาบาลและการสนับสนุนทางสังคมกับการเลิกใช้ยาบ้าร่วมด้วยไหมครับ  ผมทำวิจัยเรื่องนี้ครับเสร็จแล้ว เผื่อใช้ร่วมกันได้บ้างครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท