จากรายงานการประชุม "คันคูใหญ่"


จะทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของสมาชิกและผู้ที่สนใจดีขึ้น สามารถที่จะ ออมน้ำ ออมดิน ออมสัตว์ ออมต้นไม้ ออมเงิน สั่งสมกัลยาณมิตรและสั่งสมภูมิปัญญาในการแก้ปัญหาความยากจนจน

    จากสรุปรายงานการประชุมเครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านและพหุภาคีภาคอีสาน

ครั้งที่   6/2549  เรื่อง"คันคูใหญ่"

วันเสาร์ที่ 24 มิถุนายน 2549 เวลา 09.30-16.30 น.

ณ ศูนย์การเรียนรู้พ่อคำเดื่อง ภาษี บ้านโนนเขวา ตำบลหัวฝาย กิ่งอำเภอแคนดง จังหวัดบุรีรัมย์

       จากการที่เครือข่ายปราชณ์ชาวบ้านและพหุภาคีภาคอีสาน ได้มีการระดมสมองเรื่องที่จะทำอย่างไรจึงจะทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของสมาชิกและผู้ที่สนใจดีขึ้น สามารถที่จะ ออมน้ำ ออมดิน ออมสัตว์ ออมต้นไม้ ออมเงิน สั่งสมกัลยาณมิตรและสั่งสมภูมิปัญญาในการแก้ปัญหาความยากจนจน สามารถอยู่อย่างพอเพียง ตามแนวทาง ทฤษฎีใหม่ ด้านการเกษตร

       เริ่มการประชุมก็ได้ร่วมกันทบืวนประเด็นที่ได้ช่วยกันตั้งไว้รวม 6 ประเด็น ได้แก่

1.ข้อดีและข้อเสียของคันคูใหญ่ เปรียบเทียบกับคันคูเล็ก

2.ทำไมต้องคันคูใหญ่

3.จะทำอะไรร่วมกันให้เกิดประโยชน์สูงสุดบนคันคูใหญ่

4.จะมีวิธีการอย่างไรบ้างให้เกิดคันคูใหญ่

5.หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะสนับสนุนให้เรื่องนี้สำเร็จได้อย่างไร

6.เรียนรู้ร่วมกันเรื่องยี่หร่า และมะละกอปลอดสารเคมี ผลผลิตที่มีมากในเดือนมิถุนายน 2549

     หลังจากนั้นได้แบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม ซึ่งแต่ละกลุ่มก็ช่วยกันคิดและจัดหมวดหมุ่ของทุกความคิดของสมาชิกมานำเสนอต่อที่ประชุมดังนี้

1.ข้อดีข้อเสียของคันคูใหญ่เปรียบเทียบกับคันคูเล็ก

     กลุ่มที่1 นำเสนอ

  ด้านสิ่งแวดล้อม

           ข้อดี     สามารถกักเก็บนำได้ น้ำไม่รั่วซึม มีพื้นที่ปลูกต้นไม้เพิ่มมากขึ้น สามารถเลี้ยงสัตว์ และมีสัตว์ตามธรรมชาติมาอาศัยอยู่ด้วย  มีปุ๋ยอินทรีย์บำรุงดิน

           ข้อเสีย  มีพื้นที่ทำนาลดลง

ด้านเศรษฐกิจ

            ข้อดี  มีอาหารเพิ่มมากขึ้น มีเครื่องนุ่งห่มมากขึ้นจาดการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ปลูกฝ้าย  มีไม้ยืนต้นทำที่อยู่อาศัย มีสมุนไพร มีเงินประจำวัน เงินเดือน และเงินปี  ที่สำคัญมีบำนาญชีวิต

            ข้อเสีย ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานต้องออกเอง เพิ่มค่าใช้จ่ายมากขึ้น

 ด้านสังคม

            เมื่อมีผลผลิตมีมากก็แจกจ่ายเพื่อนบ้าน มีกัลยามิตรมาร่วมกันเรียนรู้ ช่วยกันคิด มีผลผลิตมากพอทำให้มีวัตถุดิบที่จะแปรรูปเป็นอุตสาหกรรมครอบครัว รวมทั้งสร้างอาชีพให้แก่ชุมชนได้ทำให้ลดการอพยพย้านถิ่น

  วิถีชีวิต

          ช่วยให้การจัดการชีวิตง่ายขึ้น อย่างเช่น มีทางเดินสะดวก มีผักปลอดสารพิษไว้กินตลอดปี มีอากาศดี เกิดความสมดุลระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม

 

 

 

 

     

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 40796เขียนเมื่อ 25 กรกฎาคม 2006 12:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
เยี่ยมมากครับ ขอชื่นชมกับการตกผลึกทางภูมิปัญญา

....เยี่ยมมากเลยครับ....คิดว่าชาวบ้านสามารถเลือกได้ว่า คันคูเล็ก หรือคันคูใหญ่ที่น่าจะได้รับประโยชน์มากกว่า สามารถใช้พื้นที่ให้ผลผลิตที่คุ้มค่ากว่า.... น่าจะมีเวทีต่อเนื่องนะครับ และหาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมเวทีด้วยเช่น สำนักงานพัฒนาที่ดินจังหวัด  หรือสำนักงานชลประทาน....บางทีชาวบ้าน อาจได้รับความรู้และความช่วยเหลือจากหน่วยงาน เหล่าน้ีเป็นการต่อยอดโครงการ... สู้ต่อไปนะครับ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท