KM-Inside


KM-Inside เป็นแค่ไกด์ของการจับภาพ...สาระอยู่ที่เรื่องราว

หยิบงานจับภาพเก่า ๆ มานั่งดูตามกรอบ KM-Inside ของ สคส. แล้วพบว่าในส่วนกรณีภาคประชาสังคม มีข้อจำกัดในเรื่องขีดความสามารถด้านเทคโลยีอย่างมาก เมื่อเทียบกับการทำ KM ในหน่วยงานหรือองค์กรที่มีความพร้อม  ในประเด็นนี้ดิฉันคิดว่าไม่น่ามาเปรียบเทียบกันแต่จะดูในเชิงระบบว่า ในกลุ่ม/ชุมชนที่ทำนั้น มีการจัดการกับความรู้ที่เกิดขึ้นให้ต่อเนื่องยั่งยืนอย่างไร   อีกส่วนหนึ่งซึ่งก็คงเป็นความชัดเจนแบบไม่ชัดเจนของตัวบุคคลที่คนคนเดียวอาจเป็นทั้ง คุณเอื้อ คุณอำนวย คุณกิจ แล้วแต่บทบาทที่แสดงหรือถ้าเทียบกับกรณีการจัดการความรู้จังหวัดนครศรีธรรมราชก็ต้องบอกว่าแล้วแต่ว่าทำหน้าที่อยู่ใน วงเรียนรู้อะไร   และเมื่อมาถึงข้อที่ว่าภาวะผู้นำที่ส่งเสริมการทำ KM  อ่านดูเหมือนง่ายเพราะเราก็จะนึกถึงบทบาทของคุณเอื้อ แต่ในบริบทของแต่ละเรื่องก็ตอบได้ยากเหมือนกัน...

 เอาเป็นว่าโดยส่วนตัว KM-Inside  เป็นไกด์หรือแนวทางสำหรับการจับภาพ KM ส่วนเนื้อหาจริง ๆ ว่าเป็นการจัดการความรู้อย่างไรน่าจะอยู่ที่สาระและเรื่องราวซึ่งอาจหลุดกรอบ KM-Inside ก็ได้

อยากอ่านความคิดเห็นของท่านอื่น ๆ ด้วยค่ะ

คำสำคัญ (Tags): #km-inside#ไกด์จับภาพ
หมายเลขบันทึก: 40791เขียนเมื่อ 25 กรกฎาคม 2006 12:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
  • หากจะได้ช่วยกันค้นหาภาคประชาสังคม ไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม/ชุมชน อาจจะพบว่ามี IT ที่ก้าวหน้าก็ได้ จากนั้นก็จะได้ส่งเสริมต่อเนื่องให้กลุ่ม /ชุมชนจัดการกับความรู้ที่เกิดขึ้นให้ต่อเนื่องยั่งยืนต่อไป ขณะนี้ผมส่งเสริมให้เครือข่ายเกษตรอินทรีย์เมืองนครศรีธรรมราช เปิด blog ได้แล้วครับ กำลังค้นหากลุ่มอื่นๆทีมีความพร้อมอยู่อีกครับ  
  • แสดงเป็น คุณเอื้อ คุณอำนวย คุณกิจ ขณะเดียวกัน อาจจะดูว่ามีตัวละคอนไม่ครบ แต่ถ้างานมัน OK ก็น่าจะไม่เป็นไรไม๊ครับ
  • ส่วนภาวะผู้นำที่ส่งเสริมการทำ KM  คงจะทุกคนนำตนเองได้ จะดีกว่ารอคุณเอื้อมานำ

          อยากฟังตุ่มและท่านอื่นๆครับ

ตอบครูนงเมืองคอนค่ะ

ขอบคุณครูนงที่ให้ความเห็น และชื่นชมกับเครือข่าย Blog ของเครือข่ายเกษตรอินทรีย์เมืองนครฯค่ะ

เรื่องของการจัดการความรู้ จะดูเฉพาะองค์ประกอบใดโดด ๆ ไม่ได้ ตุ่มดูในภาพรวมค่ะ  ดูผลที่เกิด กระบวนการที่ทำ เทคนิควิธีการใหม่ ๆ ที่เกิดจากการเรียนรู้และปฏิบัติ   ซึ่งเส้นทางแห่งความสำเร็จของการจัดการความรู้ของแต่ละแห่งไม่เหมือนกัน  

 หากจะจับกรอบ KM-Inside ก็ใส่ได้หมดแหละค่ะ เพียงแต่ระดับมากน้อยแตกต่างกัน ซึ่งนั่นก็ทำให้เห็นว่ากลุ่ม/ชุมชน นั้นมีจุดเด่นของการทำจัดการความรู้ในด้านใด ที่ถือเป็น  Best Practice 

อยากให้เรื่องจัดการความรู้เป็นเหมือนเวลาเราแหงนมองฟ้าแล้วเห็นดาวกระพริบเกิดขึ้นที่โน่นที่นี่ กระจายเต็มฟ้าค่ะ  และหากลากเส้นโยงไปมาก็เกิดเป็นรูปร่าง เป็นกลุ่มอยู่ตรงนั้นตรงนี้ คล้าย CoPs เหมือนกันนะคะ

ชอบที่ตุ่มเปรียบเทียบดีกรี หรือความเข้มข้นในการปฏิบัติงานที่มีลักษณะ KM INSIDE ของภาคประชาสังคม ไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม / ชุมชน ว่าเหมือนเวลาเราแหงนมองฟ้าแล้วเห็นดาวกระพริบเกิดขึ้นที่โน่นที่นี่ กระจายเต็มฟ้า และหากลากเส้นโยงไปมาก็เกิดเป็นรูปร่าง เป็นกลุ่มอยู่ตรงนั้นตรงนี้ คล้าย CoPs เห็นภาพชัดเจนครับ แต่ที่ว่าKM-Inside  เป็นไกด์หรือแนวทางสำหรับการจับภาพ KM อยากได้คำอธิบายเพิ่มเติมครับ

ตอบครูนงค่ะ

ที่ว่า KM-Inside เป็นไกด์จับภาพ อันนี้เป็นความเห็นของตุ่มนะคะ  สำหรับการจับภาพ KM  ภาคประชาสังคม  ซึ่งสิ่งที่เราเห็นคือภาพรวมของเรื่องราวซึ่งบางครั้งก็แยกแยะบทบาทกันชัดเจนแต่บางที่ก็แยกไม่ออกเพราะมันเนียนอยู่ในงาน และผลที่ได้บางทีก็หลุดกรอบ KM-Inside เยอะ   

วันนี้ที่ สคส.เราคุยกันเรื่องนี้ค่ะ หลังจากนำผลงานจับภาพที่ผ่านมา พยายามมองใต้กรอบ KM-Inside  แล้วก็พบว่า KM-Inside ที่มีกรอบชัด ๆ อย่างนี้น่าจะเหมาะกับการทำ KM ของหน่วยงาน หรือองค์กรที่มีโครงสร้างชัดเจน อย่างภาคเอกชน

สำหรับภาคประชาสังคมคงต้องดูเป็นกรณี ๆ ไป อย่างการจัดการความรู้แก้จนเมืองคอน  กับ การจัดการความรู้ที่ กศน.เมืองคอนทำเอง เราก็มองแยกค่ะ และก็เห็นว่าเป็น KM - Inside ทั้งคู่ค่ะ

วันนี้ต้องรีบไป ไว้จะมาอธิบายเพิ่มค่ะ 

ขอบคุณ.....ตุ่ม...มากเลยครับ สนใจอยากให้อธิบายประโยคที่ว่า "และผลที่ได้บางทีก็หลุดกรอบ KM-Inside เยอะ  "  ต่อไป ว่าหมายความว่าอย่างไร หมายความว่าได้ หรือไม่ได้มากกว่าที่คาดหรือคิดอย่างนั้นใช่หรือเปล่าครับ

ส่วนใหญ่จะ "ได้"เกินคาดค่ะ เกินขนาดที่ว่ากรอบ KM-Inside ยังไม่ครอบคลุมพอ  แต่ตอนนี้ใน สคส.เราคุยกันชัดแล้วค่ะ ว่าทั้ง 10 ประเด็นของ KM-Inside เป็นเพียงไกด์กันลืมเวลาเราไปจับภาพเท่านั้น และตอนนี้เราก็ได้กรอบ KM-Inside ของภาคประชาชนแล้ว ตุ่มเอามาลงให้ดูคร่าว ๆ ดังนี้ค่ะ

  1.   มีคุณกิจจำนวนมากในชุมชน เป็น Team Learning เป็นกระบวนการต่อเนื่อง สมาชิกมาร่วมเรียนรู้แล้วต้องกลับไปปฏิบัติ แล้วกลับมาเรียนใหม่ เป็นการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติ
  2. มีการจดบันทึกอย่างไร
  3. มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับภายนอกอย่างไร
  4. กระบวนการนี้ทำมานานแค่ไหน มีความต่อเนื่องหรือไม่ สม่ำเสมอแค่ไหน เช่น ทำมา 1 ปี มีการพบปะกันทุกสัปดาห์หรือนานๆ พบกัน
  5. ดูผลที่เกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มเรียนรู้ว่าเกิดอะไรบ้าง เช่น หนี้สินลดลง รายจ่ายลดลง เงินเหลือมากขึ้น ปัญหาครอบครัวลดลง ปัญหาสุขภาพลดลง มีเวลาเพิ่มขึ้น ความสัมพันธ์ดีขึ้น
  6. เกิดการเรียนรู้ในประเด็นอื่นหรือไม่  เช่น เริ่มจากทำผักปลอดสารแต่ขยายไปตั้งกลุ่มผลไม้เพิ่มได้ แต่กลุ่มผักก็ยังเข้มแข็ง

  สคส. ให้ KM Inside เมื่อมั่นใจว่ามีความต่อเนื่อง ไม่ใช่ให้โก้ๆ เพราะ KM Inside คือเครื่องมือในการ      ขับเคลื่อน KM ประเทศไทย   กลุ่มทำงานที่ได้รับ KM Inside ต้องเป็นกลุ่มคนที่มี KM พอสมควร  และยินดี     ที่จะมีคนมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้วย   โดย สคส. จะมีคำอธิบายให้กลุ่มคนที่ได้ KM Inside ประมาณ       2 – 3 หน้า รวมทั้งให้ recommend  ใครจะไปดูงานจากกลุ่มเหล่านี้ต้องอ่านคำอธิบายประกอบด้วยว่ากลุ่มนั้นๆ มีความเด่นดีด้านใด และต้องพัฒนาด้านใดเพิ่มเติม

 

 

ขอบคุณตุ่มมากครับ เป็นความรู้ใหม่มากๆ หากเพิ่มเติม 4 ข้อที่เหลือให้ด้วย ก็จะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท