อิทธิพล ปรีติประสงค์ : กระเป๋าสตางค์ อีกหนึ่งสัญลักษณ์ของอาจารย์นพ


เราก็เฝ้าติดตามและสังเกตกระเป๋าสตางค์ของอาจารย์อยู่เสมอ อาจารย์เป็นคนที่เปลี่ยนกระเป๋าสตางค์ค่อนข้างบ่อย อันที่จริงจะบอกอย่างนั้นก็ไม่ถูกนัก ต้องบอกว่าเปลี่ยนถุงพลาสติกบ่อย ภาพนี้เป็นอีกหนึ่งภาพที่สะท้อนความสมถะของอาจารย์ได้เป็นอย่างดี

         หลังจากที่เรียนจบในรายวิชากฎหมายสนธิสัญญาที่อาจารย์นพนิธิสอนได้จบลง การนัดเลี้ยงอาหารเย็น ซึ่งพวกเรานักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาในสาขากฎหมายระหว่างประเทศถือเป็นประเพณีที่อาจารย์นพจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกปี ดังนั้น ในเย็นวันหนึ่งท้ายภาคการศึกษาลูกศิษย์ในแต่ละรุ่น จึงมักได้ยินอาจารย์นพในฐานะโต้โผใหญ่ที่จะนัดเลี้ยงพวกเราลูกศิษย์วิชากฎหมายสนธิสัญญา

และคราวนี้ก็อีกเช่นกัน หลังจากเราเรียนจบวิชากฎหมายสนธิสัญญา ซึ่งวิธีการเรียนการสอนเน้นกระบวนการการแสวงความรู้ผ่านสนธิสัญญาจริงๆ ลงไปศึกษาและนำมานำเสนอหน้าชั้นเรียน แล้วให้นักศึกษาร่วมห้องช่วยกันตั้งคำถาม อันที่จริงการเรียนแบบนี้ เรารู้สึกว่าแปลกมาก เพราะเราจะต้องเป็นทำหน้าที่เป็นฝ่ายถาม ถาม แล้วก็ถาม   แล้วในวันต่อมา เราในฐานะผู้นำเสนอก็ต้องทำหน้าที่เป็นผู้นำเสนอ เสนอ แล้วก็เสนอ ทักษะในการฟังอย่างตั้งใจ ทักษะการถามอย่างมีเหตุผล ทักษะในการค้นคว้าความรู้ และทักษะในการแสวงหาคำตอบล่วงหน้า จึงกลายเป็นทักษะที่เราจะต้องฝึกฝนตลอดเวลาของการเรียน จนเราเกิดความคุ้นชินและได้กลายเป็นทักษะในการทำงานของพวกเราในเวลาต่อมา

เย็นวันศุกร์ก็คือวัดนัดหมาย เวลาประมาณหนึ่งทุ่ม จำได้ว่าฝนตกมาตลอดทั้งวัน และไม่มีทีท่าว่าจะหยุดซะด้วย จนกระทั่งใกล้ถึงเวลานัดหมาย ฝนก็ยังไม่ยอมหยุดตก เรานัดกันที่ร้านต้นโพธิ์ แถวท่าพระอาทิตย์อีกหนึ่งร้านที่อาจารย์นพมักจะแนะนำในฐานะร้านเก่าแก่อีกร้านหนึ่งในย่านนี้

อาหารจานเด็ดที่อาจารย์นพแนะนำในวันนั้น ก็คือ ยำไข่แมงดาทะเล แมงดาทะเลตัวใหญ่ พร้อมไข่นับร้อยฟอง เสริฟพร้อมกับนำจิ้มรสจัด คำแรกแค่ลองเพียงหนึ่งฟองเล็กๆหลังจากนั้นทุกคนบนโต๊ะก็ติดใจและไม่นานนักไข่ก็หมดไปจากแมงดาทะเลตัวนั้นและคาดว่าหลังจากนั้น แมงดาทะเลคงใกล้จะสูญพันธุ์ ในอีกไม่นาน

ในช่วงสนทนาระหว่างมือนั้น จะได้ยินเสียงหัวเราะของนักศึกษาอยู่ไม่ขาดสาย เพราะอาจาย์นพมักจะมีมุขตลกมาพูดคุยกับพวกเราเสมอ สังเกตได้อย่างหนึ่งว่า อาจาย์นพเป็นอาจารย์ผู้ใหญ่ที่อารมณ์ดี เป็นกันเองกับนักศึกษา (แต่เวลาสอบก็เป็นคนละเรื่องกัน) และหลังจากที่อาหารคาวและหวานได้หมดไปจากโต๊ะ อาจารย์นพ ก็เรียกพนักงานเพื่อเก็บเงิน

พนักงานคิดเงินเสร็จจึงส่งบิลค่าอาหารให้กับผู้ที่ทรงคุณวุฒิมากที่สุด ก็คือ อาจารย์นพ อาจารย์นพจึงหยิบกระเป๋าสตางค์ขึ้นมาเพื่อจ่ายค่าอาหารให้กับร้าน สิ่งที่สร้างความฉงนให้กับพวกเราทั้งหมดก็คือ กระเป๋าสตางค์ของอาจารย์นพ ........

อันที่จริงจะเรียกว่ากระเป๋าสตางค์ก็ไม่เชิงจะถูกต้องนัก เพราะภาพที่เห็นตรงหน้าก็คือ ถุงพลาสติก หรือที่เรียกว่า ถุงร้อน ที่ทนความร้อนได้ระหับหนึ่งสำหรับใส่อาหารร้อน หรือ ถุงเย็นสำหรับใส่อาหารเย็น โดยกระเป๋าสตางค์ของอาจารย์นพก็คือ ถุงเย็น พร้อมด้วยการมัดให้แน่นด้วยหนังยาง

อาจารย์ให้คำตอบกับคำถามเกี่ยวกับกระเป๋าสตางค์ว่า ทนดีและสามารถเปลี่ยนได้บ่อยๆ

หลังจากนั้น เราก็เฝ้าติดตามและสังเกตกระเป๋าสตางค์ของอาจารย์อยู่เสมอ อาจารย์เป็นคนที่เปลี่ยนกระเป๋าสตางค์ค่อนข้างบ่อย อันที่จริงจะบอกอย่างนั้นก็ไม่ถูกนัก ต้องบอกว่าเปลี่ยนถุงพลาสติกบ่อย

ภาพนี้เป็นอีกหนึ่งภาพที่สะท้อนความสมถะของอาจารย์ได้เป็นอย่างดี อาจารย์นพเป็นคนเรียบง่าย อารมณ์ดี เป็นกันเอง ทีสำคัญ กระเป็าสตางค์แปลกดี เพราะฉะนั้น เวลานึกถึงอาจารย์นพจึงมักอดนึกถึงกระเป๋าสตางค์ของอาจารย์ไม่ได้ทุกที

อ.โก๋

อิทธิพล ปรีติประสงค์

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็ก

มหาวิทยาลัยมหิดล

หมายเลขบันทึก: 40719เขียนเมื่อ 25 กรกฎาคม 2006 00:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2012 05:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เอ...ไม่ได้สังเกตว่า ในราวปี พ.ศ.๒๕๒๐ อาจารย์นพใช้ถุงพลาสติก แทนกระเป๋าสตางค์หรือไม่ ?

แต่การสอนแบบให้เราต้องถกเถียงกันเองนี่นะ อ.แหววก็เคยโดน ตอนเรียนกะท่านในปี พ.ศ.๒๕๒๔

เอ..อ.โก๋อายุกี่ขวบล่ะ ? ตอนนั้น ? ได้ A ด้วยนะ จะคุยซะหน่อย

ในปีของรัตน์ที่เรียนสนธิสัญญากับ อาจารย์ ราวปี พ.ศ. 2543 

พวกเราไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่าอ.นพ ท่านจะเลี้ยงลูกศิษย์ รัตน์ก็เลยไม่ได้บอกที่บ้านไว้ คุณพ่อก็มารับตามปกติ ปรากฎว่ามีลูกศิษย์ที่ไปทานข้าวกับอาจารย์ อยู่เพียงคนเดียวคือพี่เจี๊ยบ อัญญาภิลักษณ์ ซึ่งตอนนี้เป็นอัยการไปเรียบร้อยแล้ว

อ.นพ ท่านเป็นคนอารมณ์ดี และมักจะจำลูกศิษย์ได้แม้เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ เพราะภายหลังเมื่อรัตน์มีงานสัมมนาแล้วต้องกลับบ้านดึก ๆ อ.นพ ท่านมักจะถามรัตน์ว่าวันนี้คุณพ่อมารับไม๊

เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ เพราะก็เห็นอาจารย์ก็ยังเป็นเช่นนั้นอยู่ประจำตั้งแต่สมัยเรียนจนปัจจุบัน และคงเป็นภาพที่ประทับใจลูกศิษย์หลายคน รวมทั้งตัวดิฉัน

ดิฉันเคยเรียนคดีเมืองหนึ่งกับอาจารย์นพ ประมาณปี ๒๕๔๕ รู้สึกว่าจะเป็นวิชาสัมมนาช่วงที่หนึ่ง เริ่มแปดโมงเช้า แล้วมีนักศึกษาเข้ามาเรียน ไม่กี่คนรวมทั้งตัวดิฉันด้วย

อาจารย์หยิบอะไรบางอย่างออกจากกระเป๋ากางเกง แล้วทุกคนถึงกับ...อึ้ง...ซองใสๆ บรรจุกเงินจำนวนหนึ่ง...และยังมียางรัดของรัดเงินอีกทบหนึ่งด้วย

มีเพื่อนช่างถามคนหนึ่งถามอาจารย์ว่า...ทำไมอาจารย์ใช้ถุงพลาสติกใส่สตางค์?(หัวเราะขณะถาม) อาจารย์ยิ้มแล้วตอบว่า" พกง่ายดี เก่าก็เปลี่ยนถุงใหม่ ยังทำให้รู้สึกตัวตลอดเวลา แถมยังดูไม่เป็นที่สังเกตของพวกมิจฉาชีพอีกด้วย "

คำตอบนี้ยิ่งให้เห็นได้ชัดว่าอาจารย์ที่เป็นที่รักยิ่งที่ลูกศิษย์ท่านเป็นคนที่สมถะ และพร้อมที่จะตอบทุกอย่างที่ลูกศิษย์ถามอย่างไม่ขวยเขิน โดยเฉพาะเรื่องกระเป๋าตังถุงพลาสติก....

ดิฉันเป็นลูกศิษย์อีกคนหนึ่ง แม้จะได้อยู่ในเหตุการณ์เดียวกันกับท่านผู้เขียน แต่ความรู้สึกร่วมกันอย่างหนึ่งของคำว่า "ศิษย์ กับอาจารย์"คือ ความรู้สึกรักและเคารพอย่างสูงสุดจากใจ ไม่ว่าจะอยู่ในยุคสมัยไหนก็ยังคงเป็นสากลอยู่เช่นเคย...ดีใจและซาบซึ้งอย่างยิ่งที่อาจารย์นพมอบความรู้จากบทเรียนและความรู้ในการดำเนินชีวิตให้แก่ศิษย์ทุกคน รวมทั้งดิฉัน แต่สิ่งหนึ่งที่หนึ่งที่ดิฉันประทับใจที่สุดคือความเป็นครูอย่างแท้จริงที่พร้อมจะมอบสิ่งดีๆให้แก่ศิษย์อย่างสม่ำเสมอไม่ว่าคำแนะนำ ติ หรือชมก็ล้วนแต่มีค่าทางจิตใจต่อศิษย์ยิ่งนัก...ดิฉันดีใจที่ได้พบเหตุการณ์เช่นเดียวกับผู้เขียน แม้จะคนละช่วงเวลา แต่ก็อดอมยิ้มและประทับใจไม่ได้เมื่อนึกถึงท่านอาจารย์นพ...สัญลักษณ์แห่งครูผู้เอื้ออาทรต่อศิษย์เสมอ....

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท