เด็กเลี้ยงควาย


ควายเป็นสัตว์ที่มีบุญคุณต่อสังคมไทย

***เด็กเลี้ยงควาย***

          ควายเป็นสัตว์ที่อยู่คู่กับชาวนาไทยมาแต่ช้านาน.......................ควายเป็นสัตว์ที่มีบุญคุณต่อชาวนาเป็นอย่างมาก (หรืออาจจะถึงขนาดมีบุญคุณต่อผืนแผ่นดินไทยก็เป็นได้) เนื่องจากการดำเนินชีวิตในอดีตของชาวนาไทย จะใช้ควายเทียมแอกไถนา ไม่ได้มีควายเหล็ก (รถไถ) เหมือนอย่างทุกวันนี้

          และสิ่งที่อยู่คู่กับควายมานาน ก็คือ เด็กเลี้ยงควาย

          ทุกวัน ตั้งแต่เช้าตรู่เด็กเลี้ยงควายจะต้องพาควายออกจากคอก ไปเลี้ยงตามท้องไร่ท้องนา

          ถ้าถึงฤดูทำนา ก็ต้องพาควายไปไถนา เพื่อจะได้หว่านกล้าและปักดำข้าวต่อไป

          เมื่อเสร็จภารกิจจากการไถนาแล้ว ควายก็จะได้ไปเดินเล่นเลาะชายทุ่ง หาเลาะเล็มหญ้า หรืออาจจะจีบ(ควาย)สาวๆ ที่อยู่คนละบ้าน

          ธรรมชาติของควายจะอยู่รวมกันเป็นฝูง

          ตามบ้านนอกคอกนา ชาวบ้านที่เป็นชาวนา จะมีควายอยู่ทุกๆหลังคาเรือน

          เพราะฉะนั้น เด็กเลี้ยงควายก็จะมีอยู่ทุกหลังคาเรือนเช่นกัน

          ศิลปะการขึ้นหลังควาย เป็นสิ่งที่เลียนแบบกันไม่ได้ ส่วนใหญ่ก็จะขึ้นทางตูดมันนั่นแหละ โตหน่อยก็จะขึ้นด้านข้าง แต่ผู้เชี่ยวชาญ จะวิ่งขึ้นไปทางหัวควาย และมักจะได้รับคำชมว่า "ไอ้นี่เก่งชะมัด"

          หลายคนอาจจะสงสัยว่า ควายมันไม่ขวิดเอาหรือ

          ไม่หรอกครับ ควายเป็นสัตว์ที่เชื่อง รักเจ้าของ ถ้าเป็นคนอื่นก็ไม่แน่

          เวลาเดินตามควาย ก็ต้องระวังให้ดี เพราะมันจะเหยียบตีนเอา  (มันไม่เหมือนโดนคนเหยียบตีนหรอกนะครับ) ก็ไม่รู้เดินยังไงให้มันเหยียบ แต่เด็กเลี้ยงควายทุกคน ก็จะผ่านการถูกควายเหยียบตีนมาแล้วทั้งนั้น มันไม่เจ็บหรอกครับ แค่น้ำตาเล็ดเท่านั้นเอง................

          เวลาไปเลี้ยงควายอยู่รวมกันเยอะๆ ก็จะมีเรื่องให้เล่นสนุกสนานตามประสาเด็กๆมากมาย อย่างเช่น การเก็บเม็ดมะค่าแต้มาเล่น โดยจะต่อเรียงกันยาวเป็นขบวนรถไฟ ตรงหัวรถก็วางเม็ดมะค่าแต้ 3 เม็ด(หมือนก้อนเส้า) แล้วก็วางเม็ดหนึ่งไว้ข้างบน จากนั้นเม็ดที่เหลือก็จะวางต่อจากหัวยาวออกมาเป็นเหมือนขบวนรถไฟ แล้วเด็กๆ ก็จะถอยหลังออกไปพอประมาณ แล้วแต่จะตกลงกัน

          ที่นี้ ก็ถึงเวลาพิสูจน์ความแม่นกันแล้วหละ ว่าใครจะแม่นกว่ากัน

          ผลัดกันโยนเม็ดมะค่าแต้ใส่ขบวนรถไฟทีละคน ใครแม่นกว่าก็กวาดไป สนุกสนานกันใหญ่ ส่วนพวกเด็กผู้หญิงก็จะเล่นกระโดดหนังยาง บางทีไอ้พวกเด็กผู้ชายทะโมนก็จะมาแย่งเด็กผู้หญิงเล่นด้วยเช่นกัน

           แต่ที่ขาดไม่ได้ คือ หนังสะติ๊ก เด็กๆ จะมีคล้องคอกันทุกคน

          ในช่วงหน้านา ตามท้องทุ่งนามีข้าวเต็มไปหมด เด็กๆ ก็จะพาควายไปเลี้ยงในป่าสงวนใกล้หมู่บ้าน

          ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดนักร้องเสียงทองประจำยอดไม้ขึ้น ในกลุ่มของพวกเด็กๆ จะมีวิทยุทรานซิสเตอร์เก่าๆ ราคาถูกๆ ไม่กี่บาทอยู่เครื่องหนึ่ง เพลงไหนดังๆ ก็จะร้องกันได้หมด สมัยก่อนก็เป็นประเภทเพลงลูกทุ่ง

          ทีนี้ เวลาจะร้อง ก็จะขึ้นไปอยู่บนยอดไม้สูงๆ ได้เวลาแหกปาก(ขออภัย)ร้องเพลงเสียงดังก้องกังวานไปทั่วทั้งป่า รู้สึกว่าตัวเองเสียงเพราะเสียเหลือเกิน น่าเสียดายสมัยนั้น ไม่มีรายการชิงช้าสวรรค์ ป่านนี้ได้เป็นแชมป์ไปหลายฤดูแล้ว

          เด็กทุกคนจะมีความสุขกับชีวิตเด็กเลี้ยงควายเป็นอย่างมาก

          มันไม่ใช่หน้าที่ แต่มันเป็นวิถีชีวิตที่เป็นมาตั้งแต่บรรพบุรุษ สืบทอดกันมาเป็นทอดๆหลายรุ่นต่อหลายรุ่น

          จนกระทั่งมาถึงปัจจุบัน ทุกสิ่งทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไปหมด

          เด็กๆ ตามบ้านนอกเดี่ยวนี้ ไม่ได้เลี้ยงควายเหมือนแต่ก่อนแล้ว วิถีชีวิตปัจจุบันเหมือนกับชีวิตเด็กในเมืองไม่มีผิด เพียงแต่อยู่ต่างถิ่นต่างที่กันเท่านั้น ส่วนการใช้ชีวิตไม่ได้มีอะไรแตกต่างกันเลย............

          ทั้งที่จริงๆแล้ว ชีวิตเด็กเลี้ยงควาย เป็นชีวิตที่มีความสุขไม่น้อยเลยทีเดียว

********************

 

หมายเลขบันทึก: 406932เขียนเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2010 12:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 13:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ดีครับ

แต่ผมเป็นเด็กเลี้ยงวัว ก็คล้าย คล้าย กับเลี้ยงความนะครับ

เด็กสมัยนี้บางคนยังไม่เคยเห็นควายตัวเป็นๆเลยด้วยซ้ำ

ดีนะคะได้สัมผัสชีวิตธรรมชาติจึงได้กำไรชีวิตมากมาย...

สวัสครับ...คุณวินัย.........งั้นเราคงผ่านประสบการณ์ที่มีความสุขคล้ายๆ กันมานะครับ..........

จริงเลยครับ คุณ krugui Chutima.........สงสัยจะต้องสร้างอนุสาวรีย์ควายไว้ให้ลูกหลานเราได้ดูและสักการะบูชาแล้วหละครับ........

สวัสดีค่ะ
อ่านแล้ว นึกภาพออกเลยค่ะ ถึงจะไม่เคยสัมผัสชีวิตแบบนี้ (แบบธรรมชาติ) มาก่อน
เพราะคุณพ่อเป็นช่างต่อเรือและช่างไม้ ส่วนคุณแม่เป็นชาวสวนและค้าขาย ชีวิตจะอยู่แพบ้าง อยู่บ้านใกล้แม่น้ำ มีนาบ้างเขาก็ใช้ควายเหล็กกันมาหลายสิบปีแล้ว
อย่างดีก็ได้ดูที่เขาสาธิต หรือที่เขาจัดเป็นที่ท่องเที่ยว เช่นบ้านควายที่สุพรรณ
ไปมา 3 ครั้ง จึงทราบว่าเวลาขี่ควายจะไม่ให้เมื่อยเพราะกลางขามากไป ต้องนั่ง
ช่วงคอของควาย นอกจากนี้ก็ได้ดูการแสดงควายรูปแบบต่างๆ และได้ชมเด็กรุ่นหลัง
ที่สืบทอดเพลงอีแซว เพลงพื้นบ้านของสุพรรณ ด้วย  

 

สวัสดีครับ..............คุณ by jan......................

ต้องขอขอบคุณนะครับ.......................ที่นำภาพสวยๆ มาฝาก ซี่งเดี่ยวนี้ไม่ค่อยมีให้เห็นแล้ว...........นอกจากแหล่งอนุรักษ์ตามสถานที่ท่องเที่ยวอย่างที่ คุณ by jan บอก.................... และอีกที่หนึ่ง คือ โครงการโรงเรียนกาสรกสิวิทย์ ตำบลศาลาลำดวน อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว ตามลิงค์นี้ครับ http://www.chaipat.or.th/chaipat/index.php?option=com_content&task=view&id=602&Itemid=155

ทุกอย่างเดี่ยวนี้จะกลายเป็นเรื่องอนุรักษ์ทั้งหมด.....................ทั้งที่ความจริงแต่ก่อนมันเป็นวิถีชีวิต............

วันหลังเล่าชีวิตชาวเรือนแพให้ฟังบ้างสิครับ................................

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท