KM ที่รัก ตอนที่ 27 "การจัดการความรู้กับการพึ่งตนเอง"


"เมื่อปัญญามีจะได้ของดีราคาถูก"
วันนี้ได้โอกาสเข้าไปเยี่ยมเครือข่ายที่เคยทำงานร่วมกันคือ คุณสุพรม แวงกุดเรือง ที่บ้านหนองดุม อ.สตึก ซึ่งร่วมงานกันมาหลายปี คุณสุพรม เป็นคนที่ใฝ่รู้และเรียนตลอดเวลา เป็นคนหนึ่งในหลาย ๆ คนในเครือขายที่พยายามอธิบายวิธีการพึ่งตนเองด้วยการปฏิบัติให้ดูเป็นตัวอย่าง... เจอหน้ากันก็ดีใจมากเพราะไม่ได้เจอกันนาน ผมยังไม่ได้ถามอะไรคุณสุพรม ก็รีบเล่าให้ผมฟังในสิ่งประดิษฐ์ใหม่ของเขาที่น่าจะเป็นคำอธิบาย ส่วนหนึ่งของการที่จะพึ่งตัวเอง สิ่งนั้นคือ เครื่องอัดเมล็ดปุ๋ยแบบบูรณาการ คุณสุพรมพยายามแก้ปัญหาเรื่องปุ๋ยเคมี โดยอยากให้ชาวบ้านหันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ทำจากวัสดุที่ชาวบ้านมีอยู่แล้วเช่นปุ๋ยคอก + ดิน + แกลบดำ ซึ่งบางทีก็จะมีการใส่ยูเรียไปบ้างเพื่อเชื่อมต่อตามความเชื่อของชาวบ้านที่ต้องการ”เห็นผลเร็ว” (จริง ๆ แล้วไม่จำเป็นเลย) ซึ่งประเด็นหนึ่งที่คุณสุพรม และเครือข่ายเองพยายามแก้ปัญหาคือ“ความสะดวกในการใช้” จึงนั่นจึงเป็นที่มาของการคิดประดิษฐ์เครื่องอัดเม็ด จริง ๆ แล้วเครื่องอัดเม็ดปุ๋ยมีการทำมาแล้วหลายรูปแบบ แต่ปัญหาของเกษตรกร / กลุ่มเกษตรคือ “แพง” ดังตารางเปรียบเทียบ ข้อมูลการเปรียบเทียบคุณค่าและมูลค่าของเครื่องอัดปุ๋ยเม็ดตามท้องตลาดกับเครื่องของคุณสุพรม รายการ เครื่องทั่วไป เครื่องใหม่(คุณสุพรม) ราคา / เครื่อง 80000-100000 18000-20000 อัตราการผลิต / 30 นาที 50 กิโลกรัม 150 กิโลกรัม การปรับทิศทางของจาน มีข้อจำกัด ปรับได้ 360 องศา อยู่วัสดุที่ใช้ ใสช้วัสดุที่มีราคาแพง ดัดแปลงวัสดุที่มีอยู่ ในท้องถิ่น จากตารางเปรียบเทียบจะเห็นได้ว่ามีความต่างกันในด้านต้นทุนมากโดยเฉพาะการประยุกต์ใช้วัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่นเช่น แทนที่จะใช้แท่นหมุน ไฮดรอลิก จึงมีราคาแพง ก็ใช้ เครื่องผสมปูนซึ่งปัจจุบันการก่อสร้างไม่นิยมใช้เพราะมีปูนผสมสำเร็จมาแทน เครื่องฉีดน้ำปกติ 7 – 8 พันบาท ก็ใช้เครื่องพ่นยาราคา 100 – 150 บาท ประหยัดทั้งทุนและได้มิติของความร่วมมือกัน เรียกว่าได้ทำงานและเพื่อน ส่วนอัตราการผสม ปุ๋ย แล้วแต่ว่าจะต้องการความเข้มข้นของปุ๋ยเท่าไหร่ แต่สูตรที่เป็นมาตรฐานคือ ปุ๋ยคอกแห้ง 1 ส่วน ดินบดละเอียด 1 ส่วน แกลบดำ 1 ส่วนเล้วนำมาผสมให้เข้ากันกัน....ผมฟังเขาพูดนานพอสมควร เพราะไม่อยากขัดจังหวะ เห็นพลังในตัวเขามีมากพอ ๆ กับพลังความรู้ที่อยู่ในสมองเขา...พอพูดเสร็จรีบพาผมไปดูที่บ้านเลย (ดังภาพ) ซึ่งผลงานชิ้นนี้ของคุณสุพรม เกิดมาจากตัวของเขาเอง ที่มีความเชื่อและความมุ่งมั่นในเรื่องการพึ่งตนเอง กอปรกับเป็นคนชั่งสังเกต ช่าง คิด และวิเคราะห์ สังเคราะห์ตั้งสมมติฐานแล้วลงมือปฏิบัติเลย ซึ่งเป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการสร้างองค์ความรู้(ฉบับชาวบ้าน) ผมเชื่อว่า ถ้าชุมชนหรือองค์กร ที่มีกระบวนการคิด กระบวนการเรียนรู้ตลอดเวลา จัดการองค์ความรู้ที่มี ใช้เป็นประโยชน์กับการแก้ปัญหาของชุมชนและองค์กร การที่เราอยากเห็น สังคมไทยเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ พึ่งตัวเองต่อไป
หมายเลขบันทึก: 40667เขียนเมื่อ 24 กรกฎาคม 2006 18:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท