PART หมายถึงอะไร?...


PART หมายถึงอะไร?...

"PART หมายถึงอะไร?..."

สำหรับบันทึกนี้ ความจริงผู้เขียนก็ไม่ต้องการนำมาแจ้งให้ทราบ เพราะเกรงว่าจะเป็นวิชาการมากเกินไป...แต่ทำอย่างไรได้ เนื่องจากปัจจุบันรัฐใช้การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ นำมาให้ส่วนราชการปฏิบัติอยู่เสมอ โดยมุ่งที่จะบริหารจัดการสู่สากล...ผู้เขียนจึงต้องนำมาเล่าให้ฟังพอสังเขป...ดังนี้

PART (Performance Assessment Rating Tool) หมายถึง เครื่องมือวิเคราะห์ความสำเร็จของการดำเนินงานการใช้จ่ายงบประมาณ

Performance = ความสำเร็จของการดำเนินงานของผลผลิต (จากการใช้จ่ายงบประมาณ)

Assessment = ประเมินตัวเอง (ก่อนให้งบประมาณ โดยดูความพร้อมเกี่ยวกับการออกแบบทิศทางและกลยุทธ์เพื่ออนาคต แผนปฏิบัติการและต้นทุนที่ของบประมาณ กิจกรรมสนับสนุนในปัจจุบันและผลการดำเนินงานที่ผ่านมา)

Rating = การจัดระดับหรืออันดับ

Tool = เครื่องมือ (หรือวิธีการหรือเทคนิค) ไม่ใช้ระบบ (System)

PART มาจากประเทศ USA. ที่ USA. มีชื่อว่า Program Assessment Rating Tool เริ่มนำมาใช้ ปี ค.ศ. 2003 ในเมืองไทย เนื่องจาก ปี 2553 ทดลองใช้ PART จังหวัด ตามมติ ครม. คือ หน่วยงานที่ของบประมาณแผ่นดินต้องส่งผลงานประเมิน PART...สำหรับปี 2553 เริ่มใช้ PART จังหวัด

PART เป็นเครื่องมือประกอบการตัดสินใจ

ทำไม?...ต้องทำ PART...

เพื่อจัดทำงบประมาณ SPBB (Strategic Performance Based Budgeting) เพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดไว้ว่ามีความต้องการอะไร?...

เพื่อวัดความสำเร็จในเชิงประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ความคุ้มค่า (โดยจะดูที่ผลผลิต ผลลัพธ์และความคุ้มค่า)

เพื่อให้มีข้อมูลสารสนเทศประกอบการตัดสินใจในขบวนการจัดการงบประมาณของ...สำนักงบประมาณ + หน่วยงานภาครัฐ + ฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ)

ประโยชน์ของ PART...

หน่วยงานนำไปใช้กำหนดนโยบายและปรับทิศทางการทำงาน แก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นระหว่างดำเนินงานปรับแผนปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มผลงานไปสู่เป้าหมายยุทธศาสตร์ของรัฐบาล

สำนักงบประมาณ คณะรัฐมนตรีและฝ่ายนิติบัญญัติใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจขบวนการงบประมาณ ติดตามความก้าวหน้าปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานบริหารจัดการงบประมาณของหน่วยงานภาครัฐ

ผล PART ใช้ประโยชน์ในกระบวนการงบประมาณ

ขั้นตอน : จัดทำงบประมาณเพื่อจัดทำคำของงบประมาณ วิเคราะห์

คำของบประมาณ โดยจังหวัด กลุ่มจังหวัด

สำนักงบประมาณ

ขั้นตอน : อนุมัติงบประมาณเพื่อพิจารณาอนุมัติ พ.ร.บ.งบประมาณ

ประจำปี โดยรัฐสภา

ขั้นตอน : บริหารงบประมาณ เพื่อปรับแผนโอนเปลี่ยนแปลง/

เบิกจ่ายงบประมาณ โดยสำนักงบประมาณ จังหวัด

กลุ่มจังหวัด กรมบัญชีกลาง

ขั้นตอน : ควบคุมติดตามประเมินผล เพื่อติดตามการใช้จ่ายเงิน

รายงานผลการใช้จ่ายเงิน โดยจังหวัด กลุ่มจังหวัด กรม

สำนักงบประมาณ สตง. กพร. ประชาชน หรือ NGO

แนวคิดของ PART : ผลการดำเนินงานที่ดี เกิดจากการดำเนินงาน

ตามขั้นตอนที่มีความสัมพันธ์และต่อเนื่องกันทั้ง

ระบบ...

องค์ประกอบสำคัญของ PART : มี 3 ส่วน ดังนี้...

คำถาม 5 ชุด รวม 30 ข้อ

คำตอบ (คำบรรยาย)

หลักฐานประกอบคำตอบ

5 ชุดคำถามของ PART รวม 30 ข้อ ได้แก่...(Concept : หัวใจสำคัญของ PART)...

คิด มี 6 ข้อ : ก. จุดมุ่งหมายและรูปแบบ

- ดูจุดมุ่งหมายปลายทาง

- ดูกลุ่มเป้าหมาย ดูเพื่อนร่วมงาน

ดูตัวเอง

วางแผน มี 7 ข้อ : ข. การวางแผนกลยุทธ์

- เป้าหมายระยะยาวที่ชัดเจน

- รายละเอียดแผนกลยุทธ์

ผูกกับเงิน มี 5 ข้อ : ค. การเชื่อมโยงงบประมาณ

- เป้าหมายประจำปีที่ชัดเจน

- รายละเอียดแผนกลยุทธ์

- ต้นทุนแท้จริง

ทำ มี 7 ข้อ : ง. การบริหารจัดการ

- การบริหารหน่วยงาน การเงิน

การเพิ่มขีดความสามารถ การเก็บ

รวบรวมข้อมูล

ผล มี 5 ข้อ : จ. ผลผลิต / ผลลัพธ์

- เปรียบเทียบแผนกับผล

- การเพิ่มประสิทธิภาพ การใช้เงิน

อย่างคุ้มค่า

พิจารณาจาก...เอกสารประกอบเป็นหลัก...

"PART ไม่ได้จับผิดแต่เพื่อปรับปรุงและพัฒนา"...

คำตอบของ PART : หมวด ก. - ง. ใช้ (Yes) กับ ไม่ใช่ (NO)

หมวด จ. ตอบ ได้ กับ ไม่ได้

ตอบ ไม่เกี่ยวข้อง กรณีขอยกเว้น

เอกสารประกอบคำตอบ : ต้อง...

เชื่อถือได้

ตรวจสอบที่มาที่ไปได้

มีความถูกต้องชัดเจน

จัดทำมาแล้วตามขั้นตอน

มีลายเซ็นต์ผู้รับผิดชอบ "ไม่ใช่เอกสารจัดทำขึ้นมาใหม่"...

PART ใช้เมื่อไหร่?...

วิเคราะห์ผลผลิตเมื่อสิ้นสุดปีงบประมาณ ช่วงเดือนตุลาคม - กุมภาพันธ์ โดยทำการวิเคราะห์ปีที่ผ่านมา ผล PART จะใช้ปรับปรุงการบริหารงบประมาณปีนี้ และเตรียมวางแผนจัดทำงบประมาณในปีหน้า...

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการใช้ PART :

ผู้บริหาร ผู้รับผิดชอบกิจกรรมที่นำส่งผลผลิต

ผู้ที่หัวหน้าส่วนราชการมอบหมายให้ตอบคำถาม PART

ฝ่ายแผน/นโยบายและงบประมาณ

ฝ่ายคลัง ฝ่ายบุคลากร/KM

ฝ่ายติดตามประเมินผล

ข้อตระหนัก :

PART เป็น Self - Assessment

- แข่งขันกับตัวเอง

- ทำด้วยตนเอง/แก้ปัญหาด้วยตัวเอง

- พัฒนาจากรับรู้ ไปสู่ เรียนรู้ ไปสู่ รู้จริง ไปสู่ รู้แจ้ง

ยอมรับความจริง

- สิ่งใดที่ยังไม่มี ก็ทำให้มี

- สิ่งใดที่มีปัญหา ก็ต้องแก้ไขให้ถูกต้อง

- สิ่งใดที่ทำดีแล้ว ก็พัฒนาให้เป็นมาตรฐาน

คะแนนเป็นเพียงภาพสะท้อน

- เราอยู่ในระดับไหนจะพัฒนาหรือไม่

ต้องการสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้เกิดขึ้น

สิ่งที่ได้เรียนรู้จาก PART :

ช่วยกันทำงานเป็นทีม

พัฒนาคน พัฒนางาน พัฒนาองค์กร

เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืน

ศึกษาเอกสารเพิ่มเติมของผู้เขียนที่ได้รับการอบรมมาได้...

จากไฟล์ด้านล่างนี้...

http://gotoknow.org/file/bussayamas/bussaya2111.PDF

หมายเลขบันทึก: 406556เขียนเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2010 21:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 เมษายน 2016 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะIco64

  • คุณยายมาเข้าห้องเรียนเป็นคนแรก ดีใจจัง
  • ขอบคุณหลายๆที่ช่วยอธิบายให้คุณยายหูตากว้างไกลค่ะ
  • มีความสุขในวันหยุดพักผ่อนนี้นะคะ

สวัสดีค่ะ...คุณยาย...

  • Ico32...เป็นเรื่องที่ภาครัฐกระจายอำนาจให้ส่วนราชการเป็นผู้ปฏิบัติ เราจำเป็นต้องควรรู้ค่ะ...
  • ขอบคุณค่ะ...มีความสุขในวันหยุดนะค่ะ...

เปันความคีดที่ดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท