ตัวอย่างแบบประเมินต่างๆในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้


การทำแบบประเมินในการทำแผนการจัดการเรียนรู้ดิฉันมีตัวอย่างมาให้เป็นแนวเพื่อปรับไปใช้ได้ในกลุ่มสาระต่างๆของท่านคุณครูที่สนใจคะ

บทนำ 

 

สภาพปัจจุบัน  ปัญหา  และความต้องการพัฒนาการศึกษา

 

                    การพัฒนาประเทศนับตั้งแต่เริ่มแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับแรกเมื่อ   พ.ศ. ๒๕๐๔ เป็นต้นมาจนถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ   ฉบับที่ ๗ (พ.ศ. ๒๕๓๕ – ๒๕๓๙) กล่าวได้ว่าในช่วงที่ผ่านมามุ่งเน้นพัฒนาด้านเศรษฐกิจเป็นสำคัญการพัฒนาก็เพียงเพื่อเป็นปัจจัยที่จะก่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ฉบับที่ ๘ (พ.ศ. ๒๕๔๐ – ๒๕๔๔) ได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาคนเป็นพิเศษโดยกำหนดให้คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา

                    ท่ามกลางความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีและการสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็วส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงชีวิต  สังคมและสิ่งแวดล้อมทั่วโลกการศึกษาจะเป็นกระบวนพัฒนาคนที่สำคัญและต้องเป็นระบบการศึกษาที่มีคุณภาพจึงจะเอื้อต่อการพัฒนาศักยภาพและความสามารถตลอดจนคุณลักษณะต่างๆ ของคนที่จะเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

                    กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดนโยบายปฏิรูปการศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้สนองตอบความต้องการ  และความเปลี่ยนแปลงของโลกยุคโลกา- ภิวัฒน์  การปฏิรูปการศึกษาตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ

                    สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติมีภารกิจหลักในการจัดการศึกษา    ขั้นพื้นฐานคือระดับก่อนประถมศึกษา  ระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษาตอนต้นให้แก่เด็กในเขตบริการของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ  มุ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาและบัญญัติ ๑๐  ประการมีการเปลี่ยนแปลงด้านการเรียนการสอนคือต้องเน้นให้เด็กเป็นศูนย์กลาง  เป็นผู้ปฏิบัติกิจกรรม  เป็นผู้สร้างความรู้เอง  เป็นผู้ฝึกกระบวน  การคิด  การลงมือทำและการแก้ปัญหามิใช่การอธิบายความรู้ของครูฝ่ายเดียวดังแต่ก่อนเนื่องจากองค์ประกอบความรู้และการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาการนำประสบการณ์ที่มีอยู่มาถ่ายทอดหรือบอกเล่านักเรียนนั้นไม่เพียงพอที่จะพัฒนานักเรียนให้มีความรู้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงได้  นักเรียนต้องการมีความรู้การค้นคว้าศึกษาด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตเป็นบุคคลที่       ใฝ่เรียน  นำประสบการณ์ที่ได้รับมาฝึกปฏิบัติมาสังเคราะห์เป็นความรู้ใหม่นำมาแก้ปัญหาในการดำรงชีวิตของตนเอง  ครอบครัว  และชุมชน  ได้แนวทางปฏิรูปการศึกษาได้กำหนดเน้นในการพัฒนาคุณภาพนักเรียนไว้ ๓ ประการ คือ  ความสามารถทางความคิดความสามารถในการแสวงหาและสร้างความรู้ด้วยตนเองและมีความยุติธรรม  จริยธรรมผลจากการจัดการเรียนการสอนตามแนวปฏิรูปการศึกษานักเรียนจะต้องเป็นผู้มีความสามารถในการแก้ปัญหาของตนเองชุมชน  และสามารถผลิตเครื่องมือ  เครื่องใช้ใหม่ๆ  ขึ้นมาได้ตามความเหมาะสมกับวัย  ความสามารถและสภาพความเป็นอยู่ของชุมชนของตนเอง

                    การจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง  ต้องจัดให้มีองค์ประกอบการเรียนทั้ง  ๓ ส่วนคือ  การรับรู้     การบูรณาการความรู้    และการประยุกต์ใช้ความรู้โดยใช้เทคนิคต่างๆ  ให้สอดคล้องกับวิธีการสอนซึ่งมีอยู่หลายวิธี  ในปี พ.ศ. ๒๕๔๐  เป็นปีแรกของแผนพัฒนาการศึกษา  ฉบับที่ ๘ (พ.ศ. ๒๕๔๐-๒๕๔๔)  สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติจึงเลือกวิธีการสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษาเป็นแกนในการเรียนการสอนภาษาเนื่องจากเป็นวิธีการเรียนการสอนที่มีองค์ประกอบครบทั้ง  ๓    ส่วน และเคยทดลองใช้ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ    มาแล้ว

                การสอนภาษไทยในชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ นั้นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีพัฒนาการการอ่าน  การเขียนจากชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑  มาพอสมควรสามารถจำคำอ่านได้มากพอสมควร  สะกดคำและแจกลูกได้ มีประมวลคำศัพท์จากชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ มาแล้ว มีทักษะการอ่าน      การเขียน  ดังนั้นการสอนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ความสามารถในการอ่านของเด็กจะเจริญ     รวดเร็วกว่าชั้นประถมศึกษาปีที่1  การสอนภาษาไทยในชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ แต่ควรส่งเสริมให้  นักเรียนอ่านจากหนังสือเรียน  หนังสืออ่าน  ประกอบมากขึ้น  โดยอ่านตามลำพังอย่างมีจุดมุ่งหมาย

                    แนวการสอนในชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ มีแนวทางโดยวิธีนี้มีดังนี้

๑.       การสอนภาษาไทยโดยใช้หนังสือเรียน  การสอนโดยวิธีนี้มีดังนี้

๒.      การนำเข้าสู่บทเรียน  โดยการเล่าเรื่องราวของบทเรียนเพื่อเป็นพื้นฐาน

ของการอ่าน

๑.        การสอนคำใหม่และคำยาก  โดยการอ่านคำใหม่ออกเสียงให้ถูกต้อง             

รู้ความหมาย  เพื่อเตรียมการอ่านจากหนังสือ

๓.      การอ่านในใจและอ่านออกเสียงจากหนังสือเรียน  การอ่านในใจจะอ่าน

เรื่องและอภิปรายชื่อเรื่องและครูตั้งคำถามบนกระดานดำให้อ่าน  และนักเรียนอ่านในใจเพื่อหาคำตอบ  หรืออภิปรายในการอ่านออกเสียงครูจะแนะนำการอ่านออกเสียง  ฝึกอ่านบัตรคำแถบประโยคที่เป็นคำควบกล้ำ  หรือคำยาก  แล้วจึงฝึกอ่านออกเสียงเป็นกลุ่มและรายบุคคล

๔.      กิจกรรมฝึกฝนทักษะทางภาษา  ได้แก่  การฝึกทักษะต่างๆ เป็นต้นว่า 

การฝึกสะกดคำ  การคัดลายมือ  การเขียนคำบอก  เกม  ร้องเพลงในบทเรียน  การท่องคำประพันธ์  การแสดงบทบาทสมมติ  การเขียนเรียงความ  การแต่งประโยค  การอภิปรายเรื่องที่อ่าน  การทำแบบฝึกหัดตามที่กำหนดในคู่มือครู

๒.     การสอนภาษาไทยโดยใช้ประสบการณ์ทางภาษา  การสอนโดยวิธีนี้เป็นลักษณะ

ของการจัดกิจกรรมการเรียนโดยสร้างประสบการณ์ทางภาษาให้แก่เด็ก  ซึ่งสัมพันธ์กับการฟัง  การพูด  การอ่าน  และการเขียน  การสอน  มีขั้นตอนดังนี้

๑.       สร้างประสบการณ์ทางภาษา  โดยครูเล่าเรื่องให้ฟัง  อ่านเรื่องให้ฟัง  หรือ

สร้างประสบการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง  เช่น ดูรูปภาพแล้วสนทนาเกี่ยวกับภาพนั้น

๒.     กระตุ้นคิด  โดยครูใช้คำถามนำให้เด็กคิดเรื่องราวจากประสบการณ์  และ

เรียบเรียงเรื่องราวจากประสบการณ์

๓.     นักเรียนเล่าเรื่องราวจากประสบการณ์หรือบอกความคิดจากเรื่องราวใน

ประสบการณ์เป็นคำพูดของนักเรียนเอง  ครูจะบันทึกเรื่องที่นักเรียนพูดบนกระดานดำนักเรียนอ่านข้อความที่บันทึกบนกระดานดำ  หรือให้นักเรียนช่วยกันบันทึกข้อความลงแผนภูมิเป็นคำพูดของนักเรียนเอง

๔.     นักเรียนอ่านข้อความที่บันทึกจากแผนภูมิฝึกอ่านคำในแผนภูมิจากบัตรคำ  

ฝึกอ่านแถบประโยคจากข้อความในแผนภูมิ  เพื่อฝึกทักษะการอ่านคำต่างๆ และเรื่องราวในแผนภูมิ

๕.     การฝึกฝนทักษะทางภาษา  ครูอาจจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษา

ให้แก่นักเรียนได้  โดยจัดกิจกรรมดังนี้  เขียนเรื่องราวขึ้นใหม่จากเรื่องเดิม  อภิปรายข้อคิดเห็น          ทำแบบฝึกหัด  ฝึกสะกดคำยาก  ฝึกคิด  ฝึกเขียน อ่านหนังสือเพิ่มเติม  แล้วเขียนเรื่องราวใหม่เป็นหนังสือประจำชั้นที่นักเรียนช่วยกันสร้างขึ้น  ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งร่วมกันเป็นกลุ่มแล้วช่วยกันนำประสบการณ์จากการทำมาช่วยกันเขียนเป็นเรื่องเกี่ยวกับการทำสิ่งนั้นเป็นหนังสืออ่านประจำชั้น  เป็นต้น

                    การสอนโดยวิธีนี้เป็นการสอนที่ต้องสร้างประสบการณ์พื้นฐานให้กับนักเรียนแล้วนำประสบการณ์มาสนทนากัน  ช่วยกันเรียบเรียงประสบการณ์เป็นคำพูดด้วยภาษาของนักเรียนเอง  โดยมีครูคอยแก้ไขภาษาให้ถูกต้อง  แล้วช่วยกันบันทึกเรื่องราวลงแผนภูมิหรือครูบันทึกบนกระดานดำให้นักเรียนอ่าน  นักเรียนแบ่งกลุ่มกันลอกข้อความเป็นแผนภูมิของกลุ่ม  แล้วฝึกอ่าน  ฝึกเขียน  นำคำแต่งประโยค  เป็นต้น  การสอนวิธีนี้เป็นการสอนวิธีหนึ่งที่เหมาะสมกับนักเรียนที่เรียนช้า  และนักเรียนที่มีปัญหาทางภาษาโดยเฉพาะนักเรียนที่พูดภาษาถิ่นหรือพูดสองภาษา

                        ๓.   การสอนภาษาไทยโดยใช้วิธีการทางหลักภาษา   เป็นการสอนสะกดคำและแจกลูก  เริ่มจากการรู้จักเสียง  พยัญชนะ  สระ และจำได้แล้วฝึกสะกดคำปากเปล่าจนคล่องโดยให้นักเรียนดูคำจากคำบนกระดานดำและสะกดคำ  การสะกดคำครูอาจให้สะกดคำ  เช่น  ตาก  สะกดว่า  ตอ-อา-กอ-ตาก   หรือ  ตอ-อา-ตา-ตา-กอ-ตาก  ทีละขั้นตอนก็ได้แล้วแต่ครูผู้สอนจะถนัด  การสะกดคำและแจกลูกเป็นวิธีที่ยากสำหรับเด็ก ควรนำคำที่สะกดคล้ายกันหรืออยู่ในมาตราเดียวกันมาฝึกฝน  และคำเหล่านั้นควรเป็นคำที่มีความหมายและใช้บ่อยๆ  เช่น  ปาก  มาก  ตาก  ราก  ลาก  จาก  ยาก  กาก  สาก  ถาก  เป็นต้น  การสอนสะกดคำจะต้องนำคำที่ตรงตามมาตราตัวสะกดมาสอนก่อน  แล้วจึงสะกดคำที่เป็นคำควบกล้ำ  คำอักษรนำ  และคำที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด  การสอนคำอักษรนำต้องให้นักเรียนออกเสียงนำได้ถูกต้องเช่น หง- ออกเสียง  หงอ  หม- ออกเสียง หมอ  สง- ออกเสียงว่า สะ-หงอ  ก่อนแล้วจึงสะกดคำส่วนคำที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด เช่น โลภ  ลาภ  ภาพ  บาป  ให้นักเรียนอ่านและสังเกตเสียงและสรุปเป็นกฎเกณฑ์ เช่น  ภ  พ  ป  สะกดเป็นมาตราแม่กบ      การสอนวิธีนี้ควรให้แจกลูกปากเปล่าก่อนจนคล่องเรื่องเสียง  พร้อมกับสังเกตว่าคำเหล่านั้นประกอบด้วยพยัญชนะ  สระ  และวรรณยุกต์อะไร  แล้วเขียนคำนั้นจนคล่องและนำคำมาใช้อยู่เสมอ

                ขั้นตอนการสอนมีดังนี้

๑        ฝึกออกเสียงให้คล่องปาก  เช่น  ปอ-อา-กอ-ปาก  หรือ ปอ-อา-ปา-กอ-ปาก

๒      สังเกตรูปคำว่าประกอบด้วยพยัญชนะและสระอะไรบ้างพร้อมกับอ่านออกเสียง

๓       รู้ความหมายของคำ  อาจใช้ภาพประกอบ  ทำท่าทางประกอบ  แสดงด้วยความ

จริง  เป็นต้น

๔       คัดคำและเขียนคำให้คล่อง

๕       ใช้คำในสถานการณ์ต่างๆ  ทั้งฟัง  พูด  อ่าน  เขียน  โดยเฉพาะให้อ่าน  และเขียน

คำนั้นอยู่เสมอ

.  การสอนภาษาไทยโดยอ่านหนังสือเป็นรายบุคคล  การสอนโดยวิธีนี้จะแตกต่างจาก

แนวทางแรก  เป็นแนวทางการสอนเพื่อปลูกฝังให้มีนิสัยรักการอ่าน  อ่านเพื่อการค้นคว้า  อ่านเพื่อฝึกฝนด้วยตนเอง เป็นการสอนที่มุ่งปลูกฝังความรับผิดชอบต่อการทำงานและหน้าที่ต่อตนเอง  แนวการสอนดังนี้

๑.  นักเรียนแต่ละคนวางแผนการเรียนกับครูโดยตั้งจุดมุ่งหมายการอ่านจะอ่าน

เรื่องอะไร หนังสืออะไร  จะอ่านอย่างไร  อ่านกี่หน้า  จะอ่านกับเพื่อนคนไหน  นักเรียนแต่ละคนกำหนดกิจกรรมหลังการอ่าน เช่น 

 

 

                                            ๑. เขียนเรื่องย่อ                                                                                                               

                                            ๒. เขียนข้อคิดจากการอ่าน                                                                                                     

                                            ๓. วาดภาพในเรื่องที่อ่านแล้วเขียนคำบรรยายประกอบภาพ 

   ๔. หาความหมายของคำในหนังสือเรียนจากพจนานุกรม

   ๕.  อภิปรายเรื่องที่อ่านกับเพื่อน

   ๖.  กำหนดเวลาอ่านหรือเรื่องที่อ่านให้ครูฟัง

   ๗. คัดและเขียนคำ

   ๘. วิพากษ์วิจารณ์เรื่องที่อ่าน

นักเรียนเสนอผลการอ่านจากกิจกรรมข้อ ๒ ให้ครูและเพื่อนทราบแล้วประเมินผลการอ่าน

                    จากแนวทางการสอนทั้ง ๔  แนวทางนี้  แต่ละแนวทางย่อมมีจุดดีและจุดอ่อนในการสอน  หากได้นำแนวทางการสอนทั้ง๔ แนวทางมาประสมประสานกันจะช่วยให้การเรียนการสอนภาษาไทยมีประสิทธิภาพ โดยจัดขั้นตอนการสอนตามแผนภูมิดังนี้

 

 

ขั้นที่ ๑ การสอนโดยใช้ประสบการณ์ทางภาษา

 

ขั้นที่ ๒ การสอนอ่านในใจจากหนังสือเรียน

 

ขั้นที่ ๓ การสอนสะกดคำและแจกลูกจากหนังสือเรียน

 
   

ขั้นที่ ๔ การสอนอ่านออกเสียงจากหนังสือเรียน

 
   

ขั้นที่ ๕ การฝึกการใช้ภาษา

 
   

 

                                ขั้นที่ ๖ การจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะทางภาษาและการอ่านรายบุคคล

 
   

ขั้นที่ ๗ การสอนซ่อมเสริม

 

แนวทางการสอนแต่ละขั้นตอนมีดังนี้

                ขั้นที่ ๑ การสอนโดยใช้ประสบการณ์ทางภาษา  จะนำเนื้อเรื่องในบทเรียนแต่ละบทมาสร้างประสบการณ์ทางภาษาเป็น ๒ ขั้นตอน  คือ

 

 

 

 

 

                        ขั้นตอนที่ ๑  สร้างประสบการณ์ทางเนื้อหา

๑.    ครูเล่าเรื่องหรืออ่านเรื่องจากหนังสือให้นักเรียนฟังประกอบภาพในบทเรียน

๒.     นักเรียนตอบคำถามของครูเพื่อคิดเกี่ยวกับเรื่องราวและจัดลำดับเนื้อเรื่อง

๓.     นักเรียนเล่าเรื่องจากเรื่องในหนังสือเป็นคำพูดของนักเรียนเอง

๔.     ครูเขียนข้อความที่นักเรียนเล่าบนกระดานดำ  แก้ไขภาษาที่นักเรียนบอกให้

ถูกต้องแล้วฝึกอ่าน

๕.     ครูหรือนักเรียนคัดลอกข้อความเป็นแผนภูมิ  แล้วฝึกอ่านจากแผนภูมิ  บัตรคำ

แถบประโยค

                        ขั้นตอนที่ ๒  สร้างประสบการณ์การสะกดคำ

๑.  นำคำใหม่ในแผนภูมิมาฝึกสะกดคำและแจกลูก  โดยให้ดูคำแล้วอ่านออกเสียง

และฝึกสะกดคำ

๒.  เขียนและคัดคำพร้อมกับสะกดคำ

๓.   จัดทำแผนภูมิคำใหม่เพื่อฝึกอ่าน

ขั้นที่ ๒   การสอนอ่านในใจจากหนังสือเรียน

๑.  อ่านชื่อเรื่อง  อภิปราย  แสดงความคิดเห็น

๒.  อ่านคำเก่าในบทเรียนใหม่ที่นักเรียนยังอ่านไม่คล่อง  และอ่านคำใหม่ใน     

บทเรียนใหม่

๓.  อ่านคำถามเกี่ยวกับเนื้อเรื่องที่จะอ่านหรือหัวข้อที่จะอภิปราย

๔.   อ่านในใจเพื่อหาคำตอบหรือเพื่อแสดงความคิดเห็น

๕.   ตอบคำถามหรืออภิปรายประเด็นปัญหา

๖.  จัดกิจกรรมเสริมทักษะ  เช่น 

- เขียนตอบคำถามลงสมุด

- เขียนข้อคิดเห็นลงสมุด

- คัดคำใหม่

- เขียนตามคำบอก

- วาดภาพตามเรื่องที่อ่าน  แล้วเขียนคำบรรยายภาพ

                ขั้นที่ ๓   การสอนสะกดคำและแจกลูกในหนังสือเรียนจากแบบฝึกอ่าน

๑.    อ่านสะกดคำ

๒.    อ่านเป็นคำ

๓.    อ่านคำยาก

๔.   อ่านผันวรรณยุกต์

๕.   อ่านบทความสั้นๆ

 

 

 

การสะกดคำและแจกลูกนี้จะต้องสอนควบคู่กันไปกับการรู้ความหมายของคำ  คัดคำ  เขียน

            ตามคำบอก  และการอ่านคำเสมอ

ขั้นที่ ๔   การสอนอ่านจากหนังสือเรียน  จะอ่านจากเนื้อหาในบทเรียนดังนี้

๑.  ฝึกอ่านออกเสียงคำใหม่ในบทเรียน

๒.  อ่านตามครูทีละวรรคหรือทีละบรรทัด

๓.  อ่านออกเสียงคำที่ออกเสียงยาก  เช่น คำควบกล้ำ

๔.  อ่านออกเสียงเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่ม

๕.  คัดและเขียนคำที่อ่านจากหนังสือเรียน

ขั้นที่ ๕ การฝึกการใช้ภาษา

                เป็นขั้นการฝึกการใช้ภาษา  ได้แก่  นำคำมาแต่งประโยค  คัดเขียน  เรียงความ

ขั้นที่ ๖  การจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะทางภาษาและการสอนอ่านรายบุคคล

การจัดกิจกรรมฝึกทักษะทางภาษา 

๑. เล่นเกมการอ่านการเขียน

๒.  นำปัญหามาคิดและจัดทำบทความสั้นๆ

๓.  อ่านหนังสือเพิ่มเติมแล้วจัดทำหนังสืออ่านในชั้น

๔.  ทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วเขียนเป็นแผนภูมิประสบการณ์การอ่าน

๕.  ฟังนิทานแล้วเขียนนิทานเป็นภาษาของตนเอง

๖.  ร้องเพลง  แล้วคัดคำจากบทเพลงหรือนำคำในบทเพลงแต่งประโยคหรือเขียน

เป็นแผนภูมิฝึกอ่านเนื้อร้อง

                            การสอนอ่านรายบุคคล 

๑.  นักเรียนเลือกหนังสืออ่านเพิ่มเติมหรืออ่านจากบทอ่านเสริม

๒.  นักเรียนวางแผนการอ่านโดยกำหนดเวลาอ่าน  แล้วกำหนดเวลานัดหมายกับ

ครูที่จะอ่านให้ครูฟังหรือเล่าเรื่องที่อ่านให้ครูฟัง  หรือคัดข้อความ  คัดคำ  เขียนแสดงความคิดเห็นแล้วนำส่งครู

                ขั้นที่ ๗  การสอนซ่อมเสริม

๑. ครูสังเกตทดสอบการเรียนของนักเรียนถ้ามีข้อบกพร่อง  แบ่งกลุ่มนักเรียนที่มี

ข้อบกพร่องคล้ายกันเข้าด้วยกัน  แล้วสอนซ่อมเสริม

๒.  นักเรียนอ่านไม่คล่องหรืออ่านไม่ได้ให้อ่านกับเพื่อนที่อ่านเก่ง

การสอนภาษาไทยตามแนวทางการสอนดังกล่าวนี้ครูจะต้องส่งเสริมทักษะกระบวนการการเรียนรู้  กระบวนการคิด  กระบวนการอ่านและการแสวงหาความรู้  กระบวนการทำงานกลุ่ม  กระบวนการคิดริเริ่มสร้างสรรค์  กระบวนการแก้ปัญหา  ฯลฯ  แก่นักเรียนตลอดเวลา  ครูไม่ควรยึดหนังสือเรียนเป็นหลักแต่ควรยึดกระบวนการสอนเป็นหลักโดยใช้หนังสือเรียนเป็นสื่อการสอน  เพื่อฝึกทักษะทางภาษาให้นักเรียนสามารถใช้ภาษาเพื่อการติดต่อสื่อสาร  การแสวงหาความรู้  และพัฒนาตนเองเพื่อพัฒนาศักยภาพในการดำรงชีวิต

จุดประสงค์การเรียนการสอนทักษะภาษาไทย 

 

 

                ภาษาไทยมีความสำคัญทั้งในฐานะที่เป็นภาษาประจำชาติ  เป็นเครื่องมือในการติดต่อ     สื่อสารเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ  การเรียนการสอนภาษาไทยมุ่งให้ผู้เรียนมีพัฒนาการทางภาษาทั้งในด้านการฟัง พูด  อ่าน  และเขียน  ตามควรแก่วัย  เห็นคุณค่าของภาษา  สามารถใช้เป็นเครื่องมือสื่อความคิด  ความเข้าใจ  รักการอ่าน แสวงหาความรู้  และมีเหตุผล  จึงต้องปลูกฝังให้มีคุณลักษณะดังต่อไปนี้

๑.  มีทักษะในการฟัง  พูด  อ่าน  และเขียน  โดยมีความรู้ความเข้าใจหลักเกณฑ์อัน

เป็นพื้นฐานของการเรียนภาษา

๒.  สามารถใช้ภาษาติดต่อสื่อสาร  ทั้งการรับรู้และถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดอย่างมี

ประสิทธิภาพและสัมฤทธิ์ผล

๓.  สามารถใช้ภาษาได้ถูกต้องเหมาะสมกับกาลเทศะและบุคคล  ตลอดจนสามารถ

ใช้ภาษาในเชิงสร้างสรรค์ได้

๔.  มีนิสัยรักการอ่าน  รู้จักเลือกหนังสืออ่านและใช้เวลาว่างในการแสวงหาความรู้

เพื่อเติมจากหนังสือ  สื่อมวลชน  และแหล่งความรู้อื่นๆ

๕.  สามารถใช้ประสบการณ์จากการเรียนภาษาไทยมาช่วยในการคิด  ตัดสินใจ  แก้

ปัญหาและวินิจฉัยเหตุการณ์ต่างๆ  อย่างมีเหตุผล

๖.  มีความรู้  ความเข้าใจ  และเจตคติที่ถูกต้องต่อการเรียนภาษาไทยและวรรณคดี 

ทั้งในด้านวัฒนธรรมประจำชาติ  และการสร้างเสริมความงดงามในชีวิต

การเตรียมความพร้อมกลุ่มทักษะภาษาไทย  สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ 

๑. ฝึกฟังคำสั่ง  คำสนทนาของครูและเพื่อน

๒. ฝึกพูดแนะนำตนเอง  แนะนำผู้อื่น บอกที่อยู่ของตนเอง  บอกชื่อวัสดุ  และสิ่งของที่ 

จำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวัน  สนทนาเรื่องราวต่างๆ ตอบคำถามง่ายๆ กล่าวคำสวัสดี  ขอบคุณ  ขอโทษ  และขออนุญาต

๓. ฝึกพูดเกี่ยวกับสิ่งที่มีอยู่ในภาพ  สังเกต  จำแนก  และจัดหมวดหมู่  รูปภาพ  สิ่งของ

๔. ฝึกลากเส้นตามแบบ  เขียนรูปง่ายๆ  ตามแบบ

๕. ฝึกระบายสีลงในภาพ

๖. ฝึกปฏิบัติตนอย่างถูกต้องในการทำงาน  เล่น  และอยู่ร่วมกันในห้องเรียน

เพื่อให้สามารถปฏิบัติตามคำสั่งได้  พูดแสดงความต้องการ  สามารถสังเกต  และ        

      จัดหมวดหมู่สิ่งของต่างๆ  มีทักษะในการใช้ตา  กล้ามเนื้อ  และกล้ามเนื้ออื่นๆ ให้สัมพันธ์กัน 

     สามารถแสดงออกทางอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม

 

การฟัง 

                ฝึกให้ฟังและอธิบาย  แสดงปฏิบัติตามความหมายของคำ  วลี  ประโยค  นิทาน  เกม  ประกาศ  คำสั่ง  เรื่องราวจากบทเรียน  ข่าว  เหตุการณ์ประจำวัน  เพลง  คำคล้องจ้อง  บทร้อยกรอง  สิ่งบันเทิงจากสื่อมวลชน  ซึ่งเป็นเรื่องสั้นๆ  และง่ายๆ  รวมทั้งฝึกปฏิบัติตนอย่างถูกต้องในการฟังโดยเน้นการฟังอย่างตั้งใจ

                เพื่อให้เข้าใจเรื่องที่ฟัง  สามารถจับใจความสำคัญและตอบคำถามได้ ปฏิบัติตามได้  มีนิสัยและมารยาทที่ดีในการฟัง สามารถใช้ทักษะการฟังในการเพิ่มพูนความรู้  ความคิดและประสบ-การณ์ทางภาษา  หาความรู้และความบันเทิงจากการฟังได้

การพูด 

๑. ฝึกออกเสียงคำ  วลี  ประโยคให้สัมพันธ์กับความหมายและเรื่องที่ฟัง

๒. ฝึกเล่าเรื่อง  นิทาน  ข่าว  และเหตุการณ์ต่างๆ  ท่องบทร้อยกรอง  รายงาน  สนทนา 

และอภิปรายตามหัวข้อหรือเรื่องที่กำหนดให้ในช่วงเวลาสั้นๆ

๓. ฝึกร้องเพลง  แสดงบทบาทสมมุติ  เล่นเลียนแบบ  แสดงละคร  เล่นปริศนาคำทาย 

เล่นเกม  และเล่นการเล่นของเด็กที่มีบทร้องในท้องถิ่น

๔. อภิปราย  ซักถามเกี่ยวกับความหมายของเรื่องราวที่พูด  โดยเน้นการปฏิบัติตนอย่าง

ถูกต้องในการพูด

                เพื่อให้มีทักษะในการพูด  สนทนา  เล่าเรื่อง  รายงาน  อภิปราย พูดชัดเจนถูกต้องและ     สื่อความได้ มีมารยาทในการพูด  และใช้ทักษะการพูดเพื่อความบันเทิงได้

การอ่าน 

ฝึกอ่านออกเสียง  คำ  วลี  ประโยค  ตามหลักเกณฑ์การอ่านเกี่ยวกับรูปและเสียง 

พยัญชนะ  สระ  วรรณยุกต์  การแจกลูกสะกดคำ  การผันอักษร  คำควบกล้ำ  อักษรนำ  เครื่องหมายวรรคตอน  คำสัมผัสคล้องจ้อง  และบทร้อยกรองง่ายๆ  โดยใช้คำพื้นฐานประมาณ ๔๕๐  คำใน     ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ และประมาณ ๘๐๐ คำ  ในชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ และคำที่เป็นคำศัพท์ที่จำเป็นต้องใช้ในกลุ่มประสบการณ์ต่างๆ

                ฝึกอ่านออกเสียงและอ่านในใจในเรื่องเกี่ยวกับประสบการณ์ของตนเอง  ครอบครัว       โรงเรียน  สังคม ชุมชน  นิทานแฝงคติธรรม  นิทานพื้นบ้าน  คำคล้องจ้อง  และบทร้อยกรองง่ายๆ    โดยเน้นการปฏิบัติตนอย่างถูกต้องในการอ่าน  รวมทั้งการเก็บและรักษาหนังสือ

                อภิปรายซักถามเกี่ยวกับความหมายของเรื่องราวที่อ่าน

                ฝึกปฏิบัติตนเกี่ยวกับการช่วยจัดมุมหนังสือ  การใช้มุมหนังสือและห้องสมุด

                เพื่อให้มีทักษะในการอ่านในใจและอ่านออกเสียง  อ่านได้ถูกต้องชัดเจน  มีความเข้าใจในการอ่าน  สามารถจับใจความสำคัญและตอบคำถามได้  รู้หลักเกณฑ์ง่ายๆ  เกี่ยวกับการอ่านและนำไปใช้ได้  มีนิสัยที่ดีในการอ่าน  และรักการอ่าน

การเขียน 

                ฝึกคัดลายมือ  เขียนสะกดคำ  ประสมอักษร  เขียนคำ  วลี  ประโยค  ตามที่กำหนดให้โดยใช้คำพื้นฐาน  ประมาณ ๔๕๐ คำ  ในชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ และประมาณ ๘๐๐ คำ ในชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒

                ฝึกอภิปราย  ซักถาม  เกี่ยวกับโครงเรื่อง  ลำดับเหตุการณ์   ใจความสำคัญของเรื่องที่จะเขียน

                ฝึกเขียนตามคำบอก  เขียนอธิบายภาพ  เขียนเล่าเรื่อง  เขียนแสดงความนึกคิดและเขียนเรื่องจากจินตนาการ

                ฝึกปฏิบัติตนเองให้ถูกต้องตามข้อปฏิบัติและหลักเกณฑ์ในการเขียน  ใช้การเขียนในการเพิ่มพูน ความรู้

                เพื่อให้ทักษะในการเขียน  เขียนได้ถูกต้อง  สวยงาม  สื่อความได้   สามารถคิดลำดับ       เหตุการณ์     เกี่ยวกับเรื่องที่เขียน  มีนิสัยที่ดีในการเขียน  รักการเขียน  และนำการเขียนไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน

 

                          สาระและมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยมีดังนี้

 

สาระที่ ๑ : การอ่าน

มาตรฐาน  ท ๑.๑  : ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดไปใช้ตัดสินใจแก้ปัญหาและสร้างวิสัยทัศน์ในการดำเนินชีวิตและมีนิสัยรักการอ่าน

 

                สาระที่ ๒ : การเขียน

                มาตรฐาน  ท ๒.๑  :  ใช้กระบวนการเขียน  เขียนสื่อสาร  เขียนเรียงความ  ย่อความ และเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ  เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่างมีประสิทธิภาพ

 

                สาระที่ ๓ :  การฟัง  การดู  และการพูด

                มาตรฐาน  ท ๓.๑  :   สามารถเลือกฟังและดูอย่างมีวิจารญาณ  และพูดแสดงความรู้ ความคิด ความรู้สึกในโอกาสต่างๆ  อย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์

 

                สาระที่ ๔ :  หลักการใช้ภาษา

                มาตรฐาน  ท ๔.๑  :  เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย  การเปลี่ยนแปลงของภาษาและพลังของภาษา  ภูมิปัญญาทางภาษา  และรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ

 

                มาตรฐาน  ท ๔.๒ :  สามารถใช้ภาษาแสวงหาความรู้  เสริมสร้างลักษณะนิสัยบุคลิกภาพและความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรม  อาชีพ  สังคม และชีวิตประจำวัน

 

                สาระที่ ๕ :  วรรณคดีและวรรณกรรม

                มาตรฐาน   ท  ๕.๑ :  เข้าใจและแสดงความคิดเห็น   วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมไทยอย่างเห็นคุณค่า  และนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

แบบประเมินการสังเกตการอ่านในใจ 

ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒   โรงเรียนชุมชนบ้านหนองปลิง   ศูนย์เครือข่ายการศึกษา ที่ ๒

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต ๒     ภาคเรียนที่  ๒ .ปีการศึกษา  ๒๕๕๐

คำชี้แจง ครูประเมินพฤติกรรมของนักเรียนในการอ่านในใจและให้คะแนนลงในช่องที่ตรงกับพฤติกรรมของนักเรียน

 

 

เลขที่

 

 

 

 

ชื่อ-สกุล

การวาง/การจับหนังสือถูกต้อง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ตอบคำถามจากเรื่องที่อ่าน

การจับใจความของเรื่องที่อ่าน

คำสำคัญ (Tags): #cdkm#crkm#สพท.สน.2
หมายเลขบันทึก: 406038เขียนเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2010 13:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 05:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท