สิทธิบัตรกับภูมิปัญญาไทย


ภูมิปัญญาไทยถ้าไม่รีบจดสทธิบัตรนับวันจะถูกต่างชาตินำไปจดเป็นของตนเอง ไม่สามารถทำมาหากินกับภูมิปัญญาของตนเองได้

     

          ในปัจจุบันด้วยการติดต่อค้าขายระหว่างประเทศทำได้สะดวกมากขึ้นมีการไปมาหาสู่มากขึ้น    ซึ่งเป็นที่มาของการขโมยภูมิปัญญาของไทยซึ่งมีมาแต่สมัยบรรพบุรุษมากขึ้นเป็นเงาตามตัวไปด้วย การจดสิทธิบัตรนี้คนไทยมักไม่ค่อยนิยมจดกัน จากสถิติที่ผ่านมายังถือว่ามีน้อย แต่สถานการณ์ก็ถือว่าดีขึ้นกว่าแต่ก่อนอยู่บ้าง จากข่าวเมื่อไม่นานมานี้ ภูมิปัญญาของไทยเกี่ยวกับการสกัดน้ำจากเปลือกมังคุด ซึ่งเปลือกมังคุดในตำราของไทยนั้นถือว่าเป็นยาอายุวัฒนะ    ได้ถูกชาวสหรัฐอเมริกาโดย บริษัท เนเจอร์ ซันไซน์ โปดักส์ นำไปยื่นจดสิทธิบัตรเป็นเครื่องดื่มน้ำสกัดจากเปลือกมังคุดแล้ว   โดยได้ยื่นจดต่อสำนักงานกฎหมายสิทธิบัตรสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2549      โดยมีเนื้อหาสำคัญที่เกี่ยวกับการสกัดน้ำเปลือกมังคุดเพื่อทำเครื่องดื่ม รวมทั้งวิธีการสกัดด้วยการใช้แอลกอฮอล์ผสมกับแมทิลแอลกอฮอล์อย่างละ 50 % บวกกับการอบแห้งเปลือกมังคุดในระบบสุญญากาศ       ซึ่งถือได้ว่าเป็นการส่งผลกระทบกับคนไทยอย่างมากถึงแม้ว่ามังคุดจะปลูกได้ทั่วโลกก็ตาม ซึ่งการจดสิทธิบัตรดังกล่าวจะทำให้คนไทยไม่สามารถส่งออกผลิตภัณฑ์แปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าได้ คงทำได้เพียงแค่ส่งออกวัตถุดิบคือผลมังคุดได้เท่านั้น ซึ่งสถานการณ์เช่นนี้จะส่งผลกระทบต่อประชาชนคนไทย ตลอดจนอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมย่างมาก ซึ่งปัญหาเช่นนี้มิใช่กรณีแรกประเทศไทยเคยประสบปัญหามาตั้งแต่ ฤาษีดัดตนซึ่งมีชาวญี่ปุ่นนำไปจดเป็นของตนเอง และรวมทั้งกวาวเครือด้วย  ซึ่งประเทศไทยยังไม่มีหน่วยงานที่เฝ้าดูแลสิทธิและผลประโยชน์ของประชาชนคนไทยอย่างจริงจัง หน่วยราชการของไทยควรอย่างยิ่งที่ต้องหันมาให้ความสนใจและหาทางป้องกันมิให้เกิดกรณีเช่นนี้กับภูมิปัญญาอื่นๆ ของไทยอีก

                   เนื่องจากการจดสิทธิบัตรของต่างชาติกว่าเราจะรู้ก็เวลาผ่านไปพอสมควรประเทศ นอกจากการตั้งหน่วยงานเฝ้าระวังเพื่อดูแลผลประโยชน์นี้แล้ว เราต้องเร่งคัดค้านการจดซึ่งได้จดไปแล้วนั้น   รวมทั้งฟ้องร้องให้มีการยกเลิกการจดสิทธิบัตรนั้นเสียด้วย               ประกอบกับควรเร่งส่งเสริมให้ประชาชนคนไทยจดสิทธิบัตรเพื่อคุ้มครองภูมิปัญญาของไทย รวมทั้งสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของไทย เช่นเดียวกับที่ได้ขึ้นทะเบียน ส้มโอนครชัยศรี มะขามหวานเพชรบูรณ์ กาแฟดอยตุง หมูย่างเมืองตรัง เป็นต้น และสนับสนุนให้นำสิ่งเหล่านี้ไปขึ้นทะเบียนในต่างประเทศเพื่อเป็นการส่งเสริมและคุ้มครองให้กว้างขึ้นด้วย

ที่มาข้อมูล หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน      

                  

 

หมายเลขบันทึก: 40454เขียนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2006 18:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 12:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท