ประชุมวิชาการสมาคมผู้ให้ความรู้โรคเบาหวาน ๒๕๕๓ (๔)


ช่วงเวลาที่ออกกำลังกาย ๑-๓ ชม.หลังอาหารดีที่สุด

ตอนที่ ๓

วันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๓
เวลา ๑๓.๔๕ - ๑๔.๓๐ น.
บรรยาย : Practical Exercise Program for Diabetes Prevention and Management
วิทยากร : พันโท ผศ.นพ.วิภู กำเหนิดดี

การบรรยายเริ่มต้นด้วยบรรยากาศสนุกๆ ดูคุณหมอวิภูเป็นวิทยากรที่อารมณ์ดีจริงๆ หลังจาก MC ได้แนะนำวิทยากรแล้ว คุณหมอวิภูบอกว่าตั้งแต่ถูกแนะนำมาวันนี่อลังการที่สุด...ถามหาพยาบาล แพทย์ นักกำหนดอาหาร บ่ายนี้มาทำยังไงให้ชีวิตกระปี้กระเปร่าขึ้น ทำโปรแกรมการออกกำลังกายให้ผู้ป่วย น้ำตาลลงมาให้เห็นๆ น้ำตาลลงดี ความดันลงนิดหน่อย ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ เล่าว่าเอาภาพคนเป็นอัมพาตไปฉาย ผู้ป่วยเลยมาออกกำลังกายกันเยอะ....

หลักการออกกำลังกาย : อบอุ่นร่างกาย ๕-๑๐ นาที ออกกำลังให้มีความเหนื่อยระดับปานกลาง...ใช้เวลาอย่างน้อย ๒๐-๓๐ นาที ถ้าเกิน ๖๐ กล้ามเนื้อจะล้า เสี่ยงต่อการบาดเจ็บ Cool down 5-10 เพื่อชะล้าง Lactic acid ได้เร็วขึ้น ออกกำลังกาย ๓-๕ ครั้งต่อสัปดาห์ ออกทุกวันได้ไหม ได้ แต่ไม่อยากแนะนำ เหลือวันไว้พักบ้างสำหรับผู้ที่ขาดออกกำลังกายมานาน อาจไม่สามารถออกกำลังกายต่อเนื่องได้ถึง ๒๐ นาที ให้ใช้เวลา ๕ นาที วันละหลายๆ ครั้ง ค่อยๆ เพิ่มระยะเวลาไปเรื่อยๆ หรือใช้วิธีสลับหนัก-เบา เช่น เดินสลับกับวิ่ง

ออกกำลังกายแบบไหน : ดีทั้งนั้น ทำอะไรก็ตามที่มีการเคลื่อนไหวต่อเนื่อง ที่ให้มีความเหนื่อยพอสมควร ออกกำลังแบบไหนที่ไม่ใช่แอโรบิค –ยกน้ำหนัก แต่ก็มีประโยชน์ แต่สู้แอโรบิกไม่ได้ ยืดเส้นยืดสายไม่ช่วยลดน้ำตาล

ข้อจำกัดในการออกกำลังกาย เช่น น้ำตาลต่ำ/น้ำตาลสูงเกินไป เข่าเสื่อม หลังเสื่อม ฯลฯ

ระดับอินซูลินเมื่อมีการออกกำลังกาย : ขณะออกกำลังกายอินซูลินจะลดลงเพื่อให้ตับปล่อยน้ำตาลออกมามากขึ้น หลังออกกำลังกายอินซูลินจะสูงขึ้น ระดับน้ำตาลลดลง แต่คนไข้เบาหวานบางคนไม่เป็นเช่นนี้ ออกกำลังกายแล้วน้ำตาลสูงขึ้น

ภาวะน้ำตาลต่ำจากการออกกำลังกาย อาจเกิดได้ในขณะออกกำลังกายหรือหลังออกกำลังกาย กลไก - เซลล์มีความไวต่ออินซูลินเพิ่มขึ้น หรืออินซูลินไม่ลดลงในระหว่างการออกกำลังกายหรือคนไข้ฉีดอินซูลินผิดตำแหน่ง หรือมีความบกพร่องของระบบประสาทอัตโนมัติ

การป้องกันน้ำตาลสูง/น้ำตาลต่ำ : ระดับน้ำตาลที่เหมาะสม ๑๐๐-๒๕๐ เจาะเลือดก่อนแต่ไม่ต้องทำทุกคน (ชนิดที่ ๑ หรือคนที่คุมน้ำตาลไม่ได้) ถ้าสูงเกิน ๒๕๐ +เจอคีโตนในปัสสาวะหรือน้ำตาลเกิน ๓๐๐... ถ้าน้ำตาลต่ำกว่า ๑๐๐ กินคาร์โบไฮเดรต ถ้าจะออกครึ่งชั่วโมงกินขนมปัง ๑ แผ่นหรือแครกเกอร์ ๔ ชิ้น ถ้าจะออกเพิ่มอีกให้กินเพิ่ม... ถ้ามีน้ำตาลต่ำตอนกลางคืน แนะนำให้เพิ่มอาหารเย็น

ช่วงเวลาที่ออกกำลังกาย ๑-๓ ชม.หลังอาหารดีที่สุด คนที่ฉีดอินซูลินระวังตอน Peak ช่วงที่อินซูลิน peak ให้ระวัง (ออกฤทธิ์สั้น ระวัง ๒-๔ ชม นานปานกลาง ระวัง ๖-๑๒ ชม) ...พอออกกำลังกายไปพักหนึ่งความไวต่ออินซูลินจะดีขึ้น อาจต้องปรับลดขนาด~๓๐%

การคัดกรองผู้ป่วยที่ต้องการออกกำลังกาย :
- ถามเป็นโรคหัวใจหรือเปล่า ถ้าเป็นต้องส่งแพทย์ก่อน ไม่ควรดูแลด้วยตนเอง
- ไม่ทราบว่าเป็น/ไม่เป็น ดูว่ามีความเสี่ยงไหม มีอาการไหม ถ้าไม่มีออกกำลังเบา-ปานกลาง
- ที่ต้องส่งแพทย์เมื่อมีอาการที่ส่อว่ามี
คนไข้บางคนเป็นโรคหัวใจแต่ไม่เจ็บหน้าอกก็มี เช่น อาจหน้ามืดเป็นลม วิงเวียนศีรษะ หัวใจเต้นผิดจังหวะ ขาบวมสองข้าง มีอาการปวดขาเวลาเดินมากๆ ...แพทย์ประเมินแล้วจะกำหนดว่าออกกำลังกายแบบไหนได้ ที่ไหน ต้องเจอหมออยู่ใน Lab ที่มีสายพานเดิน

ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง
- งดเมื่อ BP>200/110 (ความดันขณะพัก)
- หยุดออกกำลังกายเมื่อ SBP ลดลงมากกว่า ๒๐ มม.ปรอท
- วัดความดันขณะออกกำลังกายหรือหลังจากสิ้นสุดการออกกำลังกายทันที
- หลีกเลี่ยงการเกร็งหรือการเบ่ง
- ออกกำลังกายใช้ขาดีกว่าแขน

ปัญหากระดูกและข้อ
- กระดูกคอเสื่อม – ออกกำลังกายได้ แต่ต้องคงความสง่าของคอไว้ อย่าไปก้มคอเยอะๆ ไม่ควรก้มๆ เงยๆ
- กระดูกหลังเสื่อม – ไม่ควรก้มหลัง แอ่นหลัง โดยเฉพาะก้มและบิดตัวพร้อมๆ กัน (ตีกอฟล์) ทำหลังตรงๆ ไว้อธิบายด้วยความเปลี่ยนแปลงตามวัย เชิญนางแบบมาสาธิตการบิดตัวที่ไม่ดีต่อกระดูกสันหลัง ต้องบิดทั้งสะโพก (หลังจะบิดน้อยลง)
- ช่องสันหลังตีบแคบ (Spinal stenosis) พอตีบแคบลงเวลาเราเดินรากประสาทจะเคลื่อนไหว ถ้าตีบมันจะสไลด์ไม่ได้ คนไข้จะเดินไม่ไหว ปวด ควรขี่จักรยาน
- ข้อเข่าเสื่อม หลีกเลี่ยงการนั่งยองๆ พับขามากๆ โดยเฉพาะการคุกเข่า ควรใส่รองเท้ากีฬาเสมอเพื่อลดแรงกระแทกมายังข้อเข่า

 

สาธิตท่าออกกำลังกาย

ปัญหาการทรงตัวในผู้สูงอายุ หลีกเลี่ยงการหมุนตัวเร็วๆ ระวังพื้นขรุขระ การยืนขาเดียว ... เอารูปมาให้ตอบคำถาม ท่านี้ไม่เหมาะกับโรคอะไร

การเลือกรองเท้ากีฬาสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
- อย่าใส่รองเท้ารัด ขนาดอย่าให้คับเกินไป ส้นมีวัสดุรับแรงกระแทก มีขอบหลังสูงขึ้นมารองรับเอ็นร้อยหวาย ปลายเท้าแบบเรือ-งอน จะยกส้นเท้าได้ง่ายขึ้น หัวรองเท้าอย่าให้ติดกับนิ้วเท้า ส้นเท้าด้านหลังบีบแล้วแข็ง บีบไม่ค่อยลง (แต่ข้างในนิ่ม) เพื่อคอยประคองส้นเท้า
- รูปรองเท้าพื้นบาง ปลายไม่งอน ผ้าใบ converse ไม่มีอะไรช่วยประคองส้นเท้า ใส่เท่อย่างเดียว

เอาคนมาสาธิตท่าต่างๆ ชวนผู้เข้าประชุมขึ้นมาด้วยแล้วถามว่าเหมาะหรือเปล่า สนุกสนาน... ฮูลาฮุบไม่เหมาะกับคนปวดหลัง

หมอยุพินกล่าวชื่นชมว่าบรรยายได้สนุกสนาน  ขอเชิญมาเป็นวิทยากรประจำของสมาคม ร้องเพลงส่งท้ายเรียกเสียงฮา เมื่อคิดให้ดีโลกนี้ประหลาด.....

วัลลา ตันตโยทัย

 

หมายเลขบันทึก: 403794เขียนเมื่อ 21 ตุลาคม 2010 02:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤษภาคม 2012 13:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท