KM กับการพัฒนาวิสัยทัศน์ ( Share Vision) ของกรมส่งเสริมการเกษตร


การเลือกเรื่อง Food Safty เพราะพื้นที่ทำอยู่แล้ว ทำให้ไม่รู้สึกเป็นการเพิ่มภาระ เป็นงานใหม่ และเป็นการทำ KM โดยไม่พูดว่าเป็น KM

         การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในห้องประชุม A  ในงานมหกรรม KM ราชการไทย ก้าวไกลสู่ LO เมื่อวันที่ 21 กค.49  ในช่วงเช้า เวลา 10.50-12.00 น.  เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อ KM กับการพัฒนาวิสัยทัศน์ร่วม (Share Vision)   

          โดยในช่วงนี้ เป็นการ ลปรร.ประสบการณ์จริงของกรมส่งเสริมการเกษตร ซึ่งมีผู้แทนของกรมฯ จำนวน 3 ท่าน คือ คุณสำราญ สาราบรรณ์ จากกองวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร คุณจำลอง พุฒซ้อน จากสำนักงานเกษตรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และคุณธัญชนก เหล่าโนนคร้อ จากกองแผนงาน  ขึ้นเวทีเล่าประสบการณ์จากคนทำจริง  ดำเนินรายการโดย คุณอุรพิณ ชูเกาะทวด  จาก สคส.                 

                     

                           Km-21060622

          การเล่าเรื่อง เริ่มจากคุณสำราญ สาราบรรณ์ ซึ่งเป็นตัวแทนของคณะทำงาน KM ของกรมส่งเสริมการเกษตร เล่าในภาพรวมของการดำเนินการจัดการความรู้ของกรมฯ ตั้งแต่เริ่มต้น เมื่อปี 47  ว่าทำอย่างไร มีการเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ พันธกิจของกรม อย่างไร และได้มีการเชื่อมโยงกระบวนการจัดการความรู้ ตั้งแต่ระดับกรมฯ สู่ ภูมิภาค และถึงเกษตรกรได้อย่างไร   คุณสำราญ เล่าว่า...

  • จุดเริ่มต้นของการดำเนินการจัดการความรู้ในส่วนราชการต่างๆ คงจะมีการเริ่มต้นจัดทำ KM ไม่แตกต่างกัน เริ่มจากเมื่อปี 2547  ต้องมีการจัดทำคำรับรองผลการปฏิบัติราชการ  ที่ กพร.กำหนดให้ เรื่อง การจัดการความรู้ เป็นตัวชี้วัดหนึ่งในคำรับรองฯ โดยให้มีการจัดทำแผนการจัดการความรู้  มีการตรวจสอบแผน และให้คะแนน 
  • ต่อมา ปี 2548  กพร.กำหนดให้มีการดำเนินการตามแผนที่กำหนด  ช่วงนั้น คณะทำงานฯ ซึ่งมีอยู่ประมาณ 20 คน ได้มีการศึกษาเอกสาร เว็บไซด์ เรื่อง KM เยอะมาก  แต่ก็ยังไม่เข้าใจ จึงมาปรึกษากันว่า เราน่าจะหาผู้ที่รู้จริงในเรื่องนี้ มาเป็นที่ปรึกษา  จึงได้ติดต่อทาง Mail  มาทาง สคส. ผ่านคุณอ้อ  ด้วยความเอื้ออาทรของท่าน อ.ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด  เรา Mail ไป ไม่นาน อ.ตอบกลับมา  และนัดให้คณะทำงานฯ เราไปคุยปรึกษาหารือ โดย นำวิสัยทัศน์และพันธกิจของกรมฯ ไปด้วย  และ อ. ได้มอบการบ้าน ว่า ถ้าจะจัดการความรู้เพื่อนำไปสู่วิสัยทัศน์และพันธกิจของกรมฯ  เราจะต้องทำอะไรบ้าง จากวิสัยทัศน์ของกรมฯ  สิ่งสุดท้ายคือ  เกษตรกรต้องมีชีวิตที่ดีขึ้น
  • การดำเนินงานในปี 2548  ซึ่งเป็นปีแรก เราไม่แน่ใจว่า จะทำทั้งหมด 76 จังหวัด ผลจะเป็นอย่างไร งานเราอยู่ในพื้นที่  เราต้องไปจัดการความรู้ในระดับพื้นที่  เราจึงเลือกทำในจังหวัดนำร่องก่อน โดยเรามี 6 ภาค 6 เขต เริ่มเลือก ภาคใหญ่ 2 จังหวัด ภาคเล็ก 1 จังหวัด เพื่อเรียนรู้กระบวนการก่อน และค่อยๆขยายผลในปีต่อไป
  • วิธีการหาจังหวัดนำร่อง  ไม่ง่าย  เราใช้วิธีให้คณะทำงานฯ จัดทีมลงไปคุยกับจังหวัด  เพื่อสร้างความเข้าใจก่อน และให้จังหวัดตัดสินใจเองว่าจะสมัครใจทำหรือไม่  สุดท้ายได้มา 9 จังหวัด  บางจังหวัดก็งงว่าจะให้ทำอะไร ตอบมาด้วยความงงๆ แต่ใจพร้อม
  • ในปี 2548 เราเริ่มกระบวนการโดย อ.ดร.ประพนธ์ และทีมงาน สคส. มาช่วยสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่อง KM  และฝึกปฏิบัติการใช้เครื่องมือธารปัญญา 2 วัน ซึ่งในครั้งนั้น จังหวัดก็ยังกลับไปด้วยความงงๆ
  • ส่วนกลาง มีการจัดระบบเรียนรู้กับจังหวัด โดยคณะทำงานฯ จัดทีมจังหวัดละ 2 คน ลงไปเรียนรู้กระบวนการ ไปร่วมกิจกรรม และร่วมสรุปบทเรียนกับจังหวัด
  • ผลลัพธ์ที่ออกมาระหว่างทางที่ดำเนินการนั้น มีเยอะมาก  ทุกจังหวัดได้รับประสบการณ์ มีสิ่งที่ดีๆ อยู่เยอะ    
  • ในปี 2549  กพร. ได้เน้นให้มีการจัดการความรู้โดยพิจารณาจากใน Blueprint for Change ของกรมฯ ซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตร มีโครงการหลักอยู่ 5 โครงการ ซึ่ง Food Safty เป็นโครงการหนึ่งของกรมฯ ที่จังหวัดทุกจังหวัดต้องดำเนินการ และในปีนี้ กรมฯ ได้มีการบริหารจัดการเชิงบูรณาการ โดยมีคณะทำงานซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากทุกกอง สำนักฯ เป็นคณะทำงาน ในแต่ละโครงการ ซึงโชคดีที่มีคณะทำงาน KM  4-5 คน ที่เป็นคณะทำงาน Food Safty  ด้วย จึงสามารถ Set กระบวนการ KM  ลงในกระบวนการ Food Safty  ได้เลย ไม่เป็นภาระงานที่เพิ่มขึ้น
  • ใน ปี 2549 เราได้มีการขยายจังหวัดนำร่อง จากปี 2548 9 จังหวัด เป็น 18 จังหวัด วิธีการเลือกจังหวัดนำร่องเพิ่มโดยให้จังหวัดนำร่องเดิม เลือกว่า อยากจะทำงานกับจังหวัดไหน  จับคู่จังหวัดนำร่องเดิม และจังหวัดใหม่ เพื่อให้สามารถทำงานในลักษณะเพื่อนช่วยเพื่อน (Peer Assist)
  • นอกจากนี้ ใน ปี 2549 เราได้ขยายการจัดการความรู้ไปยังกอง สำนักฯต่างๆในส่วนกลางด้วย ในฐานะที่ต้องดำเนินการสนับสนุนจังหวัด  

                 ต่อจากนั้น ผู้ดำเนินรายการ สรุปประเด็นที่คุณสำราญเล่าว่า....

  • กรมส่งเสริมการเกษตร ดำเนินการ KM โดยทีมส่วนกลาง ลงไปเรียนรู้กับจังหวัด สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับพื้นที่ โดยลงไปร่วมเรียนรู้กับเขา
  • การเลือกเรื่อง Food Safty   เพราะพื้นที่ทำอยู่แล้ว ทำให้ไม่รู้สึกเป็นการเพิ่มภาระ เป็นงานใหม่  และเป็นการทำ KM โดยไม่พูดว่าเป็น KM
  • เลือกคน ที่มีใจอยากจะทำก่อน และให้เลือกเพื่อนจังหวัดที่จะทำร่วมกัน
  • ขยายมาทำ ที่กอง สำนักฯ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของพื้นที่ โดยดูทุนเดิมของกอง สำนักฯด้วย........ 

 

           บันทึกมา ลปรร.

           นันทา ติงสมบัติยุทธ์

           24 กค.49 

หมายเลขบันทึก: 40374เขียนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2006 11:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 18:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท