เล่าเรื่องงานส่งเสริม


วิเคราะห์พิ้นที่ RRA งานส่งเสริมการเกษตรในเขตชลประทาน

 ต้องรีบบันทึกต่อเพราะมีงานส่งเสริมอีกหลายเรื่องที่อยากเล่า เมื่อคราวที่แล้วได้เล่าเรื่องวิธีการทำ RRA ไปแล้วจนถึงขั้นของการรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ ปฐมภูมิ และการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งมีการวิเคราะห์ร่วมกันของทีมงานตลอดช่วงระยะของการวิเคราะห์พื้นที่ ดังนั้นข้อมูลที่รวบรวมได้ จึงเป็นสารสนเทศที่ผ่านการวิเคราะห์เบื้องต้นไปแล้วนำผลการวิเคราะห์นั้นมาหาแนวทางสรุปเพื่อจัดทำแนวทางพัฒนาพื้นที่ดังกล่าว โดยสังเคราะห์แนวทางจากศักยภาพ(จุดแข็ง/โอกาส) และปัญหา(จุดอ่อน/อุปสรรค)ที่พบจากผลการวิเคราะห์พื้นที่ และนำแนวทางนั้นมานำเสนอผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่ดังกล่าว

  การวิเคราะห์พื้นที่โดยใช้เทคนิค RRA นั้น มีจุดอ่อนในเรื่องของการมีส่วนร่วม เพราะผู้เกี่ยวข้องมีส่านร่วมเป็นเพียงผู้ให้ข้อมูล แต่ไม่ได้ร่วมวิเคราะห์และตัดสินใจด้วย สมัยนั้น(2528)ยังไม่มีใครพูดถึงกระบวนการมีส่วนร่วมมากนัก ในกรมส่งเสริมการเกษตรจะสนใจแต่เทคนิคการเพิ่มประสิทธิภาพ เช่น QC[Quality control]หรีอการประเมินผล และในสมัยนั้นยังไม่มีใครเข้าใจ SWOT ว่ามีประโยชน์อย่างไรกับการวางแผนพัฒนา รู้จักแต่ ปัญหา สาเหตุ แนวทางแก้ไข ซึ่งเป็นเหมือนสูตรสำเร็จของนักส่งเสริมสมัยนั้น ซึ่งไม่ใช่เรื่องผิดพลาดแต่อย่างใด เพราะเทคนิคทุกอย่างมี่ข้อดีและข้อเสีย อยู่ที่ผู้ที่จะนำมาใช้ต่างหาก ว่าได้ใช้ความคิดเชิงบวกในการที่จะนำข้อดีมาใช้หรือไม่ หรือเป็นเพียงการวิ่งตามคำศัพท์เทคนิคใหม่ๆเพื่อให้ทันกระแสเท่านั้น ในปี2528/29 ผู้อำนวยการกองแผนงานและโครงการพิเศษขณะนั้นได้นำเสนอโครงการวิเคราะห์พื้นที่ทั่วประเทศในทุกตำบล นำไปสู่โครงการSFPP ในเวลาต่อมา

  ที่เคยบอกไว้ว่าRRA นั้นวิเคราะห์คนและสถานการณ์ได้ด้วย เนี่องจากการวิเคราะห์ตามเทคนิคดังกล่าวอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลในภาพรวมของพื้นที่นั้นๆ และเป็นข้อมูลทั้งระดับทุติยภูมิและปฐมภูมิ เช่นเดียวกันถ้าเราจะวิเคราะห์ใครสักคนก็ต้องวิเคราะห์บนฐานข้อมูลของคนๆนั้นทั้งด้านพฤติกรรม ความชำนาญ วิธีคิด สภาพแวดล้อมที่ปรากฏให้เห็น และต้องรวบรวมข้อมูลทั้งข้อมูลมือสองคือการบอกเล่าจากผู้อื่นทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม รวมกับข้อมูลที่เราพบและสังเกตเห็นเองจากการพูดคุย ร่วมปฎิบัติงานพรือพบเห็นโดยบังเอิญซึ่งถือเป็นข้อมูลมือหนึ่ง

หมายเลขบันทึก: 40337เขียนเมื่อ 22 กรกฎาคม 2006 22:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 เมษายน 2012 23:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณคะ  ขอให้คุณมัลลิกาขยายความ RRA เพราะผู้ยบริหารกรมฯจะนำไปใช้ในงานส่งเสริมการเกษตร

แวะมาทักทายครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท