บทเรียนจากหนองสรวง กับการปฏิเสธความร่วมมือจากนักวิจัยชุมชนนอกพื้นที่..... และ ประเด็นความคิดที่แตกต่าง " เมื่อได้สัมผัสกับความสำเร็จ และเหลียวมองกลับมาถึงอุปสรรคที่ได้ฟันฝ่ามา นั่นคือรางวัลที่ยิ่งใหญ่ที่เขาได้รับ"


มีคนคิด คนพูดอยู่มากมาย แต่คนที่ลงมือทำ มีไม่กี่คน หากคนคิด ไม่ได้เป็นคนลงมือทำ คนที่นำแนวคิดไปปฏิบัติ ย่อมจะตีความตามความเข้าใจของตัวเอง ซึ่งอาจจะไม่ตรงกับสิ่งที่ผู้คิดโครงการได้วางแผนไว้ก็ย่อมได
เปิดบันทึก เดินทางขึ้นอีสาน

ของคุณอำนาจ แห่ง ต.หนองสรวง กาฬสินธุ์ บันทึกชิ้นหนึ่ง  ที่จุดประกายให้เกิดประเด็นความคิดที่แตกต่างจากข้อความที่ปรากฏในบันทึก

เมื่อคลิกเข้าไปอ่านบันทึก ที่บอกเล่าถึงการกลับไปเยี่ยมบ้านเกิดในช่วงเข้าพรรษา และได้กล่าวถึงสิ่งดีๆที่เกิดขึ้นในชุมชน โดยยกมา 3 ข้อ

ปิดท้ายด้วยข้อสังเกต ทางออกของชุมชน 6 ข้อ ซึ่งเป็นมุมมองที่ผู้เขียนบันทึกได้ประมวลจากประสบการณ์เปรียบเทียบกับชุมชนอื่นๆ

แล้วทำไม บันทึกในตอนนี้ของนายบอน จึงตั้งชื่อหัวข้อว่า ..."การปฏิเสธความร่วมมือจากนักวิจัยชุมชนนอกพื้นที่"

ทั้งๆที่น่าจะส่งเสริมสนับสนุน ให้กำลังใจ เพื่อให้ชุมชนมีการพัฒนามากขึ้น...

บันทึกตอนนี้ จะสร้างสรรค์รึเปล่านี่?????

นายบอนมีโอกาสได้พบปะกับคุณอำนาจ "น.เมืองสรวง" ได้สอบถามแนวคิดและความฝันในการพัฒนาบ้านเกิด รวบรวมเรียบเรียงองค์ความรู้ออกมา จนกระทั่งได้จัดทำเป็นหนังสือ ก่อร่าง  สร้างฝัน ที่หนองสรวง รวบรวมประวัติ ผลงาน แนวความคิด ความพยายาม และโครงการที่อำนาจ แสงสุขอยากจะทำเพื่อท้องถิ่น เป็นหนังสือกว่า 140 หน้า ให้ผู้สนใจนำข้อมูลไปต่อยอดทางความคิดต่อไปได้

เมื่อนายบอนนำหนังสือไปให้นักวิจัยชุมชนกลุ่มหนึ่งได้อ่าน พวกเขายอมรับในแนวความคิดของคุณอำนาจ แสงสุข   แต่คำถามสำคัญที่จะทำให้ เกิดความร่วมมือ การสร้างเครือข่ายอย่างที่อำนาจ ได้เขียนออกมานั้น เป็นความจริงหรือไม่..

"ตอนนี้ เขาทำอะไรอยู่ที่ไหน"

จากคำถามนี้ และคำตอบที่ได้รับตามความเป็นจริง  ทำให้ความตั้งใจที่จะให้ความร่วมมือ สนับสนุน ช่วยเหลือสานฝันกับสารพัดโครงการของคุณอำนาจ แสงสุข นั้น

" พับเก็บไว้ก่อน"

คุณอำนาจ แสงสุข มีแนวคิดในรูปแบบการทำงานแบบเครือข่ายของเขา ที่ว่า ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ก็สามารถทำงานเพื่อบ้านเกิดได้ โดยเขาจะโทรติดต่อประสานงานกับเพื่อนร่วมอุดมการณ์  และผู้ที่อยู่ในพื้นที่ ให้ดำเนินการตามแนวคิดต่างๆ โดยเขาจะคอยติดตามความก้าวหน้าเป็นระยะๆ

" ผมคิดว่า โครงการในลักษณะนี้ คงดำเนินการได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น เพราะคนที่เป็นต้นคิด คนที่มองประเด็นปัญหาออก และวิเคราะห์ทางออกของชุมชนได้ ไม่ได้อยู่ในพื้นที่ตลอดเวลา ซึ่งในการทำงานชุมชนนั้น หลายคนที่ฝังตัวอยู่ในพื้นที่ คลุกคลีกับปัญหามานาน ยังพบกับอุปสรรค และปัญหาเฉพาะหน้าหลายอย่างที่จะต้องแก้ไขอยู่เรื่อยๆ แล้วแบบนี้ ที่นานๆกลับมาเยี่ยมบ้านทีหนึ่ง จะสามารถสานฝัน ทำโครงการเพื่อชุมชนได้แค่ไหนกัน นี่คือความจริงนะ ไม่ใช่ความฝัน"

"สำหรับแนวคิดที่ว่า อยู่ที่ไหนก็ทำงานเพื่อบ้านเกิดได้ คงทำได้ในระดับหนึ่ง แต่ละคนมีความคิด ความเข้าใจต่างกัน การทำงาน 1 ชิ้น ต้องการความต่อเนื่อง ต้องมีการติดตาม ตรวจสอบ มีการประเมินผล  เมื่อมีแนวคิดของคุณอำนาจ แสงสุข และวางรูปแบบการทำงานไว้ในทำนองนี้ จึงไม่สนับสนุนแนวคิดของเขา ถึงแม้ว่า แนวคิดของเขาจะมีประโยชน์ต่อชุมชนอย่างมากก็ตาม เพราะมีโอกาสคิด - วางแผนไว้ แต่ไม่มีโอกาสลงมือทำ หรือ กำกับดูแลด้วยตัวเอง"

เรียกว่า มีคนคิด คนพูดอยู่มากมาย แต่คนที่ลงมือทำ มีไม่กี่คน หากคนคิด ไม่ได้เป็นคนลงมือทำ คนที่นำแนวคิดไปปฏิบัติ ย่อมจะตีความตามความเข้าใจของตัวเอง ซึ่งอาจจะไม่ตรงกับสิ่งที่ผู้คิดโครงการได้วางแผนไว้ก็ย่อมได้

"บุคลิกลักษณะของผู้ที่จะประสบความสำเร็จ ย่อมจะต้องมีแนวคิด คำพูดที่มีความมุ่งมั่ง กระตือรือร้น เล็งไปที่เป้าหมายอยู่ตลอด แต่หลายคน มักจะหยิบยกเอาอุปสรรค หน้าที่ความรับผิดชอบต่อครอบครัว ฐานะทางเศรษฐกิจ มาเป็นเกราะกำบังตัวเองไว้ก่อน ซึ่งเป็นสิ่งที่จะคอยฉุดรั้ง และบั่นทอนกำลังใจของตนอย่างไม่รู้ตัว"


"มีนักพัฒนาหลายท่าน ที่ใช้อุปสรรค ความยากลำบาก เป็นแรงฮึดในการลงมือทำงาน และฝ่าฟันอุปสรรค เมื่อได้ลงมือทำจนได้สัมผัสกับความสำเร็จ แล้วนั่งเหลียวมองกลับมาถึงอุปสรรคที่ได้ฟันฝ่ามา ประสบการณ์ที่ได้รับนั้น คือรางวัลที่ยิ่งใหญ่ที่เขาได้รับ ยิ่งเป็นการเติมเต็มกำลังใจทำให้มีความมุมานะ เหมือนดั่งพระมหาชนกที่ในหลวงได้ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ สร้างสรรค์งานพัฒนาชุมชนที่มีคุณค่าต่อไป....."

เพราะเขายังไม่มีในจุดนี้ จึงยังไม่ได้รับการสนับสนุนทั้งเงินทุน และปัจจัยอื่นๆอย่างที่ควรจะได้รับ จนกว่าอำนาจ แสงสุข จะกลับมาอยู่ในพื้นที่อย่างถาวรเท่านั้น จึงจะพิจารณาโครงการต่างๆของเขาใหม่อีกครั้งหนึ่ง

"มีหลายคน หลายองค์กรในชุมชน ที่มีแนวคิดที่ดีๆเหมือนคุณ น.เมืองสรวง  เมื่อสอบถามว่าจะทำต่อไปอย่างไร เมื่อไหร่ บุคคลเหล่านั้น กลับเอ่ยอ้างถึงอุปสรรค ข้อจำกัดเฉพาะตัวขึ้นมาเป็นเกราะกำบัง คล้ายกับว่า อยากให้มีคนนำแนวคิดของเขาไปทำต่อให้เกิดประโยชน์ แล้วเขาเสนอแนวคิดเหล่านั้นแล้วใครล่ะ จะรู้สภาพปัญหาดีเท่ากับผู้ที่เสนอประเด็นเหล่านั้น แล้วใครจะรู้ข้อมูล รู้จักคนในพื้นที่ได้ดีเท่ากับพวกเขาเหล่านั้น ทำให้ต้องปฏิเสธผู้ที่มาเสนอโครงการในฝัน แต่ยังลงมือทำไม่ได้ไปก่อน ......."

".......ถ้าเขากลับมาอยู่ในพื้นที่ อยู่ที่บ้านเกิดเป็นการถาวรเมื่อไหร่ และพร้อมจะลงมือทำ่   ถึงเวลานั้นแล้วค่อยมาลุยด้วยกัน!!!!........"


นี่จากบันทึก "เดินทางขึ้นอีสานนะครับ กับการจุดประกายให้เกิดประเด็นความคิดที่แตกต่างจากข้อความที่ปรากฏในบันทึก




หมายเลขบันทึก: 40234เขียนเมื่อ 22 กรกฎาคม 2006 12:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ใช่เลยครับคุณบอน

บางคนคิดแต่ไม่ได้ทำ คนที่ทำก็ไม่ได้เป็นคนคิด

ถ้าคนคิดบอกให้คนอื่นทำ อาจจะไม่สามารถสื่อสารในสิ่งที่ตนเองคิดให้เขารู้ได้อย่างที่ใจตนเองปรารถนาครับ

แต่ถ้าคิดด้วยทำด้วยได้และทำอย่างจริงจัง ประเทศเราคงจะดีมากขึ้นกว่านี้ครับ

ขอขอบคุณท่าน " ผู้รู้ทั้งหลาย" ครับ จุดหมายแห่งการพัฒนาจึงไม่จำเป็นว่าจะทำหรือไม่ หากแต่ตัวแปรที่สำคัญคือ ความเกี่ยวเนื่องของชุมชน วัฒนธรรมชุมชน ชุมชนเขามีวิวัฒนาการที่ต่อเนื่อง  คนคิดนั้นหมายถึง แนวคิดที่ต่อเนื่องและต่อยอด เติมเต็ม  จึงไม่จำเป็นว่า ต้องทำตามทุก ๆ อย่าง เพียงแค่การปรับใช้ในท้องถิ่นนั้น ๆ ให้เกิดความหลากหลายทางกายภาพ  การสร้างเครือข่าย ลักษณะนี้คือ แบบมโนทัศน์ " พลังขับเคลื่อน" มีจิตใต้สำนึกแห่งการรู้รัก ถิ่นฐานบ้านเกิด ถ้าทุก ๆ ท้องถิ่นแบบนี้ก็น่าจะดีนะ

" แต่ส่วนใหญ่แล้วคิดอย่างเดียว ฉันไม่เกี่ยว   "

.....ในตอนนี้เขามีการกระจายอำนาจ  ตาม พรบ. ฯลฯ

บทบาทจึงเปลี่ยนแปลงไป.....ส่วนใหญ่นักวิชาการทุก ๆ ด้านลงไปค้นข้อมูลแล้วนำข้อมูลที่เอื้อต่อประโยชน์ โดยไม่กลั่นกรองข้อมูลนั้น ทำให้ข้อความในการสื่อสารออกไป ผิดเพื้อน ไป  โดยไม่เข้าใจคำว่า  การสื่อความจึงสำคัญ สำคัญที่ความหมาย

" เข้าใจ  เข้าถึง ร่วมมือพัฒนา "   ถ้าอยากรู้ระบบนี้ รูปแบบนี้เขาทำกันอย่างไร ก็ลองไปถาม

กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย  นะครับ เขามีโครงการแบบนี้อยู่  เขามีระบบแนวคิดที่ชัดเจนครับ

ความสมดุลในความหมาย

1.ในความหมายคือ " ผมไม่ได้มีความว่า ต้องให้ช่วยผม ในความหมายคือ  ร่วม รวมพลังจากคนในชุมชน นอกชุมชน เพื่อเป็นพลังในการขับเคลื่อนชุมชนที่ห่างไกล เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ต่อเนื่อง ซึ่งก็กำลังเกิดขึ้นในเวลานี้

2.ผมไม่ได้สร้างเงื่อนไข เงื่อนเวลา แต่ผมสร้างเกาะป้องกัน เรียกว่า ทำนบกั้นเงื่อนเวลา ทำนบกั้นเงื่อนไข  ทุกคนเสมอภาค  เรียกว่า " การสร้างเครือข่ายทางสังคม " บางทีถ้าท้องถิ่นอื่น ๆ นำแนวคิดไปปฏิบัติอาจจะเจริญก็ได้นะ โดยไม่ต้องเสียเวลาว่า คุณจะทำ....หรือไม่ทำ.....หรือคุณจะทำเวลาไหน ถ้าคุณผมร่วมแจม.... ส่วนใหญ่ผมจะไม่ได้ทำ เพราะมีน้อง ๆ ผมทำอยู่แล้ว....แฮ่ ๆๆๆๆๆๆๆ

คิดได้อีกเดี๋ยวตอบต่อนะครับ...............

 

ขอให้ กำลังใจครับ

จากเรื่องที่เล่ามานี้   ผมมองไปที่ การจัดการความคิดของคน

 

คงต้อง พยายาม ต่อๆไปครับ

ดูหนัง เล่นละคร  เอาคนต่างๆมาพูด พาไปดูงาน  ฯลฯ สารพัดจะทำ

ระดับชาวบ้าน คงยากน่าดู  พื้นฐาน ความคิด ความเชื่อ  ความขี้เกียจ  สันดาน แตกต่างกัน

ถ้ามี crisis อาจจะช่วยได้  อย่าง แพรกหนามแดง  แหลมรุ่งเรือง  ฯลฯ

ครูบาสุทธินันท์  พี่เดชา รร ชาวนา   มี "ธรรมะ" ที่แฝงโดยไม่มีใครรู้ ไม่มีใครไหวตัวทัน

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท