โครงงานเรื่อง “การสำรวจอาหารที่คนในท้องถิ่นชอบรับประทาน


การสำรวจอาหารที่คนในท้องถิ่นชอบรับประทาน

โครงงานเรื่อง    “การสำรวจอาหารที่คนในท้องถิ่นชอบรับประทาน                         

บทที่ 1 

บทนำ 

                  ที่มาและความสำคัญของโครงงาน 

            เนื่องจากสภาพแวดล้อมในบ้านไก่นากลาง  หมู่ที่ 9 ต.เสือโก้ก  อ. วาปีปทุม         จ. มหาสารคาม  จำนวน 73 ครัวเรือน  ซึ่งเป็นชุมชนชนบท  มีอาชีพทำนา  อาหารที่รับประทานก็เป็นอาหารที่มีตามฤดูกาล เช่น กุ้ง ปลา ผักต่างๆตามป่า  และอื่นๆที่พอจะหาได้  และพบว่างานในแต่ละวันของคนในหมู่บ้านเป็นงานที่หนัก เช่น ทำนา ซึ่งเป็นงานที่ต้องใช้พลังงานเป็นอย่างมาก  ดังนั้นอาหารที่รับประทานเข้าไปต้องมีพลังงานเพียงพอกับความต้องการ  แต่ผู้จัดทำพบว่าอาหารที่คนในหมู่บ้านนี้รับประทานไม่ค่อยมีประโยชน์   มีพลังงานไม่เพียงพอกับความต้องการ  และพบว่าเด็กไม่ค่อยเจริญเติบโต  สติปัญญาไม่พัฒนาเท่าที่ควร  ผู้จัดทำจึงเกิดความสงสัยว่า

            1. อาหารที่คนในบ้านไก่นากลางรับประทานเข้าไปมีอะไรบ้าง  สารอาหารประเภทใด  และให้ประโยชน์และโทษอย่างไร

            2. เหตุใดเด็กไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร และพบว่าบางคนเป็นโรคพอก

    จุดม่งหมายของการศึกษาค้นคว้า 

            1. เพื่อสำรวจประเภทอาหารที่คนในหมู่บ้านรับประทานว่ามีประเภทอะไรบ้าง

            2. อาหารนั้นมีสารอาหารที่มีประโยชน์และโทษอย่างไร

            3. จะหาวิธีการที่จะทำให้คนในหมู่บ้านได้รู้จักวิธีการเลือกรับอาหารที่มีประโยชน์ ถูกสุขลักษณะ เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีอย่างไร

    ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า

            1. สำรวจครอบครัวที่อยู่ในบ้านไก่นากลาง หมู่ที่ 9

            2. ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 5 กรกฎาคม – 18 กรกฎาคม 2550

                  สถานที่ทำการศึกษา 

            บ้านไก่นากลาง หมู่ที่ 9 ต.เสือโก้ก  อ.วาปีปทุม  จ.มหาสารคาม

                  ระยะเวลาในการศึกษา 

             ระหว่างวันที่ 5 กรกฎาคม  – 18 กรกฎาคม 2550

บทที่ 2 

เอกสารที่เกี่ยวข้องในการศึกษาค้นคว้า 

       สารอาหารที่เรารับประทานในแต่ละวันสามารถแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

v                       สารอาหารที่ให้พลังงาน 

1. คาร์โบไฮเดรต ( Carbohydrate)

คำว่าคาร์โบไฮเดรต หมายความว่า “คาร์บอนที่อิ่มด้วยน้ำ” ทั้งนี้เพราะประกอบด้วยธาตุ C H O ประเภทของคาร์โบไฮเดรตแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ตามสมบัติทางกายภาพและทางเคมี ได้แก่

            1.1 น้ำตาล  เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีรสหวานและละลายน้ำได้  สามารถใช้สารละลายเบเนดิกต์ทดสอบเกิดตะกอนสีส้มแดงหรือสีเขียวอมเหลือง

          1.) น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว ( Monosaccharide )

เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีโมเลกุลที่เล็กที่สุด ร่างการสามารถนำไปใช้ได้เลย ได้แก่ กลูโคสพบในผักและผลไม้รสหวาน  ฟรักโทส มีรสหวานมากกว่าน้ำตาลชนิดอื่น   พบในน้ำผึ้ง  และกาแลกโทส พบในน้ำนม

            2.) น้ำตาลโมเลกุลคู่ ( Disaccharide )

เป็นคาร์โบไฮเดรตที่เกิดจากการรวมตัวของน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว 2 โมเลกุล น้ำตาลชนิดนี้ร่างกายไม่สามารถนำไปใช้ได้เลย จะต้องย่อยสลายให้เป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวก่อน ได้แก่ ซูโครส พบในผักผลไม้ทั่วไปเมื่อแตกตัวจะได้กลูโคสและฟรักโทสอย่างละ         1 โมเลกุล  มอลโทส พบในข้าวบาร์เลย์หรือข้าวมอลต์ที่นำมาใช้ทำเบียร์และอาหารสำหรับเด็ก  เมื่อแตกตัวออกจะได้กลูโคส 2 โมเลกุล  แลกโทส ที่พบน้ำนมเมื่อแตกตัวจะได้กลูโคสและกาแลกโทสอย่างละ 1 โมเลกุล

            1.2 พวกแป้ง  เป็นคาร์โบไฮเดรตละลายน้ำยากเกิดจากน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวจำนวนมากมาเกาะรวมกันเป็นสารที่มีโมเลกุลเชิงซ้อน  เรียกว่า “พอลิแซ็กคาไรด์”             ( Polysaccharide ) เช่น แป้ง เป็นคาร์โบไฮเดรตที่พืชเก็บสะสมไว้ตามเมล็ด รากหรือหัว  เซลลูโลส ซึ่งคนเราไม่สามารย่อยได้แต่จะขับถ่ายออกมาในลักษณะของกาก

ที่เรียกว่า “เส้นใยอาหาร”  ไกลโคเจน เป็นคาร์โบไฮเดรตที่สะสมในร่างกายพบมากในตับและกล้ามเนื้อจะนำมาใช้เมื่อร่างกายขาดสารอาหาร

            ความต้องการคาร์โบไฮเดรตในแต่ละวันประมาณ 300-400 กรัม พบในข้าว แป้ง น้ำตาล เผือก มัน ข้าวโพด

            2. โปรตีน ( Protein )

เป็นสารที่มีความสำคัญในเชิงเป็นโครงสร้างเนื้อเยื่อของร่างกาย  ธาตุที่เป็นองค์ประกอบหลักคือ C H O N และอาจพบ Sและ P โปรตีนประกอบด้วยหน่วยที่เล็กที่สุดคือ “กรดอะมิโน” แบ่งเป็นกรดอะมิโนที่จำเป็น คือร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นเองได้ต้องได้รับจากอาหาร  และกรดอะมิโนที่ไม่จำเป็น  พวกนี้ร่างกายสังเคราะห์เองได้

 

กรดอะมิโนที่จำเป็น 

กรดอะมิโนที่ไม่จำเป็น

  ฮีสทีดีน  (histidine)

  อะลานีน  (alanine)

  ไอโซลิวซีน (isoleucine)

  อาร์จีนีน  (arginine)

  ลิวซีน    (leaucine)

  แอสพาราจีน  (asparagine)

  เมไทโอนีน  (lysine)

  กรดแอสปาติก  (aspartic acid)

  ฟินิลอะลานีน  (methionine)

  ซีสเทอีน  (cysteine)

  ทรีโอนีน  (threonine)

  กรดกลูตามิก  (glutamic acid)

  ทริปโตเฟน  (tryptophan)

  กรดตามีน  (glutamine)

  วาลีน  (valine)

  ไกลซีน  (glycine)

 

  โพรลีน    (praline)

 

  ซีลีน        (serine)

 

  ไทโรซีน     (throsine)

 

วันหนึ่งๆควรจะได้รับโปรตีนปริมาณ 1 กรัมต่อน้ำนักร่างกาย 1 กิโลกรัมแต่ก็ขึ้นอยู่กับเพศ วัย  และสภาพร่างกายด้วย  สำรับอาการที่ให้โปรตีน ได้แก่ ปลา เนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่วต่างๆ

3. ไขมัน ( Lipid)

       ไขมันเป็นสารประกอบอินทรีย์ที่มีโมเลกุลใหญ่ ประกอบด้วยธาตุ C H O เป็นสารอินทรีย์ที่ไม่ละลายน้ำแต่ละลายได้ในน้ำมันและตัวทำละลายอินทรีย์ เช่น แอลกอฮอล์ อีเทอร์ เป็นต้น ไขมันเกิดจากการวมตัวของกรดไขมันกับกรีเซอรอล

            กรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกายมี่ 2 ประเภทคือ กรดไขมันอิ่มตัว พบได้ในไขสัตว์  ส่วนกรดไขมันไม่อิ่มตัวพบมมากในน้ำมันพืช กรดไขมันที่จำเป็นได้แก่ กรดไลโนเลอิก  ซึ่งร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นเองได้หากได้รับไม่เพียงพอจะทำให้ร่างกายเจริญเติบโตไม่เต็มที่  ผิวหนังอักเสบ โดยปกติแล้วร่างกายจะได้รับกรดไขมันที่จำเป็นทุกๆวัน วันละ 2-4 กรัม 

            นอกจากนี้ไขมันยังเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเยื่อหุ้มเซลล์แลฮอร์โมนบางชนิด  ช่วยในการดูดซึมวิตามินที่ละลายในไขมันเข้าสู่ร่างกาย  ป้องกันไม่ให้ร่างกายสูญเสียน้ำมากเกินไป  ถึงแม้ว่าไขมันจะมีประโยชน์แต่ถ้าได้รับมากเกินไปก็จะทำให้เกิดโรคอ้วน ความดันโลหิตสูง  เบาหวาน ฯลฯได้

            ในวันหนึ่งๆควรได้รับไขมันประมาณร้อยละ 30 ของจำนวนพลังงานที่ใช้ทั้งหมด  ส่วนอาหารที่มีไขมันได้แก่  ไขมันหมู  น้ำมันตับปลา ฯลฯ 

v                       สารอาหารที่ไม่ให้พลังงาน 

1. สารอาหารประเภทวิตามิน 

วิตามิน  หมายถึง สารอินทรีย์ที่จำเป็นต่อชีวิตและสุขภาพ  แม้จะไมใช่สารอาหารที่ให้พลังงานแก่ร่างกายและต้องการในปริมาณน้อย  แต่ร่างกายก็ขาดไม่ได้  วิตามินแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ วิตามินที่ละลายน้ำได้  และวิตามินที่ละลายในไขมันได้

ตารางแสดงแหล่งอาหารที่ให้วิตามินบางชนิด  ประโยชน์  และโรคเมื่อขาดวิตามิน

 

 

ชื่อวิตามิน 

แหล่งอาหาร 

ประโยชน์ 

อาการขาด 

ปริมาณที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน 

ละลายในไขมัน 

เรตินอล

A

ตับ เนื้อสัตว์ ไข่ ฟักทอง ผักบุ้ง

ทำให้สายตาดี  กระดูกและร่างกายเจริญเติบโตได้ดี

ตามองไม่เห็นในที่มืดสลัว  ผิวหนังแห้งแตก  ถ้าได้รับมากเกินไปทำให้กระดูกเปราะ เลือดกำเดาออก

750  ไมโครกรัม

แคลซิเฟอลอล

D

ตับ ไข่ นม เนย น้ำมันตับปลา

ทำให้การดูดซึมแคลดซียมและฟอสฟอรัสดีขึ้น

โรคกระดูกอ่อน  กระดูกเปราะ  และการสร้างฟันไม่ดี

2.0 - 25  ไมโครกรัม

โทโคฟีนอล

E

น้ำมันตับปลา น้ำมันรำข้าว ผักสด ไข่ ตับ

ช่วยในการสร้างฮีมซึ่งเป็นองค์ประกอบของเม็ดเลือดแดง

เป็นโรคโลหิตจางชนิดเม็ดเลือดแดงใหญ่  เป็นหมัน

14.0 - 16.0 มิลลิกรัม

ฟิลโลควิโนน

K

ผักใบเขียง ไข่แดง ข้าวโพด เห็ด

กระตุ้นการสร้างโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือด

เลือดไม่แข็งตัว หากมีบาดแผลเลือดไหลไม่หยุด

หญิงมีครรภ์ต้องการ 0.5 - 1.0 มิลลิกรัม

 

ละลายได้ในน้ำ 

ไทอะมีน

B1

ตับ ไข่ เนื้อหมู ถั่ว ยีสต์

บำรุงประสาท การทำงานของระบบทางเดินอาหารปกติ

อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร การเจริญเติบโตหยุดชะงัก เป็นโรคเหน็บชา

1.2 - 1.4 มิลลิกรัม

ไรโบเฟลวิน

B2

ตับ ไข่ เนื้อหมู ถั่ว ยีสต์ ผักใบเขียว

ทำให้ผิวหนัง ลิ้น ตา มีสุขภาพดี การเติบโตปกติ

ผิวหนังแห้งและแตก ลิ้นอักเสบ เป็นโรคปากนกกระจอก

1.2-1.5 มิลลิกรัม

ไนอะซิน

B5

ยีสต์ ตับ กาแฟ ปลา ถั่ว

บำรุงประสาทและผิวหนัง

เป็นโรคเพลากา ท้องร่วง เป็นโรประสาท

8.0 - 21.0  มิลลิกรัม

ไพริดอกซิน

B6

ยีสต์ ข้าวสาลี ถั่ว นม ตับ ผักใบเขียว

สังเคราะห์กรดอะมิโน  บำรุงผิวหนัง

มีอาการบวม อักเสบในช่องปาก ชักกระตุก ประสาทเสื่อม

1.4 – 2.0 มิลลิกรัม

ไซยาโนโคบาลา -มิน

B12

ไข่ เนื้อปลา คนกินมังสะวิรัติมีโอกาสขาดวิตามินนี้

ช่วยสังเคราะห์ DNA  สร้างเม็ดเลือดแดง

เป็นโรคโลหิตจาง เส้นประสาทไขสันหลังเสื่อม

3.0 – 5.0 ไมโครกรัม

กรดแอสคอร์บิก

C

ฝรั่ง มะละกอและและผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว

รักษาสุขภาพของฟัน  หลอดเลือดแข็งตัว  มีความต้านทานโรค

เลือดออกตามไรฟัน แผลหายช้า ภูมิคุ้มกันลดลง

6.0  มิลลิกรัม

 

2. แร่ธาตุ  

        เป็นสารอาหารที่ไม่ให้พลังงานแต่ร่างการก็ขากไม่ได้  จากการศึกษาพบว่าคนเรามีแร่ธาตุเป็นส่วนประกอบประมาณร้อยละ 4 ของน้ำหนักตัว และต้องการแร่ธาตุประมาณ 17 ชนิด

ตารางแสดงแหล่งอาหารที่ให้แร่ธาตุบางชนิด  ประโยชน์  และโรคเมื่อขาดแร่ธาตุ

ชื่อแร่ธาตุ 

แหล่งอาหาร 

ประโยชน์ 

อาการขาด 

ปริมาณที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน 

แคลเซียม

เนื้อ นม ปลาซิว ผักสีเขียวเข้ม

กระดูกและฟันแข็งแรง หัวใจทำงานปกติ ช่วยให้เลือดแข็งตัว

โรคกระดูกอ่อน ฟันผุ ร่างกายเติบโตช้าและแคระเเกร็น

0.7  มิลลิกรัม

หญิงมีครรภ์ต้องการ 1 กรัม

 

โพแทสเซียม

 งา นม  กล้วย มะเขือเทศ สาหร่ายทะเลสีน้ำตาล

รักษาความเป็นกรด-ด่างของร่างกาย กล้ามเนื้อทำงานปกติ

ซึมเศร้า เบื่ออาหาร ไตเหี่ยว  กล้ามเนื้อทำงานไม่ปกติ

4 กรัม

แมกนีเซียม

เนื้อวัว นม ไข่ ผักสีเขียว

สร้างโปรตีน การทำงานของกล้ามเนื้อและระบบประสาทปกติ

มือสั่น สูญเสียการควบคุมตัวเอง อ่อนเพลีย

0.25 มิลลิกรัม

หญิงมีครรภ์ต้องการ 0.4 กรัม

 

 

เหล็ก

ไข่แดง เนื้อสัตว์ นม เครื่องในสัตว์

เป็นส่วนกอบของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง

โลหิตจาง อ่อนเพลีย หัวใจวาย

20 มิลลิกรัม

แมงกานีส

กระดูก ตับ ชา ธัญพืช

กระตุ้นการทำงานของเอนไซม์

เป็นอัมพาต อาการชักในเด็ก ไม่สามารถได้ยินเสียง

02. มิลลิกรัม

ไอโอดีน

อาหารทะเลทุกชนิด

เป็นองค์ประกอบของฮอร์โมนไทรอกซิน กระตุ้นการเติบโตของร่างกาย สมองในวัยเด็ก

เป็นโรคคอพอก ในเด็กร่างกายไม่เติบโต 

120-150 ไมโครกรัม

หญิงมีครรภ์ 180 ไมโครกรัม

 

 

 

 

บทที่ 3

วัสดุอุปกรณ์  และวิธีการศึกษา

   วัสดุ อุปกรณ์

1. กรรไกร

            2. ดินสอหรือปากกา

            3. ไม้บรรทัด

            4. สีไม้

            5. หนังสือที่เกี่ยวกับสารอาหาร

            6. กาว

            7. สมุดบันทึก

      วิธีการดำเนินการศึกษา

            1. แบ่งงานให้แต่ละคนทำ เช่น ส่วนหนึ่งไปหาข้อมูลที่เกี่ยวกับสารอาหาร

            2. ออกสำรวจอาหารที่คนในหมู่บ้านทาน

            3. นำอาหารที่คนนิยมรับประทานมากที่สุมาศึกษาว่ามีสารอาหารอะไรบ้าง มีประโยชน์และโทษอย่างไร  กรรมวิธีในการทำสะอาดหรือไม่

4. นำข้อมูลที่ได้มาจัดทำในรูปเล่มตกแต่งให้สวยงามและนำเสนอ 

บทที่ 4

ผลการศึกษาค้นคว้า

       จากการสำรวจอาหารของคนในบ้านไก่นากลาง พบว่ามีอาหารหลายชนิด  แบ่งเป็นแต่ละประเภทได้ดังนี้

            1. อาหารมื้อหลัก

          - ประเภทต้ม เช่น ต้มไก่ ต้มปลา ต้มเป็ด ต้มไข่ ต้มยำกุ้ง

            - ประเภทแกง เช่น แกงจืด แกงผักขี้เหล็ก แกงเห็ด แกงผักขี้เหล็ก แกงปลาทู แกงหน่อไม้ แกงฮวก *

            - ประเภททอด เช่น ทอดไข่ ทอดปลา ทอดปลา ทอดไส้กรอก ทอดทอดเนื้อ

            - ประเภทผัด  เช่น ผัดถั่วใส่หมู ผัดผักบุ้ง ผัดกะเพา ผัดเปรี้ยวหวาน                ผัดเผ็ดปลาดุก ผัดไก่ใส่ขิง

            - ประเภทปิ้ง เช่น ปิ้งไก่  ปิ้งเป็ด ปิ้งนก ปิ้งปลา

            - อ่อมหอย ลาบ ปลาร้าบอง ตุ๋นไข่ อ่อมไก่ เผาปลา ส้มตำ ป่นปลาทู ฯลฯ

2. อาหารว่าง

          เป็นผลไม้ตามฤดูกาล  เช่น มะม่วง มะขาม แตงโม น้อยหน่า มะยม มะพร้าว เมี่ยง ตำกล้วย ยำมะม่วง

บทที่ 5

สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

        สรุปผล

        จากการสำรวจพบว่า อาหารที่นิยมของคนในบ้านไก่นากลาง 5 อันดับแรก คือ ส้มตำ-ไก่ย่าง ต้มไก่ ป่นปลาทู-ลวกผัก ลาบ ปลาแปลาร้าบองตามลำดับ

            นอกจากนี้ยังพบว่าสาเหตุที่ทำให้เด็กบางส่วนไม่เติบโตเท่าที่ควร เกิดจากการได้รับโปรตีนในแต่ละวันน้อยเกินไป บางคนไม่ชอบกินผัก ไม่ดื่มนม และบางคนเป็นโรคคอพอกเพราะการไม่ค่อยได้กินอาหารทะเล เกลือที่ใช้ไม่มีธาตุไอโอดีน  แต่คณะผู้ทำโครงงานก็แนะนำให้ใช้เกลือที่มีธาตุไอโอดีนแล้วผลปรากฏว่าได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีและคนในหมู่บ้านส่วนมากก็หันมาใช้แล้ว

            อภิปรายผลการศึกษาค้นคว้า

            จากการสำรวจพบว่าอาหารที่คนทานไม่ค่อยจะแตกต่างกันมากนักและกินอาหารประเภทเดียวติดต่อกันนาน  ทำให้ได้รับสารอาหารอย่างเดียวเป็นเวลานานและขาดสารอาหาร  ซึ่งปัจจัยหลักก็คือ ไม่มีเงินเพราะคนในหมู่บ้านส่วนมากมีอาชีพทำนา  รับจ้างทั่วไป  อาหารที่รับประทานก็ง่ายๆ  บางครอบครัวยังไม่รู้จักเลือกอาหารที่มีประโยชน์กับร่างกาย  ผลที่ตามมาคือ เด็กเติบโตช้า สมองพัฒนาไม่เต็มที่เป็นผลให้การเรียนไม่ดี  ส่วนปัญหาที่พบและสำคัญมากอีกปัญหาหนึ่งคือ เด็กไม่ค่อยรับประทานอาหารเช้าซึ่งเป็นมื้อที่สำคัญมากที่สุด เพราะสมองต้องใช้พลังงานในการคิด แต่ถ้าไม่ได้รับอาหารเช้าจะทำให้เด็กไม่มีสมาธิ ในการเรียน สมาธิสั้น  ทำให้ไม่อยากเรียนหนังสือซึ่งผลก็คือ การเรียนที่ออกมาไม่ดี  ดังนั้นทุกคนควรจะรับประทานอาหารเช้าทุกวันและมีประโยชน์ด้วย  เพื่อทำให้สมองปลอดโปร่งและสามารถเรียนได้ดีและเข้าใจมากยิ่งขึ้น

            ข้อเสนอแนะ

            1. ควรรณรงค์ให้คนหันมาใช้เกลือที่มีธาตุไอโอดีนผสมอยู่

            2. ควรศึกษาวิธีการปรุงอาหารของคนในหมู่บ้านด้วยว่าสะอาดหรือไม่     

            3. ควรให้ผู้ที่มีความรู้เรื่องโภชนาการมาแนะนำให้ความรู้กับคนในหมู่บ้านเกี่ยวกับการเลือกรับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะและถูกหลักโภชนาการ

บทคัดย่อ

            จาการสำรวจอาหารที่คนในบ้านไก่นากลางรับประทาน พบว่า ส่วนมากเป็นอาหารที่มีวิธีการปรุงที่ทำง่ายๆ เช่น ส้มตำ ปิ้งปลา ลวกผัก ลาบ  หรืออาหารตามฤดูกาล เช่น เห็ด กบ เขียด ปลา กุ้งฝอย ฯลฯ  และก็พบว่าครอบครัวส่วนมากได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและมีประโยชน์  แต่ก็พบว่ามีครอบครัวส่วนหนึ่งที่ยังขาดสารอาหารอยู่เพราะไม่มีความรู้ในการเลือกรับประทาน เช่นการขาดธาตุไอโอดีนทำให้เกิดโรคคอพอกได้

คำนำ

       โครงงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาชีววิทยา  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอน  ทางคณะได้จัดทำเกี่ยวกับการสำรวจอาหารของคนในบ้านไก่นา  และโครงงานชิ้นนี้ทางคณะได้พยายามรวบรวมข้อมูล ความรู้เกี่ยวกับเรื่องอาหารไว้ให้ครบถ้วนและสมบูรณ์ที่สุด  จึงหวังว่าโครงงานนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ได้ศึกษาไม่มากก็น้อย

          หากโครงงานนี้มีข้อผิดพลาดประการใดก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย          

กิตติกรรมประกาศ

       ในการจัดทำโครงงานเรื่อง    “การสำรวจอาหารที่คนในท้องถิ่นชอบรับประทาน” นี้ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจาก คณะครู และเพื่อนๆ ม.5/1 ทุกคน

            ขอขอบพระคุณอาจารย์ถนอมขวัญ  อินโท่โล่  อาจารย์ประจำวิชาชีววิทยาที่ให้คำแนะนำในการทำโครงงานเป็นอย่างดี  ขอขอบคุณอาจารย์มนสิกานต์  พรมมาแข้ที่อำนวยความสะดวกในการใช้ห้องสมุดในการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล  ท่านผู้อำนวยการโรงเรียนเสือโก้กวิทยาสรรค์คือ อาจารย์มังกร  ประทุมพร การจัดทำโครงงานนี้จะสำเร็จไม่ได้ถ้าขาดทุกท่านที่กล่าวมา  คณะผู้จัดทำจึงขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงมา ณ โอกาสนี้ด้วย

บรรณานุกรม

                 หนังสือวิทยาศาสตร์ ม.3  ผู้แต่ง ดร. บัญชา  แสนทวี.  โรงพิมพ์วัฒนาพานิชสำราษฎร์

                   หนังสือชีววิทยา ม.4   ผู้แต่ง ดร.สมาน  แก้วไวยุทธ.  โรงพิมพ์เทพเนรมิตการพิมพ์

หมายเลขบันทึก: 402003เขียนเมื่อ 11 ตุลาคม 2010 09:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 กรกฎาคม 2012 19:12 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)

ผู้จัดทำใครคร้า

ขอบคุณที่ให้ความรู้ในการศึกษาค่ะ


ยังหาไม่ได้เลยอ่ะ

มีมินิโครงงานแบบสำรวจไหมคะ

อยากให้มีโครงงานแบบอื่นบาง

ขอบคุณค่ะ

เด็กไทยไม่กินหวาน  นะจ๊ะ 555555

หน้าจะมีโครงตัวอย่างให้ดู

อยากให้มีชื่อผู้จัดทำด้วยค่ะ

มีโครงงานเเบบ มินิ ออโต้ มะคับ

ขอบคุณสำหรับโครงงานตัวอย่างนี้มากถ้าไม่มีผมคงไม่มีตัวอย่างให้ดูในการทำ อาจติด 0 ได้ ขอบคุณมากครับ

ขอบคุนเน้อจ้าววว

ไม่มีบท3 เหรอคับ

ขอชื่อผู้จัดทำหน่อยได้มั้ยคับ

เจมเป็นเกย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท