Siriniran
นางสาว ศิรินิรันดร์ ปัญญาพูนตระกูล

ตัวอย่างโครงการฝึกการอบรมดี-ดี


มาแล้วค่ะ ตัวอย่างฝึกอบรมดี ดี ที่นำมาฝาก

ตัวอย่างโครงการฝึกอบรม

 มหาวิทยาลัยขอนแก่น  (ออนไลน์.  2553)

           โครงการอบรมหลักรสูตรฝึกอบรมระยะสั้น  สาขาศาสตร์และศิลป์การสอนทางการพยาบาล  รุ่นที่  3   คณะพยาบาลศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น  ร่วมกับ  คณะพยาบาลศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 

ระหว่างวันที่ 3 พฤษภาคม - 31 สิงหาคม พ.ศ.2553

ณ คณะพยาบาลศาสตร์   มหาวิทยาลัยขอนแก่น

**********************************

1.  ชื่อหลักสูตร

              ภาษาไทย       :    หลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้น   สาขาศาสตร์และศิลป์การสอนทางการพยาบาล

              ภาษาอังกฤษ  :    Program of Short Course Training in Science and Art of Teaching in Nursing

2. ชื่อประกาศนียบัตร

              ภาษาไทย       :     ประกาศนียบัตรศาสตร์และศิลป์การสอนทางการพยาบาล

              ภาษาอังกฤษ  :     Certificate of  Science and Art of Teaching in  Nursing

3.  สอดคล้องกับดัชนี  :

                -  ร้อยละของอาจารย์พยาบาลที่มีสมบัติตามเกณฑ์ของสภาการพยาบาล (สภาการพยาบาล  50)

                -  ร้อยละของกิจกรรม/โครงการบริการวิชาการและวิชาชีพที่ตอบสนองความต้องการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของสังคม  ชุมชน  ประเทศชาติ และนานาชาติต่ออาจารย์ประจำ (กพร-สมศ 50)

                -  ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ (กพร  50)

                -  จำนวนแหล่งให้บริการวิชาการและวิชาชีพที่ได้รับการยอมรับในระดับชาติและระดับนานาชาติ  (กพร 50 )

4.  หน่วยงานที่รับผิดชอบ

            คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นมหาสารคาม ร่วมกับ คณะพยาบาลศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

5.  คณะกรรมการดำเนินงาน

            1) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โสภิดา   ทัดพินิจ               ประธานกรรมการ

            2) รองศาสตราจารย์ ดร.วลัยพร  นันท์ศุภวัฒน์               รองประธานกรรมการ

            3) รองศาสตราจารย์ ดร.จิระภา    ศิริวัฒนเมธานนท์        กรรมการ

            4) รองศาสตราจารย์อำพน   ศรีรักษา                           กรรมการ

            5) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิตภินันท์ ศรีจักรโคตร            กรรมการ

            6) อาจารย์ ดร.อภิญญา   วงศ์พิริยโยธา                       กรรมการและเลขานุการ     

          7) อาจารย์ ดร.สมเสาวนุช จมูกศรี                             กรรมการและเลขานุการ

            8) นางสาวลัดดาวัลย์  เอื้อกิจ                                  กรรมการและเลขานุการ

            9) นางสาวอรอุมา  นรราช                                      กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

6.  หลักการและเหตุผล

                อาจารย์พยาบาลเป็นหัวใจสำคัญในกระบวนการจัดการศึกษาทางการพยาบาล ที่จะให้บัณฑิตพยาบาลเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพ ให้การพยาบาลได้อย่างมีมาตรฐาน

                จากภาวะขาดแคลนพยาบาลในปัจจุบัน จึงทำให้การขยายการผลิตพยาบาลทั้งในลักษณะการเพิ่มจำนวนรับนักศึกษาใหม่และการเปิดหลักสูตรใหม่สาขาพยาบาลศาสตร์เป็นจำนวนมาก ทั้งในสถาบันการศึกษาของรัฐ และของเอกชน จึงเป็นเหตุให้มีการขาดแคลนอาจารย์พยาบาลที่มีความพร้อมในการสอนอย่างรุนแรง เกิดการกดดันให้มีการเคลื่อนย้ายพยาบาลประจำการจากสถานให้บริการสู่สถาบันการศึกษา โดยยังไม่ได้รับการเตรียมสู่บทบาทอาจารย์เช่นเดียวกับพยาบาลที่เพิ่งสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทได้รับการเชื้อเชิญให้เข้ามาเป็นอาจารย์พยาบาล จึงนับว่าปัจจุบันได้มีอาจารย์พยาบาลจำนวนมากที่สอนนักศึกษาโดยไม่มีประสบการณ์การสอน และไม่เคยได้รับการอบรมในเรื่องการเรียนการสอนมาก่อน ซึ่งเป็นเรื่องที่จะสร้างผลเสียให้แก่การศึกษาทางการพยาบาล และวิชาชีพการพยาบาลในอนาคต ดังนั้นการอบรมพยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์ทางคลินิกให้มีความรู้ความเข้าใจในศาสตร์ทางการศึกษา และได้รับการฝึกอบรมด้านทักษะการสอนทั้งในห้องเรียน และในคลินิกอย่างครบกระบวนการการจัดการเรียนการสอน จะทำให้เพิ่มจำนวนอาจารย์พยาบาลที่มีคุณสมบัติพื้นฐานเหมาะสมที่จะเป็นอาจารย์ในสถาบันการศึกษามากขึ้นในระยะเวลาที่เร็วขึ้น โดยมีการพัฒนาพยาบาลวิชาชีพสู่การเป็นอาจารย์พยาบาลอย่างเป็นระบบ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นความจำเป็นที่จะจัดให้มีหลักสูตรการอบรมระยะสั้นการจัดการเรียนการสอนทางการพยาบาล เพื่อพัฒนาพยาบาลวิชาชีพสู่การเป็นอาจารย์พยาบาลที่สภาการพยาบาลรับรอง และนับให้ผู้ผ่านการอบรมในหลักสูตรนี้มีคุณสมบัติเป็นอาจารย์พยาบาลตามเกณฑ์ของสภาการพยาบาล

7. วัตถุประสงค์

     7.1  วัตถุประสงค์ทั่วไป

             เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจในแนวคิดและวิธีการจัดการเรียนการสอนทางการพยาบาล มีความสามารถจัดการเรียนการสอนให้แก่นักศึกษาพยาบาลได้ทั้งในห้องเรียน และในคลินิกอย่างครบวงจร และมีประสิทธิภาพ มีความเข้าใจในคุณลักษณะ และบทบาทหน้าที่ ตลอดจนจรรยาบรรณของอาจารย์

    7.2  วัตถุประสงค์เฉพาะ

               7.2.1   อธิบายมโนทัศน์การจัดการเรียนการสอน และการประยุกต์ในการจัดการเรียนการสอนทางการพยาบาลได้

               7.2.2   อธิบายองค์ประกอบของหลักสูตรระดับสถาบันได้

               7.2.3   เขียนหลักสูตรในชั้นเรียน ในสาขาวิชาที่ถนัด

               7.2.4   อธิบายวงจรการเรียนการสอน และประยุกต์ในการจัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาที่ถนัดได้อย่างเหมาะสม

               7.2.5   เขียนวัตถุประสงค์ลักษณะต่าง ๆได้

               7.2.6   เลือกวิธีการสอน และการประเมินผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม

               7.2.7  เขียนแผนการสอนได้อย่างสมบูรณ์ และสอนได้อย่างเหมาะสมกับเนื้อหาวิชาที่กำหนดทั้งในห้องเรียน และในคลินิก

              7.2.8  เลือกวิธี และประเมินผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ได้ครบกระบวนการ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ

              7.2.9  เขียนข้อสอบประเภทต่าง ๆ ได้อย่างมีคุณภาพพร้อมทั้งวิเคราะห์ข้อสอบ และวิพากษ์ข้อสอบได้

              7.2.10  อธิบายบทบาท หน้าที่ และจริยธรรม/จรรยาบรรณของอาจารย์ได้

              7.2.11  วางแผนการวิจัยในห้องเรียนได้

8.  กลุ่มเป้าหมาย

          8.1  คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม

               8.11  สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทสาขาพยาบาลศาสตร์หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง (สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ )

               8.1.2  เป็นพยาบาลวิชาชีพและปฏิบัติงานทางการพยาบาลมาแล้วหลังสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีไม่น้อยกว่า 3 ปี  หรือปริญญาโทไม่น้อยกว่า 1 ปี

               8.1.3  คุณสมบัติอื่น ๆ ตามที่สถาบันกำหนด

          8.2  จำนวนที่รับ     :     20   คน

9. องค์ประกอบของหลักสูตร

          9.1 โครงสร้างหลักสูตร   จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร   18  หน่วยกิต ดังนี้

             ภาคทฤษฎี                                                         12  หน่วยกิต              

             ภาคปฏิบัติ                                                            6  หน่วยกิต 

          9.2  รายวิชา

           9.2.1 วิชาปรัชญาและมโนทัศน์การศึกษาและการจัดการเรียนการสอน     2(2-0-4)

             9.2.2  การพัฒนาหลักสูตร                                                            2(2-0-4)

             9.2.3  เทคนิคและวิธีการสอนทางการพยาบาล                                   3(3-0-6)

             9.2.4  การประเมินผลการจัดการเรียนการสอน                                    2(1-2-2)

             9.2.5  การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสืบค้น                              1(0.5-1-1)

             9.2.6  คุณลักษณะ หน้าที่ความรับผิดชอบ และจรรยาบรรณอาจารย์        1(1-0-2)

             9.2.7  การวิจัยในห้องเรียน                                                            1(1-0-2)

             9.2.8  การฝึกปฏิบัติการสอนในห้องเรียน                                           3(0-12-0)

             9.2.9  การฝึกปฏิบัติการสอนในห้องปฏิบัติการพยาบาลและในคลินิก         3(0-12-0)

                                                                                           รวม        568.5   ชั่วโมง

10.  รูปแบบการอบรม

      10.1  การศึกษาภาคทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา และการพัฒนาหลักสูตร 157.5 ชั่วโมง

      10.2   การฝึกปฏิบัติ 45 ชั่วโมง การประเมินผลสัมฤทธิ์อย่างครบวงจร การเขียนแบบทดสอบการตัดเกรด การวิพากษ์ และวิเคราะห์ข้อสอบ

      10.3 การฝึกภาคสนาม การสอนในห้องเรียน และในคลินิก 360   ชั่วโมง 

      10.4 ฝึกอบรมวิชาภาคทฤษฎีในวันจันทร์ – ศุกร์ ในเดือนแรก (เดือนพฤษภาคม 2553) และฝึกอบรมวิชาปฏิบัติการตั้งแต่วันจันทร์ - วันศุกร์ในสามเดือนหลัง (เดือนมิถุนายน –สิงหาคม  2553)

11.  ระยะเวลาการอบรม :

            16 สัปดาห์  ระหว่างวันที่  3  พฤษภาคม -  31 สิงหาคม   2553

12 .   การประเมินผลตลอดหลักสูตร

      12.1 วิชาภาคทฤษฎี

          12.1.1   ปรัชญาและมโนทัศน์การศึกษาและการจัดการเรียนการสอน

          สอบข้อเขียน                                           80  %

          การมีส่วนร่วมในชั้นเรียนและรายงาน            20  %                                

           12.1.2  การพัฒนาหลักสูตร

           สอบข้อเขียน                                           80  %

           การมีส่วนร่วมในชั้นเรียนและรายงาน           20  %                   

            12.1.3  เทคนิคและวิธีการสอนทางการพยาบาล

            สอบข้อเขียน                                          80  %

            การมีส่วนร่วมในชั้นเรียนและรายงาน          20 %                              

             12.1.4  การประเมินผลการจัดการเรียนการสอน

           สอบข้อเขียน                                         50  %

           การมีส่วนร่วมในชั้นเรียนและรายงาน          50 %                               

              12.1.5   การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสืบค้น

            สอบข้อเขียน                                         50  %

            การมีส่วนร่วมในชั้นเรียนและรายงาน          50  %                        

              12.1.6   คุณลักษณะ หน้าที่ความรับผิดชอบ และจรรยาบรรณอาจารย์

            สอบข้อเขียน                                         80  %

            การมีส่วนร่วมในชั้นเรียนและรายงาน         20  %    

              12.1.7   การวิจัยในห้องเรียน

             รายงาน                                                30  %

             โครงร่างการวิจัย                                    50  %

             การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน                          20 %             

         12.2   วิชาปฏิบัติ                       

              12.2.1   ปฏิบัติการสอนในห้องเรียน

  • การเขียน course syllabus วิชา                        15  %
  • การเขียนแผนการสอน                                   30  %
  • การสอนในห้องเรียน                                     40  %
  • การออกข้อสอบ                                           15  %        

              12.2.2   ปฏิบัติการสอนในห้องปฏิบัติการพยาบาลและในคลินิก

ประเมินการสอนในกิจกรรมต่อไปนี้

-  การประชุมปรึกษาก่อนและหลังการปฏิบัติงาน              10  %

-  การตรวจเยี่ยมทางการพยาบาล                                10  %                                           

-  การสอนสุขศึกษา                                                 10  %

-  การสอนบนคลินิก/การสอนข้างเ                               10  %                              

-  การประชุมปรึกษาปัญหาทางการพยาบาล                    10  %

-  การสอนภาคปฏิบัติบนคลินิก                                    30  %

-  การตรวจรายงานกรณีศึกษา                                     10  %

-  การสอนภาคปฏิบัติบนคลินิก                                    10  %

          12.3   เกณฑ์การประเมินผลและการสำเร็จการศึกษา

                 12.3.1  ผู้เข้าอบรมต้องมีเวลาอบรมไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90 จึงมีสิทธิ์เข้ารับการประเมินผล

                 12.3.2 วัดผลตามแนวทางการประเมินผลหลักสูตรการอบรมเฉพาะทางของสภาการพยาบาลโดยประเมินผลเป็นลำดับขั้น (Grade) ตามความหมาย และค่าระดับขั้น

                  12.3.3 ผู้เข้ารับการอบรมต้องได้คะแนนเฉลี่ยตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 2.00 ในระบบ 4.00

13.  สถานที่แหล่งฝึกปฏิบัติ

         13.1 วิชาปฏิบัติการสอนในห้องเรียน ฝึกปฏิบัติที่คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

         13.2  วิชาปฏิบัติการสอนในห้องปฏิบัติการพยาบาล และการสอนในคลินิก

                     13.2.1   ปฏิบัติการสอนในห้องปฏิบัติการพยาบาล

ฝึกปฏิบัติที่ห้องปฏิบัติการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

                     13.2.2    ปฏิบัติการสอนในคลินิก

ฝึกปฏิบัติที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โรงพยาบาลขอนแก่น  จังหวัดขอนแก่น และโรงพยาบาลมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม

14.  การรับสมัคร     :     ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปถึงวันที่  2  เมษายน  2553 

        โดยส่งใบสมัคร และหลักฐานการสมัคร  ได้แก่  สำเนาใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ   สำเนาบัตรสมาชิกสภาการพยาบาล    สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน   สำเนาเอกสารเปลี่ยนชื่อ – นามสกุล  (ถ้ามี) 

        มาที่ นางฉวีวรรณ  วันสาสืบ  คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  อำเภอเมือง  จังหวัดขอนแก่น  40002   หรือทางโทรศัพท์ / โทรสาร   043-362-012, โดยไม่ต้องจ่ายค่าสมัคร

  *** ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการอบรม  ในวันที่  5  เมษายน   2553 ***

15.  ค่าลงทะเบียน    :    คนละ  30,000  บาท   (สามหมื่นบาทถ้วน)

        หลังจากทางคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  แจ้งผลการพิจารณาให้ท่านเข้ารับการอบรมเรียบร้อยแล้ว  ขอให้ท่านดำเนินการชำระเงินค่าลงทะเบียน  คนละ 30,000 บาท  โดยเลือกชำระเงิน ได้ 3 ช่องทาง คือ

        ชำระเงินสด  พร้อมแบบตอบรับ ได้ที่  งานบริการวิชาการและวิจัย ชั้น 1 อาคาร 6  คณะพยาบาลศาสตร์ มข.  ทางไปรษณีย์ธนาณัติหรือธนาณัติออนไลน์ สั่งจ่าย ป.ณ. มหาวิทยาลัยขอนแก่น  40002  

          ในนาม นางฉวีวรรณ  วันสาสืบ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40002     

          โอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์  ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)  สาขามหาวิทยาลัยขอนแก่น  ชื่อบัญชี   โครงการประชุมวิชาการ คณะพยาบาลศาสตร์ มข. เลขที่บัญชี  551-408472-4       

           พร้อมส่งสำเนาหลักฐานการโอนเงิน เขียนชื่อ-นามสกุล ของผู้โอนเงินให้ชัดเจน  ส่งได้ที่ นางฉวีวรรณ  วันสาสืบ คณะพยาบาลศาสตร์   มหาวิทยาลัยขอนแก่น  อำเภอเมือง  จังหวัดขอนแก่น  40002 หรือทางโทรสาร 0-4336-2012, 0-4334-8301 สำหรับใบเสร็จรับเงินติดต่อรับได้ในวันลงทะเบียน 

16.  ผลที่คาดว่าจะได้รับ

         16.1   ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้  ความเข้าใจและวิธีการจัดการเรียนการสอนทางการพยาบาล

         16.2    ผู้เข้ารับการอบรมมีความสามารถและทักษะในการจัดการเรียนการสอนทางการพยาบาล  ทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ครบวงจร และมีประสิทธิภาพ

  16.3  ผู้เข้ารับการอบรมสามารถทำบทบาทหน้าที่ครูพยาบาลได้อย่างมีคุณภาพ

*****หมายเหตุ   ได้หน่วยคะแนนศูนย์การศึกษาต่อเนื่องสาขาการพยาบาลศาสตร์ 50 หน่วยคะแนน

____________________________________________________________________________

ที่มา : “โครงการอบรมหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้น  สาขาศาสตร์และศิลป์การสอนทางการพยาบาล รุ่นที่  3.” (15 กุมภาพันธ์ 2553).  Document online.  (ออนไลน์).  1 : 1-8.  แหล่งที่มา : http://documentonline.net [10 กันยายน 2553].

    แหละนี่ก็ คือ  เรื่องราวทั้งหมดของตัวอย่างโครงการฝึกอบรมที่เล็กนำมาฝากท่านผู้อ่าน   หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจเรื่องราวเหล่านี้นะคะ

    นอนหลับฝันดี  ราตรีสวัสดิ์ค่ะ

 

คำสำคัญ (Tags): #โครงการฝึกอบรม
หมายเลขบันทึก: 401735เขียนเมื่อ 9 ตุลาคม 2010 15:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 16:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท