ตัวอย่างแผนบูรณาการระหว่างวิชา


การบูรณาการระหว่างวิชา บูรณาการทางการสอนจะช่วยฝึกให้ผู้เรียนรู้จักนำความรู้ไปผสมผสานกัน ฝึกให้รู้จักใช้ เหตุผลและ การนำไปประยุกต์ใช้ เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน

 ตัวอย่างแผนการเรียนรู้ระหว่างวิชา

                                                  

                                                                 

                                                                               แผนการจัดการเรียนรู้

                                                                                                               กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์    ชั้นประถมศึกษาปีที่3

หน่วยการเรียนรู้บูรณาการแบบสอดแทรกเรื่องสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม  

เวลา 2 ชั่วโมง                                                                                                  

____________________________________________________________________________________________________________________

มาตรฐานการเรียนรู้

                              มาตรฐาน ว 2.1 เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นความสัมพันธ์ระหว่าง สิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต                                  ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างๆในระบบนิเวศ มีกระบวนการ สืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ (วิทยาศาสตร์)

                    มาตรฐาน ท.11ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ ตัดสินใจแก้ปัญหาในการดำเนินชีวิต และมีนิสัยรักการอ่าน (ภาษาไทย)                                                                     

                              มาตรฐาน ส 5.2 เข้าใจปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์ วัฒนธรรม และมีจิตสำนึก อนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (สังคมศึกษา)                                             

                              มาตรฐาน ศ 1.1 สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ตามจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์คุณค่างานทัศนศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่องานศิลปะอย่างอิสระชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน (ศิลปะ)

 มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น                                                 

                    มาตรฐาน ว 2.1.1 สำรวจตรวจสอบสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น วิเคราะห์ข้อมูล อภิปรายและอธิบายความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตต่างๆที่อาศัยอยู่ร่วมกันและนำเสนอผลการศึกษา (วิทยาศาสตร์)

                              มาตรฐาน ท 1.1.1 รู้จักใช้คำถามเกี่ยวกับเนื้อหาและแสดงความรู้ ความคิด คาดคะเนเหตุการณ์จากเรื่องที่อ่านและกำหนดแนวทางปฏิบัติ (ภาษาไทย)

                              มาตรฐาน ส 5.2.1 รู้จักสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติในชุมชน เข้าใจการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติของคนในชุมชน รักและรู้คุณค่าของธรรมชาติ (สังคมศึกษา)

                              มาตรฐาน ศ 1.1.2 สังเกต รับรู้สิ่งที่อยู่รอบตัวใช้ทัศนธาตุสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์โดยใช้วิธีการต่างๆ ตามความสนใจ (ศิลปะ)

สาระสำคัญ

                  สิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเรา เรียกว่า สิ่งแวดล้อม ซึ่งมีทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตบางอยางเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และบางอย่างมนุษย์เป็นผู้สร้างขึ้น

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง 

                  1. สำรวจ สังเกตและนำเสนอข้อมูลแสดงความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่อาศัยอยู่ร่วมกันในสิ่งแวดล้อม (วิทยาศาสตร์)

                  2. ตั้งคำถามและตอบคำถามเชิงเหตุผลเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน (ภาษาไทย)

                  3. รู้จักสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติในชุมชน (สังคมศึกษา)

                  4. สร้างงานทัศนศิลป์โดยใช้วิธีการต่างๆ ตามความสนใจ (ศิลปะ)

จุดประสงค์การเรียนรู้

                  1. อธิบายความหมายของสิ่งแวดล้อมได้

                  2. จำแนกประเภทของสิ่งแวดล้อมได้

                  3. วิเคราะห์ผลกระทบที่เกิด จากปัญหาสิ่งแวดล้อมได้

                  4. เสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนได้

                  5. ตั้งคำถามและตอบคำถามเชิงเหตุผลเกี่ยวกับเรื่องสิ่งแวดล้อมได้

                  6. วาดภาพสิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่อยู่ภายในบริเวณโรงเรียนได้

                  7. แสดงความรับผิดชอบต่อการทำงานเป็นกลุ่มได้

สาระการเรียนรู้

                 1. ความหมายของสิ่งแวดล้อม

                 2. ความสำคัญของสิ่งแวดล้อม

                 3. ประเภทของสิ่งแวดล้อม

กิจกรรมการเรียนรู้

          ขั้นที่ 1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน

                   1. ครูให้นักเรียนดูภาพสิ่งแวดล้อม ที่อยู่รอบๆตัวนักเรียน จำนวน 10 ภาพ (เก้าอี้, น้ำตก, ภูเขาหัวโล้น,ทะเล, ผีเสื้อ,ป่าไม้สีเขียวขจี,คนตัดไม้ทำลายป่า,นกกำลังบินกลับรัง, รถยนต์ภายในกรุงเทพมหานคร, พระอาทิตย์กำลังตกดิน) และใช้คำถามประกอบดังนี้

                -  ภาพนี้คืออะไร?

                - ภาพนี้เป็นสิ่งมีชีวิตหรือสิ่งไม่มีชีวิต เพราะเหตุใด?

                    2. ให้นักเรียนช่วยกันจัดกลุ่มภาพทั้ง 10 ภาพ ตามความคิดของนักเรียนพร้อมทั้งบอกเกณฑ์ที่ใช้ในการจัดกลุ่ม แล้วครูเขียนการจัดกลุ่มภาพที่นักเรียนนำเสนอบนกระดาน

                    3. ครูให้นักเรียนช่วยกันยกตัวอย่างสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวเรา ทั้งสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตเพิ่มเติม

            ขั้นที่ 2 ขั้นแลกเปลี่ยนประสบการณ์

                    1.ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม 4 กลุ่ม แล้วให้มีสมาชิกกลุ่มละประมาณจำนวน 4-5 คน โดยจัดกลุ่มคละความสามารถแล้วเลือกประธาน เลขานุการ

                    2.ให้นักเรียนเล่นเกมแข่งขันการตั้งคำถามและตอบคำถาม จากภาพ (ภาพนักเรียนทิ้งขยะและภาพน้ำเสียที่โรงงานอุตสาหกรรมนำมาปล่อยทิ้งตามถนนแล้วส่งกลิ่นเหม็น) ซึ่งมีวิธีเล่นเกม ดังนี้

                    - ครูหยิบภาพนักเรียนทิ้งขยะขึ้นมา แล้วให้นักเรียนกลุ่มที่ 1 และให้นักเรียนกลุ่มที่ 2 ฝึกตั้งคำถามจากภาพ แล้วให้นักเรียนกลุ่มที่ 3 และนักเรียนกลุ่มที่ 4 ตอบคำถามแล้วบันทึกคำถามและคำตอบลงในแบบบันทึกที่ 1 ซึ่งแต่ละกลุ่มจะช่วยระดมความคิดเห็นในการตั้งคำถามและตอบคำถามสำหรับการเล่นเกมในครั้งนี้

 

                      - ครูหยิบภาพน้ำเสียที่โรงงานอุตสาหกรรมนำมาปล่อยทิ้งตามถนนแล้วส่งกลิ่นเหม็นขึ้นมา แล้วให้นักเรียนกลุ่มที่ 3 และนักเรียนกลุ่มที่ 4 ฝึกตั้งคำถามจากภาพแล้วให้นักเรียนกลุ่มที่ 1 และนักเรียนกลุ่มที่ 2 ตอบคำถาม แล้วบันทึกคำถามและคำตอบลงในแบบบันทึกที่ 1 ซึ่งแต่ละกลุ่มจะต้องช่วยกันระดมความคิดเห็นในการตั้งคำถามและตอบคำถามสำหรับการเล่นเกมในครั้งนี้เช่นเดียวกัน

                     3. ครูให้นักเรียนดูภาพเพิ่มเติม (ภาพนักเรียนทำความสะอาดบริเวณโรงเรียน, ภาพคนเผาขยะ, ภาพน้ำท่วม, ภาพภัยแล้งที่มีดินแตกระแหง, ภาพภูเขาสีเขียวขจี) ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มระดมความคิด ช่วยกันตอบคำถามดังนี้

                  - นักเรียนชอบภาพใดมากที่สุด เพราะเหตุใด?

                  - นักเรียนไม่ชอบภาพใด เพราะเหตุใด?

                  - นักเรียนคิดว่าสาเหตุของปัญหาสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน คืออะไร แล้วนักเรียนมีวิธีการแก้ไขปัญหานี้ได้โดยวิธีใดบ้าง?

                  - ผลกระทบที่เกิดจาก ปัญหาสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนจะกระทบกับใครบ้างอย่างไร จงอธิบาย?

                 4.ให้สมาชิกแต่ละกลุ่มอภิปรายแลกเปลี่ยนประสบการณ์เพิ่มเติม

           ขั้นที่ 3 ขั้นประสานความคิด

                 1. ครูแจกใบความรู้ที่ 1 เรื่องสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา แล้วให้แต่ละกลุ่มศึกษาใบความรู้ หรือเข้าห้องสมุด หรือเรียนรู้จากหนังสือพิมพ์ หรือสอบถามจากผู้รู้เพื่อศึกษาความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา

                 2.ครูให้คำแนะนำแก่นักเรียนที่มีข้อสงสัยหรือเสนอแนะแนวทางการค้นคว้าข้อมูลหรือแนวทางแก้ปัญหาเพิ่มเติม

                 3. ให้แต่ละกลุ่มสรุปความรู้แล้วเขียนแผนผังความคิดในใบงานที่ 1.1 เรื่องสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา

                 4.ครูสุ่มตัวแทนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลงาน จากใบงานที่ 1.1 หากนักเรียนสงสัยครูอธิบายเพิ่มเติม

           ขั้นที่ 4 ขั้นจิตสำนึกดีงาม

                 1.นักเรียนแต่ละกลุ่มปฏิบัติกิจกรรมในใบงานที่ 1.2 เรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยให้แต่ละกลุ่มช่วยกันวิเคราะห์ปัญหาสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน ผลกระทบที่เกิดขึ้นพร้อมทั้งบอกวิธีการแก้ปัญหาด้วย

                 2.ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันวาดภาพพร้อมทั้งระบายสีใบงานที่ 1.3 เรื่องโรงเรียนในฝัน แล้วให้เขียนอธิบายความหมายของโรงเรียนในฝันตามความเข้าใจของข้อสรุปของนักเรียนแต่ละกลุ่ม

                 3.ให้แต่ละกลุ่มนำเสนอผลการปฏิบัติกิจกรรมในใบงานที่ 1.1 และใบงานที่ 1.3      

           ขั้นที่ 5 ขั้นสรุปและประเมินตามสภาพจริง

                 1. นักเรียน ครู และเพื่อนแต่ละกลุ่ม ร่วมกันประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนจากใบงานที่ 1.1ใบงานที่ 1.2 และใบงานที่1.3 จากแบบประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม, แบบประเมินการวาดภาพสิ่งแวดล้อม, แบบประเมินงานนำเสนอผลงาน แต่ละกลุ่มตามสภาพที่เป็นจริง

                 2. นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลการเรียนรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมรอบตัวเราโดยใช้แผนภูมิสรุปประกอบ ครูช่วยสรุปเติมเต็มในส่วนที่ผู้เรียนนำเสนอข้อมูลไม่ครบ หรือข้อมูลไม่สมบูรณ์

สื่อการเรียนรู้/แหล่งการเรียนรู้

                  ๏ สื่อการเรียนรู้

                         - ภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีและสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี

                         - ภาพสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน

                         - แผนภูมิสรุปผลการเรียนรู้

                         -  แบบบันทึกที่ 1

                          - ใบความรู้ที่ 1 เรื่องสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา

                          - ใบงานที่ 1.1 เรื่องสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา

                           - ใบงานที่ 1.2 เรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อม

                           - ใบงานที่ 1.3 เรื่องโรงเรียนในฝัน

                   แหล่งการเรียนรู้

                           - ห้องสมุด

                           - หนังสือพิมพ์

                           - บริเวณรอบโรงเรียน

                           - บริเวณรอบชุมชน

การวัดและประเมินผล

สิ่งที่ต้องการวัด

วิธีการ

เครื่องมือ

เกณฑ์

1. อธิบายความหมายของสิ่งแวดล้อมได้

ตรวจใบงานที่ 1.2

ใบงานที่ 1.2

อย่างน้อย 5 ข้อ

2. จำแนกประเภทของสิ่งแวดล้อมได้

ตรวจใบงานที่ 1.1

ใบงานที่ 1.1

          แนบท้ายแผนฯ

3. วิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดจากปัญหาสิ่งแวดล้อมได้

ตรวจใบงานที่ 1.3

ใบงานที่ 1.3

แนบท้ายแผนฯ

4. เสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนได้

การนำเสนอผลงาน

แบบประเมินการนำเสนอผลงาน

อย่างน้อย 5 ข้อ

5. ตั้งคำถามและตอบคำถามเชิงเหตุผลเกี่ยวกับเรื่องสิ่งแวดล้อมได้

ตรวจการบันทึก

แบบประเมินการวาดภาพ

แนบท้ายแผนฯ

6. วาดภาพสิ่งแวดล้อมต่างๆที่อยู่ภายในบริเวณโรงเรียนของนักเรียนได้

ตรวจผลงาน

แบบประเมินการวาดภาพ

แนบท้ายแผนฯ

7. แสดงความรับผิดชอบต่อการทำงานเป็นกลุ่มได้

การทำงานกลุ่ม

แบบประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม

แนบท้ายแผนฯ

  ที่มา

              ลิขิต พวงประโคน. (2552)  การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม    ความสามารถในการแก้ปัญหา และความพึงพอใจในการเรียนการสอน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3จากการจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบสอดแทรก. นครราชสีมา: วิทยานิพนธ์ปริญญาโท (หลักสูตรและการสอน), มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา

                                                              สรุปกระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการ

                การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนโดยการ

                      1.  ผสมผสานหลักสูตร – ความรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ เข้าด้วยกัน

                      2.  ผสมผสานกระบวนการสอน / กระบวนการเรียนรู้ / ปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมอันดีงาม  โดยคำนึงถึง

                         -   ความแตกต่างระหว่างบุคคล

                        -   ความสามารถทางสติปัญญา

  การบูรณาการทางการสอนจะช่วยฝึกให้ผู้เรียนรู้จักนำความรู้ไปผสมผสานกัน   ฝึกให้รู้จักใช้ เหตุผลและ การนำไปประยุกต์ใช้  เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน

     ก็ขอฝากสาระดี..ดีที่มีประโยชน์ในการเรียนการสอนไว้เพียงเท่านี้นะคะเผื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอนในปัจจุบันและอนาคตสำหรับผู้ที่ต้องการบูรณาการความรู้ในบทเรียน หรือรายวิชาในหลักสูตรต่างๆหวังว่าคงเป็นประโยชน์ต่อท่านที่แวะเข้ามาทักทายและได้อ่านสาระในบทความนี้ไม่มากก็น้อย..เดี๋ยวเจอกันใหม่นะคะ

 

หมายเลขบันทึก: 401728เขียนเมื่อ 9 ตุลาคม 2010 13:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 21:27 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท