หน้าที่ความรับผิดชอบของครู


สิ่งที่สอนคนเราไม่ได้ ก็คือ 'สามัญสำนึก'

หน้าที่ความรับผิดชอบของครู

       หน้าที่ หมายถึง กิจที่ควรกระทำหรือกิจที่ต้องกระทำ

       ส่วนคำว่า  ความรับผิดชอบหมายถึง หน้าที่ประจำของแต่ละบุคคลเมื่อได้รับมอบหมาย และการปฏิบัติงานและหน้าที่โดยเฉพาะ ซึ่งได้รับมอบหมายให้ดีที่สุดตามความสามารถของตนก่อนจะสอนเด็กครูจะต้องสำรวจตัวเองด้วยว่ามีความรับผิดชอบเพียงใดจะได้สั่งสอนเด็กได้อย่างไม่เต็มปากเต็มคำ

( หากครูขาดความรับผิดชอบจะสอนเด็กให้ดีได้อย่างไร ทวงถามงานมากก็โดน ไม่ทวงก็โดน ! )

              ครูต้องรับหน้าที่ต่างๆมากมาย ความรับผิดชอบของครูก็ต้องทวีขึ้นตามหน้าที่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมต่างๆของสังคมรอบตัวครู  หน้าที่ความรับผิดชอบ  ได้แก่

  • หน้าที่ความรับผิดชอบของครูต่อศิษย์
  • หน้าที่ความรับผิดชอบของครูต่อสถานศึกษา  
  • หน้าที่ความรับผิดชอบของครูต่อเพื่อนครู
  • หน้าที่ความรับผิดชอบของครูต่อผู้ปกครองนักเรียน
  • หน้าที่ความรับผิดชอบของครูต่อผู้บังคับบัญชา
  • หน้าที่ความรับผิดชอบของครูต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์  

            ครูที่มีความรับผิดชอบในตัวเอง  มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่  และมีความอดทน ใฝ่รู้ใฝ่เรียนอยู่ตลอดเวลา  มีจิตใจสูง มีศีลธรรม  คุณธรรม  มีเมตตาแก่ผู้เรียน  เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว  จะทำให้ครูเป็นครูดีมีคุณภาพ

    ครูย่อมมีความรับผิดชอบมากมายด้วยเหตุผลเพราะครูเป็นคนที่ผู้ปกครองไว้วางใจ

ต้องระลึกไว้เสมอว่า     สิ่งที่สอนคนเราไม่ได้ ก็คือ  'สามัญสำนึก'

 

คำสำคัญ (Tags): #anw
หมายเลขบันทึก: 401230เขียนเมื่อ 6 ตุลาคม 2010 14:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 13:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

-::- ของเดิมที่มีอยู่บ้างก็ยังไม่ล้าสมัยนะครับ ถ้าทำได้อย่างสม่ำเสมอ และเพิ่มเติมเข้าไปอีก -::-

- อาจารย์จะต้องระมัดระวังสวัสดิการของนักเรียน โดยไม่กระทำการใดที่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่นักเรียนโดยไม่เป็นธรรม

- ต้องเก็บข้อมูลของนักเรียนเป็นความลับ ในกรณีจะต้องปรึกษาเพื่อนร่วมงานเพื่อหาทางช่วยเหลือนักเรียน ก็จะต้องทำด้วยความระมัดระวังและไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่นักเรียนได้

- ต้องมีความจริงใจและช่วยเหลือนักเรียนของตน โดยถือนักเรียนเป็นเสมือน ลูกหลานของตน

- ในกระบวนการให้คำปรึกษาอาจารย์ควรให้ความคิดเป็นกลาง ไม่วิจารณ์บุคคลหรือสถาบันใดให้นักเรียนฟังในทางก่อให้เกิดความเสื่อมเสีย หรือก้าวร้าวแก่บุคคลหรือสถาบัน

- อาจารย์จะต้องมีความประพฤติหรือกิริยามารยาทการแต่งกายให้เหมาะสมกับความเป็นปูชนียบุคคลยึดมั่นในคุณธรรมเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีต่อไป

- ต้องชี้แจงเกี่ยวกับระเบียบต่าง ๆ ของโรงเรียนให้นักเรียนทราบ

- ต้องหมั่นตรวจดูแลความประพฤติของนักเรียนอยู่เสมอ ถ้าหากไม่สามารถแก้ไขได้ให้แจ้ง แผนกวินัยและความประพฤติ

- ควบคุมนักเรียนให้อยู่ในระเบียบวินัย ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน เช่น การเข้าแถวเคารพธงชาติในเวลาเช้า การพูดจาไม่สุภาพ การทำเสียงดังรบกวนผู้อื่น

- ให้คำปรึกษา แนะนำ ตักเตือน อบรมสั่งสอนศิษย์อย่างเป็นกลางและมีความเหมาะสม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท