การบริหารงานบุคคลกับการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี


การบริหารงานบุคคลกับการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
หลักการบริหารงานบุคคลกับการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี  ทุกคนเคร่งเครียดกับการทำงานมานาน อาจจะเผลอลืมแนวคิดเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลไปแล้ว     ซึ่งแนวคิดนี้  คนยุคใหม่อาจจะ คิดว่าเป็นแนวคิดเก่า  คร่ำครึ ไม่ทันสมัย แต่อาจจะลืมคิดไปว่าแนวคิดการบริหารงานบุคคลนี้ สามารถใช้ได้ทุกยุคทุกสมัย และจะไม่มีคำว่าล้าสมัยแน่นอน  เนื่องจากเป็นการศึกษามาตั้งแต่โบราณกาล และอาจจะผสมกลมกลืนกับแนวคิดการบริหารงานยุคปัจจุบัน คือการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance)  ได้           จึงขอเปรียบเทียบแนวความคิดเดิม ๆ  ในการบริหารงานกับแนวความคิด หรือ หลักการ บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ใหม่ ๆ สด ๆ ร้อน ๆ  ซึ่งอาจจะช่วย Re- engineering ความคิด ความรู้สึก เก่า ๆ และUpdate ความรู้สึกใหม่ ๆ ที่ดี ๆ ให้เข้ามาในความทรงจำของทุกคนเพื่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการดังนี้
การบริหารงานและลักษณะสำคัญของข้าราชการประจำ(Personnel  Administration) การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี(Good Governance)
1. มีหลักประกันความมั่นคง(Security Of Tenure)2. อยู่ภายใต้กฎแห่งความสามารถ(Rule Of Competence)3. มีโอกาสเท่าเทียมกัน (Equality Of Opportunity)4. มีความเป็นกลางทางการเมือง(Political Neutrality)5.  มีองค์กรกลางจัดระเบียบและควบคุม(Civil Service Commission) 1. หลักนิติธรรม(Law System)2. หลักคุณธรรม(Merit  System)3. หลักความโปร่งใส(Transparent)4. หลักการมีส่วนร่วม(Participation)5. หลักความรับผิดชอบ (Responsibility)6. หลักความคุ้มค่า(Value)
แสดงให้เห็นแล้วทั้ง 2 ยุค เปรียบเทียบกันเอาเองแล้วกัน  และขอแถมท้าย องค์ประกอบสำคัญของการบริหารงานอีกประการหนึ่ง ซึ่งผู้ที่เป็นผู้บริหารจะลืมเสียมิได้ คือสิ่งจูงใจกับสิ่งที่สร้างความพอใจ  โบราณว่าไว้ว่า มนุษย์จะมีพฤติกรรมไปในรูปแบบใด หรืออย่างใด ขึ้นอยู่กับการจูงใจ สิ่งล่อใจ และสิ่งเร้า  จึงเกิดบทความ  ภาวะผู้นำกับการจูงใจ ขึ้น ซึ่ง Ordwap  Tead   ได้กล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า Leadership is the activity of influencing people to cooperate toward same goal which they came to find desirable  แปลว่า  ความเป็นผู้นำคือการใช้อิทธิพลจูงใจคนให้ร่วมมือปฏิบัติการเพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งเขาเหล่านั้นเองเห็นว่าเป็นสิ่งอันพึงปรารถนาจะเห็นได้ว่าการจูงใจคนนั้นเป็นกระบวนการสำคัญประการหนึ่งของการบริหารงานบุคคลในการที่จะทำให้การทำงานของบุคคลมีประสิทธิภาพสูงขึ้นและ  หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้นำทั้งหลายคงมี การจูงใจแบบ    ปฎิฐาน (Positive  Motivation) อยู่ในตัวเอง   มากกว่า การจูงใจแบบนิเสธ (Negative  motivation) อยู่แล้ว เสาวลักษณ์  สังข์ทอง  (ที่มา  หลักการบริหารงานบุคคล  โดยอุทัย  หิรัญโต) 
หมายเลขบันทึก: 40093เขียนเมื่อ 21 กรกฎาคม 2006 13:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 พฤษภาคม 2012 11:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท