กิจกรรมบำบัดด้วยการฝึกสมาธิในจิตอาสาเบาหวาน


ขอบคุณการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับครูต้อย พี่มด อ.ดร.ขจิต ในโครงการที่ดีๆ คลิกต่อยอดจาก http://gotoknow.org/blog/otpop/395424

ลองติดตามอ่านประสบการณ์ดีๆ ที่ผมได้ไปแนะนำกิจกรรมบำบัดด้วยการฝึกสมาธิให้อาสาสมัครจิตอาสาช่วยเหลือผู้ป่วยเบาหวานที่

http://gotoknow.org/blog/yahoo/397569

http://gotoknow.org/blog/krutoiting/398959

http://gotoknow.org/blog/sk-ccc/398050

ขอบคุณครูต้อย พี่มด และพี่ ดร. ขจิต มากครับ

ขอบคุณสำหรับโอกาสดีๆ ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ "ใบสั่งความดี" และ "กระบวนทัศน์ของการดูแลสุขภาพตนเองเมื่อเป็นเบาหวาน"

 

ฝึกจิตสำนึกวัดชีพจรและอัตราการหายใจด้วยตนเอง

•อัตราการหายใจในผู้ใหญ่ –เต้นเร็วเกินไป   มากกว่า 24 ครั้งต่อนาที –เต้นช้าเกินไป   น้อยกว่า 10 ครั้งต่อนาที

•อัตราการเต้นของหัวใจในผู้ใหญ่ –เต้นเร็วเกินไป   มากกว่า 100 ครั้งต่อนาที –เต้นช้าเกินไปน้อยกว่า 60 ครั้งต่อนาที

จากนั้นควรฝึกจิตสำนึกวัดชีพจรและหายใจก่อนและหลังฝักสมาธิแต่ละระดับ ได้แก่

  • ระดับที่ 1 ฝึกจิตสำนึกให้รับรู้ความรู้สึกจนนิ่งวางเฉย
  • ระดับที่ 2 ฝึกจิตสำนึกให้เรียนรู้ความทรงจำที่ดี
  • ระดับที่ 3 ฝึกจิตสำนึกให้ผ่อนคลายและมีความสุข

•นอนหงายยืดขาตรง หลังส่วนล่างติดพื้น ถ้าทำไม่ได้ ให้งอเข่า วางมือสองข้างบนหน้าท้องใกล้สะดือ

•หายใจเข้าออก 3 ครั้ง หายใจเข้าโดยให้ท้องป่อง สูดอากาศไปที่ปอดล่างสุด กระจายอากาศมาที่กลางปอดและหน้าอก นับ 1-5 ในใจขณะหายใจเข้า และหายใจออก นับ 1-10 โดยปล่อยลมจากหน้าท้องมากลางปอดและปอดบนสุด ทำซ้ำ 5 ครั้ง

•หากรู้สึกเหนื่อยล้ากายใจจนเครียด กังวล ย้ำคิดย้ำทำ ให้หายใจช้าลง เข้าทางจมูกนับ 1-5 ออกทางปาก นับ 1-10 ทำจิตให้ว่างขณะหายใจ 10 นาที เสร็จแล้วหลับตาค้าง 2 นาที ลืมตาอยู่นิ่งๆ 2 นาที สื่อสารกับร่างกายว่าจะทำอะไรเมื่อลืมตาขึ้น สื่อสารกับจิตใจว่าจะรู้สึกดีอย่างไรเมื่อลืมตาขึ้น

•หลังเคลื่อนไหวทำกิจกรรมใดๆ ทำจิตให้ว่าง หลับตา ออกเสียงนับหลังหายใจออกทางปากดังๆ  1-10 รอบ แล้วหยุดส่งเสียง ใช้ลิ้นแตะนับฟันช้าๆ กลืนน้ำลาย 1-5 รอบ ลืมตาแล้วกลอกตาช้าๆ จากซ้ายมาตรงกลางมาขวาโดยไม่หันศีรษะ 1 นาที หลับตาค้าง 2 นาที ลืมตาอยู่นิ่งๆ 2 นาที สื่อสารกับร่างกายว่าจะทำอะไรเมื่อลืมตาขึ้น สื่อสารกับจิตใจว่าจะรู้สึกดีอย่างไรเมื่อลืมตาขึ้น ฝึกหายใจสลับรูจมูกขวา-ค้าง-ซ้าย

สำหรับกิจกรรมบำบัดด้วยการฝึกสมาธิในครั้งนี้ มีการเปรียบเทียบความดันโลหิตก่อนและหลังฝึกสมาธิต่อเนื่องกันนาน 60 นาที พบว่า อาสาสมัครจิตอาสา 90% มีความดันโลหิตลดลงและรู้สึกผ่อนคลาย มีสติและความสุขในการคิดจัดการสุขภาพได้ดีขึ้น

  

หมายเลขบันทึก: 400536เขียนเมื่อ 3 ตุลาคม 2010 09:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 20:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

สวัสดีค่ะIco64

  ขอบคุณมากมายค่ะ เรื่องนี้ต้องขยายค่ะ คุณยายจะนำไปบอกต่อนะคะ

ยินดีและขอบคุณมากครับคุณยาย

นับเป็นบุญของผู้ป่วยเบาหวานโรงพยาบาลสมุทรสาครค่ะ

วันที่ 15 ตุลานี้ จะต่อยอดที่น้องดร.ป๊อบได้แนะนำไว้

จะได้ถามไถ่ว่านำกลับไปทำไปปฏิบัติต่อที่บ้าน แล้วผลเป็นอย่างไร

และได้นำเรื่องราวดีๆนี้ไปบอกเล่าให้ใครฟังบ้าง

การพูดคุยเล่าในสิ่งดีๆก็เป็นพลังที่ช่วยให้คนฟังได้รู้สึกยินดี

และอยากทำความดีนั้นๆขึ้นมาได้เหมือนกัน

ยังระลึกถึงวันที่ผู้ป่วยมีความสุขได้ชัดเจนค่ะ

และจะนำมาลปรร.ในโอกาสต่อไป

ขอบคุณอีกครั้งค่ะ และจองครั้งต่อไป

หากฌอกาสมาถึงค่ะ ..เอิ๊กๆ

บันทึกนี้รูปพี่ๆพากันอ้วนท้วนสมบรูณ์มากเลยนะคะ

ขอบคุณครับคุณครูต้อย สำหรับโอกาสให้แบ่งปันความรู้และเรียนรู้กลุ่มคนจิตอาสา และขอบคุณที่ต่อยอดติดตามผลการนำความรู้ไปใช้จริงครับ

ขอบคุณมากๆค่ะ. อีกหนึ่งโปรแกรมแทรกเข้ามา ปฏิบัติธรรม ช่วงวันที่ 12-19 กุมภาพันธ์ 2553 จะมีจิตอาสาสนใจไหมหนออออออออ.

ขอบคุณครับสำหรับโปรแกรมปฏิบัติตาม ต้องขออภัยที่ไม่สามารถเข้าร่วมได้ เพราะติดงานวันเกิดและวันวาเลนไทน์ครับผม

ขอบคุณมากๆที่ทำให้ได้รียนรู้ มีตอนให้หายใจออก แล้วไม่ได้หายใจเข้า โอย หายใจไม่ทัน ฮ่าๆๆ ขอบคุณมากๆๆครับ

ยินดีครับพี่ อ. ดร. ขจิต ที่ฝึกหายใจได้เข้าถึงสมาธิอย่างยอดเยี่ยมครับ

สวัสดีค่ะ

พวกเรากำลังทำกิจกรรมFollow up ผู้ป่วยจิตอาสาพร้อมจนท.รพสมุทรสาคร

ตอนนี้กำลังทบทวนใบสั่งทำความดี ทุกคนถามหาน้องดร.ป๊อปนะคะ

เป็นกุศโลบายที่ดีในการใช้ "ใบสั่งความดี" ครับคุณครูต้อย ขอให้การติดตามผลประสบความสำเร็จด้วยดีนะครับทั้งทีมงาน รพ. สมุทรสาคร และผู้ที่มีจิตอาสาทุกท่าน ขอบคุณที่ถามหาครับ

ผมสืบค้นไปพบบันทึกภาพเล่าเรื่อง ดร.ป๊อป กับกิจกรรมบำบัดด้วยการฝึกสมาธิในจิตอาสาเบาหวาน

คลิกรับชมที่ http://gotoknow.org/blog/krutoiting/401929

ขอเชิญกลับไปที่  http://gotoknow.org/blog/krutoiting/401929 

มีอะไรน่ารักๆมาฝากค่ะ

ขอบคุณมากครับคุณครูต้อย ที่ช่วยวาง Link น่ารักๆ ให้ครับ

ผมขออนุญาตบันทึกการสื่อสารทาง Blog ระหว่าง ดร. ป๊อป และครูต้อย ดังนี้

Date: Sat, 23 Oct 2010 09:59:04 +0700

Subject: Re: [gotoknow.org] You've received a contact mail @ Thu Oct 21 08:44:41 +0700 2010

From: xxxxxxxx

To: pppppppp

เรียนน้องอ.ดร.ป๊อบ

ขอบคุณค่ะ ที่สนับสนุนการทำงานเพื่อสุขภาวะที่ดีถ้วนหน้าของเพื่อนมนุษย์

ครูต้อยรู้สึกยินดี อิ่มเอมใจ ที่ผลการทำงานได้มีส่วนในโลกการเรียนรู้

ขอภาวนาให้น้องและครอบครัวมีความสุขในกุศลจิตที่เกิดด้วยความสุขที่ปรารถนาทุกประการค่ะ

ครูต้อย

เมื่อ 21 ตุลาคม 2553, 17:03, ดร.ป๊อป เขียนว่า:

อ่านแล้วรู้สึกดีมากเลยครับ ผมขออนุญาตนำลง Link ต่อจากบันทึกของผม และจะนำประสบการณ์ของจิตอาสาท่านนี้ไปแนะนำให้นักศึกษากิจกรรมบำบัดเรียนรู้เป็นวิทยาทานต่อไปครับ

ด้วยความขอบคุณครูต้อยอย่างมากครับ

อ.ป๊อป

> Date: Thu, 21 Oct 2010 08:44:41 +0700

> From: support (at) gotoknow.org

> To: pppppppp

> Subject: [gotoknow.org] You've received a contact mail @ Thu Oct 21 08:44:41 +0700 2010

>

> สวัสดี Dr. Pop

> นี่คืออีเมลติดต่อจากผู้อ่าน กรุณาตอบโดยตรงไปยังผู้อ่านนั้น

> -----------------------------------------------------------

> ชื่อ: krutoiting

> อีเมล: xxxxxxxx

> หัวเรื่อง: ส่งเรื่องเล่ามาให้อ่านค่ะ

> ข้อความ:

> เรียนน้องดร.ป๊อบ ครูต้อยได้เขียนเรื่องเล่าเมื่อคืนนี้ และได้ส่งไปร่วมกิจกรรมงานKMเบาหวาน หากมีเวลาก็อยากจะให้อ่านเพื่อเป็นกำลังใจต่องานจิตอาสาค่ะ

> เรื่องเล่าของคนเป็นเบาหวานที่ผันชีวิตจากผู้รับเป็นผู้ให้

> "เหตุให้จิตคิดอาสา ..ยังคงอยู่ไม่มอดไป" โดยครูต้อย

> ความสุขที่เกิดจากการเป็นผู้รับช่างแตกต่างจากความสุขที่เกิดจากการเป็นผู้ให้ หนทางการต่อสู้กับเบาหวานของฉันนั้นส่งผลให้เกิดการประมวลภาพ องค์ความรู้ที่ได้รับคำแนะจากทีมแพทย์ของโรงพยาบาลสมุทรสาครขึ้นในใจ ในช่วงแรกที่ฉันรู้ว่าฉันเป็นเบาหวาน ฉันเกิดความรู้สึกขณะนั้นคือไม่ยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเอง ฉันไม่มีความเชื่อถือเครื่องทดสอบน้ำตาลในเลือดตัวจิ๋วนั้นเลย แต่สุดท้ายเมื่อฉันได้เข้ารับความรู้จากค่ายเบาหวานของโรงพยาบาล ทำให้เกิดความเข้าใจเบาหวานและตัวเองมากขึ้น ไม่รับการรักษาโดยใช้ยา แต่ไม่ปฏิเสธการดูแลตัวเอง หันมาดูกายเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเองเป็นระยะๆ ฉันจึงเริ่มทบทวนตัวเองอีกครั้งแล้วหันมาดูแลเอาใจใส่ตัวเองจนสามารถควบคุมภาวะเบาหวานให้อยู่ที่ระดับไม่เกิน 120 และลดลงมาที่ 98 โดยไม่พึ่งยาเลย ฉันยังคงปฏิบัติตนโดยยึดหลัก 3 อ.คืออาหาร การออกกำลังกาย และการรักษาอารมณ์ให้อยู่ในสภาวะที่ดี ฉันเริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใหม่ มองข้ามอาหารที่เคยกินเป็นประจำหันมาบริโภคสิ่งที่เป็นประโยชน์ และไม่พยายามก่อกวนให้สภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ฉันหันมาปฏิบัติธรรมฝึกปัญญาที่ฐานกาย ใจ และความคิด และ!

> ฉันพบว่ามันไม่ง่ายเลยที่จะทำเช่นนี้ได้ตลอดตราบที่ใจฉันยังหลงใหลในรูป รส กลิ่นของอาหาร ภาวะน้ำตาลในเลือดของฉันขึ้นลงๆอยู่อย่างนี้ มันไม่นิ่งเสมอไป และมันไม่คงที่ทุกครั้งไป ฉันทำได้เพียงไม่ให้ขาอีกข้างของฉันแหย่เข้าไปแต่สิ่งที่ฉันเคยเห็น เคยรับรู้ เรื่องราวของเบาหวานจากบรรพบุรุษ ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงของเบาหวาน เมื่อมันครอบงำจิตใจ และส่งผลให้ร่างกายต้องรับทุกข์ทรมานท้ายที่สุดคือการฟอกไต ก็รู้สึกกลัว ฉันเริ่มถือศีลปฏิบัติเคร่ง เพื่อเป็นเครื่องเตือนสติคำมั่นสัญญาที่ฉันจะต้องเอาชนะเบาหวานให้ได้ ดูเหมือนจะเครียดมากกว่าที่ต้องต่อสู้กับพฤติกรรมการบริโภคของตัวเอง และกลับสร้างความกังวลให้ครอบครัว และมันน่ารำคาญสำหรับเพื่อนร่วมงานที่เห็นการระมัดระวังการใช้ชีวิต และการบริโภคของฉัน แม้ครอบครัวจะให้ความสำคัญกับอาการเบาหวานของฉันโดยเราพากันไปว่ายน้ำ ออกกำลังกายด้วยการวิ่ง ตีปิงปอง และพากันไปพักผ่อนอยู่กับธรรมชาติฉันก็ยังคงเครียดกับภาวะน้ำตาลในกายฉัน ฉันเห็นความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีของร่างกาย อาจเป็นเพราะอายุการใช้งานร่างกายของฉัน ฉันเริ่มหาวิธีคลายเครียดให้ตัวเอง โดยการเขียนเรื่องราวต่า!

> งๆที่เกี่ยวกับเบาหวานลงในเว็บไซด์ ของgotoknow บ้าง ลานปัญญาบ้าง ทั้งนี้เพื่อหาเพื่อนแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของโรคกัน ที่นี่ทำให้ฉันหลุดออกจากพันธนาการ ทางความคิด และเริ่มมีผู้ใช้บริการด้วยการแลกเปลี่ยนประสบการณ์มากขึ้น

> ฉันเริ่มกลายเป็นศิราณี เพื่อนเบาหวานทางเน็ต เมื่อมีคนๆหนึ่งเมล์มาสอบถามอาการที่เขาเป็นและไม่นานฉันเริ่มกลายเป็นผู้ให้กำลังใจ และความรู้เท่าที่มี ฉันรู้ว่าผู้มาขอใช้บริการมีความพึงพอใจและมันทำให้ฉันมีความพยายามที่จะเรียนรู้เบาหวาน คุณหมออภิชาติและ เภสัชกรหญิงปราณีพูดเสมอๆว่า “ผู้ป่วยต้องเป็นหมอดูแลตัวเอง” ฉันเห็นด้วยนะ

> หลังจากนั้นฉันถูกเชิญให้ไปรับรางวัลผู้ป่วยโรคเรื้อรังไม่ติดต่อที่มีสุขภาพดี และทำประโยชน์ให้กับสังคมที่ศูนย์โรคเรื้อรังไม่ติดต่อ จ.ราชบุรีจัดให้ ฉันไม่ยินดีกับรางวัลนี้เลย เมื่อสายตาฉันเห็นคำว่าคำว่าโรคเรื้อรังไม่ติดต่อฉันรู้สึกไม่ดีกับคำว่าเรื้อรัง แต่ก็เป็นเพียงความรู้สึกที่ตอกย้ำ ทำให้ฉันทำงานเผยแพร่ความรู้เบาหวานมากขึ้น จับเด็กมาฝึกกายบริหาร ส่งไปแข่งขัน เพื่อประกาศให้รู้ว่าการออกกำลังกายนั้นสำคัญไฉน แต่เส้นทางนี้ไม่เหมาะกับฉัน เพราะมันเป็นเส้นทางของการแก่งแย่งชิงรางวัลกันเพื่อความเป็นหนึ่งโดยไม่เข้าถึงหัวใจของการออกกำลังกายที่ถูกต้อง ระยะต่อมาดูเหมือนฉันจะเริ่มมีภาระมากขึ้น ฉันออกทำงานคัดกรองผู้ป่วยเพียงหวังให้ทุกคนตระหนักรู้ถึงภัยเงียบที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน หากเขาเหล่านั้นมีพฤติกรรมเสี่ยง ทำอย่างนี้ 3 ครั้ง ได้รับรู้ว่ามีผู้ที่ไม่เคยรับการตรวจเลยว่ามีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง เป็นเป็นการเสี่ยงที่จะมีชีวิตอย่างปลอดภัย หากเราไม่รู้ว่า ภัยเงียบนี้ได้แอบเข้ามาในชีวิตเราตั้งแต่เมื่อไหร่ ความคิดของฉันในขณะนั้นมีเพียงความฝัน และความหวังที่จะได้ทำให้ผู้คนในแวดวงที่ฉันเกี่ยวข้องไ!

> ด้ตระหนัก และหันมาดูแลตัวเองสักนิดก็ยังดี ฉันเริ่มทำที่ทำงานของฉันในที่ๆผู้คนเดินเข้าออกง่ายมากขึ้น โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ที่นอกจากเขาจะมาติดต่อกับฉันในฐานะครูของลูกศิษย์ หรือลูกศิษย์เก่ามาเยี่ยมครู แต่ฉันทำมากกว่านั้นด้วยการจัดกิจกรรมคัดกรองถวายพ่อหลวงและไม่น่าเชื่อว่าเพียงเสียงกระซิบของฉัน และเหล่าจิตอาสาที่ฉันชักชวนได้ตบเท้าเข้าประตูโรงเรียน ที่นี่เราร่วมทำกิจกรรมเพื่อสุขภาพ 2 ครั้ง ครั้งแรกเป็นการนัดพบเพื่อพูดคุยแนวการทำงาน และถ่ายทอดการออกกำลังกายด้วยโยคะง่ายๆ ครั้งที่ 2 นัด ทำงานลงพื้นที่เพื่อคัดกรอง และช่วยเหลือผู้ป่วยที่ไม่มีโอกาสได้เข้าถึงการรักษาอย่างถูกต้อง ฉันเริ่มเดินเข้าโรงพยาบาลมากขึ้นเพื่อหาความรู้ และนำเรื่องราวของผู้ป่วยที่ขาดโอกาสไปบอกเล่า เริ่มร่วมกิจกรรมเบาหวานกับโรงพยาบาลครั้งแรกเมื่อเภสัชกรหญิงปราณี ลัคนาจันทโชติ ชักชวนร่วมงาน ฉันได้ถือโอกาสนำผู้ป่วยที่ไม่มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมเหล่านั้นมาร่วมกิจกรรม พวกเขาเริ่มรับรู้ว่าเขาไม่ได้อยู่กับเบาหวานอย่างเดียวดาย ในขณะที่ฉันมีโอกาสพบปะวิทยากรซึ่งก็เป็นบุคลากรทางการแพทย์อีกครั้ง รวมถึงการได้รู้จักเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลในสาขาอื่นมากขึ้น ฉันรู้สึกยินดีเพราะนั่นหมายถึงโอกาสที่จะนำพาผู้ป่วยให้เข้าถึงการรักษาอย่างรวดเร็ว สิ่งที่ฉันตระหนักเพื่อให้เข้าถึงเพื่อนผู้ป่วยนั้นคือการทำตัวเองให้สำเร็จให้สามารถรู้เท่าทันเบาหวาน และสามารถควบคุมเบาหวานโดยไม่ใช้ยาแต่ดูแลสุขภาพตัวเองด้วยคาถา 3 อ. เมื่อฉันทำได้สำเร็จ ฉันจึงกำหนดงานให้ตัวเองว่าจะต้องทำความเข้าใจกับผู้ป่วยเบาหวาน อยากรู้พวกเขาคิดอย่างไร พวกเขารู้สึกอย่างไร และการเจ็บป่วยของพวกเขาได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างไร

> เขาควรเรียนรู้เรื่องเบาหวาน และทำความเข้าใจด้วยตัวเขาเอง เมื่องานเบาหวานโลกปีที่ผ่านมา มาถึงฉันได้รับโอกาส ได้แสดงความสามารถ ฉันทำกิจกรรมร่วมกับแพทย์ พยาบาล นักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ นักสุขศึกษา เภสัชกร กิจกรรมห้องพลังใจของฉันสร้างความแปลกใหม่ให้กับผู้ป่วย เพื่อนร่วมงาน ผู้ป่วยอิ่มเอมกับกิจกรรมต่างมีความสุข และมีความปรารถนาจะให้มีกิจกรรมเหล่านี้อีก ฉันได้เพียรถามถึงการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาผู้ป่วยกับ เภสัชกรผู้ทำหน้าที่เป็นเลขางานมหกรรมเบาหวานบ่อยครั้งมาก และเราต่างมีความพยายามจะให้มีกิจกรรมสำหรับสร้างความตระหนัก สร้างกำลังใจให้กับผู้ป่วยมากขึ้น ฉันยังคงติดต่อสานฝันเพื่อนเบาหวานให้มีจิตใจมั่นคง ไม่ท้อถอยหมดอาลัยกับการเป็นโรคเบาหวาน ฉันแวะเวียนเข้าออกโรงพยาบาล และได้รับการยกย่องจากโรงพยาบาลสมุทรสาครๆมอบโล่ห์รางวัลแกนนำผู้ป่วยดีเด่น และรางวัลจากสสจ.สมุทรสาคร แต่ดูเหมือนพวกเขาไม่ได้สนใจงานจิตอาสาเท่าไรนัก ซึ่งก็ไม่ใช่ปัญหาของฉัน ฉันยังคงทำงานมิตรภาพเพื่อนผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่ได้เข้ามารับการรักษาจากสถานพยาบาลของรัฐต่อไป และรวมทั้งเพื่อนผู้ป่วยของโรงพยาบาล แต่ดูเหมือนเราจะไม่ได้รับการตอบรับจากผู้เกี่ยวข้อง เท่าที่ใจเราต้องการ

> ในขณะเดียวกันฉันได้สร้างฝันใหม่ด้วยการจับเข่าคุยกัน ระหว่างฉันในฐานะตัวแทนจิตอาสา กับตัวแทนผู้รับผิดชอบงานเบาหวาน คือเภสัชกรหญิงปราณี และคุณมลฤดี คุณอรชร นักสังคมสงเคราะห์ คุณพยาบาล และน้องๆฝ่าย สุขศึกษา รวมถึงจนท.ดูแลรักษาห้องประชุม จนขยายไปสู่การทำกิจกรรมKM สร้างความรัก ความผูกพัน และเห็นคุณค่าของกันและกัน

> แล้ววันที่เราหวังไว้ก็มาถึงเมื่อน้องมด(เภสัชกรหญิงปราณี)ได้มาชวนไปพูดเรื่อง “Chronic care” ที่รีสอร์ทแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสงคราม โดยสปสช. เขต 5 ราชบุรีเป็นเจ้าภาพ ที่นี่เรามีเวลาแลกเปลี่ยนความคิดมากขึ้นฉันได้รับเกียรติจากเภสัชกรหญิงปราณี ให้พูดในประเด็นงานจิตอาสาที่ทำอยู่ เราไปถึงก่อนจะต้องพูด 1 วัน เข้าร่วมรับฟังแลกเปลี่ยนกับเจ้าหน้าที่ที่ทำงานเรื่องเบาหวานจากหลายจังหวัด วันพรุ่งนี้เราจะต้อง พูด ตอนเช้า คุณหมออภิชาตจะมาด้วย แต่เรื่องเตรียมที่จะพูดถูกจัดให้เป็นเรื่องรอง และคืนนั้นเราสองคนนอนเกือบเที่ยงคืนเพื่อจัดทำตารางการอบรมจิตอาสา ฉันเสนอหัวข้อที่ผู้ป่วยเบาหวานต้องการ เพราะเราพบว่าผู้ป่วยของเราขาดพลังใจ นี่เป็นครั้งแรกที่ฝ่ายเจ้าหน้าที่ของรัฐ เปิดใจให้ผู้ป่วยมีสิทธิ์เรียกร้อง เสนอความต้องการในการรับการรักษา

> มันเป็น chronic care ที่ฉันใฝ่ฝันและไม่คิดว่าโรงพยาบาลสมุทรสาครจะเปิดใจ แต่มันก็เป็นไปแล้ว หลังจากนั้นมีการปรับเปลี่ยน และแลกเปลี่ยนกันมากขึ้น ฉันรับรู้ถึงความปรารถนาดีของทีมงานเบาหวานโรงพยาบาลสมุทรสาคร โดยเฉพาะเภสัชกรหญิงปราณีที่ไฟในตัวเธอไม่เคยมอดไหม้ไปกับปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น หลังจากเราทำกิจกรรมพัฒนาจิตอาสาให้ได้ฝึกปฏิบัติโดยเน้นที่จิตวิญญาณ สร้างความตระหนัก มันไม่ง่ายเลยที่จะจัดกิจกรรมที่มุ่งพัฒนาความเป็นจิตอาสาของเพื่อนผู้ป่วยให้มีความคงทนในเจตนาเป็นผู้ให้ เพราะทุกคนต้องต่อสู้กับโรค และยังต้องการกำลังใจเช่นกัน และฉันโชคดีที่ได้รับความร่วมมือจากน้องเพื่อนเน็ต สองท่านคือน้องดร.ขจิต ฝอยทอง และน้องดร.ศุภลักษณ์ เข็มทอง ได้มาร่วมกันแบ่งปันประสบการณ์ให้เพื่อนผู้ป่วยจิตอาสาของฉันเกิดความร่วมมือ ปลุกพลังที่ซ่อนไว้ให้เผยตัวออกมาด้วยหัวใจของผู้ที่พร้อมจะให้ จึงส่งผลให้พลังการทำงานเข้มแข็ง และคึกคักขึ้นในหัวใจของทุกๆคน รวมทั้งเหล่านางฟ้าของโรงพยาบาล ที่จะร่วมกันต่อไป

> หลังจากที่ทำงานแบบอิสระมานาน ฉันได้หาประสบการณ์การทำงานกับทีมแพทย์ที่ลงพื้นที่ ทั้งนี้นอกจากการเรียนรู้แล้วยังได้เก็บข้อมูลเพื่อศึกษาให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องฉันลงพื้นที่ไปทำหน้าที่จิตอาสาพร้อมกับแพทย์หญิงนฤมล เป็นครั้งแรกเท่านั้นที่ได้ทำงานโดยมีแพทย์ ให้การรักษา งานจิตอาสาของฉันคือทำความรู้จักเพื่อนผู้ป่วยให้เร็วที่สุด อย่างอ่อนโยน สุภาพและเป็นกันเอง เพื่อเก็บข้อมูลที่อาจเป็นประโยชน์แก่การรักษาของแพทย์นับเป็นการทำหน้าที่รักษาความลับของผู้ป่วยเป็นครั้งแรก เพื่อนผู้ป่วยรายหนึ่งบอกว่าเขาชอบที่จะซื้อยาเบาหวานกินเองเพราะมันทำให้เขาไม่เสียเวลาประกอบอาชีพ ซึ่งประเด็นนี้คุณหมอไม่เคยทราบมาก่อน และเพื่อนผู้ป่วยของฉันรายนี้คิดว่ากินยาอย่างเดียวก็เพียงพอแล้วสำหรับการรักษาเบาหวาน ซึ่งสะท้อนให้เห็นการวางแผนการให้บริการจากสถานบริการของรัฐ และการให้ความรู้แก่ผู้ป่วย แม้จะมีเจ้าหน้าที่ไปให้ความรู้ด้านสุขศึกษาแล้วก็ตาม เพื่อนผู้ป่วยกังวลเรื่องปากท้องของตนเองและของสมาชิกในครอบครัว จึงไม่สนใจที่จะเรียนรู้ อีกทั้งผู้ใหญ่ไม่ชอบให้ใครมาสอน อีกรายหนึ่งเป็นเพื่อนผู้ป่วยเบาหวานน้ำหนักเกินพอดีีมาก สีหน้าเคร่งเครียด และไม่มีความสุขที่ต้องมารับการรักษาเบาหวาน เขารู้สึกว่ามันเป็นช่วงเวลาที่ไม่สบายเลย เมื่อคุณหมอลงพื้นที่ติดตามการรักษา ฉันได้ยินคำพูดแสดงความสงสัยห่วงใยของคุณหมอว่าทำไมกินยาแล้วน้ำตาลยังไม่ลด เมื่อคุณหมอแนะนำให้ฉันรู้จัก และให้เวลาฉันได้ทำความรู้จัก ฉันใช้เวลาเปิดใจไม่นานนักก็คุ้นเคย ผู้ป่วยเริ่มคุยเสียงดัง หัวเราะ และเป็นกันเอง ผู้ป่วยเล่าว่าก่อนนอนทุกคืน(ประมาณ 3 ทุ่ม) ผู้ป่วยจะ ต้องกินขนมหวานทุกครั้งไม่งั้นจะนอนไม่หลับ ทำมาตั้งนานแล้ว เมื่อนอนไม่หลับก็เกิดความกังวล ๆว่าจะตื่นไม่ทันไปขายของ กังวลไปสารพัดที่ใจจะพาไปให้คิดกังวล ฉันได้ข้อมูลที่เพื่อนผู้ป่วยไม่อยากบอกหมอ เพราะเกรงจะถูกตำหนิ มุมนี้ก็ทำให้ฉันมองไปที่การให้ความรักก่อนให้ความรู้ ให้ความรู้ทำความเข้าใจตนเอง จึงยอมรับการรักษา แต่อาจทำไม่ได้กับกรณีผู้ป่วยฉุกเฉิน

> บนเส้นทางสายนี้ฉันมองเห็นว่าการพัฒนาผู้ป่วยให้เป็นจิตอาสาทำหน้าที่เป็นเพื่อนที่ดีให้กับผู้ป่วยเบาหวานด้วยกันนั้นไม่ใช่เรื่องยาก ขอเพียงทุกคนมีความรักความปรารถนาดีให้กัน และสิ่งจำเป็นที่สุดคือการพัฒนาความรู้ของจิตอาสาเอง การเปิดประตูใจไม่เป็นเพียงหนทางแห่งมิตรภาพที่มีให้กันเท่านั้น หากยังนำทางให้เพื่อนผู้ป่วยจิตอาสามองเห็นความสุขที่เกิดขึ้นในจิตใจ ได้เข้าถึงความสุขของผู้ให้ นับเป็นการสร้างภูมิความรู้ ภูมิธรรมให้เกิดขึ้นพร้อมๆกันเมื่อผู้ป่วยมีภูมิเข้มแข็งแล้วนั่นหมายถึงเขาจะเดินมาหาหมอน้อยลง หมายถึงงบประมาณมหาศาลที่ต้องใช้เยียวยาผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนให้มีชีวิตอยู่ต่อไปนานๆก็จะลดลง

> และด้วยกำลังที่หนุนเสริมกันเองอยู่ตลอดเวลาเช่นนี้....การคงอยู่จึงเป็นเรื่องธรรมดา

>

> ผู้เล่าเรื่อง นางพูนสุข โอ่เอี่ยม

> โรงเรียนสหกรณ์นิคมเกลือ อ.เมือง จ.สมุทรสาคร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท