รู้คอมพิวเตอร์แค่ไหนดี ?


ติดกับดักทางเทคโนโลยี บางทีก็เดือดร้อนได้ยาวนาน

   อ่านบันทึกเรื่อง แก่นคอมพิวเตอร์ และได้แสดงความเชื่อของเราไว้ที่นั่น ความว่า ...
   ความเดิม ... " ความรู้หรือทักษะทางคอมพิวเตอร์ควรที่จะต้องหาความรู้ให้ถูกต้องและลึกซึ้งเพื่อที่จะนำความรู้และทักษะไปใช้ให้การสร้างสรรค์แต่ถ้ามีความรู้ที่ไม่ถูกต้องและลึกซึ้งพอจะกลายเป็นผู้ทำลายมากกว่าเป็นผู้สร้าง "

   ทัศนะของเรา !!!

  เห็นด้วย และ ไม่เห็นด้วย ครับ

  • เห็นด้วยในกรณีที่เป็นผู้สอนคอมพิวเตอร์ การรู้จริง รู้ลึก มี Tacit Knowledge มากๆเป็นสิ่งที่ดี
  • ไม่เห็นด้วยในกรณีเรียนรู้เพื่อใช้งาน .. การมุ่งมั่นเรียนรู้ให้ จริง และ ลึก มากไป อาจทำให้การสร้างสรรค์ผลงานที่เป็นประโยชน์ ช้า และ ทำได้น้อย สู้เรียนรู้ เท่าที่จำเป็น แล้วรีบทำประโยชน์ไม่ได้ .. หลายอย่างที่แฝงมาเช่นลูกเล่นใน MS Powerpoint มีมากเกินจำเป็น จนก่อให้เกิดการ เล่น มากกว่า การใช้งาน

              * * * เคยเห็นไหม ? เล่นคอมพิวเตอร์ได้ไม่รู้กี่โปรแกรม แต่พอถามว่า "ไหนล่ะผลงานที่เป็นชิ้นเป็นอันและเป็นประโยชน์" คำตอบคือ "ยังไม่มี" ก็มัวเล่นเพลินอยู่นี่ครับ แมงเม่าชัดๆ ติดกับดักทางเทคโนโลยี บางทีก็เดือดร้อนได้ยาวนาน (วาทกรรมคิดเอง)

หมายเลขบันทึก: 39967เขียนเมื่อ 21 กรกฎาคม 2006 04:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

อาจารย์ Handy คะ ..หนูขออนุญาตแสดงความคิดเห็นนะคะ....คือ...ในแนวคิดของหนู....คือว่า....การใช้โปรแกรมต่าง ๆ ที่อาจจะมีลูกเล่นมากมายมาให้เราเลือกใช้งานนั้น  จริง ๆ แล้วบางอย่างเราก็ไม่ได้ใช้จริง ๆ อย่างทีอาจารย์บอกไว้  อันนี้หนูเห็นด้วย...  //เพราะในการทำงานของเราจริง ๆ นั้น เราน่าจะมองที่ตัวงานมากกว่า... ว่าเราจะสร้างงานชิ้นนี้ออกมาได้อย่างไร  โดยใช้ชิ้นงานเป็นที่ตั้ง  แล้วค่อยนึกถึงเทคโนโลยีที่เราจะใช้  ???....แต่มันมีอีกประเด็นที่น่าสนใจก็คือ  ลูกเล่น ที่เพิ่มขึ้นมานั้น ถ้าเรานำมาประยุกต์ใช้ได้  มันจะสามารถทำให้งานของเราดูสวยงามขึ้น  หรือดึงดูดขึ้นมิใช่หรือ...หรือมันสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของระบบได้อีกต่างหาก ...(อันนี้ความคิดของหนูนะคะ??  )

     และที่อาจารย์กล่าวว่า..."เคยเห็นไหม ? เล่นคอมพิวเตอร์ได้ไม่รู้กี่โปรแกรม แต่พอถามว่า "ไหนล่ะผลงานที่เป็นชิ้นเป็นอันและเป็นประโยชน์" คำตอบคือ "ยังไม่มี" ก็มัวเล่นเพลินอยู่นี่ครับ แมงเม่าชัดๆ ติดกับดักทางเทคโนโลยี บางทีก็เดือดร้อนได้ยาวนาน (วาทกรรมคิดเอง)"

     ซึ่งจากคำกล่าวด้านบน  หนูกลับไม่ได้มองแบบอาจารย์คะ  คือหนูมองว่า  การที่เราได้มีการเรียนรู้หลาย ๆ โปรแกรม (ซึ่งตอนนี้อาจยังไม่เห็นผลงานเป็นชิ้นเป็นอัน)  แต่อย่างน้อยเราก็ได้เรียนรู้โปรแกรมต่าง ๆ มิใช่หรือ  และอย่างน้อยในอนาคต  เราอาจจะนำความรู้ที่เรามีอยุ่ ณ ตอนนั้นที่เราได้เรียนรู้ว่ามันมีโปรแกรมนั้นใช้ทำแบบนั้น  หรือมีโปรแกรมนี้สามารถทำแบบนั้นได้...มาประยุกต์กับงานตอนนี้ได้นะคะ..???  แต่ถ้าถามว่า ?? แล้วเมื่อไหร่จะหยุดการเรียนรู้เทคโนโลยีหรือโปรแกรมต่าง ๆ  มันคงตอบไม่ได้ เพราะถ้าเราหยุด !! ก็หมายถึงเราจะไม่ได้รับการพัฒนาคะ....การมีลูกเล่นเพิ่มเข้ามาในโปรแกรมต่าง ๆ  มันเป็นข้อดีมากกว่านะคะ  (หนูมองในแง่ของทางเทคโนโลยี ที่เราจะต้องก้าวตามให้ทัน  แต่ถ้าถามว่าจำเป็นต้องมีเทคโนโลยีตามแบบเค้าไหม  มันไม่จำเป็นหรอกคะ  มันอยู่ที่ปัจจัยและสภาพแวดล้อมหลาย ๆ อย่างรวมกันด้วย)

ขอกราบเรียนแสดงความคิดเห็นด้วยความเคารพคะอาจารย์....

  • โอโห อาจารย์ Handy ตื่น ตี 3 มาเขียนบันทึก อึ้ง ทึ่ง แต่ไม่เสียวครับ
  • แต่อึ้งน้องนิวครับ มีประเด็นหลายประเด็นมาก สมแล้วที่เรียนในระดับนี้มีการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ได้ดีมาก
  • บางครั้ง เราหลงกลเทคโนโลยีครับ ควรเป็นว่าเราใช้เทคโนโลยี ไม่ใช่ให้เทคโลยีใช้เรา

    ขอบคุณ ว่าที่ ดร.ทั้งสองท่านครับ .. คิดอย่างไรแสดงออกมาแลกเปลี่ยนกัน  ดีแล้วครับ คงไม่ยุติว่าอะไรถูกผิดนะครับ ขอย้ำว่าผมพูดจากประสบการณ์ตรงว่า ในกลุ่มผู้ที่เรียนรู้คอมพิวเตอร์เพื่อใช้เป็นเครื่องมือทำงาน นั้น เห็นการเรียนแบบอยากรู้ไปหมดว่าโปรแกรมนั้น ทำอะไรได้บ้าง และ ทำอย่างไรให้เกิดผลแบบนั้นแบบนี้ ผมเห็นด้วยที่จะหาความรู้ว่า มันทำอะไรได้บ้าง เพราะใช้เวลาไม่ต้องมากในการทำความเข้าใจระดับนั้น ส่วนที่ว่าแต่ละ Function หรือ Effect ย่อยๆ มีวิธีทำอย่างไร อันนี้แหละที่ผมพบว่าทั้งคนเรียนคนสอน บางทีก็เพลินไปหน่อย ผมเองเคยเพลินมามาก จนพบความจริงว่า บางอย่างมันไม่มีค่าควรแก่การเสียเวลาเรียนรู้เลย  โดยส่วนตัวผมมีหลักชัดเจนว่า ต้อง ตามรู้ให้เท่าทัน แต่จะไม่ ขยันบริโภค คือพยายามรู้ให้หมดว่ามันเก่งอย่างไร ทำอะไรได้บ้าง  แล้วก็เลือกเรียนรู้สิ่งที่จำเป็นต้องใช้จริงๆ เพื่อสร้างสรรค์งานที่มีคุณค่า มีความหมาย จนพบว่างานที่ดีแล้วนั้นจะดีขึ้นไปอีกถ้า ???  ก็เพิ่มพูนความรู้ที่จะทำให้เกิดผลอย่างนั้น เรียนเท่าที่ควรรู้
    มันเป็นเคล็ดลับว่าถ้าเอางานเป็นตัวตั้ง ความสำเร็จของงานจะนำมาซึ่งความพอใจ อยากพัฒนาต่อไป การเรียนรู้อะไรก็ดูจะมีชีวิตและมีค่า มากกว่าการฝึกทักษะที่หลากหลายโดยไม่ได้มีเป้าหมายที่แจ่มชัด  ผิดถูกไม่ทราบ แต่ผมตัดสินใจเตือนนักศึกษาบ่อยๆว่า การอยากรู้มากๆโดยตอบไม่ได้ว่า รู้ไปทำไม ระวังความรู้จะท่วมทับจนทำอะไรไม่ได้ นั่นก็ดี  นี่ก็ชอบ โน่นก็สวย นี้ก็วูบวาบดี ฯลฯ สุดท้ายก็ไม่ได้ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน
     อีกประการหนึ่ง การเรียนรู้อะไรที่มากเกินไปและคิดว่าเก็บไว้ใช้เมื่อมีโอกาส   หลายครั้งไม่ทันได้ใช้เขาก็ เลิกผลิตเลิกใช้สิ่งนั้นไปแล้ว มีของใหม่ที่ง่ายกว่า ดีกว่าออกมา ก็เลยเสียเวลาฝึกฝน จดจำ

ขอแลกเปลี่ยนโดยเทียบกับการใช้พจนานุกรมได้ไหมคะ เพราะบางทีเราหาคำใดคำหนึ่ง เราก็แค่เปิดตรงไปที่ตรงนั้นเลย เราไม่จำเป็นต้องนั่งอ่านพจนานุกรมให้หมดเล่มก่อน แล้วค่อยมาเริ่มเปิดหา

เพราะฉะนั้นการเรียนรู้ว่าโปรแกรมนั้นๆทำอะไรได้บ้าง (ภาพหลักๆ) มีโปรแกรมอะไรที่ทำงานแบบเดียวกัน ถ้าเลือกได้ก็ลองเล่นๆดู แล้วเลือกเอาอันที่เราใช้ได้เร็วกว่า (ถูกจริตกับเรา) แล้วก็ใช้เป็นเครื่องมือเพื่อทำงานของเรา ไม่ใช่ให้โปรแกรมมาใช้เราเป็นเครื่องมือเรียนรู้มัน

แต่ถ้าว่างๆ หาความรู้เก็บๆไว้ก็ไม่เสียหลายอะไรค่ะของบางอย่างกว่าจะได้ใช้ก็นานจนไม่คิดว่าจะเป็นไปได้เลย มีประสบการณ์มาแล้วค่ะ

เข้าทำนอง รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหามค่ะ

  ขอบคุณ คุณโอ๋-อโณ มาก ที่มาเสนออุปมาอุปมัยได้ชัดเจน คงได้ยืมไปใช้ตามโอกาสอันควรเป็นแน่ และตั้งใจว่า เวลาพูดคงไม่พ้น "... เรื่องนี้ ดร.โอ๋ฯ เคยเปรียบเทียบว่าเหมือนการเปิดพจนานุกรม คือ .... "
  หลักที่ผมใช้อยู่ ไม่ได้ปฏิเสธการเรียนรู้ประเภท รู้ไว้เล่นๆ เสียทีเดียว ว่างก็พักผ่อนกับการเรียนรู้อะไร เล่นๆ เหมือนกัน และพบว่าสิ่งที่รู้ไว้เล่นๆ สนุกๆ หลายอย่างมันได้ใช้แก้ปัญหาบ่อยๆ บูรณาการกับความรู้ปลีกย่อยอื่นๆ ทักษะนั้นๆก็เลยอยู่กับตัวเรานาน ไม่หายไปไหน  เหตุก็เพราะได้ใช้มันบ่อยๆนั่นเอง
    คิดได้อีกนิด และดูจะชัดเจนดีครับ .. คือว่าจะเรียนรู้อะไร แค่ไหนถึงจะพอเหมาะ พอดี ไม่มีคำตอบตายตัวสำหรับแต่ละคน เพราะมีความแตกต่างกันมาก หลายด้านด้วย ทั้งเรื่องทุนเดิมที่ไม่เท่ากัน และหน้าที่ ความรับผิดชอบที่มีไม่เหมือนกัน ตัวอย่าง ...
   เจ้าหน้าที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ ใช้เวลาว่างฝึกใช้ลูกเล่นใน Powerpoint ได้คล่องแคล่วทุกเรื่อง พอใครขอคำแนะนำก็สามารถชวนคุยและถ่ายทอดให้เขาทำเป็นในเวลาอันสั้น ... อย่างนี้เยี่ยมเลย เขาเรียนรู้แบบนั้นแล้ว ได้นำมาใช้อย่างคุ้มค่า ไม่ได้ผลิดสื่อ อะไรออกมาเป็นชิ้นเป็นอันก็ไม่เป็นไร ...  แต่ถ้า อาจารย์ หรือนักวิจัยคนหนึ่งทำแบบเดียวกันกับเจ้าหน้าที่คนนั้น ผมว่า น่าเสียดายเวลา จะไปรู้มากๆให้เสียเวลาทำไมในเรื่องที่เห็นชัดว่ายังไงก็ไม่ได้ใช้ สู้เอาเวลานั้นมาเรียนรู้สิ่งที่ควรรู้จริงๆไม่ดีกว่าหรือ?
    • เอามาฝากมาจากคุณลิขิต ครับ
    • ลิขิต เมื่อ ส. 22 ก.ค. 2549 @ 21:16
      ถ้าคุณเอื้อท่านใดสนใจ คุณอำนวยมือใหม่ ที่ชอบจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบแปลกๆ เชิงผสมผสานศิลปะและตรรกะ ทางความคิด มีความสามารถหลายอย่าง ประเภท HRD Culture Change เป็นต้น ไม่เก่ง นะคะ แต่เป็น... และพยศถึงสิ้นปี คงเป็น คุณเอื้อ ได้ในปีหน้า หลังจาก เป็นคุณอำนวยแล้ว ตอนนี้ เป็นคุณลิขิตอยู่ค่ะ เป็นคุณอำนวยฝึกหัดบ้าง เชิญติดต่อด่วนนะคะ ที่ [email protected] หรือ 09-4821717 ถ้าต่อจิ๊กซอติด จะเกิดผลงานสร้างสรรค์ในเร็ววันค่ะ ขอบคุณคุณขจิตนะคะ ยุขึ้นดีไหมคะ? นี่คือ ผลอย่างหนึ่งที่มีคุณค่า ของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเวทีเสมือนของชุมชนเราค่ะ
  • แวะนำเสริมปัญญาครับ
  • เห็นด้วยครับ  เราควรใช้เทคโนโลยี ไม่ใช่ให้เทคโนโลยีใช้เรา
  • โปรแกรม และ ลูกเล่นใหม่ ๆ ออกมาตลอดเวลา ถ้ามัวแต่ตามเรียนรู้ ก็แทบไม่ต้องทำอะไร
  • เรียนรู้เท่าที่จำเป็นเพื่อเป็น Power User ก็น่าจะพอ

   ขอบคุณท่าน Panda  ครับ ที่มาร่วมวงแสดงทัศนะ
   หลายอย่างในบรรดาลูกเล่นที่มีมากับโปรแกรมต่างๆ ไม่ก่อประโยชน์ เช่น Pie Graph หรือ Bar Graph ที่มีลักษณะ สามมิติ อาจดูน่าสนใจ แต่ในแง่การสื่อความหมาย แบบสองมิติ เดิมๆ ง่ายๆ เหนือกว่าแน่นอน ไม่มีอะไรมาทำให้สับสนหรือ Distract ไปจากเรื่องที่กำลังนำเสนอ .. ไม่แน่นะครับ ดู Pie Graph แล้วอาจหิวขนมเค้กก็ได้ เพราะสีสรร และรูปทรงสามมิติเป็นเหตุ

ขออนุญาตแสดงความคิดเห็นครับ ผมเห็นด้วยกับอาจารย์ครับที่ว่า เราจะต้องศึกษาโปรแกรมให้ละเอียดลึกซึ้ง เพื่อจะนำไปใช้ในทางสร้างสรรค์ และผมก็เห็นด้วยกับคุณโอ๋-อโณ ว่าการที่เราจะศึกษาให้ละเอียดลึกซึ้งทุกโปรแกรม ผมว่าเป็นเรื่องยากนะครับ เนื่องจากว่าโปรแกรมทุกวันนี้มีเยอะมาก ถ้าเราจะมามัวศึกษาให้ละเอียดลึกซึ้งทุกโปรแกรม ผมว่าเสียเวลามากเลยนะ ผมว่าศึกษาให้ละเอียดลึกซึ้งในโปรแกรมที่เราจำเป็นต้องใช้งานเป็นประจำ ส่วนโปรแกรมอื่นผมว่าศึกษาเพื่อให้ทราบว่าโปรแกรมนั้นเป็นโปรแกรมประเภทใด มีข้อดี ข้อด้อยอย่างไร เพื่อเป็นความรู้ในการเปรียบเทียบดีกว่าครับ

สวัสดีค่ะ อาจารย์

ในปัจจุบันนี้ เราต้องรู้จักบริหารจัด การให้ได้แก่นดีกว่าค่ะ

สวัสดีค่ะ ท่านอาจารย์   Handy

  • ขออนุญาต ร่วมแสดงความคิดเห็นด้วยคนนะคะ
  • เข้าใจว่า ประเด็นนี้ บทบาท ความรับผิดชอบของ ตัวผู้ใช้งาน น่าจะเป็นตัวกำหนดขอบเขตกระมังคะ
  • เช่น ถ้าเป็นอาจารย์ผู้สอน หรือผู้บริหาร หากจะต้องทุ่มเทเวลามาศึกษาให้ลึกซึ้ง อาจจะเสียเวลาในการบริหารจัดการด้านอื่น ๆ ซึ่งเป็นหน้าที่หลักที่ต้องบริหารงาน หรือองค์ความรู้หรือความรู้รอบอื่น ๆ  มากกว่าความรู้ซึ้งในสาขาใดสาขาเดียว
  • แต่หากเป็นผู้ที่มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบโดยตรง ซึ่งควรจะมีความรอบรู้ เพื่อแก้ปัญหาและเพิ่มคุณลักษณะพิเศษใน field ของเขา  เช่น Programmer หรือเจ้าหน้าที่ศูนย์คอมพิวเตอร์  ก็มีความจำเป็นอยู่พอสมควร ตามที่ คุณน้องนิว ว่ามาเหมือนกันนะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท