shukur2003


สถานการณ์เอดส์ในสังคมไทย ได้นำพาผู้นำศาสนาอิสลาม พุทธ และคริสต์ ที่มีความตระหนักต่อปัญหาโรคเอดส์มารวมตัวกันในเวทีที่ชื่อว่าศาสนเสวนาอย่างสมานฉันท์ เมื่อเดือนกรกฎาคม 2546 เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ ความรู้ ความเข้าใจ จากชุมชนทางศาสนาต่าง ๆ โดยอาศัยสถานการณ์นี้เราจึงรวมใจเป็นหนึ่งเดียวกัน เป็นชุมชนเดียวกันเพื่อสร้างวัฒนธรรมใหม่ที่ร่วมมือกันระหว่างศาสนา เพื่อประโยชน์ของสังคมของเรา ในขณะเดียวกับที่เห็นคุณค่าร่วมกันในด้านศักดิ์ศรีมนุษย์และสิทธิมนุษยชน (เพราะเป็นเพื่อนบ้านกัน) และจัดตั้งองค์กรชื่อว่าเครือข่ายองค์ศาสนาด้านเอดส์ในประเทศไทย (Interfait Network on AIDS in Thailand ) เพื่อยืนยันที่จะอุทิศตนรับใช้เพื่อนมนุษย์ โดยเฉพาะต่อผู้ที่ติดเชื้อฯ ผู้ป่วยเอดส์และครอบครัว แม้ว่าแต่ละศาสนาจะมีความแตกต่างในความเชื่อและวิถีในศาสนกิจ แต่ต่างก็มีเป้าหมายเดียวกัน นั่นก็คือการให้บริการมนุษยชาติ ภายใต้ความเชื่อพื้นฐานและการเคารพต่อคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และสิทธิมนุษยชน

วันเอดส์โลก กับความสมานฉันท์ของเครือข่ายองค์ 3 ศาสนาด้านเอดส์ในประเทศไทย
โดย : อับดุชชะกูร์ บินชาฟิอีย์  เมื่อ : 3/02/2006 10:21 AM

www.thaingo.org

23-25 พฤศจิกายน2548 ผู้เขียน (ในนามเครือข่ายองค์ศาสนาด้านเอดส์ในประเทศไทย) ได้มีโอกาสเข้าร่วม "งานเอดส์ภาคประชาชน" ที่ท้องสนามหลวง และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดโดยความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ผ่านการประสานงานของคณะกรรมการองค์กรพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ (กพอ.)

จากกิจกรรมทั้งสามวันผู้เขียนได้มีโอกาสเห็นองค์กรหนึ่งที่ทำงานแก้ปัญหาใช้ทั้งยาและจิตวิญญานอย่างสมานฉันท์ในการแก้ปัญหาคือเครือข่ายองค์กร 3 ศาสนา (พุทธ อิสลาม คริสต์) กับการการทำงานด้านเอดส์ในประเทศไทย

คณะกรรมการองค์กรเครือข่ายศาสนามี พระมหาบุญช่วย สิรินทโร เป็นประธาน พระมหาอินสอน แสงยอด เป็นผู้ประสานงานศาสนาพุทธ ผู้ประสานงานศาสนาอิสลามมีนายสุรศักดิ์ พูลวานิช ผู้ประสานงานศาสนาคริสต์ คาทอลิก คุณอุษณีย์ นานาศิลป์และผู้ประสานงานศาสนาคริสต์ โปรแตสแต้นท์ คุณนวนาถ คุณาสวัสดิ์ที่สำคัญมีที่ปรึกษา ที่ได้รับความเคารพนับถือที่ประกอบด้วย อ.ประเวศน์ วะสี อิหม่ามมุสตอฟา พระไพศาล อ.เสาวนีย์ จิตหมวด


สถานการณ์เอดส์ในสังคมไทย ได้นำพาความสมานฉันท์


เชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์ เป็นโรคที่คร่าชีวิตมนุษย์ชาติไปมากที่สุดเท่าที่เคยมีมาในโลก เพียงช่วงแรกของการแพร่ระบาดได้มีผู้ติดเชื้อไปถึง 62 ล้านคน

HIV ย่อมาจาก human Immunodeficiency Virus เชื้อไวรัสนี้เป็นสาเหตุของโรคเอดส์ โดยเชื้อเอชไอวีจะเข้าทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีหน้าที่สร้างภูมิคุ้มกันโรค ให้ต่อสู้กับเชื้อโรคต่างๆ ที่เข้ามาในร่างกายเวลาที่เราเจ็บป่วย

ส่วน AIDS ย่อมาจาก Acquired Immunodeficiency Syndrome (โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง) โรคเอดส์จะเกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายถูกเชื้อเอชไอวีบั่นทอนให้อ่อนแอลง จนถึงขั้นที่ร่างกายไม่สามารถต้านทานเชื้อโรคต่างๆได้อีก จนเริ่มติดเชื้อ หรือเกิดเป็นโรคต่างๆ เช่น มะเร็ง เป็นต้น

โรคเอดส์ติดต่อกันได้โดยเมื่อเชื้อไวรัสเอชไอวี (เชื้อเอดส์) เข้าไปในร่างกายจะเข้าไปจับที่เม็ดเลือดขาว ซึ่งเม็ดเลือดขาวจะกระจายอยู่ในกระแสเลือด,น้ำอสุจิ,น้ำในช่องคลอด การที่คนเราจะได้รับเชื้อเอชไอวี หรือที่เรียกกันจนติดปากว่า "ติดเอดส์" ได้นั้น ไม่ใช่เรื่องที่จะติดกันได้ในการใช้ชีวิตประจำวัน หากต้องมีช่องทางการติดที่เฉพาะจริงๆ เท่านั้นนั้น โดยมีข้อสังเกตง่ายๆ ว่า

ต้องมีองค์ประกอบ 3 อย่างครบถ้วน จึงจะมีความเป็นไปได้ที่จะได้รับเชื้อ คือ

1. ต้องได้รับเชื้อไวรัสเอชไอวี เข้าสู่ร่างกาย โดยต้องมาจากแหล่งที่มีปริมาณเชื้อมากพอที่จะทำให้ติด ได้แก่ เลือด น้ำอสุจิ น้ำในช่องคลอด

2. เชื้อที่จะทำให้ติดต่อได้นอกจากเรื่องปริมาณแล้วเชื้อต้องมีคุณภาพและแข็งแรง เช่น ในเลือด น้ำอสุจิ น้ำในช่องคลอด มีอาหาร มีสภาพที่พอเหมาะที่จะทำให้เชื้อเติบโตได้แต่ถ้าไปอยู่ในน้ำลาย น้ำตาเชื้อไวรัสจะอยู่ในสภาพที่เป็นกรด เป็นด่าง ทำให้มันไม่แข็งแรง ไม่มีคุณภาพ เติบโตไม่ได้ หมดความสามารถที่จะทำให้ติดต่อได้

3. ต้องเป็นช่องทางที่ทำให้เกิดการสัมผัส ส่งต่อเชื้อได้โดยตรง

เช่น การใช้เข็มฉีดยาเสพติดร่วมกัน หรือการร่วมเพศ ซึ่งเป็นการส่งต่อเชื้อกันโดยตรง

เช่นในกรณีการร่วมเพศ ถ้าฝ่ายชายมีเชื้ออยู่เชื้ออาจจะผ่านเข้าสู่ร่างกายทางเยื่อบุช่องคลอด หรือถ้าผู้หญิงมีเชื้ออยู่ เชื้ออาจจะผ่านเข้าสู่ร่างกายทางปลายเปิดของ องคชาติ

คนส่วนใหญ่จะกังวลกับการติดเอดส์ จากช่องทางที่มีโอกาสเสี่ยงน้อยมากๆ เช่นการช่วยคนประสบอุบัติเหตุ การสัมผัสกับเลือด ตามแต่จะสมมติกัน แต่มักจะไม่คิดถึงช่องทางที่ทำให้ติดเอดส์จากวิถีชีวิต และพฤติกรรมทางเพศที่กระทำอยู่เป็นประจำ ทั้งที่มีข้อมูลยืนยันชัดเจนว่า กว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ติดเชื้อไวรัสเอชไอวีติดจากการมีเพศสัมพันธ์ ที่ไม่ได้ป้องกัน และคุณจำเป็นต้องรู้ว่าจะป้องกันตัวเองได้อย่างไร ด้วยตัวคุณเอง (โปรดดู http://www. sex.sanook.com/sex/safetysex/safety)

สถานการณ์เอดส์ในสังคมไทย ได้นำพาผู้นำศาสนาอิสลาม พุทธ และคริสต์ ที่มีความตระหนักต่อปัญหาโรคเอดส์มารวมตัวกันในเวทีที่ชื่อว่าศาสนเสวนาอย่างสมานฉันท์ เมื่อเดือนกรกฎาคม 2546 เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ ความรู้ ความเข้าใจ จากชุมชนทางศาสนาต่าง ๆ โดยอาศัยสถานการณ์นี้เราจึงรวมใจเป็นหนึ่งเดียวกัน เป็นชุมชนเดียวกันเพื่อสร้างวัฒนธรรมใหม่ที่ร่วมมือกันระหว่างศาสนา เพื่อประโยชน์ของสังคมของเรา ในขณะเดียวกับที่เห็นคุณค่าร่วมกันในด้านศักดิ์ศรีมนุษย์และสิทธิมนุษยชน (เพราะเป็นเพื่อนบ้านกัน) และจัดตั้งองค์กรชื่อว่าเครือข่ายองค์ศาสนาด้านเอดส์ในประเทศไทย (Interfait Network on AIDS in Thailand ) เพื่อยืนยันที่จะอุทิศตนรับใช้เพื่อนมนุษย์ โดยเฉพาะต่อผู้ที่ติดเชื้อฯ ผู้ป่วยเอดส์และครอบครัว แม้ว่าแต่ละศาสนาจะมีความแตกต่างในความเชื่อและวิถีในศาสนกิจ แต่ต่างก็มีเป้าหมายเดียวกัน นั่นก็คือการให้บริการมนุษยชาติ ภายใต้ความเชื่อพื้นฐานและการเคารพต่อคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และสิทธิมนุษยชน

เอชไอวี/เอดส์ ตามทรรศนะของเครือข่ายมิใช่การลงโทษสำหรับผู้ที่ต้องทนทุกข์ทรมาน หากแต่เป็นบททดสอบที่สำคัญสำหรับความเชื่อและการอุทิศตน สร้างโอกาสให้ศาสนิกรับใช้ผู้ที่กำลังทนทุกข์ทรมานในสถานการณ์นี้ชุมชนทางศาสนาได้รับการท้าทายด้วยความเชื่อและหลักธรรมของศาสนาแห่งตนที่ไม่เห็นด้วยกับการรังเกียจและการเลือกปฏิบัติ ดังนั้นจึงนำหลักธรรมที่คล้ายคลึงกันในทุกศาสนา นั่นคือ ความรัก ความเมตตา การรับใช้ มาร่วมกันระดมพลังเพื่อความสมบูรณ์ของบรรดาผู้ติดเชื้อฯ ผู้ป่วยเอดส์ และผู้ที่ได้รับผลกระทบและ เครือข่ายองค์ 3 ศาสนาด้านเอดส์ในประเทศไทย ได้วางวัตถุประสงค์ไว้ว่า

• เสริมสร้างความเข้มแข็งในการทำงานด้านเอดส์ให้เครือข่ายแต่ละศาสนา
• รณรงค์และสนับสนุนงาน “เครือข่ายระหว่างศาสนาในงานด้านเอดส์ในประเทศไทย” ให้เกิดเข้มแข็งในการทำกิจกรรมระหว่างกลุ่มศาสนา
• เป็นแกนนำในการผสมผสานคุณค่าของศาสนาและความเชื่อ เพื่อร่วมกันลดการติดเชื้อเอชไอวีในสังคมไทย
• เป็นองค์กรประสานงานกับระดับท้องถิ่น ภูมภาค ระดับชาติ และระดับโลกในการปฏิบัติพันธกิจต่อผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์

หน่วยงานศาสนาต่างทำงานในปัญหาเอดส์ในอย่างต่อเนื่อง มีการทำงานทั้งตั้งรับปัญหา ทำงานเชิงรุกในชุมชน ในโรงเรียน ในสถานประกอบการ โดยจัดกิจกรรมในรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้ 1. งานป้องกัน 2. การดูแล 3. การสนับสนุน 4. การรณรงค์เชิงนโยบาย และสรุปบทเรียนการทำงานของตน

จากทรรศนะดังกล่าวของเครือข่ายองค์กร 3 ศาสนาทำให้ได้เห็นความมุ่งมั่น เป็นความมุ่งมั่นที่จะรวมเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน อย่าง มีพลังและสร้างเครือข่ายทางความเชื่อระหว่างศาสนาที่ลึกซึ้งในการทำงานเอดส์ในประเทศไทย ที่มุ่งแก้ไขปัญหาเอดส์ด้วยความกล้าหาญ การกระทำที่สร้างสรรค์และเป็นนวตกรรมที่มุ่งส่งเสริมคุณค่าความเป็นมนุษย์ ที่สนับสนุนชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับประชาชน

บนความหลากหลายของชุมชนทางศาสนาทำให้สามารถสร้างเวทีแลกเปลี่ยน หารือ ติดตามสถานการณ์และปัญหาโรคเอดส์ร่วมกันจนเกิดความตกลงร่วมกันว่า จะกลับไปกระทำภารกิจของตนเองบนพื้นฐานความเชื่อของตน ไปสร้างสรรค์กิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้เพื่อนร่วมอุดมการณ์ เสริมสร้างกำลังใจแก่พี่น้องที่ติดเชื้อและกำลังป่วย ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทัศนคติไปสู่การเคารพคุณค่าชีวิต และความสัมพันธ์ที่มีความหมายในฐานะเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน


ณ วันนี้ ปัญหาเอดส์ในสังคมไทยอาจจะบรรเทาลงด้วยมือของศาสนิกต่าง ๆ ที่ยึดมั่นดำเนินชีวิตตามคำสั่งสอน แต่เราต้องยอมรับว่าสถานการณ์เอดส์ในโลกและแม้ในสังคมไทยเองยังคงรุนแรงอยู่ กระนั้นก็ดี เรา ศาสนิกชนมีความเชื่อมั่นว่าการแก้ไขปัญหาทุกเรื่องสามารถสำเร็จได้ด้วยการหว่านเมล็ดพันธ์แห่งความรัก ในสถานที่และเวลาที่เหมาะสมมันจะเติบโตขึ้นและบังเกิดผลต่อสังคม โดยอาศัยความร่วมมือจากศาสนิกอื่น ๆ จากทุกมุมบนโลกใบนี้อย่างสมานฉันท์

คำสำคัญ (Tags): #วัฒนธรรมศึกษา
หมายเลขบันทึก: 39948เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2006 23:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท