shukur2003


ในขณะนักเรียนมัธยมทั่วประเทศกำลังใจจดใจจ่อกับผล Anet และ Onet เพื่อศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาในสถาบันต่างๆของประเทศไทย แต่สำหรับนักเรียนมุสลิมภาคใต้ ดูเหมือนจะมีทางเลือกมากกว่านักเรียนทั่วไปแม้สถาบันอุดมศึกษาด้านวิชาการมุสลิมในประเทศจะมีอยู่เพียง 2 แห่ง เท่านั้น แต่ก็ไม่ใช่ปัญหาเพราะนักเรียนส่วนหนึ่งกำลังหาที่เรียนในต่างประเทศ สถาบันหนึ่งที่นักศึกษามุสลิมใต้ต้องการไปเรียนมากที่สุดคือ มหาวิยาลัยอัลอัซฮัร(AL-Azhar) ประเทศอียิปต์ สถาบันวิชาการศาสนาของโลกมุสลิม ซึ่งก่อตั้งมานานนับพันปี เรียกได้ว่าเก่าแก่กว่ามหาวิทยาลัยอ็อกฟอร์ด ของอังกฤษเสียอีก

ตลาดวิชาแห่ง ‘อัลอัซฮัร’ มหาวิทยาลัยศาสนาของโลกมุสลิม

www.tjanews.org

พิมพ์ ส่งเมล์
วันศุกร์ที่ 21 เมษายน 2006 13:45น.

เรียบเรียงโดย อับดุชชะกูร์ บิน ชาฟิอีย์  ดินอะ
ผช.ผจก.โรงเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธิ ต.สะกอม  อ.จะนะ จ.สงขลา

             ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตากรุณาปรานีเสมอ ขอความสันติและความจำเริญแด่ศาสดามุฮัมมัด    ผู้ เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีทุกท่าน

thumb_p1.jpg              ในขณะนักเรียนมัธยมทั่วประเทศกำลังใจจดใจจ่อกับผล Anet  และ Onet  เพื่อศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาในสถาบันต่างๆของประเทศไทย  แต่สำหรับนักเรียนมุสลิมภาคใต้ ดูเหมือนจะมีทางเลือกมากกว่านักเรียนทั่วไปแม้สถาบันอุดมศึกษาด้านวิชาการมุสลิมในประเทศจะมีอยู่เพียง 2 แห่ง เท่านั้น แต่ก็ไม่ใช่ปัญหาเพราะนักเรียนส่วนหนึ่งกำลังหาที่เรียนในต่างประเทศ  สถาบันหนึ่งที่นักศึกษามุสลิมใต้ต้องการไปเรียนมากที่สุดคือ มหาวิยาลัยอัลอัซฮัร(AL-Azhar) ประเทศอียิปต์  สถาบันวิชาการศาสนาของโลกมุสลิม ซึ่งก่อตั้งมานานนับพันปี เรียกได้ว่าเก่าแก่กว่ามหาวิทยาลัยอ็อกฟอร์ด ของอังกฤษเสียอีก

             ที่นี่เสมือนมหาวิทยาลัยเปิด ตลาดวิชาสำหรับมุสลิมผู้ศรัทธา ใส่ใจในหลักวิชาการศาสนาทุกคน ไม่มีการสอบคัดเลือกเพื่อเข้าศึกษา

             ในปีหนึ่งๆ จะมีนักศึกษามุสลิมจากภาคใต้ เข้าศึกษาต่อด้านศาสนาและสามัญ (แต่ส่วนใหญ่เป็นศาสนา) ในระดับอุดมศึกษาที่สถาบันแห่งนี้ ไม่ต่ำกว่า 100 คน หากรวมนักศึกษามุสลิมจากประเทศไทย ที่กำลังศึกษาอยู่ในสถาบันแห่งนี้ทุกชั้นปี คาดว่ามีไม่ต่ำกว่า 3,000 คน
ก่อนที่ผู้เขียนจะกล่าวถึงสาเหตุที่มุสลิมใต้ไปเรียนต่อที่อียิปต์ ผู้เขียนขอกล่าวถึงหลักสูตรการเรียนศาสนาที่จังหวัดชายแดนใต้

             หลักสูตรการเรียนศาสนาอิสลามได้แบ่งชั้นเรียนเป็น ๑๐ ชั้นปี(แต่ปัจจุบันได้ปรับเป็น 12 ปีตามการศึกษาขั้นพื้นฐาน) ได้แก่ หลักสูตรอิสลามศึกษาตอนต้น (- อิบติดาอียะฮฺ ปีที่ ๑-๔ หรือ1-6) หลักสูตรอิสลามศึกษาตอนกลาง (- มุตาวัซซีเตาะฮฺ ปีที่ ๕-๗) และหลักสูตรอิสลามศึกษาตอนปลาย (- ซานาวียะฮฺ ปีที่ ๘-๑๐)       

             การเรียนการสอนในหลักสูตรจะแบ่งเป็น 3  หมวดวิชา 1.ด้านศาสนา ประกอบด้วยวิชาหลักศรัทธา, คัมภีร์อัลกุรอาน, อรรถาธิบายอัลกุรอาน,หลักการอรรถาธิบายกุรอาน, วจนะศาสดา, หลักการวจนะศาสดา, กฏหมายอิสลาม,หลักการนิติศาสตร์อิสลาม,การแบ่งมรดก,
2 หมวดภาษา ประกอบด้วย ภาษาอาหรับ, สำนวนโวหารอาหรับ, ภาษามลายู  ภาษาอังกฤษ  หมวดสังคมและจริยธรรมประกอบด้วยวิชาประวัติศาสตร์อิสลาม,  มารยาทอิสลาม และมารยาทกับต่างศาสนิก,   เศรษฐศาสตร์อิสลาม,  ตรรกศาสตร์, ปรัชญาอิสลาม, ดาราศาสตร์ 

            โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีมากกว่า 300 แห่ง และผู้ที่จบระดับซานาวีย์ (อิสลามศึกษาตอนปลาย)ในปีหนึ่งๆ ไม่ต่ำกว่า 900 คน ในขณะสถาบันการศึกษาด้านศาสนาระดับมหาวิทยาลัยของไทยมีเพียง 2 แห่ง คือวิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และวิทยาลัยอิสลามยะลา ซึ่งรับนักเรียนปีหนึ่งๆ เพียงไม่กี่คน ทำให้นักเรียนที่เหลือต้องดิ้นรนไปศึกษาต่อยังต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นมาเลเซียอินโดนีเซีย  บูรไน ตะวันออกกลางซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นมหาวิทยาลัยปิดมีโควตาชัดเจนในการรับนักศึกษาใหม่

              แต่สำหรับอัลอัซฮัรเป็นมหาวิทยาลัยเปิดรับไม่อั้น เพียงให้มีใบรับรองการจบศาสนาระดับซานาวีย์ก็เพียง พอ ดังนั้นจึงเป็นสาเหตุให้มีนักศึกษาไทยตัดสินใจไปที่นั้นเป็นเหตุผลหลัก ส่วนเหตุผลรองคือ มหาวิทยาลัยอัลอัซฮัรเป็นมหาวิทยาลัยด้านอิสลามศึกษาติดอันดับหนึ่งของโลกมุสลิม และที่สำคัญหากต้องการพูดอาหรับได้ดีต้องเรียนโลกอาหรับเท่านั้น ซึ่งเหมือนกับภาษาอังกฤษหากต้องการพูดภาษาอังกฤษได้ดีต้องเรียนกับเจ้าของภาษาเท่านั้น
 
ประวัติ การก่อตั้ง มหาลัยอัลอัซฮัร

thumb_p2.gif            หลังการพิชิตอียิปต์ของพวกฟาตีมียะห์ โดยแม่ทัพ เญาฮัร อัซซิกิลลีย์ ในยุคสมัยคอลีฟะห์ อัลมุอิซซ์ลี ดีนิลลลาห์ แห่งราชวงศ์ฟาตีมียะห์   แม่ทัพ เญาฮัร อัซซิกกิลลีย์ก็ได้สร้างกรุงไคโร ขึ้นเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ แล้วเสร็จราว 9 เดือน แม่ทัพเญาฮัรก็ได้สร้างมัสยิดญามิอ์ อัลอัซฮัร เพื่อเป็นสถานที่ประกอบนมัสการ โดยเปิดละหมาดวันศุกร์อย่างเป็นทางการในวันศุกร์ที่ 7 เดือนรอมาดอน ปี  ฮ.ศ. 361

            มัสยิดญามิอ์ อัลฮัซฮัร นับเป็นมัสยิด สำคัญแห่งที่ 4 ในหัวเมืองสำคัญของอาณาจักรอิสลาม ในยุคแรกวัตถุประสงค์การก่อสร้างนั้น มิใช่เพื่อจะให้เป็นสถาบันทางการศึกษาเหมือนดังปัจจุบัน  แต่สร้างขึ้นเพื่อเป็นมัสยิดหลวงอย่างเป็นทางการของพวกฟาตีมียะห์ และเพื่อเป็นสัญลักษณ์บ่งบอกถึงการเผยแพร่แนวคำสอนของชีอะห์ อิสมาอีลียะห์ที่พวกฟาตีมียะห์ยึดถือ

            ความคิดในเรื่องการใช้มัสยิดอัลฮัซฮัรเป็นสถาบันการศึกษานั้น เพิ่งจะมาเริ่มในยุคสมัยคอลีฟะห์ อัลอาซีซ บิลลาห์ อันเป็นผลมาจากการแน่นหนักในการเผยแพร่แนวคำสอนของชีอะห์ ดังนั้นในปี ฮ.ศ. 378 เสนาบดียะกู๊บ อิบนุ กิลลิซ ซึ่งเป็นชาวยิวที่รับอิสลาม ได้แต่งตั้งนักวิชาการนิติศาสตร์จำนวน 37 ท่าน ให้ดำเนินการเรียนการสอนตามแนวทางชีอะห์

            ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา มัสยิดญามิอ์ อัลอัซฮัร ก็กลายเป็นสถาบันทางการศึกษาหรือมหาวิทยาลัยที่สำคัญในโลกอิสลาม เหตุที่เรียกสถาบันทางการศึกษาซึ่งแต่ดั้งเดิมคือ มัสยิดญามิอ์แห่งนี้ว่า อัลอัซฮัร ก็เพื่อว่าเป็นอนุสรณ์แก่ท่านหญิงฟาตีมะห์ อัซซะฮ์รอฮ์ บุตรีของท่านศาสนทูต  บ้างก็ว่าที่เรียกเช่นนั้นก็เพราะมีบรรดาปราสาท และตำหนักของคอลีฟะห์ตลอดจนสวนดอกไม้ ที่ถูกสร้างอยู่รายรอบ

            นาม "มหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร อัชชะรีฟ" ซึ่งมีความเก่าแก่มากกว่ามหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ของอังกฤษเสียอีก
 
คณะการศึกษาต่างๆ อัลอัซฮัร.  

             มหาวิทยาลัยอัล อัซฮัร จะเปิดรับสมัครนักศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศประมาณกลางเดือนกันยายน – กลางเดือนตุลาคมของทุกปี  และจะเปิดทำการสอนภาคเรียนที่ 1 ประมาณเดือนตุลาคม เป็นต้นไป ซึ่งคณะต่าง ๆ ที่ทางมหาวิทยาลัยจะทำการเปิดสอนมีดังนี้
คณะต่าง ๆ ที่อยู่ในกรุงไคโร
1. คณะศาสนศาสตร์ كلية أصول الدين
2. คณะนิติศาสตร์อิสลาม-สากล كلية الشريعة والقانون
3. คณะอักษรศาสตร์ كلية اللغة العربية
4. คณะศึกษาศาสตร์อิสลามและภาษาอาหรับ كلية الدراسات الإسلامية والعربية
5. คณะนิเทศศาสตร์อิสลาม كلية الدعوة الإسلامية
6. คณะพาณิชยกรรมศาสตร์ كلية التجارة
7. คณะคุรุศาสตร์ كلية التربية
8. คณะอักษรศาสตร์และการแปล كلية اللغات والترجمة
9. คณะแพทย์ศาสตร์ كلية الطب
10. คณะเภสัชกรรมศาสตร์ كلية الصيدلة
11. คณะทันตกรรมศาสตร์ كلية طب الأسنان
12. คณะวิศวกรรมศาสตร์ كلية الهندسة
13. คณะวิทยาศาสตร์ كلية العلوم
14. คณะเกษตรศาสตร์ كلية الزراعة

คณะต่าง ๆ ที่อยู่นอกกรุงไคโร

1. คณะศาสนศาสตร์และนิเทศศาสตร์ كلية أصول الدين والدعوة จังหวัดซะกอซีก(الزقازيق)
2. คณะอักษรศาสตร์ كلية اللغة العربية จังหวัดซะกอซีก(الزقازيق)
3. คณะศาสนศาสตร์และนิเทศศาสตร์ كلية أصول الدين والدعوة จังหวัดตอนตอ (طنطا)
4. คณะนิติศาสตร์อิสลามและสากล كلية الشريعة والقانون จังหวัดตอนตอ (طنطا)
5. คณะศาสนศาสตร์และนิเทศศาสตร์ كلية أصول الدين والدعوة จังหวัดมันซูเราะห์ (منصورة)
6. คณะอักษรศาสตร์ภาษาอาหรับ كلية اللغة العربية จังหวัดมันซูเราะห์ (منصورة)
7. คณะศาสนศาสตร์และนิเทศศาสตร์ كلية أصول الدين والدعوة จังหวัดชะบีนุ้ลกูม (شبين الكوم)
8. คณะอักษรศาสตร์ภาษาอาหรับ كلية اللغة العربية จังหวัดชะบีนุ้ลกูม (شبين الكوم)
9. คณะนิติศาสตร์อิสลามและสากล كلية الشريعة والقانون จังหวัดดะมันฮูร (دمنهور)
10. คณะอักษรศาสตร์ภาษาอาหรับ كلية اللغة العربية จังหวัดดะมันฮูร (دمنهور)
11. คณะศึกษาศาสตร์อิสลามและภาษาอาหรับ كلية الدراسات الإسلامية والعربية จังหวัดดุมยาต (دمياط)
12. คณะแนวการอ่านพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน (กิรออาต)และความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอัลกุรอาน كلية القرآن الكريم للقراءات وعلومها จังหวัดตอนตอ (طنطا)
13.   คณะนิติศาสตร์อิสลามและสากล كلية الشريعة والقانون จังหวัดดะเกาะห์ลียะห์ (دقهلية)
14.  คณะศึกษาศาสตร์อิสลามและภาษาอาหรับكلية الدراسات الإسلامية والعربية จังหวัดกัฟรุชเชค (كفر الشيخ)
15.  คณะคุรุศาสตร์ كلية التربية จังหวัดดะเกาะห์ลียะห์ (دقهلية)

             ทั้ง 15 คณะที่กล่าวข้างต้นนั้น ที่เป็นสายศาสนามี 4 คณะ คือ คณะศาสนศาสตร์ คณะนิติศาสตร์อิสลามและสากล คณะอักษรศาสตร์ภาษาอาหรับ คณะนิเทศศาสตร์อิสลาม
ส่วนคณะที่เป็นกึ่งศาสนา – สามัญ มี 2 คณะ คือ ศึกษาศาสตร์ และคุรุศาสตร์ ส่วนคณะต่าง ๆ ที่นอกเหนือจาก 6 คณะนี้ เป็นสายสามัญ (ซึ่งหากนักศึกษาไทยสามารถนำมาวุฒิมัธยมศึกษาปีที่6มาศึกษาต่อได้)

            คำสอนของท่านศาสนาระบุไว้ชัดเจนกว่าพันปีแล้วว่า มุสลิมที่ดีต้องเรียนรู้ศึกษาตลอดชีวิต จากครรภ์มารดา จนถึงหลุมฝังศพ

            อัลอัซฮัร เป็นตัวอย่างหนึ่งของสถาบันอุดมศึกษา ในโลกมุสลิม ซึ่งมุ่งให้โอกาสทางการศึกษาแก่มุสลิมผู้ศรัทธาอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่คำนึงถึงแม้แต่ความสามารถและสติปัญญา 

 

คำสำคัญ (Tags): #วัฒนธรรมศึกษา
หมายเลขบันทึก: 39941เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2006 23:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท