shukur2003


ไม่ช้าความรุนแรงที่มากขึ้นหรืออยู่ในรูปแบบใหม่ก็จะตามมา และคำว่าสันติก็คงไม่มีความหมายใดๆในโลกแห่งความเป็นจริง
นอกจากนั้น หลายๆครั้ง ความรุนแรงก็เป็นสิ่งที่มีเหตุมีผล หาได้เกิดมาจากความบังเอิญไม่ ดังนั้น การเกิดของความรุนแรงจึงมีสาเหตุ และสาเหตุนั้นเองจึงเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องพิจารณา หาใช่ที่ตัวความรุนแรงไม่ ความรุนแรงนั้นหากเปรียบไปแล้วเป็นเหมือนความเจ็บปวดที่มนุษย์ต้องเผชิญ หากร่างกายไม่ปกติ เช่น หากนาย ก. ปวดฟัน ความเจ็บปวดก็จะทำหน้าที่บอกนาย ก. ว่าตอนนี้ฟันของนาย ก. ไม่ปกติแล้ว หากนาย ก. ต้องการจะรักษา นาย ก. ต้องไปหาหมอฟันและถอนหรืออุดฟันซี่นั้นเสีย หาใช่การกินยาแก้ปวดฟันอย่างเดียวไม่ ดังนั้น ความเจ็บปวด แม้จะเป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา แต่ก็มีประโยชน์ เพราะหาก นาย ก. ไม่ปวดฟัน นาย ก. ก็คงไม่รู้ว่าตัวเองฟันผุ และหากปล่อยไปอาการก็อาจแย่และลุกลามไปมากกว่านั้น  ฉันใดฉันนั้น การเพิ่มขึ้นของความรุนแรงในสังคม จะสะท้อนให้เห็นว่ามีปัญหาในสังคมที่ไม่ได้รับการแก้ไข แต่การจะไปแก้ที่คนก่อความรุนแรงอย่างเดียวนั้น ก็เป็นเพียงการแก้ที่ปลายเหตุและปล่อยให้ต้นเหตุจริงๆของปัญหายังคงอยู่ ด้วยเหตุนี้ แนวทางแก้ไขปัญหาความรุนแรงที่ดีที่สุด นอกจากจะต้องระงับความรุนแรงที่กำลังเกิดขึ้นเพื่อไม่ให้มันขยายออกไปในวงกว้าง และเพื่อรักษาชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนแล้ว ยังต้องมีการทำความเข้าใจไปถึงรากเหง้าและต้นตอของปัญหา และแก้ไขกันที่ตรงนั้น เพราะการดับไฟย่อมต้องดับแต่ต้นลม แต่หากการแก้ปัญหามุ่งแค่การจัดการกับเหตุความรุนแรงรายวันที่เป็นปลายของปัญหาแล้ว ไม่ช้าความรุนแรงที่มากขึ้นหรืออยู่ในรูปแบบใหม่ก็จะตามมา และคำว่าสันติก็คงไม่มีความหมายใดๆในโลกแห่งความเป็นจริง  ......................................................................เชิงอรรถ (1) หากพิจารณางานของโคเซอร์แล้ว ผู้อ่านจะเห็นว่างานของเขามีปัจจัย (Element) บางอย่างที่มาจากทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่ (Structural-functional Theory) อย่างไรก็ตาม การเน้นที่การวิเคราะห์ไปในแนวทางขัดแย้งก็ยังถือว่าเป็นแนวทางหลักของเขา(2) Henley, Jon. 2548. "We Hate France and France Hates Us," The Guardian UK. 9 พ.ย. ที่ http://www.guardian.co.uk/france/story/0,,1637213,00.html. ดูเมื่อ 10 พ.ย. 2548(3) Smith, Alex Duval. 2548 "We're not Germs or Louts. Sarkozy Should've Said Sorry," The Guardian UK. 6 พ.ย. ที่ http://www.guardian.co.uk/france/story/0,11882,1635468,00.html. ดูเมื่อ 10 พ.ย. 2548 (4) Bouteldja, Naima. 2548. "Explosion in the Suburbs," The Guardian UK. 7 พ.ย. ที่ http://www.guardian.co.uk/comment/story/0,,1635795,00.html. ดูเมื่อ 10 พ.ย. 2548(5) เพิ่งอ้าง(6) Bennhold, Katrin. 2548. "Suburban Officers Criticized as Insensitive to Racism," The New York Times. 8 พ.ย. ที่ http://www.nytimes.com/2005/11/08/international/europe/08police.html?pagewanted=print. ดูเมื่อ 11 พ.ย. 2548 (7) Henley, Jon. 2548. "Founding Principle Called into Question," The Guardian UK. 8 พ.ย. ที่ http://www.guardian.co.uk/france/story/0,11882,1636671,00.html. ดูเมื่อ 10 พ.ย. 2548(8) เพิ่งอ้าง(9) Smith, Alex Duval. อ้างแล้ว(10) Smith, Craig S. 2548. "Inside French Housing Project, Feelings of Being the Outsiders," The New York Times. 9 พ.ย. ที่ http://www.nytimes.com/2005/11/09/international/europe/09projects.html?pagewanted=print. ดูเมื่อ 11 พ.ย. 2548(11) Landler, Mark และ Smith, Craig S. 2548. "French Officials Try to Ease Fear as Crisis Swells," The New York Times. 8 พ.ย. ที่ http://www.nytimes.com/2005/11/08/international/europe/08france.html?hp=&pagewanted=print. ดูเมื่อ 11 พ.ย. 2548(12) Bouteldja, Naima. อ้างแล้ว(13) Smith, Craig S. 2548. "France Has an Underclass, but Its Roots Are Still Shallow," The New York Times. 6 พ.ย. ที่ http://www.nytimes.com/2005/11/06/weekinreview/06smith.html?fta=y&pagewanted=print. ดูเมื่อ 11 พ.ย. 2548(14) Bouteldja, Naima. อ้างแล้ว(15) Smith, Alex Duval. อ้างแล้ว



คำสำคัญ (Tags): #วัฒนธรรมศึกษา
หมายเลขบันทึก: 39939เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2006 23:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท