shukur2003


"อิสลามคือการปฏิญาณตนว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ และมุฮัมมัดเป็นรสูลแห่งอัลลอฮ การดำรงนมาซ การบริจากซะกาต การถือศีลอดในเดือนรอมฎอน และการทำฮัจย์"
ซะกาตกับการแก้ปัญหาความยากจน และสังคม พิมพ์ ส่งเมล์
วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน 2005 12:54น.

ศูนย์ข่าวอิศรา สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

thumb_saga.jpg

อับดุชชะกูร์ บิน ชาฟิอีย์  ดินอะ

ผู้ช่วยผู้จัดการโรงเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธิ
ต.สะกอม  อ.จะนะ จ.สงขลา

           วันที่3-4 พฤศจิกายน 2548 จะเป็นวันอีดิลฟิตรี (ฉลองหลังถือศีลอด) ศาสนกิจอีกประเภทหนึ่งนอกจาการละหมาดในวันอีด คือการจ่ายซะกาต(ศาสนทาน) ซึ่งเป็นโครงสร้างสำคัญ 1 ใน 5 ของหลักปฏิบัติอิสลาม

         "อิสลามคือการปฏิญาณตนว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ และมุฮัมมัดเป็นรสูลแห่งอัลลอฮ การดำรงนมาซ การบริจากซะกาต การถือศีลอดในเดือนรอมฎอน และการทำฮัจย์" รายงานโดย บุคอรี-มุสลิม

           ซะกาตมีกล่าวถึงในอัล-กุรอ่านถึง 82 อายะห์(โองการ) โดยควบคู่ไปกับการละหมาด นั่นแสดงว่า เป็นบทบัญญัติที่มีความสำคัญยิ่งของอิสลาม อัลลอฮฺ( ซ.บ). ทรงวางโทษของคนมีทรัพย์ที่ไม่ยอมจ่ายซะกาตในแนวทางของพระองค์ไว้อย่างน่าสะพรึงกลัวว่า ความว่า

         "และพวกที่สะสมทองคำและเงิน โดยไม่บริจาคซะกาต และไม่นำออกมาใช้จ่ายในวิถีทางศาสนาของอัลลอฮฺ มุฮัมมัด จงแจ้งข่าวการทรมานอันสาหัสที่เป็นข่าวดีสำหรับพวกนั้น ณ วันที่ไฟนรก "ญะฮันนัม" จะทำให้เกิดความร้อนแรง แล้วมันจะถูกนำมารีดบนหน้าผาก สีข้าง และหลังของพวกนั้น นี่แหละผลร้ายของพวกเจ้าทั้งหลายที่พยายามสะสมไว้สำหรับการส่วนตัวของพวกเจ้า โดยไม่ยอมบริจาคซะกาต ดังนั้นพวกเจ้าจงลิ้มรสทรัพย์ที่พวกเจ้าได้สะสมมันไว้โดยไม่ยอมบริจาคเถิด" (อัต-เตาบะห์ 9:35)

          อับดุลลอฮฺ อิบนิมัสอูด(อัครสาวกศาสดา) รายงานว่า "พวกเราได้รับคำสั่งจากท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ให้ดำรงละหมาด และบริจาคซะกาต และว่าผู้ใดไม่บริจาคซะกาต การละหมาดของผู้นั้นก็ไม่มีความหมายเลย"

ประเภทซะกาตที่มุสลิมจะจ่ายช่วงวันอีด

         1. สำหรับทุกคน(ส่วนใหญ่) คือ ซะกาตฟิตเราะห์ เป็นซะกาตที่จำเป็นจะต้องจ่ายอันเนื่องจากหมดภาระถือศีลอดในเดือนรอมฎอน  ซึ่งจำเป็น (วาญิบ) แก่มุสลิมทุกคน ไม่ว่าจะเป็นเด็ก หรือผู้ใหญ่ เพศชาย หรือหญิง แต่ผู้ที่จะเป็นผู้จ่ายนั้น จะ เป็นหัวหน้าครอบครัว และผู้อุปการะผู้อื่นโดย จ่ายเพื่อตัวเขา และเพื่อคนที่อยู่ในครอบครัวทุกคน และคนที่ต้องรับผิดชอบด้วย

           สำหรับปริมาณที่ต้องจ่าย คนละ 1 ศออฺ (ในภาษาอาหรับ)หรือประมาณเกือบ 4  ลิตร โดยอาหารหลักในท้องถิ่นนั้น ๆ เช่น ในประเทศไทยคือข้าวสาร โดยจะจ่ายให้คนยากจน หรือให้เจ้าหน้าที่เก็บซะกาตของมัสญิดก็ได้ เพื่อจะได้แจกจ่ายให้แก่ผู้มีสิทธิ์รับซะกาตต่อไป

          2. สำหรับคนรวยหรือมีเงื่อนไขครบ ซะกาตที่ต้องจ่าย ได้แก่ เงินแท่งทองแท่ง รายได้จากปศุสัตว์  รายได้จากพืชผล  รายได้จากการค้า ขุมทรัพย์

ซะกาตจะเป็นสูตรแก้ปัญหาความยากจน และสังคม

           หากการจ่ายซะกาตสัมฤทิ์ผลในชุมชนใดทำให้คนจนมีหลักประกันชีวิต    ทำให้สังคมรักสมัครสมานกันระหว่าวคนรวยกับคนจน   เห็นอกเห็นใจกัน  ช่วยเหลือ กันอย่างมีความอบอุ่นมั่นคงในชีวิต ความเห็นแก่ตัวเอาตัวรอดจะจางหายไป

คำสำคัญ (Tags): #วัฒนธรรมศึกษา
หมายเลขบันทึก: 39935เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2006 23:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท