shukur2003


ถ้าเป็นผู้เผด็จการใช้เกณฑ์ตัดสินใจแบบธรรมาธิปไตยและอิสลามาธิปไตย ก็เป็นเผด็จการที่ดี แต่เรากลัวว่าเขาจะตัดสินใจไม่รอบคอบ เพราะรู้ข้อมูลไม่ทั่วถึง หรือปัญญาอาจจะไม่พอ เป็นต้น

การเมืองตามอุดมคติอิสลาม

www.siamsewana.org

พิมพ์ ส่งเมล
เขียนโดย อับดุชชะกูร์ บินชาฟิอีย์ ดินอะ   
วันศุกร์ที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๙
อับดุชชะกูร์ บิน ชาฟิอีย์ ดินอะ (อับดุลสุโก ดินอะ)
“สำหรับการเมืองการปกครองในระบอบอิสลามนั้นบรรดานักวิชาการมุสลิมต่างเห็นพ้องต้องกันว่า "คัมภีร์อัลกุรอ่าน" (Al-Quran) และ "วัจนศาสดา" ต่างไม่ได้กำหนดถึงรูปแบบการปกครอง…...”
 อับดุชชะกูร์ บินชาฟิอีย์  ดินอะ (อับดุลสุโก ดินอะ)[email protected] ด้วยพระนามของอัลลอฮ. ผู้ทรงเมตตากรุณาเสมอ ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสดามูฮัมมัด และผู้เจริญรอยตามท่าน และสุขสวัสดีแด่ผู้อ่านทุกท่าน  สำหรับการเมืองการปกครองในระบอบอิสลามนั้นบรรดานักวิชาการมุสลิมต่างเห็นพ้องต้องกันว่า "คัมภีร์อัลกุรอ่าน" (Al-Quran) และ "วัจนศาสดา" ต่างไม่ได้กำหนดถึงรูปแบบการปกครอง และไม่ใด้อรรถาธิบายถึงแนวทฤษฎีทางรัฐธรรมนูญใดๆ ไว้อย่างเฉพาะเจาะจง ดังนั้นการเมืองแบบอิสลามจึงเป็นได้หลายรูปแบบวิธี ซึ่งก็ขึ้นกับมุสลิมในยุคสมัยต่างๆ จะเลือกสรรเอาตามสมควรแก่คณะตน  อย่างไรก็ตาม "คัมภีร์อัลกุรอ่าน" (Al-Quran) และ "วัจนศาสดา ได้กำหนดเค้าโครงที่ชัดเจนของแบบแผนทางการเมือง ซึ่งสามารถทำให้บรรลุได้ในทุกสถานการณ์ นักวิชาการมุสลิมส่วนใหญ่เห็นเหมือนกันว่าระบบการเมืองแบบอิสลามวางอยู่บนความสัมพันธ์ระหว่างหลักการ "เตาฮีด" (หลักเอกภาพและการเป็นพระเจ้าหนึ่งเดียวของ "อัลเลาะห์") Shari'ah (กฎหมายอิสลามตามหลักการแห่ง "อัลกุรอ่าน" และ "ซุนนะห์") Adalah (การสถาปนาความยุติธรรม) เสรีภาพ (สิทธิที่จะกระทำการภายใต้การเชื่อฟังต่อหลักการชาริอะห์ ) ความเสมอภาค (โอกาสอันเทียมเท่ากันของปัจเจกบุคคลชายและหญิง) และชูรอ (Shura) รากฐานองค์ประกอบสำคัญของอำนาจทางการเมืองนี้ก็คือ หลักการเมืองภาคประชาชน อันเป็นระเบียบทางสังคมที่คอยควบคุมการบริหารรัฐ ผู้ปกครองซึ่งปรากฏในยุคแรกๆของสังคมมุสลิม อาทิ คาลีฟะห์ (Khalifah) อิหม่าม (Imam) อามิร (Amir) ในที่นี้หมายถึงผู้นำสูงสุดของรัฐ ต่างไม่ได้ถืออำนาจสูงสุด หากแต่เป็นระบบแห่งการใช้อำนาจที่ได้รับมอบหมายจากภาคประชาชน ผู้ปกครองและการปกครองจึงวางอยู่บนความเท่าเทียมกัน ไม่มีการแบ่งแยกชนชั้นด้วยสถานะ และความเท่าเทียมกันดังกล่าวนี้จึงรักษาใว้ซึ่ง "ความยำเกรง"  ขณะที่ " อิหม่าม" หรือผู้นำ จะต้องบริหารงานให้สอดคล้องตามหลักแห่งกฎหมายชาริอะห์ การละเมิดหลักการดังกล่าว ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชามีสิทธิยกเลิกความจงรักภักดีต่อเขา ธรรมนูญในระบบการเมืองแบบอิสลาม คือธรรมนูญที่ตั้งอยู่ภายใต้หลักการแห่งกฎหมายชาริอะห์ โดยผู้นำสูงสุดจะได้รับความไว้วางใจให้รับผิดชอบบริหารกิจการภาครัฐ ดังกรณีของระบบสภา ซึ่งได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนนี้ ต้องอยู่ภายใต้หลักการชูรอ(การปรึกษาหารือด้วยเหตุผลมิใช่หลักการแบบรัฐสภาซึ่งฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลต่อสู้กันโดยมีผลประโยชน์และพวกพ้องหรือพวกมากลากไป) การเข้าสู่อำนาจโดยการเลือกสรรจากประชาชน และโครงสร้างระบบการเมืองลักษณะนี้ ก็คล้ายคลึงกับการปกครองในระบบสภาปัจจุบัน เพียงแต่จะต้องถูกควบคุมโดยหลักชาริอะห์ กล่าวคือ การตรากฎหมายใดๆ ก็สามารถจะกระทำได้อย่างเป็นอิสระจากอำนาจของฝ่ายบริหาร แต่ทั้งนี้จะต้องคำนึงถึงความสอดคล้องกับหลักการแห่งชาริอะห์เป็นสำคัญ ในคัมภีร์อัลกุรอานได้พูดถึงอำนาจของพระบัญชาของอัลลอฮฺในการชี้แนะเรื่องต่างๆในชีวิตของมุสลิมและประชาคมโลกเกี่ยวกับอำนาจและการตัดสิ้น เช่นอัลลอฮฺได้ดำรัสความว่า وَاللهَ يَحْكُمُ لا مُعَقِّبَ لِحُكْمِهِและพระองค์อัลลอฮฺทรงตัดสิน ไม่มีผู้ใดเปลี่ยนแปลงการตัดสินของพระองค์ (อัรเราะอดฺ 41) فَاحْكُمْ بَيْنَهُمْ بِمَا أنَزَلَ اللهُและสูเจ้า(โอ้มุฮัมมัด)จงพิพากษาระหว่างพวกเขาด้วยสิ่งที่อัลลอฮฺทรงประทานลงมา(หมายถึงคัมภีร์) (อัลมาอิดะฮฺ 48) أَلا لَهُ الحُكْمُพึงรู้เถิดว่าการชี้ขาดพิพากษานั้นเป็นสิทธิของพระองค์(อัลลอฮฺ)เท่านั้น (อัลอันอาม 62) إِنِ الحُكْمُ إِلا للهِแท้จริงการพิพากษาตัดสินไม่เป็นสิทธิของผู้ใดนอกจากอัลลอฮฺเท่านั้น (ยูซุฟ 40) ชัยค์ริฎอ สมาดีมีทัศนะว่าข้อบังคับของกฎหมายบ้านเมืองถ้าไม่ตรงกับหลักการของอิสลามก็จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงแต่ต้องชี้แจงทำความเข้าใจอย่างสันติ ถ้ามีความจำเป็นเลียกเลี่งไม่ได้ก็จะเป็นข้อบังคับที่ศาสนาไม่เอาโทษหากมุสลิมหลีกเลี่ยงไม่ได้ กรณีที่มุสลิมอยู่ในสังคมที่ไม่ได้ใช้ระบอบอิสลาม ได้มีข้อวินิจฉัยจากนักปราชญ์อิสลามมานานแล้ว โดยเป็นสาระเฉพาะในนิติศาสตร์อิสลามเรียกว่า ฟิกฮุลอิสติฆรอบ หมายถึง กฎหมายเกี่ยวกับมุสลิมที่อยู่ในสังคมอย่างคนแปลกหน้า หรือสาระที่เรียกว่า อะหฺกามุลอะก็อลลียาต คือกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวกับชนมุสลิมที่เป็นส่วนน้อยในสังคมที่ไม่ใช่มุสลิม หรือศาสนิกชนอื่นที่เป็นส่วนน้อยในสังคมมุสลิม ซึ่งมุสลิมไม่ขัดข้องที่จะอยู่ในสังคมที่ไม่ใช้ระบอบอิสลามหรือมีประมุขที่ไม่ใช่มุสลิม หากมุสลิมสามารถดำรงชีวิตตามศาสนบัญญัติในสังคมนั้นๆด้วย

เปรียบเทียบการใช้อำนาจระบอบต่างๆ*

ไม่ว่าระบอบไหน จะเป็นระบอบเผด็จการหรือเป็นระบอบคณาธิปไตย หรือเป็นระบอบประชาธิปไตย ในเวลาที่ใช้อำนาจตัดสินใจ จะเอาสิ่งใดเป็นเกณฑ์

- ถ้าเอาตัวเอง เอาความยิ่งใหญ่ของตน เอาความทะนงของตัว เอาทิฐิความเห็น ความเชื่อ ยึดถือส่วนตัว เอาผลประโยชน์ของตนเป็นเกณฑ์ตัดสินใจ
ซึ่งภาษาอาหรับเรียกว่าอนานียะห์ (Ananiah)ก็เป็น อัตตาธิปไตย

- ถ้าตัดสินใจไปตามกระแสความนิยม เสียงเล่าลือ หรือแม้แต่ไม่เป็นตัวของตัวเอง คอยฟังว่าใครจะว่าอย่างไร อย่างที่ว่า แล้วแต่พวกมากลากไป หรือตามแรงกดดัน จะเอาใจเขา จะหาคะแนน หรือตอบแทนการเอื้อประโยชน์ ก็เป็น โลกาธิปไตย

- ถ้าเอาความจริง ความถูกต้องดีงาม หลักการ กฎ กติกา เหตุผล ประโยชน์ที่แท้จริงของชีวิตและสังคม เป็นเกณฑ์ตัดสินใจ โดยใช้ปัญญาหาข้อมูลตรวจสอบข้อเท็จจริง และความคิดเห็นที่รับฟังอย่างกว้างขวาง ให้ถ่องแท้ ชัดเจน และพิจารณาอย่างดีที่สุด เต็มขีดแห่งสติปัญญา จะมองเห็นได้ด้วยความบริสุทธิ์ใจ ก็เป็น ธรรมาธิปไตย
 - ถ้าเอาความจริง ความถูกต้องดีงาม เหตุผล ประโยชน์ที่แท้จริงของชีวิตและสังคมแต่อยู่ภายใต้หลักการชาริอ๊ะของศาสนาอิสลาม เป็นเกณฑ์ตัดสินใจ โดยใช้ปัญญาหาข้อมูลตรวจสอบข้อเท็จจริงอีกขั้นตอนหนึ่ง และความคิดเห็นที่รับฟังอย่างกว้างขวาง ให้ถ่องแท้ ชัดเจน และพิจารณาอย่างดีที่สุด เต็มขีดแห่งสติปัญญาภายใต้กรอบของศาสนบัญญัติ  ก็เป็น อิสลามาธิปไตย

ฉะนั้น ผู้เผด็จการ ก็เป็นได้ทั้ง อัตตาธิปไตย โลกาธิปไตย ธรรมาธิปไตย
และอิสลามาธิปไตย

คณาธิปไตย ก็เป็นได้ทั้ง อัตตาธิปไตย โลกาธิปไตย ธรรมาธิปไตย
และอิสลามาธิปไตย

ประชาธิปไตย ก็เช่นเดียวกัน ก็เป็นได้ทั้ง อัตตาธิปไตย โลกาธิปไตย ธรรมาธิปไตย
และอิสลามาธิปไตย

ถ้าเป็นผู้เผด็จการใช้เกณฑ์ตัดสินใจแบบธรรมาธิปไต
ยและอิสลามาธิปไตย ก็เป็นเผด็จการที่ดี แต่เรากลัวว่าเขาจะตัดสินใจไม่รอบคอบ เพราะรู้ข้อมูลไม่ทั่วถึง หรือปัญญาอาจจะไม่พอ เป็นต้น

ถ้าคณาธิปไตยที่ไหน เป็นธรรมาธิปไตย มันก็ยังดี คือเป็นอย่างดีที่สุดของคณาธิปไตย แต่เราเห็นว่ายังมีจุดอ่อนอยู่มาก

ถ้าระบอบเป็นประชาธิปไตย และคนใช้อำนาจตัดสินใจด้วยเกณฑ์ธรรมาธิปไตย
หรืออิสลามาธิปไตย ก็จะดียิ่ง 


* ผู้เขียนได้แนวคิดจากอ.นวลน้อย ตรีรัตน์ในบทความเีิรื่อง เมื่อธรรมาธิปไตยไม่มา จึงหาประชาธิปไตยไม่เจอ ที่ http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01act01190449&day=2006/04/19

 

คำสำคัญ (Tags): #วัฒนธรรมศึกษา
หมายเลขบันทึก: 39931เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2006 22:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท