shukur2003


การศึกษาใต้ต่อ

5. ข้อเสนอแนะในการพัฒนาการศึกษาเพื่อชุมชนอย่างยั่งยืน

        5.1 การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนและคุณภาพการศึกษา            5.1.1 การศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับนักเรียนจังหวัดชายแดนภาคใต้ทั้งพุทธ มุสลิมควรคำนึง องค์แระกอบ 4 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ การศึกษาศาสนา  วัฒนธรรม วิชาการด้านสามัญ  ภาษาแต่จะต้องสามารถนำมาบูรณาการได้และส่งเสริมให้ทุกโรงเรียนเปิดสอนหลักสูตรอิสามศึกษาและพุทธศึกษา5.1.2  การเทียบโอนและเทียบวุฒิ                ควรสนับสนุนให้ทุกคนได้เรียนศาสนาให้มีความรู้ในระดับพื้นฐานเพื่อใช้ในการดำรงชีวิต หรือจะเรียนให้ถึงระดับผู้เชี่ยวชาญในสถาบันปอเนาะหรือ  วัดและสามารถเทียบโอนการเรียนศาสนาและวิชาสามัญโดยควรทำหลักเกณฑ์เทียบโอนอย่างเป็นรูปธรรมและควรเทียบคุณวุฒิผู้สำเร็จการศึกษาต่างประเทศเพื่อศึกษาต่อยอดภายในประเทศหรือทำงานในประเทศในสาขาที่ตัวเองถนัดเพราะมีผู้มีความรู้สาขาต่างๆมากมายแต่ขาดโอกาสทำงานในประเทศอันเนื่องมาจากขาดคุณวุฒิ.5.2             การพัฒนาสถานศึกษาของรัฐ             ควรทำให้โรงเรียนของรัฐเป็นฐานการฟื้นฟูระบบโรงเรียนแบบพหุศาสนิกให้มีความพร้อมด้วยคุณภาพทางการศึกษาทุกด้านโดยเฉพาะด้านวิชาการแต่สามารถนำหลักศาสนามาบูรณาการกับวิถีชีวิตและอยู่ร่วมกับต่างศาสนิกได้อันเนื่องมาจากโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามโดยเฉพาะระดับมัธยมศึกษานักเรียนทั้งหมดเป็นมุสลิมทำให้การแยกตัวของสังคมมากขึ้นในขณะที่โรงเรียนของรัฐมิได้สนองการเรียนรู้ตามวิถีที่ชุมชนต้องการดังนั้นหากโรงเรียนของรัฐเองจะต้องปรับหลักสูตรการเรียนให้สนองความต้องการของชุมชนด้วยเพราะในแง่วิชาการโรงเรียนเอกชนปัจจุบันไม่ได้น้อยหน้าโรงเรียนของรัฐถึงแม้งบปะมาณการจัดการศึกษาของรัฐจะมากกว่า           ในขณะเดียวกันควรส่งเสริมให้มีความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาของรัฐกับชุมชน  มัสยิด เช่นชุมชนใดต้องการจัดการเรียนศาสนาระดับตาดีกา  เรียนอัลกุรอาน ซึ่งมีสถานที่ไม่พอ สามารถใช้อาคารเรียนของโรงเรียนที่ว่างในตอนเย็นและเสาร์-อาทิตย์จัดการศึกษาและสามารถนำความรู้ดังกล่าวมาเทียบโอนในวิชาศาสนาของโรงเรียนได้เป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีและสามารถประหยัดงบประมาณของรัฐและชุมชนได้มาก5.3             การสนับสนุนสถานศึกษาเอกชนทั้งระบบ            ด้วยความหลากหลายในรูปแบบการศึกษาเอกชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้และความหลากหลายในมาตรฐานการสนับสนุนที่ต่างกัน  ทำให้ดูว่ารัฐไม่มีความเสมอภาคในการสนับสนุน            โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามที่เปิดสอนทั้งศาสนาและสามัญที่แม้ว่าจะดูว่าได้รับการสนับสนุนมากที่สุดแต่สนับการศึกษาดังกล่าวตั้งอยู่บนพื้นฐานการสอนวิชาสามัญ  ในขณะที่โรงเรียนต้องรับภาระบุคลาครูด้านศาสนาด้วยเช่นกัน  (จำนวนเท่ากับครูสามัญ) ดังนั้นสภาพความเป็นจริงจึงเกิดสภาพการบริหารจัดการภายในของผู้บริหารที่ต้องเกลี่ยค่าตอบแทน            ส่วนสถาบันปอเนาะที่สอนศาสนาอย่างเดียวหรือวัดที่สอนศาสนาอย่างเดียวเช่นกันอยู่ในสภาพที่ถูกทอดทิ้งทั่งๆที่จัดการศึกษาเช่นกัน       วิทยาลัยอิสลามศึกษายะลาถึงแม้จะให้บริการการศึกษาเพื่อสาธารณกุศลแต่ต้องตกอยู่ในสภาพของกลุ่มธุรกิจการศึกษาและรัฐไม่สามารถให้การอุดหนุนอย่างเต็มที่ซึ่งทำให้ผู้บริหารต้องขอรับการสนับสนุด้านการจัดการศึกษาส่วนใหญ่จากต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศตะวันออกกลาง   ในสภาพปัญหาอุปสรรคดังกล่าวจำเป็นอย่างยิ่งทีภาครัฐโดยเฉพาะกระทรวงศึกษาธิการควรจัดทำวิจัยเพื่อกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ในการปฏิรูประบบการสนับสนุนสถานศึกษาเอกชนใหม่5.4             การพัฒนาอาชีพและการศึกษานอกโรงเรียน              ควรต้องตระหนักว่าสภาพปัญหาสำคัญประการหนึ่งคือเด็กเรียนไปแล้วไม่มีงานทำ  การเรียนสายอาชีพไม่เป็นที่นิยม อันเนื่องมาจากในวิทยาลัยอาชีพต่างๆมีวิถีชีวิตที่ไม่สอดคล้องกับหลักการศาสนาทำให้ผู้ปกครองไม่สนับสนุนส่งบุตรหลานเรียนกัน  ดังนั้นจะต้องปฏิรูปหลักสูตรหารเรียนอาชีพให้สอดคล้องวิถีชีวิตชุมชน หรืออาจร่วมกับสถาบันปอเนาะ  โรงเรียนเอกชนสอนศาสนา  อบต. และองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นจัดอบมอาชีพระยะสั้น ระยะยาวเพราะเป้าการพัฒนาอาชีพให้ชุมชนคือหน้าที่ขงวิทยาลัยอาชีพอยู่แล้วส่วนจะดำเนินการวิธีการใดนั้นขึ้นอยูกับแต่ละสถานการณืและสถานที่  ในขณะการศึกษานอกโรงเรียนยังมีสภาพการจัดการศึกษาที่เน้นทำอย่างไรให้นักเรียนและประชาชนได้วุฒิอยู่ ควรจะมีหลักสูตรวิชาชีพด้วยจะเป็นการดี5.5             การพัฒนาอุดมศึกษา     หากดูจำนวนสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของรัฐน่าจะเพียงพอแต่เมื่อดูคณะต่างๆที่เปิดการสอนนั้นจะเน้นด้านสังคมศาสตร์ ส่วนวิทยาศาสตร์  การแพทย์นั้นยังไม่มีทั้งๆที่บุคลากรด้านนี้ยังขาดอีกมากโดยเฉพาะแพทย์ซึ่งเหตุการณ์ความรุนแรงยิ่งต้องการแพทย์มากขึ้น   ในขณะเดียวกันสาขาอิสลามศึกษาด้านต่างๆยังให้บริการไม่เพียงพอกับนักเรียนที่ปีหนึ่งๆที่จบด้านศาสนามากกว่าจำนวนที่รับ อีกทั้งคุณภาพการเรียนด้านอิสลามศึกษายังไม่ได้รับการยอมรับจากชุมชนเพียงพอ ประชาชนในพื้นที่ยังมองว่าการจบอิสลามศึกษาที่ดีมีคุณภาพนั้นต้องจบจากตะวันออกกลางดังนั้นจึงเป็นหน้าที่สำหรับคณะวิทยาลัยอิสลามศึกษาทีมหาวิยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีและที่ นราธิวาสราชนครินทร์ต้องพัฒนาให้สูการยอมรับในวงวิชาการโลกมุสลิมให้จงได้     นี่คือภาพรวมและข้อเสนอแนวทางการจัดการศึกษาของผู้เขียนที่ใช้ข้อมูลจากประสบการณ์การเรียนควบคู่สามัญและศาสนาตั้งแต่เด็ก  เป็นผู้บริหารการศึกษาโรงเรียนจริยธรรมศึกษาซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชนสอนศาสนา เกือบ 10 ปี และทีสำคัญคือเป็นคณะพิจารณาร่างที่4 เกี่ยวกับข้อเสนอแนวทางการจัดการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ของกระทรวงศึกษาธิการ       ข้อเสนอดังกล่าวเป็นแค่ข้อมูลเบื้องต้นสำหรับประชาคมด้านการศึกษาทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่ตลอดจนผู้สนใจและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้ใช้ข้อมูลเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้และช่วยพัฒนาให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น 

[1] ที่มา : กระทรวงศึกษาธิการ : กรกฏาคม 2548

[2]  (ปอเนาะตามทัศนะของศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์โดยท่านอาศัยข้อมูลจากรายงาน "โครงการศึกษาการศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม กรณีศึกษาบ้านดาโต๊ะและบ้านภูมี ในโครงการสร้างนักวิจัยท้องถิ่นของท่านอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม น่าเสียดายที่ในเอกสารไม่ได้ระบุชื่อนักวิจัยท้องถิ่นไว้)โปรดดู http://www.midnightuniv.org/midnight2545/document9782.html 
คำสำคัญ (Tags): #วัฒนธรรมศึกษา
หมายเลขบันทึก: 39918เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2006 21:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท