ทฤษฎีการเรียนรู้ กลุ่มพุทธนิยม


การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจากการสะสมข้อมูล

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม           (Cognitive  Learning  Theories)

 

ทฤษฏีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม (Cognitivism)  เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด  ซึ่งเป็นกระบวนการภายในของสมอง  นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ไม่ใช่เรื่องของพฤติกรรมที่เกิดจากกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเพียงเท่านั้น  การเรียนรู้ของมนุษย์มีความซับซ้อนยิ่งไปกว่านั้น  การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจากการสะสมข้อมูล  การสร้างความหมายและความสัมพันธ์ของข้อมูลและการดึงข้อมูลออกมาใช้ในการกระทำและการแก้ปัญหาต่างๆ  การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาของมนุษย์ในการที่จะสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ตนเอง  ทฤษฏีในกลุ่มนี้ที่สำคัญๆ มี  5  ทฤษฏี  คือ  

-   ทฤษฎีเกสตัลท์(Gestalt Theory)  แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดซึ่งเป็นกระบวนการภายในตัวมนุษย์  บุคคลจะเรียนรู้จากสิ่งเร้าที่เป็นส่วนรวมได้ดีกว่าส่วนย่อย  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นกระบวนการคิด  การสอนโดยเสนอภาพรวมก่อนการเสนอส่วนย่อย  ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีประสบการณ์มากและหลากหลายซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนสามรถคิดแก้ปัญหา  คิดริเริ่มและเกิดการเรียนรู้แบบหยั่งเห็นได้

-   ทฤษฎีสนาม(Field Theory)  แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีแรงจูงใจหรือแรงขับที่จะกระทำให้ไปสู่จุดหมายปลายทางที่ตนต้องการ  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการเข้าไปอยู่ใน “โลก” ของผู้เรียน  การสร้างแรงจูงใจหรือแรงขับโดยการจัดสิ่งแวดล้อมทั้งทางกายภาพและจิตวิทยาให้ดึงดูดความสนใจและสนองความต้องการของผู้เรียนเป็นสิ่งจำเป็นในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้

-   ทฤษฎีเครื่องหมาย(Sign Theory)  ของทอลแมน(Tolman)  แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เกิดจากการใช้เครื่องหมายเป็นตัวชี้ทางให้แสดงพฤติกรรมไปสู่จุดหมายปลายทาง  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการสร้างแรงขับและหรือแรงจูงใจให้ผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมายใดๆ  โดยใช้เครื่องหมาย  สัญลักษณ์หรือสิ่งอื่นๆ ที่เป็นเครื่องชี้ทางควบคู่ไปด้วย

-   ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา(Intellectual Development Theory)  นักคิดคนสำคัญของทฤษฏีนี้มีอยู่  2  ท่าน  ได้แก่  เพียเจต์(Piaget)  และบรุนเนอร์(Bruner)  แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้เน้นเรื่องพัฒนาการทางสติปัญญญาของบุคคลที่เป็นไปตามวัยและเชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกิดจากระบวนการการค้นพบด้วยตนเอง  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้  คือ  คำนึงถึงพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนและจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการนั้น  ให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์และมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมมากๆ  ควรเด็กได้ค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง  ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดอย่างอิสระและสอนการคิดแบบรวบยอดเพื่อช่วยส่งงเสริมความคิดสร้างสรรค์ของผุ้เรียน

-   ทฤษฏีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย(A Theory of Meaningful Verbal Learning)  ของออซูเบล(Ausubel)  เชื่อว่า  การเรียนรู้จะมีความหมายแก่ผู้เรียน  หากการเรียนรู้นั้นสามารถเชื่อมโยงกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่รู้มาก่อน  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้  คือ  มีการนำเสนอความคิดรวบยอดหรือกรอบมโนทัศน์  หรือกรอบแนวคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแก่ผู้เรียนก่อนการสอนเนื้อหาสาระนั้นๆ  จะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนเนื้อหาสาระนั้นอย่างมีความหมาย

 

ทฤษฎีการเรียนรู้ในกลุ่มพุทธินิยมนี้ให้ความสำคัญกับความสามารถในการตั้งวัตถุประสงค์ 

การวางแผน  ความตั้งใจ  ความคิด  ความจำ  การคัดเลือก  การให้ความหมายกับสิ่งเร้าต่างๆ  ที่ได้จากประสบการณ์  ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มพฤติกรรมนิยมแล้วเห็นว่ามีความแตกต่างกันดังนี้

            กลุ่มพฤติกรรมนิยม  : อินทรีย์สร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองอันก่อให้เกิดความพึงพอใจ

สิ่งเร้า

อินทรีย์

การตอบสนอง

                            

                                                    

            กลุ่มพุทธินิยม  :  อินทรีย์ต้องนำสิ่งเร้ามาคิด  วิเคราะห์  และให้ความหมายเพื่อตอบสนองได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

 

          ทฤษฎีการเรียนรู้ด้วยการหยั่งรู้  (Insight  Learning)

 

            ทฤษฎีการหยั่งรู้นี้เป็นการศึกษาทดลองของนักจิตวิทยาชาวเยอรมันซึ่งเยกว่ากลุ่มเกสตอล (Gestalt)  ซึ่งประกอบด้วยนักจิตวิทยาที่สำคัญ  3  คน คือ เวอร์ไทเมอร์  คอฟฟ์ก้าและเคอเลอร์

            คำว่า  เกสตอล  (Gestalt)  หมายถึง  แบบแผนหรือภาพรวม  โดยนักจิตวิทยากลุ่มนี้ได้ให้ความสำคัญกับส่วนรวมหรือผลรวมมากว่าส่วนย่อย  ในการศึกษาวิจัยพบว่าการรับรู้ของคนเรามักจะรับรู้ส่วนรวมมากกว่ารายละเอียดปลีกย่อย  ในการเรียนรู้และการแก้ปัญหาก็เช่นเดียวกัน  คนเรามักจะเรียนอะไรได้เข้าใจก็ต้องศึกษาภาพรวมก่อน  หลังจากนั้นจึงพิจารณารายละเอียดปลีกย่อยจะทำให้เกิดความเข้าใจในเรื่องนั้นได้ชัดเจนขึ้น

            การเรียนรู้ตามแนวของกลุ่มเกสตอล  จะมีลักษณะดังนี้

            ภาพรวม                        รายละเอียดปลีกย่อย                     ภาพรวม

             (Whole)                                  (Parts)                                      (Whole)

                                                                                               (ความเข้าใจ)

(Insight) 

          การทดลองของกลุ่มการเรียนรู้ด้วยการหยั่งรู้  ผลการทดลองสรุปได้ว่า  โดยปกติแล้วคนเราจะมีวิธีการเรียนรู้แลการแก้ปัญหา  โดยอาศัยความคิดและประสบการณ์ เดิมมากว่ากาลองผิดลองถูก  เมื่อสามารถแก้ปัญหาในลักษณะนั้นได้แล้ว  เมื่อเผชิญกับปัญหาที่คล้ายคลึงกันก็สามารถแก้ปัญหาได้ทันที ลักษณะดังกล่าวนี้เกิดขึ้นได้เพราะมนุษย์สามารถจัดแบบ (Pattern)  ของความคิดใหม่เพื่อใช้ใน

การแก้ปัญหาที่ตนเผชิญอยู่ได้อย่างเหมาะสม  หลักการรับรู้ของมนุษย์เป็นพื้นฐานที่สำคัญในการเรียนรู้มีผลให้นักการศึกษานำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างมาก  ทั้งนี้เพราะการรับรู้เป็นปัจจัยสำคัญของการเรียนรู้ 

การรับรู้ของมนุษย์มีลักษณะเป็นอัตนัย  (Subjective)  และเห็นความสำคัญของส่วนรวมมากกว่า

รายละเอียดปลีกย่อย  กฎการรับรู้ที่สำคัญมี   4  ข้อ ดังนี้

            1. กฎแห่งความใกล้ชิด   (Proximity)  สิ่งเร้าที่อยู่ใกล้กัน  มักจะถูกรับรู้ว่าเป็นพวกเดียวกัน 

            2. กฎแห่งความคล้าย (Similarity) สิ่งเร้าที่มองดูคล้ายกันจะถูกจัดว่าเป็นพวกเดียวกัน

3. กฎแห่งความสมบูรณ์ (Closure)  สิ่งเร้าที่มีบางส่วนบกพร่องไปคนเราจะรับรู้โดยเติมส่วนที่ขาดหายไปให้เป็นภาพหรือเป็นเรื่องที่สมบูรณ์

4. กฎแห่งการต่อเนื่องที่ดี (Good  Continuation)  สิ่งเร้าที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันอย่างดี  จะถูกรับรู้ว่าเป็นพวกเดียวกัน 

 

          ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการประมวลสารสนเทศ (Information  Processing  Model  of  Learning) 

 

            นักจิตวิทยาในกลุ่มพุทธินิยมมีความสนใจว่ามนุษย์มีวิธีการรับรู้ข้อมูลใหม่อย่างไร  เมื่อได้ความรู้แล้วมีวีการจำอย่างไร  สิ่งที่เรียนรู้แล้วจะมีผลต่อการเรียนข้อมูลใหม่อย่างไร  ด้วยความสนใจดังกล่าวจึงได้ทำการทดลองและตั้งเป็นทฤษฎีการเรียนรู้โดยการประมวลสารสนเทศขึ้น  ซึ่งปัจจุบันนี้กำลังได้รับความสนใจและนำไปใช้ประโยชน์ได้มากในวงการศึกษา

ขั้นตอนการเรียนรู้

สิ่งเร้า

ลงรหัส

บันทึกข้อมูล

ระบบควบคุม

ความจำระยะสั้น

ความจำระยะยาว

 

 

 

 

 

                                 ความใส่ใจ                                         การจัดหมวดหมู่

                                      การรู้จัก                                       การให้ความหมาย

การตอบสนอง

 

 

 

 

ภาพแสดงขั้นตอนการเรียนรู้โดยการประมวลสารสนเทศ

            สิ่งเร้า  (Environmental  Stimuli)  คือ  สิ่งต่างๆ  ที่อยู่รอบตัวมนุษย์ในขณะนั้น  สิ่งเร้าในแต่ละขณะจะมีมากมาย  แต่จากการศึกษาวิจัยของนักจิตวิทยาเรื่องกระบวนการรับสัมผัสพบว่ามนุษย์มีความสามารถในการรับรู้ข้อมูลต่างๆ  ในแต่ละครั้งอย่างมากที่สุด  ได้ประมาณ  11-12  ชั่วโมง

            ระบบบันทึกการรับรู้  (Sensory  Register)  คือ หน่วยบันทึกความจำหน่วยแรกของมนุษย์  ข้อมูลในขณะนี้เป็นข้อมูลชนิดเดียวกับที่ได้รับรู้มา  ระยะของความจำจะมีประมาณ  1-3  วินาที  เพื่อให้บุคคลตัดสินใจว่า มีความสนใจในข้อมูลนั้นหรือไม่  ข้อมูลที่ไม่ต้องการก็จะสูญหายไปส่วนข้อมูลที่ต้องการก็จะเข้าสู่ความจำระยะสั้นต่อไป

            ความใส่ใจ (Attention)  ในขั้นนี้จะเป็นการคัดเลือกข้อมูลต่างๆ  ที่สนใจเข้าสู่ความจำระยะสั้น  ในช่วงนี้เรื่องสมาธิ ค่อนข้างมีความสำคัญมาก

            การรู้จัก (Recognition)  ในขั้นนี้จะเป็นการเก็บรายละเอียดของลักษณะข้อมูลที่สำคัญและนำมาสร้างความสัมพันธ์กับข้อมูลเดิมที่มีอยู่แล้ว

            ความจำระยะสั้น (Short-term  Memory)  เป็นสิ่งที่สำคัญในการเรียนรู้เพราะเป็นความจำที่สามารถนำมาใช้ในการทำงานได้ (Working  Memory)  ตัวอย่างเช่น  การจำหมายเลขโทรศัพท์ที่ต้องการใช้ในขณะนั้น  การจำในขั้นนี้เหมือนกับการเก็บแฟ้มข้อมูล (File) ซึ่งมนุษย์สามารถเก็บ(จำ) เรื่องต่างๆ ได้ประมาณ 7 เรื่อง  ในระยะเวลา  20  วินาที  เมื่อได้รับข้อมูลใหม่ข้อมูลที่ได้รับเข้ามาใหม่อาจจะรวมกับข้อมูลเดิมหรือ ข้อมูลเดิมถูกลบออกจนหมดสิ้น

            การขยายความคิด  (Elaborative  Rehearsal)  เมื่อเกิดความจำระยะสั้นแล้ว  ต้องนำข้อมูลนั้นมาขยายความคิด  โดยการจัดหมวดหมู่และให้ความหมายกับข้อมูลเพื่อนำไปสู่ความจำระยะยาว

            ความจำระยะยาว  (Long-term  Memory)  เป็นสุดยอดปรารถนาของการเรียนรู้ข้อมูล  ซึ่งจะต้องมีการจัดระเบียบอย่างดี  โดยการแปลความหมาย  สร้างความ สัมพันธ์เชื่อมโยงข้อมูล  ข้อมูลใดที่ยังขาดความสัมพันธ์กันหรือมีช่องว่างอยู่ก็จะต้องพยายามขจัดช่องว่างโดยการใช้หลักทางตรรกศาสตร์คือการหาเหตุผลและสร้างความสัมพันธ์

            ระบบควบคุม  (Control  Process)  มีคุณสมบัติที่สำคัญ  คือ  เป็นตัวควบคุมและเชื่อมโยงความจำระยะสั้นและระยะยาว  พร้อมทั้งเป็นตัวกำหนดปริมาณและคุณภาพของข้อมูลที่ผู้เรียนจำและสามารถนำออกไปใช้ได้

            การนำมาใช้บ่อยๆ  (Maintenance  Rehearsal)  การนำข้อมูลมาใช้บ่อยๆ  เพื่อเป็นการย้ำในขั้นการจำระยะสั้นและเพื่อใช้สำหรับการตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆ ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

            องค์ประกอบของการเรียนรู้  มีอยู่  4  ประการ  คือ

  1. คุณลักษณะของผู้เรียน (Learner  Characteristics)  คือสิ่งต่างๆ  ที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียน  เช่น 

ความรู้เดิม  ทัศนคติ  แรงจูงใจ  รูปแบบความคิด  เป็นต้น

 

  1. กิจกรรมของผู้เรียน (Learner  Activities)  ในส่วนนี้จะเกี่ยวกับขบวนการใช้สมองของผู้เรียน

ในขณะเกิดการเรียนรู้  โดยพิจารณาว่าผู้เรียนจะทำกิจกรรมอะไรบ้าง  เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี เช่น  นั่งฟังคำบรรยายด้วยความสนใจ  จดโน้ตตาม  ขีดเส้นใต้ข้อความที่สำคัญ  เป็นต้น

  1. ธรรมชาติของสิ่งที่เรียน (Nature  of  the  Learning  Material)  คือข้อมูลนั้นเป็นข้อมูล

ประเภทใด  เนื้อหาของข้อมูลนั้นมีลักษณะเป็นรูปธรรมหรือนามธรรม  มีการจัดเรียงลำดับเนื้อหาดีมากน้อยเพียงใด  เป็นต้น

  1. วิธีการประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน  (Nature  of  the  Criterion)  คือลักษณะต่างๆ  ที่ผู้เรียน

แสดงออกมาเมื่อเรียนรู้แล้ว  เช่น  ตอบข้อเขียนได้ถูกต้อง  สอบปากเปล่าได้  แสดงทักษะต่างๆ   ให้ปรากฏ  เป็นต้น

การเรียนรู้เกี่ยวกับความคิดของตนเอง  (Metacognition)  การเรียนรู้จะมีประสิทธิภาพต่อเมื่อ

ผู้เรียนควบคุมตนเองได้  (Self-Reguletion)  ลักษณะดังกล่าวนี้  ฟลาแวล  ได้เป็นผู้อธิบายไว้โดยเน้นถึงกระบวนการเรียนรู้ที่จะต้องอาศัยความสามารถทางปัญญา  โดยเขาใช้คำว่า  “Metacognition”  เพื่ออธิบายว่าผู้เรียนจะต้องรู้เกี่ยวกับกระบวนการคิด  (Thinking  Process)  ของตนเอง  ถ้าเปรียบเทียบกับกลุ่มการเรียนรู้โดยการประมวลสารสนเทศ  คำว่า Metacognition  นี้จะเปรียบเทียบได้กับระบบควบคุม  (Control  Process)  ซึ่งความรู้ในลักษณะนี้จะทำให้ผู้เรียนมีความกระจ่าง  คือ  รู้ว่าจะทำอะไร (What) ทำอย่างไร (How) และทำเมื่อไร (When)

            องค์ประกอบของความรู้   มี  3  ประการ  คือ

  1. องค์ประกอบด้านบุคคล  (Person  Variable)   คือความรู้ความเข้าใจในความสามารถของผู้เรียนว่าตนเองมีคุณสมบัติและมีความสามารถอยู่ในระดับใด
  2. องค์ประกอบด้านงาน  (Task  Variable)  คือ  ลักษณะของงานที่จะต้องเรียนรู้
  3. องค์ประกอบด้านยุทธวิธี  (Strategy  Variable)  คือ  เทคนิคหรือวิธีการที่ผู้เรียนเลือกใช้ใน

การเรียนรู้งาน

การนำแนวความคิดของกลุ่มพุทธนิยมมาใช้กับการศึกษา

ความเชื่อพื้นฐาน

ตัวอย่าง

การนำมาใช้ทางการศึกษา

อิทธพลของกระบวนการทางสมอง

เมื่อดิเรกอ่านตำราวิทยาศาสตร์เขาสามารถนำบางทฤษฎีมาสร้างความสัมพันธ์กับสิ่งที่เขาสังเกตเห็นได้  แต่ก็มีหลายทฤษฎีที่เขาไม่สามารถสร้างความสัมพันธ์ได้

จงระลึกไว้ว่าสิ่งที่ผู้เรียนเรียนนั้นมิใช่เป็นเรื่องของข้อมูลที่ปรากฎอย่างเดียว  แต่เป็นกรรมวิธีในการเก็บข้อมูล

การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายใน

ดิเรกเรียนรู้ว่า  ดาวเสาร์มีวงแหวนอยู่ล้อมรอบ  แต่เขาไม่มีโอกาสได้ถ่ายทอดความรู้นี้ให้เพื่อนๆ  ในชั้นเรียน

เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงสิ่งที่เขาเรียนรู้มาแล้ว

การวินิจฉัยเกี่ยวกับเรื่องกระบวนการทางสมองต้องสังเกตจากพฤติกรรม

เมื่อให้ดิเรกเขียนคำว่า  พฤติกรรมภายในเป็นภาษาอังกฤษ  ดิเรกเขียนว่า  Convert  behavior  แสดงว่าเขาจำสับสนกับชื่อยี่ห้อรองเท้าชนิดหนึ่ง

สังเกตดูพฤติกรรมของผู้เรียนเพื่อนำมาพิจารณาว่าข้อผิดพลาดเกิดขึ้นจากอะไร

ความเป็นหนึ่งเดียวของการเรียนรู้ของมนุษย์

ดิเรกเรียนรู้เกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบันจากการอ่านหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์

เรียนเกี่ยวกับวิธีการเรียนรู้ที่มนุษย์ทุกคนใช้

ตัวกระตุ้นที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ของแต่ละบุคคล

ดิเรกเรียนวิธีการออกเสียงภาษาอังกฤษโยออกเสียงดังเขียนซ้ำๆ  กันหลายครั้ง  และคิดว่ามีคำใดบ้างที่ออกเสียงในลักษณะเดียวกัน

 

กระตุ้นให้ผู้เรียนคิดเกี่ยวกับข้อมูลในชั้นเรียนและช่วยให้เขามีพัฒนาการทางทักษะในการเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ

ความเชื่อพื้นฐาน

ตัวอย่าง

การนำมาใช้ทางการศึกษา

สิ่งที่เลือกจะเรียนรู้

ดิเรกรู้ว่าเขาไม่สามารถจำทุกอย่างในตำราคณิตศาสตร์ได้  ดังนั้นเขาจึงเลือกจำเฉพาะสูตรที่สำคัญ

บอกผู้เรียนว่าสิ่งใดที่สำคัญที่เขาจะต้องรู้

การแปลความหมายของบุคคล

ดิเรกแปลความหมายว่าการที่เขาได้คะแนนเต็มจากการทดสอบแสดงว่าเขาต้องได้เกรด A

ตรวจสอบเพื่อให้แน่ใจว่าการแปลความหมายของผู้เรียนถูกต้องเหมาะสม


แหล่งอ้างอิง

 

http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm

http://vod.msu.ac.th/video/COURSES/0503765/unit2

คำสำคัญ (Tags): #หนองกี่
หมายเลขบันทึก: 398572เขียนเมื่อ 26 กันยายน 2010 19:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท