แนวคิดการจัดทำสมรรถนะเฉพาะของครูและผู้บริหาร


"การพัฒนาและการประเมินควรเป็นกระบวนการเดียวกันและควรเชื่อมโยงกับสิ่งที่โรงเรียนกำลังปฎิบัติอยู่"
   ขณะที่ ศธ.และ ก.ค.ศ.กำลังจะปรับในเรื่องสมรรถนะ เพื่อลงไปให้ถึงสมรรถนะเฉพาะ(specific  competency)  และ ก.ค.ศ.ได้เชิญผมให้เป็นที่ปรึกษาในเรื่องนี้  ผมได้เสนอแนวคิดเรื่องนี้ว่า  น่าจะทำให้สอดคล้องกับสิ่งที่โรงเรียน  ครู  ผู้บริหารกำลังปฏิบัติ  ทั้งการประเมินในด้านความรู้ (K) ด้านทักษะ (S) และด้านบุคลิกลักษณะ (P) อย่าคิดอะไรที่แยกส่วนต้องทำให้ผู้รับการประเมินเกิดความสับสน
     กล่าวคือต้องให้สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้ง 18 มาตรฐาน  สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน และมาตรฐานวิชาชีพของคุรุสภา  เช่น
     ด้านความรู้(K) ของครูควรสอดคล้องกับเป้าหมายการจัดการศึกษาและหลักสูตร  และความรู้ตามสาระของหลักสูตรแต่ละกลุ่มสาระ เช่น กลุ่มสาระคณิตศาสตร์มัธยมศึกษา ก็ควรมีความรู้ตามสาระของหลักสูตรในเรื่องต่อไปนี้ 1)จำนวนและการดำเนินการ  2)การวัด  3)เรขาคณิต  4)พีชคณิต  5)การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น  6)ทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์  เป็นต้น
    ด้านทักษะ(S) ก็วิเคราะห์จากมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านครู มาตรฐานที่ 10 
     ด้านบุคลิกลักษณะ(P) วิเคราะห์จากมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานด้านครู มาตรฐานที่ 9  และมาตรฐานด้านการปฎิบัติตนของคุรุสภา  เป็นต้น
     สำหรับผู้บริหาร และศึกษานิเทศก์ ก็จะล้อเลียนกันไป เพียงแต่ด้าน K จะต้องปรับให้สอดคล้องกับสายงานนั้นๆ
หมายเลขบันทึก: 39847เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2006 16:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เห็นด้วยกับท่านอาจารย์อย่างยิ่งครับ แต่ละด้านมีที่มาที่ไปสอดรับกับการปฏิรูปการศึกษา มีความเชื่อมโยงกับมาตรฐานและตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการอย่างเป็นกระบวนการ เพื่อประสิทธิผลอันน่าภาคภูมิใจ

ขอบพระคุณมากครับ

มาตรฐานเป็นสิ่งที่สร้างด้วยเกณฑ์ แต่การจับสมรรถนะด้วยเกณฑ์บางครั้งก็ยังไม่เที่ยง  ที่ทำงานของดิฉันได้รองผู้อำนวยการคนใหม่ ท่านเดินวนหางานทำอยู่ สองสัปดาห์  สัปดาห์ที่สามท่านจัดห้องใหม่ ในวันที่ครูฝ่ายวิชาการไม่อยู่โรงเรียนแค่ 3 ชั่วโมง ท่านนำงานวิชาการในส่วนของรองคนเก่าทิ้งหมด ไม่ว่ากัน ในห้องท่านสะอาดเรียบร้อย ในห้องของดิฉันเต็มไปด้วยของที่ท่านทิ้ง เข้าเกณฑ์ท่านมีสมรรถนะสูงจนดิฉันไปไม่ถึง การสร้างเกณฑ์เพื่อแบ่งผลการดำเนินการ ทราบผลตามตัวบ่งชี้ ดิฉันไม่แน่ใจ คุณลักษณะที่พึงประสงค์บางครั้งเราคาดหวังสูงหรือว่าค่านิยมแตกต่างกัน การเคารพในสิทธิส่วนบุคคล วัดกันตรงไหน หรือว่าการรับรู้คุณค่าของศิลปะ การตรวจวัด EQ ในตัวตน อบรมให้เกิดในผู้บริหารได้ไหม

ปลูกฝังในตัวนักเรียนเป็นเรื่องไม่ยาก ปลูกจิตสำนึกในตัวผู้บริหารสิ เหมือน...............................นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท