ทำบุญ : “ความงมงาย” หรือการสร้างความหมายและกำลังใจของคนชายขอบ


ในแง่สังคม การทำบุญเป็นการสร้างและผลิตซ้ำความสัมพันธ์ทางสังคมในเรื่องต่างๆ เช่น ความเป็นเครือญาติ ความสัมพันธ์เชิงอุปถัมป์ ความเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่ ซึ่งเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของความมั่นคงในการเข้าถึงทรัพยากร ส่วนในแง่ปัจเจกก็สามารถเป็นได้ทั้งการสร้าง/ผลิตซ้ำเครื่องยึดเหนี่ยวทางใจ ปลุกปลอบขวัญกำลังใจให้มีความหวังที่จะมีชีวิตที่ดีขึ้นทั้งในชาตินี้และชาติหน้า ทั้งยังเป็นการผ่อนคลายความตึงเครียดจากการถูกเอารัดเอาเปรียบจากสังคมใหญ่อีกทางหนึ่ง
บ่อยครั้งที่ผมพบว่า การนำเสนอภาพความจริงของคนชายขอบไม่ว่าจะเป็น แรงงานต่างด้าว คนพลัดถิ่น คนขายบริการทางเพศ คนที่ “เบี่ยงเบน” จากบรรทัดฐานทางสังคม ในงานวิจัยก็ดี สารคดีก็ดี มักจะพุ่งเป้าไปที่ความทุกข์ยากและการถูกเอาเปรียบของคนกลุ่มนี้ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร และก็ไม่ผิดอะไร หากเรื่องราวเหล่านั้นเป็นฉากส่วนใหญ่ของผู้คนเหล่านี้ และการนำเสนอด้านที่ทุกข์ยากของคนชายขอบ ก็ถูกใช้เป็นยุทธศาสตร์หนึ่งของการเขียนเพื่อเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมที่น่าจะเสมอภาค และเคารพศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ของคนชายขอบมากขึ้น ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ชอบธรรมอยู่........................................................................................................---------------------------------------------------------------------- หากแต่ในด้านของการวิจัย เฉพาะอย่างยิ่งทางมานุษยวิทยาและงานชาติพันธุ์วรรณา (ethnography) คือการสะท้อน/สร้างภาพความจริงของสังคม (social reality) ให้ออกมาใกล้เคียงกับชีวิตประจำวันของผู้ที่เราเข้าไปศึกษา/เรียนรู้ มากที่สุด เพื่อทำความเข้าใจกับวิธีคิดและความสัมพันธ์เชิงอำนาจในมิติต่างๆที่แวดล้อมผู้คนที่เป็นกรณีศึกษาอยู่ ภายใต้บริบททางสังคมวัฒนธรรม พื้นที่ และช่วงเวลาหนึ่งๆนั้น เรียกร้องให้มีการนำเสนอมิติอารมณ์ความรู้สึก ความหวัง ความใฝ่ฝันของมนุษย์มากขึ้น ซึ่งเป็นมิติที่ขาดหายไปจากงานวิจัยสังคมศาสตร์ในยุคก่อนๆ..........................................................................................................................................................................................................................................................---------------------------------------------------------------------- เดือนที่แล้ว ผมได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทาง blog gotoknow ของคุณสรินยา กิจประยูร นักต่อสู้ด้านแรงงานต่างด้าวถึงโลกของคนไร้รัฐ ว่าน่าจะมีด้านใดที่สะท้อนถึงความคิดความหวังความใฝ่ฝันของพวกเขาบ้าง ..............................................................................................................................................................................................................................................................---------------------------------------------------------------------- ผมคิดว่ามีมโนทัศน์สำคัญมโนทัศน์หนึ่งที่เชื่อมโยงกับเรื่องนี้ คือมโนทัศน์เรื่องบุญครับ ........................................................................................................................................................................................................................---------------------------------------------------------------------- หลายคน พอได้ยินคำว่า “บุญ” ก็จะเหมารวมเอาเลยว่าเป็นเรื่องคนแก่บ้าง เป็นเรื่องเหลวไหล งมงาย ไม่อินเทรนด์ และดูเหมือนจะไม่มีเอี่ยวอะไรกับ “การพัฒนา” โดยเฉพาะการพัฒนาสู่ความศิวิไลซ์นะครับ ซึ่งถ้าอธิบายแบบวิทยาศาสตร์หรือเศรษฐศาสตร์กระแสหลักของอดัม สมิธก็คงจะจริง เพราะมันไม่เห็นจะเกี่ยวอะไรกับรายได้ประชาชาติเลย หรือพูดง่ายๆ ก็คือ การทำบุญเป็นเสมือนไส้ติ่งที่ไร้ประโยชน์ในมุมมองเศรษฐกิจ เป็นกิจกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดการลงทุน การสะสมทุนและการเคลื่อนไหวของทุนที่เป็นมาตรฐานสากลได้.....................................................................................................................................................................................................................................................................---------------------------------------------------------------------- แต่ในทางมานุษยวิทยาไม่ได้มองเช่นนั้นครับ กิจกรรมทางศาสนา เป็นกระบวนการทางสังคมแบบหนึ่งที่นักมานุษยวิทยาจะมองข้ามไม่ได้ การทำบุญก็อยู่ในข้อนี้ ...................................................................................................................................................................................................................................................................................................---------------------------------------------------------------------- ผมพบว่า คนไร้รัฐก็ดี แรงงานต่างด้าว โดยเฉพาะกลุ่มไทใหญ่ มีศรัทธาในเรื่องการทำบุญมาก โดยเฉพาะในแม่ฮ่องสอน และเชียงใหม่ มีเครือข่ายการทำบุญที่กว้างไกลไปจนถึงพระสงฆ์จากพม่า ยามที่มีงานบุญใหญ่ๆ เช่น เข้าพรรษา วิสาขบูชา คนไทใหญ่เหล่านี้จะขวนขวายกลับไปทำบุญที่ชนบทที่เป็นแหล่งพำนักหลักในเมืองไทย หากไม่สะดวกที่จะกลับบ้านก็จะไปทำบุญในวัดที่มีพระสงฆ์ไทใหญ่ในเมือง อย่างที่วัดป่าเป้า ที่ตั้งอยู่ใกล้ใจกลางเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น....................................................................................................................................................... ........................................................................................................---------------------------------------------------------------------- ในช่วงเทศกาลงานบุญ ญาติพี่น้องก็มักจะมาร่วมงานกันพร้อมหน้าพร้อมตา คล้ายๆกับชนบทไทยสมัยก่อนครับ ...................................................................................................................................................... ........................................................................................................---------------------------------------------------------------------- มาพูดถึงความคิดความหวังของคนชายขอบเหล่านี้ ที่มีต่อการทำบุญ ผมพยายามไขปริศนาว่าพวกเขามาทำบุญกันทำไม โดยเฉพาะการกลับมาทำบุญในภูมิลำเนาหลักที่เครือญาติส่วนใหญ่ย้ายมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศไทย บางทีต้องเดินทางลำบากลำบน เสี่ยงต่อการถูกเจ้าหน้าที่ตรวจค้นใบอนุญาตออกนอกพื้นที่ เสี่ยงต่อการถูกปรับ จำคุก หรือส่งกลับ แต่ก็ยังดั้นด้นจะกลับไปทำบุญ ................................................................................................................................................................................................................................................---------------------------------------------------------------------- ผมคิดว่าไม่ได้มีคำตอบเดียวครับ ในแง่สังคม การทำบุญเป็นการสร้างและผลิตซ้ำความสัมพันธ์ทางสังคมในเรื่องต่างๆ เช่น ความเป็นเครือญาติ ความสัมพันธ์เชิงอุปถัมป์ ความเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่ ซึ่งเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของความมั่นคงในการเข้าถึงทรัพยากร ส่วนในแง่ปัจเจกก็สามารถเป็นได้ทั้งการสร้าง/ผลิตซ้ำเครื่องยึดเหนี่ยวทางใจ ปลุกปลอบขวัญกำลังใจให้มีความหวังที่จะมีชีวิตที่ดีขึ้นทั้งในชาตินี้และชาติหน้า ทั้งยังเป็นการผ่อนคลายความตึงเครียดจากการถูกเอารัดเอาเปรียบจากสังคมใหญ่อีกทางหนึ่ง ......................................................................................................................................................................................................................................................................---------------------------------------------------------------------- ผมพบว่าในช่วงเทศกาลงานบุญ ดูเหมือนชาวบ้านจะลืมเลือนความอยุติธรรมต่างๆที่ประสบมา และง่วนอยู่กับปัจจุบันกาลงานบุญที่อยู่ตรงหน้า ซึ่งถ้าเป็นคนที่คิดแบบ “ตะวันตก” ก็อาจจะงงว่าพวกเขาปรับใจได้อย่างไร ทั้งๆที่รู้ว่าพรุ่งนี้มะรืนนี้อาจจะไม่มีเงิน แต่วันนี้ก็ดูจะยัง Happy กันอยู่ได้ แต่ผมว่านี่แหละครับสะท้อนโลกทัศน์ของพวกเขาซึ่งเป็น “โลกทัศน์แบบชาวพุทธ” อย่างนี้ ก็คือ การครองสติอยู่กับปัจจุบัน และศรัทธาในบุญกรรม ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว .................................................................................................................................................................................................................---------------------------------------------------------------------- สุภาษิตไทใหญ่แต่เดิมมีว่า “กิ๋นเอ่เอ่ หลู่แฮงๆ เปิ้นฮักแปงกุ๊ก้อ” หมายถึงกินน้อยๆแต่ทำบุญมากๆ แล้วจะผู้คนจะรักใคร่ ผมคิดว่าสุภาษิตนี้ ยังใช้ได้อยู่ครับ โดยเฉพาะในกลุ่ม “คนพลัดถิ่น” และ“คนไร้รัฐ” ในสังคมไทใหญ่ที่แม่ฮ่องสอนนี้ .....................................................................................................................................................................................................................................................................---------------------------------------------------------------------- ในแง่นี้ เราจะเห็นว่าพวกเขาเป็นคนชายขอบที่ไม่ได้ยอมจำนนต่อโชคชะตา หากแต่พยายามสรรสร้างกำลังใจและหลักประกันในการดำเนินชีวิตอย่างมีศิลปะ สอดแทรกสุนทรียะเข้าไปพลิกฟื้นให้ชีวิตที่แตกระแหงแห้งแล้ง กลับมาชุ่มชื่นอย่างมีส่วนร่วมแรงแบ่งปัน แม้จะแยกออกมาจากโลกแห่งความเป็นจริงอันโหดร้ายไปบ้างช่วงขณะหนึ่ง แต่ก็เป็นช่วงเวลาที่ทรงคุณค่า เป็นกระบวนการตอบโต้ทางสังคมและเติมเต็มความหมายที่จะชีวิตอยู่ของพวกเขา .....................................................................................................................................................................................................................................................................---------------------------------------------------------------------- อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันก็มีแนวโน้มจะเปลี่ยนแปลงไปสู่การบริโภคนิยมมากขึ้น โดยเฉพาะกับชาวไทใหญ่ที่เป็น “คนพลัดถิ่น” และ“คนไร้รัฐ” ตามเมืองใหญ่ต่างๆในประเทศ วิถีชีวิตแบบวัตถุนิยมและระบบการศึกษาที่เน้นการพัฒนาไปสู่ความทันสมัย (modernization) น่าจะส่งผลกระทบต่อโลกทัศน์เรื่องบุญ ต่อการทำบุญ และต่อการสร้างคำอธิบายตลอดจนความหวังกำลังใจในการต่อสู้ที่จะมีชีวิตรอดจากการเอารัดเอาเปรียบจากสังคมใหญ่ของคนชายขอบชาวไทใหญ่เหล่านี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ .........................................................................................................................................................................................................---------------------------------------------------------------------- ปัจจุบัน การทำบุญอาจจะมีลักษณะที่เกี่ยวข้องกับอำนาจที่ซับซ้อนขึ้น โดยเกี่ยวพันกับรัฐ อุดมการณ์ชาตินิยม ลัทธิบริโภคนิยมและถูกตีความไปอย่างหลากหลายมากขึ้น แต่ยังไม่เห็นมีงานเขียนเรื่องนี้สักเท่าไร ถ้าใครเจอช่วยแนะนำผมเป็นวิทยาทานด้วยนะครับ
หมายเลขบันทึก: 39840เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2006 15:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มิถุนายน 2012 15:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ปลื้มในความลึกซึ้งละเอียดอ่อน

ปลื้มในความลึกซึ้งละเอียดอ่อน

ในสังคมเมือง "บุญ"ก็ยังเป็นกำลังใจในการต่อสู้กับวัตถุนิยมของคนชายขอบในสังคมเมือง คนชายขอบในองค์กร เพื่อดำรงชีวิตและครองสติอยู่ในปัจจุบัน

"บุญ" ถูกตีความได้ในหลายแง่มุม น่าสนใจนะครับ ว่าคนรุ่นใหม่ มอง "บุญ" ในแง่มุมไหน ส่วนผมคิดว่า "บุญ" เป็นนวัตกรรมทางสังคมอย่างน้อยสองความหมายครับ ความหมายแรก "บุญ" เป็นวิธีคิดที่สังคมสร้างขึ้นมาช่วยให้มนุษย์อยู่ร่วมกันโดยสันติครับ และ อีกความหมาย "บุญ"เป็นหนทางในการเข้าสู่การเรียนรู้เพื่อหลุดพ้นจากกองกิเลสของตนเองได้อย่างลึกซึ้ง และทั้งสองความหมายนี้ต่างสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ดังนั้น ผมเห็นว่าไม่ว่าจะมีพฤติกรรมอะไรที่เราทำแล้วเข้าข่ายความหมายนี้ ล้วนเป็นการทำบุญทั้งสิ้น คิดว่าน่าจะสอดคล้องกับความหมายที่พระพุทธเจ้าให้ไว้ไม่ต่างกันมากนัก สิ่งน่าคิดต่อก็คือ จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคนรุ่นลูกหลานของเรามองเรื่อง "บุญ" เป็นของคร่ำครึ หรือไม่ก็ตีความ "บุญ" เป็นแต่ด้านของการได้มาซึ่งวัตถุบำรุงบำเรอตนและพวกพ้อง มิได้มอง "การทำบุญ"ในด้านของการศึกษาเพื่อหลุดพ้นร่วมกันไปด้วย ขอบคุณทุกๆความเห็นนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท