ปัญหามาปัญญาเกิด


ถ้าคนที่มาสอนยังไม่ใจไม่เข้าใจว่าเป้าหมายคืออะไร แล้วจะสอนเขาให้รู้เรื่องได้อย่างไร

 

           หลังจากที่ "พัฒนบูรณาการศาสตร์" ทุก ๆ ส่วน ได้เดินผ่านปัญหา "Blog" มาแล้วประมาณ 2 สัปดาห์  ถ้าอยากทราบว่าเราได้เรียนรู้อะไรบ้างกับสิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้ ผมขออนุญาตถอดบทเรียนบทที่ 1 จากการที่เดินผ่านเรื่องราวมาแล้วในช่วงระยะเวลาหนึ่ง

 

Chapter 1

"Blog" กับชะตาชีวิต (การเขียนบล็อค)


"คิดอย่างไรเห็นอย่างไรก็เขียนลงไปก่อน"

เป็นคำพูดที่พี่ ๆ เพื่อน ๆ และน้อง ๆ ชาว "พัฒนบูรณาการศาสตร" จำขึ้นใจและปฏิบัติตามมาโดยตลอด หลังจากได้รับการอบรมการเขียนพร้อมกับการแจ้งวัตถุประสงค์การเขียน Blog ที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

"พวกเราทั้งตาทั้งหูจ้องที่จะรับรู้และทำตามให้ดีที่สุด พวกเราพยายามทำในสิ่งที่เขาต้องการ พยายามปรับตัวในการงานในสิ่งที่เขาบอกมา" (น.ศ. พัฒนบูรณาการศาสตร์)

 

          ภาระหน้าที่อันหนึ่งที่ผมพึ่งปฏิบัติเสมอเมื่อครั้งยังเป็น "อาจารย์" อยู่ในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ นอกเหนือจากการเตรียมตัวและการบรรยายในชั้นเรียนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ถ้าผมมีการสั่งงานให้นักศึกษากลับไปทำ ไม่ว่าจะเป็นชิ้นใหญ่หรือชิ้นเล็ก สิ่งที่ผมปฏิบัติอยู่เสมอก็คือ "การติดตาม"

         ผมจะติดตามเพื่อ "ช่วยเหลือ" "ส่งเสริม" และ "สนับสนุน" เขาทุกวิถีทาง เพื่อให้เขา "ทำได้" เพราะการที่เราพูดครั้งเดียวในชั้นเรียนนั้น น้อยมากที่นักศึกษาทั้งหมดจะเข้าใจถึงสิ่งที่เราพูดอย่างถ่องแท้ บทบาทของ "อาจารย์นิเทศ" จึงเริ่มต้นขึ้น

         "นิเทศ" เป็นการตรวจประเมิน ประเมินว่าเขาทำได้ตามสิ่งที่เราต้องการซึ่งผ่านการแนะนำการสอนของเราอย่างเต็มความสามารถแล้ว หลังจากประเมินเสร็จจะต้อง "ให้คำแนะนำ" เพื่อให้เขาทำงานดีขึ้น เพราะผมคิดเสมอครับเวลาสั่งงานนักศึกษา สิ่งที่ตั้งใจและคิดเสมอก็คือ ต้องการให้เขาได้ "เรียนรู้" และ "พัฒนาตนเอง" ติดตามช่วยเหลือ ให้คำแนะนำเขาอย่างสุดความสามารถ ทุ่มเทและอุทิศเวลาให้เขาอย่างเต็มที่ เพื่อที่จะให้เขาได้ความรู้ ถ้าเขาทำไม่ได้ ไม่ได้อย่างไร ทำแล้วเกิดปัญหาอย่างไร เราจะต้องเข้าไปแนะนำให้อย่างสม่ำเสมอ

         ถ้าเขาทำผิดไม่ถูกต้องตามที่เราสั่ง ผมก็จะย้อนกลับมาดูผมเองก่อนว่า คำสั่งที่บอกเขาไปนั้น "ชัดเจน" หรือไม่ ตรวจทาน สอบทวน ถึงสิ่งที่เขาเข้าใจว่าเขา "เข้าใจ" อย่างไร ตรงกันกับเราไหม บางครั้งต้องอธิบายจนยืดยาวหลาย ๆ ชั่วโมง ก็เป็นสิ่งที่ผมพึงปฏิบัติเสมอมาครับ

        สิ่งที่สำคัญก่อนที่ผมจะสอนนักศึกษา ผมจะต้องวิเคราะห์ถึงเป้าหมายของการทำในทุก ๆ กิจกรรม ทุก ๆ อย่างที่ผมได้สั่งนักศึกษาออกไป ทั้งเป้าหมายหลัก เป้าหมายรอง เป้าหมายเฉพาะหน้า เป้าหมายระยะสั้น ระยะยาว ต้องวิเคราะห์ให้แจ่มแจ้งและทำความเข้าใจกับตัวเอง "ซ้อมกับตัวเองก่อน" ว่าตนเองทำได้ไหม แล้วจึงจะไปสอนให้นักศึกษาได้ทำครับ เพราะผมคิดเสมอว่า

 "ถ้าคนที่มาสอนยังไม่ใจไม่เข้าใจว่าเป้าหมายคืออะไร แล้วจะสอนเขาให้รู้เรื่องได้อย่างไร"

          เพราะฉะนั้นเมื่อนักศึกษาทำสิ่งใดผิดหรือทำสิ่งใดไม่ได้ ผมก็จะมาย้อนดูตัวเองก่อนเสมอ ว่าเราบอกเขาหมดหรือยัง บอกเฉพาะ "วิธีการปฏิบัติงาน" ว่าทำอย่างไร ลืมบอก "เป้าหมายหลัก" ที่จะให้เขาเดินไปถึงหรือเปล่า เพราะแต่ละคนอาจจะมีวิธีการเดินที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับ "ทุน" หรือสิ่งที่เขามีอยู่ในตัว

        วิธีการบวกเลข ทำบัญชี การขับรถ เล่นกีฬา แต่ละคนก็มีเทคนิควิธีที่แตกต่างกัน แต่ทุก ๆ วิธีนั้น นำไปสู่จุดมุ่งหมาย "เดียวกัน" ดังนั้นมีอะไรผมจะบอกนักศึกษาให้หมด ตั้งแต่เริ่มเจอกันครั้งแรกในชั้นเรียนว่า "วิชานี้ เป้าหมายในการศึกษาคืออะไร" มีการวัดผลประเมินผล ให้เกรด และคะแนนอย่างไร 1,2 และ3 เพราะถ้าผมปล่อยให้เขาจินตนาการเองไปเรื่อย ๆ ก็คงจะแย่แน่ หลังจากนั้น เขาจะมีวิธีการเรียนอย่างไร เขาก็ไปคิดค้นวิธีที่เหมาะสำหรับเขาเองในแต่ละคน แต่ทั้งหมดนั้นมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน บางคนอาจจะช้าบ้าง ไวบ้าง ทั้งหมดคือการเรียนรู้

         "ถ้าไม่เคยทำสิ่งที่ผิด ก็ไม่รู้ว่าสิ่งที่ถูกมันคืออะไร"

         อาจารย์ของผมสอนไว้เสมอครับ

หมายเลขบันทึก: 39828เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2006 14:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 พฤษภาคม 2012 11:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เหมือนที่เขาว่า "ผิดเป็นครู" ใช่ป่ะค๊าจารย์จอห์น

 

นี่อาจารย์เจ้าขา วัน - วันนึงเขียนอะไรเยอะจังเลยนะ ว่าแล้วทำไมเราถึง งง แต่ก็นะ ได้อะไรเยอะเหมือนกันนะ จากการอ่านอะไรของคุณอาจารย์เนี๊ยะ

 

อ่านทีไรก็ เฮ้อ!!! เหมือนเราไม่ค่อยรู้จักกันเลยอะ ฉันมองเธอพลาดไปนะเนี๊ยะ 555

 

ปล.ถ้าจะไปเที่ยวอิสาน ต้องเทคแคร์ฉันด้วยนะนะนะนะ 555  แล้วจะมาอ่านใหม่ ส่วนเรื่องสมัครสร้าง blog เอาไว้ก่อน เพราะยังคิดไม่ออกว่าจะเขียนอะไร ชีวิตช่วงนี้ไม่ค่อยวิชาการ และมีสาระสักเท่าไร อะจ้าาาา

ได้เลยครับนู๋เปิ้ล ถ้ามาอย่างไรอย่าลืมซื้อกล้วยอบน้ำผึ้งที่วัดใหญ่มาฝากด้วยนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท